ลือเลื่องผ้าเมืองลอง

เมืองลองเป็นเมืองเล็กๆ อยู่ท่ามกลางภูเขาล้อมรอบในเขตจังหวัดแพร่ จากตำนานในอดีตเล่าว่า พระนางจามเทวี จากหริภุญชัยเสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตล้านนา เกิดพลัดหลงเข้ามาในเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งอยู่ท่ามกลางหุบเขามีแม่น้ำไหลผ่าน เป็นชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์จึงตรัสว่า "ลองขึ้นไปดู...ลองขึ้นไปดู" เหล่าเสนาอำมาตย์นักปราชญ์ต่างๆ จึงมาสำรวจพื้นที่ แล้วกลับไปรายงานว่า ห่างจากท่าน้ำที่ลองขึ้นไปดูประมาณหนึ่งช่วงของเสียงกลองดัง มีชุมชนโบราณที่อยู่ในความครอบครองของชาวลัวะ มีชื่อเมืองว่า "เมืองกุกุฏไก่เอิก" (เมืองไก่ขัน) ผู้คนในพื้นที่มีเชื้อสายจากนครหิรัญเงินยางละวะจักรราชเชียงแสน ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นลายขวางตีนดำตีนแดง ผู้มีฐานะนุ่งซิ่นลายขวางต่อด้วยตีนจก ชายนุ่งผ้าต้อยมีลายสักที่ตัวตั้งแต่เอวถึงเข่า ใช้ผ้าห่มตัวท่อนบนเรียก "ผ้าตุ้ม" นับถือผีบรรพบุรุษ มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ในเมืองนั้นมีต้นอ้ออยู่บนเนินดินอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำหล่อเลี้ยง เหมาะที่จะสร้างทำเป็นมงคลอนุสรณ์อย่างยิ่ง พระนางจามเทวีจึงได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ ณ เนินดินนั้น ต่อมาได้สร้างเป็นพระธาตุเรียกว่า พระธาตุห้วยอ้อและวัดพระธาตุห้วยอ้อ ปัจจุบันคือวัดศรีดอนคำ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเมืองตามที่พระนางเคยตรัสว่า “ลองขึ้นไปดู....ลองขึ้นไปดู” เป็นเมืองลองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในอดีตเมืองลองเคยมีวัฒนธรรมที่หลากหลายจากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวจีน ไทใหญ่ ไทลื้อ ลัวะ กะเหรี่ยงโบว์ และไท-ยวน ปัจจุบันความโดดเด่นในเรื่องของผ้าที่ยังคงเหลืออยู่อย่างเด่นชัดคือ ผ้าของกลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ ได้แก่ เสื้อลูกเดือยและผ้าซิ่นของกะเหรี่ยง และผ้าของกลุ่มไท-ยวนที่เป็นผ้าทอโบราณที่ตกทอดมาให้ฟื้นฟูสานต่อ เช่น ผ้าซิ่นตีนจกและผ้าตุ้ม

ในนิทรรศการได้เลือกจัดแสดงผ้าโบราณที่เป็นเฉพาะผ้าซิ่น เรียกว่า ผ้าซิ่นตีนจกเมืองลอง ผ้าโบราณเหล่านี้ที่มีอายุกว่า 200 ปี ชาวอำเภอลองได้นำลวดลายผ้าโบราณเหล่านั้นมาพัฒนาต่อยอด จนกระทั่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และเพื่อที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญา มีการระบุชื่อลายผ้าต่างๆ คงไว้เพื่อเป็นภูมิความรู้แก่เยาวชนคนรุ่นหลัง ให้รักษาเอกลักษณ์อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

ผ้าซิ่นตีนจกเมืองลองส่วนใหญ่ วัสดุที่ใช้ทอจะเป็นฝ้าย ไหม ไหมเงิน และไหมทอง เป็นวัตถุดิบหลัก ผ้าซิ่นตีนจกเมืองลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

การทอผ้าตีนจก คือ การทอด้วยเทคนิคการทำลวดลาย โดยการเพิ่มเส้นพุ่งต่างสี เข้าไปในเส้นยืนได้มากกว่าหนึ่งสี ตามความกว้างของหน้าฟืม โดยใช้ขนเม่นหรือนิ้วมือจกหรือยกเส้นด้ายเส้นยืนขึ้นแล้วสอดด้ายเส้นพุ่งต่างสีตามลายที่กำหนดไว้จนเกิดลวดลายที่มีสีสันสวยงามตามต้องการ

กลุ่มทอผ้าจก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ได้จัดตั้งกลุ่มที่ต่อยอดและสืบทอดของการทอผ้าจกโบราณ และผ้าตีนจกประยุกต์มากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะประกอบไปด้วย แม่บ้าน เกษตรกร จากหลายๆ หมู่บ้าน เรียกได้ว่าแทบเกือบทุกหมู่บ้านทั่วอำเภอลอง ได้สืบสานและต่อยอดผ้าเมืองลองให้เกิดประโยชน์กับชุมชนในลักษณะต่างๆ ดังนี้

close