ทุนนิยมโลกของการแพทย์สมัยใหม่กับการปลุกเสกชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ เขียนโดย นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

 |  วัฒนธรรมสุขภาพ
ผู้เข้าชม : 2156

ทุนนิยมโลกของการแพทย์สมัยใหม่กับการปลุกเสกชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ เขียนโดย นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

 

ทุนนิยมโลกของการแพทย์สมัยใหม่กับการปลุกเสกชีวิตและสุขภาพของมนุษย์

เขียนโดย นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

 

แนะนำโดย

ธนาวัฒน์ ปัญญานันท์ 

นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

 

ภาพปกวารสารมานุษยวิทยา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561)

 

           ในส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “ทุนนิยมโลกของการแพทย์สมัยใหม่กับการปลุกเสกชีวิตและสุขภาพของมนุษย์” นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ นำเสนอประเด็นเรื่องสงครามแห่งเชื้อโรคกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผู้เขียนนำเสนอการวิพากษ์โครงสร้างทางสังคมชนชั้นที่มีผลต่อการสร้างความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพผ่านมุมมองแนวคิดมาร์กซิสม์ แนวคิดดังกล่าวชี้ให้เห็นโครงสร้างทางสังคมเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตว่าชนชั้นแรงงานรายได้น้อยจะมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่กว่าชนชั้นนายทุน

           นอกจากนี้ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นถูกนำมาผนวกกับ ปัญหาเชื้อโรค อคติทางเชื้อชาติ และการเมือง ในประเด็นเรื่องสุขภาพ ประเทศที่ยากจนถูกให้ภาพว่าเต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงการผูกโยงทางชีววิทยาที่นำไปสู่กล่าวอ้างเพื่ออธิบายต้นเหตุของโรคและความอ่อนแอต่อความเจ็บป่วย จึงเป็นบทบาทหน้าที่ที่จำเป็นของประเทศมหาอำนาจที่ร่ำรวยกว่าในการเข้ามาช่วยเหลือเพื่อหาวิธีปกป้อง โดยการสร้างระบบระเบียบ กฎเกณฑ์ให้ประเทศที่ยากจนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยปัญหาดังกล่าวนี้ถูกมองว่าต้องทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อแก้ไขปัญหา

           จากปมปัญหาและความพยายามในการแก้ไขปัญหาข้างต้นดังกล่าว อาจทำให้ดูเหมือนว่า งบประมาณที่ทุ่มลงไปนั้นได้เข้าถึงประชากรโลกแม้ในระดับโครงสร้างสังคมส่วนล่าง และจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพกลับถูกแทรกแซงด้วยกลไกทางการเมือง ชนชั้นทางสังคม หรือแม้แต่ระบบการทำงานราชการ เป็นต้น เงื่อนไขดังกล่าวนี้ส่งผลให้คนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาบริการด้านสุขภาพ

           ดังนั้นการบริการด้านสุขภาพและการเข้าถึงสิทธิในการเยียวยารักษาโรค จึงมิใช่เพียงข้อค้นพบทางการแพทย์ระหว่างปัญหาจากเชื้อโรคและการป้องกันต้านทานโรค แต่มีเงื่อนไขทางการเมือง อคติทางวัฒนธรรม ความเลื่อมล้ำทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจรวมอยู่ด้วย หน้าที่ในการปกป้องประชากรในประเทศหรือโลกจึงมิได้เป็นหน้าที่เฉพาะของกลุ่มคนโดยสารัตถะ แต่เป็นผลมาจาก “วาทกรรมการมีสุขภาพที่ดี” ที่โครงสร้างสังคมส่วนบนประกอบสร้างขึ้น

 

อ่านบทความ

https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/226305/154552

 

 

 

ผู้เขียน

ธนาวัฒน์ ปัญญานันท์

นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ป้ายกำกับ วัฒนธรรมสุขภาพ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Share