Title Author Imprint Collection Url Annotation
วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย รูธ เบเนดิกต์ ; พรรณี ฉัตรพลรักษ์ แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2564 Books: DS568 .บ74 2564

Thai Culture and Behavior เขียนโดย Ruth Fulton Benedict นักมานุษยวิทยารุ่นบุกเบิกของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2486 ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย โดยพรรณี ฉัตรพลรักษ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์เจ้าพระยาในปี พ.ศ. 2524

Ruth Fulton Benedict ใช้วิธีการศึกษาสังคมไทยผ่านงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Siam: A handbook of Practical, Commer, and Political Information ของ Walter Armstrong Graham, Kingdom of the Yellow Robe ของ Ernest Young, Siamese tales Old and New ของ Reginald le May, Thailand: The New Siamของ Virginia Malean Thompson, Siam in transition ของ Kenneth Perry Landon รวมถึง My Boyhood in Siam ของ กุมุท จันทร์เรือง

เนื้อหาของหนังสือแบ่งเป็น 2 ภาค ได้แก่ ภาคหนึ่ง ประกอบด้วย ประเพณีดั้งเดิม ศาสนา และวัยผู้ใหญ่ ภาคสอง ได้แก่ วัยเด็ก และลักษณะพิเศษบางประการของคนไทย

ผู้เขียนกล่าวถึงลักษณะพิเศษของคนไทย 3 ลักษณะ ได้แก่ ชีวิตที่รักความสนุกสนาน ใจเย็น และความมีอำนาจของชาย

           1. ชีวิตที่รักความสนุกสนาน

           ผู้เขียนได้กล่าวว่าคนไทยนั้นเป็นผู้ที่มีชีวิตรักความสนุกสนาน งานประเพณีต่าง ๆ ของคนไทยนั้นมักเป็นงานรื่นเริง ทำให้รู้สึกสนุกสนาน รวมถึงการ “ดื่ม” เพื่อให้เกิดความร่าเริง

           2. ใจเย็น

           ผู้เขียนกล่าวว่าคนไทยมีลักษณะนิสัย ทัศนคติและอารมณ์ที่คล้ายคลึงกับคนตะวันออกไกลและโอเชียเนียที่เรียกว่า “อารมณ์เย็น” อันหมายถึง การไม่เป็นคนช่างกังวล การดำเนินชีวิตสุขสบาย รวมทั้งหมายถึงท่าทีที่เยือกเย็นต่อการงาน ความรับผิดชอบ หรือความลำบาก

           3. ความมีอำนาจของชาย


วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตามมุมมองของ Ruth Fulton Benedict ยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ยึดโยงกับความหมายว่า เป็นแบบแผน เป็นสิ่งที่ดีงาม ถึงแม้ว่าข้อจำกัดในการเขียนหนังสือเล่มนี้จะเป็นเรื่องที่ผู้เขียนไม่สามารถเดินทางมาศึกษาสังคมไทยได้ด้วยตนเองและมีข้อมูลให้ใช้ได้อย่างจำกัด แต่หนังสือเล่มนี้ก็ช่วยให้เห็นมุมมองที่ “คนอื่น” มีต่อ “คนไทย” และ เป็นการศึกษามานุษยวิทยาวัฒนธรรมในประเทศไทย ผ่านวิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยาอย่างเป็นระบบ

พื้นที่ความรู้ มานุษยวิทยา คนสามัญ : 70 ปี อานันท์ กาญจนพันธุ์ อานันท์ กาญจนพันธุ์ เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2560 Books: GN4 .อ63 2560 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094478     พื้นที่ความรู้ มานุษยวิทยา คนสามัญ: 70 ปี อานันท์ กาญจนพันธุ์ ตีพิมพ์ครั้งที่ 1 ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2560 เขียนโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรวมบทความจากการแสดงปาฐกถาที่อาจารย์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในช่วงปี พ.ศ. 2552-พ.ศ. 2559 เช่น ปาฐกถาพิเศษ "อาณาบริเวณศึกษา" การประชุมวิชาการเรื่อง อาณาบริเวณศึกษา: แนวคิด วิธีวิทยา และแนวทางการพัฒนา 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ณ ห้องประชุมพระยาศรีสารวาจา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปาฐกถาเรื่อง “ขอบเขตวัฒนธรรมล้านนา” ในการประชุมสัมมนาวิชาการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับชาติ ครั้งที่ 1 วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่จะพาผู้อ่านเพลิดเพลินไปกับสาระสำคัญของการปาฐกถาแต่ละหัวข้อที่อาจารย์ได้มีโอกาสไปบรรยาย และจะทำให้ผู้อ่านได้รู้จักตัวตนของอาจารย์มากขึ้นผ่านเนื้อหาทั้ง 9 บท ดังนี้

บทที่ 1: พัฒนาการของสังคมศาสตร์ไทย
บทที่ 2 : มานุษยวิทยา/อาณาบริเวณศึกษา
บทที่ 3: พื้นที่วัฒนธรรมล้านนา
บทที่ 4: พหุสังคมกับประชาคมอาเซียน
บทที่ 5: การปรับโครงสร้างชนบทไทย
บทที่ 6: พลเมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน
บทที่ 7: สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากร
บทที่ 8: ชีวิตไร้ตัวตนของคนงานข้ามชาติ
บทที่ 9: ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง


 จากเนื้อหาทั้ง 9 บท ที่ได้หยิบยกกรณีศึกษาขึ้นมาบรรยายในมิติต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าอาจารย์ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่มากมายของอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพัฒนาการของสังคมศาสตร์ไทย อาณาบริเวณศึกษา สิทธิชุมชน ตลอดจนทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองมาย่อไว้ในหนังสือพื้นที่ความรู้ มานุษยวิทยา คนสามัญ: 70 ปี อานันท์ กาญจนพันธุ์

ผีเจ้านาย ฉลาดชาย รมิตานนท์ เชียงใหม่ : โครงการตำรามหาวิทยาลัย ห้องจำหน่ายหนังสือ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545 Books: BF1468.ท9ฉ4 2545 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038756 หนังสือเรื่อง “ผีเจ้านาย” จัดพิมพ์ขึ้นจากรายงานการวิจัยเรื่อง “ประเพณีการทรงผีเจ้านายและบทบาททางสังคม : กรณีศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่” ตีพิมพ์ครั้งแรกโดย โครงการตำรามหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2527
 

“ผีเจ้านาย” ได้เลือกนำเสนอเรื่องราวของม้าขี่และผีเจ้านายทั้งหมด 3 กรณีด้วยกัน คือ เจ้าข้อมือเหล็ก เจ้าพี่แสนแสบ และปู่แสะย่าแสะ ผ่านการตั้งคำถามของผู้ศึกษาว่าประเพณีการนับถือผีและการเข้าทรงผีเจ้านายดำรงอยู่ได้อย่างไรภายในระบบความเชื่อทางศาสนาในรูปแบบ พุทธ – พราหมณ์ – ผี ความสัมพันธ์และการจัดโครงสร้างของ “สาย” คนทรงหรือม้าขี่ และผีเจ้านายนั้นเป็นอย่างไร ประเพณีและพิธีกรรมของการทรงผีเจ้านายของม้าขี่สามคนนั้นแตกต่างกันหรือไม่ รวมถึงในขณะที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ได้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตด้านต่าง ๆ มากขึ้น ปัจจัยใดบ้างที่ยังคงทำให้ความเชื่อเรื่องผีเจ้านายยังคงดำรงอยู่ในสังคม