Title Author Imprint Collection Url Annotation
สารคดีหมู่บ้านจะแล มูลนิธิกระจกเงา [เชียงราย : มูลนิธิกระจกเงา, ม.ป.ป.] Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - VCD 000873 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058459             หมู่บ้านจะแลเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลาหู่ที่ตั้งอยู่ในชุมชนห้วยแม่ทราย ชาวบ้านมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ มีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความเชื่อเรื่องการนับถือบรรพบุรุษและจิตวิญญาณแบบดั้งเดิม เดิมทีหมู่บ้านจะแลตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ภายหลังได้มีการโยกย้ายลงมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันเนื่องจากการจัดสรรที่ดินใหม่ของกรมป่าไม้ ภายในหมู่บ้านจะมีสถานที่เรียกว่า “หอเย่” ตั้งอยู่ใกล้บ้านของผู้นำหมู่บ้าน เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นอกจากพิธีกรรมเกี่ยวกับจิตวิญญาณแล้ว ชาวลาหู่ยังมีพิธีที่แสดงความเคารพต่อผู้เฒ่าผู้แก่ภายในหมู่บ้านนั่นคือพิธีรดน้ำดำหัว ความสามารถที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของชาวลาหู่คือการเป็นนายพราน เนื่องจากชาวลาหู่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันและหากินล่าสัตว์อยู่กับป่า ภายในหมู่บ้านยังมีพิพิธภัณฑ์ชาวเขาที่ศูนย์กระจกเงาร่วมกับชาวบ้านจะแลสร้างขึ้น มีการจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านในอดีต ถือเป็นสถานที่ที่บันทึกและบอกเล่าเรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบันของชาวหมู่บ้านจะแล
ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 24 : ประวัติสังเขปชนชาติ แม้ว เย้า มูเซอร์ ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 24 [พระนคร : โรงพิมพ์ภูไท, 2475] Sac Library -- Cremation Books (8th floor) -- DS569.ล63 2475 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068461             แม้ว่าไม่มีข้อมูลยืนยันว่าผู้เขียนหนังสือฉบับนี้คือใคร แต่ราชบัณฑิตยสภาได้อนุญาตให้ตีพิมพ์หนังสือฉบับนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นข้อมูลที่ได้รวบรวมและให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมของกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือ ได้แก่ แม้วหรือม้ง เย้าหรือเมี่ยน มูเซอร์หรือลาหู่ ในส่วนของชาวมูเซอร์มีการกล่าวถึงประวัติโดยสังเขปของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ได้แก่ รูปร่างลักษณะ ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร การคมนาคม การประกอบอาชีพ ลัทธิความเชื่อ รวมทั้งภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าลาหู่เหลือง ดอยม่อนล้าน ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย และญาณิศา โกมลสิริโชค Proceeding CRCI-2018 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : เล่ม 2 (6-8 ธ.ค. 2561), หน้า 931-939 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=464364&query=             ปัจจุบัน การเข้ามาส่งเสริมการผลิตผ้าชนเผ่าของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านกระบวนการผลิตแบบใหม่ๆ การใช้วัสดุแบบใหม่ๆ ทำให้ผ้าชนเผ่าสูญเสียอัตลักษณ์ที่สำคัญไป งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถ่ายทอดลงสู่ชุมชนลาหู่เหลือง ดอยม่อนล้าน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว โดยจะนำเอาลวดลายโบราณและกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมมาส่งเสริมและออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าชนเผ่าให้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย แต่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นชนเผ่าเอาไว้ เพื่อการอนุรักษ์กระบวนการผลิตและลวดลายดั้งเดิมของผ้าชนเผ่าลาหู่เหลือง ดอยม่อนล้าน
สังคมชาวนาจีนชนชาติลาหู่หลังการปฏิวัติวัฒนธรรม สมบัติ บุญคำเยือง วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2560 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=478766&query=             งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับชาวนาจีนชนชาติลาหู่ เพื่อวิเคราะห์สถานภาพของกลุ่มในยุคหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ประเด็นแรกได้แก่ การกลายเป็นจีนและชนชาติลาหู่ แต่เดิมชนชาติลาหู่ถูกเรียกว่าชนชาติหลัวเฮย ต่อมาหลัวเฮยถูกยึดครองโดยกองทัพฮั่น เกิดการต่อสู้และพ่ายแพ้จนต้องอพยพไปจัดตั้งรัฐอิสระปกครองตนเอง ในขณะเดียวกัน สังคมวัฒนธรรม จารีตประเพณี ความเชื่อพุทธศาสนาของชนชาติฮั่น ก็ค่อยๆผสมผสานกับชนชาติหลัวเฮย จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนที่เรียกว่าชนชาติลาหู่ ประเด็นที่สองเรื่อง ระบบไร่นารวมหมู่และชาวนาชนชาติจีนลาหู่ หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 การตั้งถิ่นฐานแบบกึ่งเร่ร่อนของชนชาติลาหู่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นแบบชุมชน มีการบุกเบิกที่ราบกลางหุบเขาเป็นพื้นที่นา จนเรียกได้ว่าชาวนาจีนลาหู่ ประเด็นที่สามคือเรื่องชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีนชนชาติลาหู่ ที่งานวิจัยนี้ใช้เรียกชนชาติลาหู่ที่ถูกผนวกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตามนโยบายสร้างสังคมนิยมใหม่ในชนบท
