• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1486 times Read more...

เด็กน้อยและทารก ได้รับการประคองไว้ในผืนผ้าฝ้ายบาติก และผูกไว้บนหลังของผู้เป็นแม่

First a small child, and then a baby, are secured in a carrying device of batik-coloured cotton cloth on the back of their mother and both are carried.

Wednesday, 18 September 2013 13:11

Miao (Thailand, Tak-Provinz) Wasserholen

การไปเอาน้ำจากแหล่งน้ำโดยใช้ภาชนะต่างๆ คือ ก)ภาชนะถังไม้ที่มีหูหิ้ว ข)ถังน้ำสังกะสี ค) ปีบสังกะสี และ ง) ภาชนะที่ทำจากไม้ไผ่ นอกจากนั้น ในภาพยนตร์จะเห็นการแบกฟืน การซักผ้าในธารน้ำ และการชำระล้างร่างกายอีกด้วย

The carrying of water in four different containers: a) a vessel made of bamboo, b) a wooden tub, c) a kerosene canister, d) zink pails on a frame. In addition a wooden carrying frame, clothes washing in the river, and cleaning of the body are shown.

Wednesday, 18 September 2013 10:26

Seeds and earth

เมล็ดพันธุ์บนโลกเป็นหนังเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในชนบทของบังคลาเทศ (หมู่บ้าน Janta ใกล้เมือง Bishnupur) ภาพยนตร์นำเสนอชีวิตประจำวันของสองครอบครัว พร้อมทั้งได้สังเกตชีวิตความเป็นอยู่ที่แต่งต่างกันของเพศและกิจกรรมที่แตก ต่างกัน เช่นกิจกรรมทางศาสนา การพักผ่อนของชายและหญิง, เด็กและผู้ใหญ่ ภาพยนตร์เผยให้เห็นการเคารพต่อกันในสังคม ทั้งเหตุการณ์และความคิดของครอบครัว การเพาะปลูกและการเคารพบูชา เป็นต้น วิถีชีวิตของพวกเขาถูกนำเสนอผ่านกิจกรรมที่เขาทำเป็นประจำวัน และคำพูดจาที่เป็นธรรมชาติของเขาเหล่านั้นนั่นเอง

Seed on Earth is a film about everyday life in rural Bangladesh (village of Janta, near Bishnupur town). It follows the daily schedule of two families and observes the complementary and difference of gender and generation in work, ritual and leisure activities of men and women, adults and children. The film reveals the strong links between the sacred and social life, the events and ideas of family, cultivation and worship. Village life and people are presented through their own activities in their own words in naturally occurring situations.

Wednesday, 18 September 2013 10:13

Mr. Cool

DAO Yaodong เด็กหนุ่มกลุ่มชาติพันธุ์ Huayao Dai (Thai) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจังหวัด Xinping ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนมีชีวิตอยู่กับสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากโทรทัศน์ ภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดีและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆที่เข้ามากับคนงานโรงงาน น้ำตาลที่อยู่ใกล้เคียง ชีวิตของเขาก้าวเข้าไปรับอิทธิพลของสิ่งเหล่านั้นรวมทั้งชีวิตความเป็นเมือง รูปลักษณ์ใหม่ เช่นการสวมแว่นกันแดดใส่เสื้อแจ็คเก็ตหนัง ซึ่งมาจากอิทธิพลของภาพยนตร์ที่เขาดู แต่ในขณะที่ผู้สูงอายุก็พยายามต่อสู้เอาสิ่งเก่าๆคืนมา Dao ซึ่งมีฉายาคือ Mr. Cool ก็เจริญรอยตามพี่ชายของเขาที่ไปทำงานในเมือง โดยละทิ้งชีวิตเกษตรกรและย้ายไปอยู่ในเมือง จากการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ พบว่าสังคมได้รับผลกระทบจากความทันสมัยและสื่อที่เข้ามาคุกคามวิถีความเป็น อยู่ของหมู่บ้านเป็นอย่างมาก

Tuesday, 17 September 2013 13:18

Diya

ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินเดียโดยนำเสนอผ่าน เรื่องราวของ Diya ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสำหรับใส่น้ำมันและจุดไฟในเทศกาลเกี่ยวกับไฟของ อินเดีย เริ่มต้นที่ครอบครัวของช่างปั้น จนไปสู่ตลาดการค้าที่นำ Diya ไปขาย จนไปสู่การนำเอาไปใช้จริงในเทศกาลเฉลิมฉลอง ซึ่งทั้งหมดเป็นวิถีชีวิตประจำที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานหมุนเปลี่ยน เวียนไป สุดท้ายภาพยนตร์ก็มาจบลงที่ครอบครัวของช่างปั้นเมื่อทุกอย่างผ่านไปวิถี ชีวิตก็กลับมาสู่แบบเดิมต่อไป

Monday, 16 September 2013 21:26

Between two Villages

ภาพยนตร์เรื่อง Between two Villages บอกเล่าเรื่องราวของคนใน Aldeia da Luz ซึ่งมีประชากรจำนวน 330 คน ที่จะต้องยายถิ่นฐานเนื่องจากการสร้างเขื่อน Alqueva ทางภาคใต้ของโปรตุเกส หมู่บ้านแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นมาทดแทน ตั้งอยู่ไม่กี่กิโลเมตรจากที่ตั้งเดิม ภาพยนตร์พยายามบอกเล่ากิจวัตรประจำวันของผู้คนใน Aldeia da Luz ที่รักษาขนบประเพณีไว้อย่างเข้มแข็ง และตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ในระหว่างกระบวนการสร้างบ้านใหม่ ภาพยนตร์แสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพระหว่างฝ่ายบ้านเมืองกับชาวบ้านในความ พยายามสร้างอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน เราอาจเรียกสถานการณ์ของหมู่บ้าน Aldaia da Luz ว่าเป็นสังคมที่กำลังเปลี่ยนรูปไปจากเดิม

