ลุ่มน้ำท่าจีน

7 นิทรรศการ

บ้านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดบางหลวง ตั้งขึ้นโดยอาจารย์ชาลี ศรีพุทธาธรรม นำเสนอวิถีชีวิตเรื่องราวและประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นบางหลวง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนอพยพมาจากเมืองกว่างตง (กวางตุ้ง) ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คนจีนที่บางหลวงประกอบด้วยจีน 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือเจ๊กตลาด เป็นคนจีนที่ทำอาชีพค้าขายในตลาด กลุ่มสองคือเจ๊กไร่

พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชุมชนคลองผีเสื้อ เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเกษตรวิถีชุมชน รวบรวมเครื่องมือทางการเกษตรในช่วงสมัยก่อนไว้จำนวนมาก วัตถุที่นำเสนอในนิทรรศการ อาทิ หญ้างวงช้าง ตำรายาโบราณ ชมการสาธิตการใช้ระหัดวิดน้ำโบราณ(ระหัดชกมวย) โดยนายพนม ศรีสนิท ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์

กำฟ้าเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวไทยพวนยึดถือปฏิบัติต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต คำว่า "กำ" ในภาษาพวน หมายถึง การนับถือสักการะ คำว่า "ฟ้า" หมายถึงเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน หรือผู้ที่อยู่สูงเทียมฟ้า คือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจมองเห็นดื้การนับถือฟ้า สักการะบูชาฟ้าของชาวไทยพวน เชื่อกันว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากเทวดาผู้รักษาฝากฟ้า

ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ คือ ประเพณีทำบุญทอดผ้าป่าของชาวไทยเชื้อสายลาวคั่ง ที่ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ในอำเภอเมือง ตำบลโพรงมะเดื่อ และอำเภอดอนตูม ที่ตำบลเลาเต่าลำเหยตะโกสูง ดอนรวก ทุ่งผักกูด ธงสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ ยาวประมาณ 10 เมตรขึ้นไป ปลายธงมีกิ่งไผ่และที่สำหรับแขวน

การเล่นว่าวในประเทศไทยมีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย ว่าวที่รู้จักกันมาก ได้แก่ "ว่าวหง่าว" หรือ”ว่าวดุ๋ยดุ่ย” จะใช้ชักขึ้นในพิธี "แคลง" ทุกหนทุกแห่ง เป็นความเชื่อของประชาชนในสมัยนั้นว่าเพื่อเป็นการเรียกลมหรือความโชคดีให้เกิดขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "ว่าวหง่าว" เป็นว่าวที่เก่าแก่ที่สุดของไทย

วัดห้วยตะโกเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จากหลักฐานทางโบราณวัตถุที่พบในวัดน่าจะสร้างในยุคสมัยอู่ทองกว่า 700 ปีมาแล้ว สันนิษฐานจากลวดลายของใบเสมาหินทรายแดงแกะสลักอยู่รอบอุโบสถหลังเก่าของวัด พระครูสังฆรักษ์ไพบูลย์ กตปุญโญ เจ้าอาวาส ได้มีความคิดที่ต้องการจะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทยไม่ให้หายไปจึงได้ริเริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโกขึ้น

เทคนิคการเย็บผ้าของไทยทรงดำมีเทคนิคเฉพาะตัว เน้นการใช้งานได้ทั้งสองด้านและประณีต กระดูกหรือสันผ้ารอยต่อต่าง ๆ ต้องแน่น สันกระดูกรอยต่อต้องเล็กรอยเข็มเสมอกัน เพราะในอดีตเสื้อผ้ากางเกงที่จะใช้ในชีวิตประจำวันและเสื้อผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ต้องเย็บด้วยมือที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เทคนิคการเย็บก็มีเฉพาะตัวในแต่ละครอบครัว

close