Monday, 16 September 2013 20:06

Ika Hands

ในแถบเทือกเขาสูงของโคลัมเบียตอนเหนือ ชีกลุมไอกาอาศัยอยู่อย่างโดเดี่ยว และยังชีพด้วยการเพาะปลูกขนาดย่อม และเลี้ยงสัตว์จำนวนไม่มากนัก พวกเขาคิดอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นลููกหลานของชนเผ่ามายา ที่หนีจจากเหตุการณ์ความววุ่นวายและสงครามในช่วงยุคทองของอารยธรรมอเมริกา กลาง โดยหนีจากพื้นทหุบเขาห่างไกลของ Sierra Nevadas ในโคลัมเบีย พวก Ika ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงในระดับ 5,000 - 15,000 ฟุต ในลักษณะที่เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายประชากร ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาจะพึงพิงกับทักษะที่หลากหลาย ที่เป็นความชำนาญที่หาได้ยากยิ่ง แรงที่พวกเขาลงจะตอบสนองทั้งงานและความเชื่อ ซึ่งเขาเชื่อว่า สองสิ่งนี้เกี่ยวพันและจะสร้างความสมดุลย์ในชีวิต ทั้งกลางวันและกลางคืนมีความยาวนานและเต็มไปด้วยความยากลำบาก Mama Marco เป็นตัวแทนของกลุ่ม Ika ที่จะแสดงให้เห็นพลังของสรรพสิ่งที่สร้างสรรค์จากการลงมือทำ เขาเป็นทั้งชาวนาไร่ ผู้ครองเรือน และยังทำหน้าที่ในทางศาสนาอีกด้วย

Monday, 16 September 2013 17:08

Rivers of Sand

ชน Hamar อาศัยในพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย พวกเขาอยู่อย่างโดดเดี่ยว และสภาพดังกล่าวนี้กลายเป็นเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ ส่งผลต่อการจัดระเบียบทางสังคมที่ไม่เหมือนใคร และสืบต่อมา วิถีชีวิตแบบฉบับดังกล่าวย้ำถึงสถานภาพของชายที่เหนือกว่า ชายชาว Hamar เป็นเหมือนนาย และหญิงเป็นเหมือนบ่าว ภาพยนตร์จึงไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นกิจกรรมทางสังคม แต่ยังถ่ายทอดความรู้สึกของอารมณ์และพฤติกรรมของความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ

เมื่อ ค.ศ. 1979 การปฏิวัติอิสลามในประเทศอิหร่าน ผลักดันชาวยิวต้องออกเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา และส่งผลให้ประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าสองหมื่นห้าพันปีของพวกเขาบนดินแดน แห่งนี้มาถึงวาระสุดท้าย ความไม่แน่นอนในความปลอดภัย และความเกรงกลัวต่อประหัตประหารของกลุ่ม Khomeini อิสลามคลั่งศาสนา สารคดีเรื่องนี้กล่าวถึงชีวิตชาวยิว ผู้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ และรวมกลุ่มเครือญาติอย่างแนบแน่นที่ลอสแองเจลิส ครอบครัวชาวอิหร่านพูดถึงอดีตของพวกเขา เรื่องราวการอพยพด้วยเหตุความเกลียดชังจากบ้านเกิดเพื่อปกป้องอนาคตของลูก หลานของพวกเขา พวกเขายังบอกเล่าอุปสรรคและความยากลำบาก น้ำเสียงของพวกเขาแสดงความกลัวเกี่ยวกับเด็กๆ ที่กำลังเติมโตมาในสังคมต่างแดน และรับเอาวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งไกลห่างจากรากเหง้าของตน ในอีกทางหนึ่ง ลูกหลานที่เติบใหญ่ กล่าวถึงความกดดันจากความคาดหวังของพ่อและแม่ ในอันที่จะคงไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมยิวอิหร่าน และการสร้างความเป็นตัวเองในโลกใหม่ของสังคมอเมริกัน

Monday, 16 September 2013 08:42

Into the Field

ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายให้เห็นชีวิตประจำวันของเหล่านางชีที่อาศัยอยู่ในวัด ออร์โธดอกซ์โรมาเนีย เมือง Varatec สมาชิกทั้ง 450 คนที่พำนักอยู่ในวัดแห่งนี้ อาศัยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ในบ้านเดี่ยว เหมือนกับในหมู่บ้านของคนทั่วป แตกต่างจากสภาพการอยู่อาศัยในวัดที่รวมกันอยู่อย่างในแบบที่เคยพบเห็น ตลอดทั้งปี เหล่านางชีจะปฏิบัติกิจในเคหะสถานพร้อมกับหน้าที่ทางศาสนา ทั้งต่อชุมชนและโบสถ์ หากเราเพ่งพินิจความงามที่ปรากฏภาพของศาสนมณฑลแล้ว ภาพยนตร์บอกเล่ากิจวัตรของเหล่านางชี ประสบการณ์ ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องราวศาสนกิจ ภาพยนตร์บันทึกความธรรมดาสามัญ สัมพันธภาพของเหล่านางชี กิจกรรมที่ปฏิบัติอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และยังกล่าวถึงโดยย่นย่อถึงวิธีทางที่ก่อขึ้นเป็นตัวตนของพวกเธอในพื้นทีที่ เสมือนแบ่งแยกแต่ยังคงเกี่ยวพันระหว่างบ้านและโบสถ์

Page 4 of 5