การช่วงชิงพื้นที่่ศักดิ์สิทธิ์และการครอบงำเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่หงีในบริเวณชุมชนชายแดนไทย-พม่า ใน ชายแดนกับความหลากหลายของระบบความเชื่อ : การช่วงชิงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และการครอบงำเชิงสัญลักษณ์ อริยา เศวตามร์ เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์, 2559 Sac Library - Books (7th floor) - HM62.ท9 ช64 2559 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00091383             งานเขียนนี้ศึกษาทำความเข้าใจขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนลาหู่หงี ในการช่วงชิงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และปฏิบัติการทางศาสนาในชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้นำทางศาสนาดั้งเดิม ซึ่งเป็นการโต้ตอบเชิงสัญลักษณ์ต่อการครอบงำจากภายนอกและภายในกลุ่มเดียวกันเอง โดยการอ้างถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับจากพระเจ้า หรือ หน่าปิจ่อเว ที่ทำให้บุคคลกลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์จากการที่พระเจ้ามาลง หรือ กื่อซาหย่าละเว การรวมตัวของผู้นำศาสนาและการปฏิบัติตามความเชื่ออย่างเคร่งครัดในครั้งนี้ มีการประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและการเมือง เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ต่อรัฐไทย
การจัดการวัฒนธรรมชุมชน: ภูมิปัญญาในการเสริมสร้างความมั่นคงผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชนลาหู่ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ธีรพงษ์ บุญรักษา และชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร วารสารศิลปกรรมบูรพา. ปีที่ 19, ฉบับที่ 1 (มิ.ย.-พ.ย. 2559), หน้า 93-113 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=464364&query=             บทความวิจัยนี้นําเสนอผลการศึกษาภูมิปัญญาการสร้างความมั่นคงให้กับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาหมู่บ้านลาหู่ 4 หมู่บ้านในอําเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทําความเข้าใจถึงระบบวิธีคิด ความเชื่อ และค่านิยม ที่มีผลต่อวิถีการปฏิบัติกับผู้สูงอายุ จนพัฒนาเป็นภูมิปัญญาในการสร้างความมั่นคงให้ผู้สูงอายุชาวลาหู่ ผลการศึกษาพบว่าความมั่นคงของผู้สูงอายุชาวลาหู่ขึ้นอยู่กับการธํารงอยู่ของวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวลาหู่ที่มีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เริ่มจากการถ่ายทอดความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ได้แก่ วาทกรรมคํา สั่งสอน ผู้นํา ทางความเชื่อ ศาสนสถาน ระบบการปกครอง ผีบรรพบุรุษ พิธีกรรม ครอบครัวและชุมชน จนกลายเป็นค่านิยมกตัญญูกตเวที บรรทัดฐานสังคม และระบบเกื้อกูล ซึ่งนําไปสู่ความมั่นคงของผู้สูงอายุในชุมชนชาวลาหู่ บทความนี้ยังได้นําเสนอความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อวัฒนธรรมชุมชนชาวลาหู่ รวมทั้งแนวทางการจัดการวัฒนธรรมชุมชน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในผู้สูงอายุลาหู่อย่างยั่งยืนในยุคปัจจุบัน
การสร้างบทเรียนท้องถิ่นและศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่นจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร จำเนียรน้นอย สิงหะรักษ์;อิสสราพร อ่อนบุญ;วิยุดา ทิพย์วิเศษ;โอกามา จ่าแกะ;วรรณิศา สุโสม;ธวชินี ลาลิน กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2558 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=436618&query=             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ 6 กลุ่ม คือ ม้ง เมี่ยน ปกาเกอะญอ ลัวะ ลาหู่ และลีซู นอกจากนั้นยังมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างบทเรียนท้องถิ่น และหารูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยชุมชนมีส่วนร่วม จากการศึกษาพบว่าศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวควรเป็นศูนย์กลางการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนในชุมชน เป็นสถานที่ถ่ายทอดทักษะความรู้ตลอดจนภูมิปัญญาของชุมชน อีกทั้งยังเป็นแหล่งบริการชุมชนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวีติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ ก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ความสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่สอดประสานแห่งทำนองชาติพันธุ์ลาหู่ ชาคริต เอี่ยมขจร วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=465794&query=              ผลงานวิจัยนี้ ผู้เขียนประสงค์ที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะจากความประทับใจในวัฒนธรรมประเพณีของชาวเขาเผ่าลาหู่ บ้านแม่ปิงหรือบ้านห้วยหวาย ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผสานกับความสัมพันธ์ที่มีขึ้นระหว่างคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษา และวิถิีชีวิตความเป็นอยู่ โดยมีช่วงเทศกาลปีใหม่ของชาวเขาเผ่าลาหู่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ถ่ายทอดเป็นงานศิลปะในรูปแบบประเภทผลงานที่หลากหลาย เช่น จิตรกรรม เสียง วิดีโอ วัสดุและเทคนิคผสมอื่นๆ ซึ่งแม้จะผลิตมาจากบุคคลคนเดียวแต่ด้วยความหลากหลายของมูลเหตุแรงบันดาลใจ ทำให้แต่ละส่วนของชิ้นงานมีลักษณะที่แตกต่างกัน
แนวโน้มการพัฒนาด้านการเกษตรของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำบ้านห้วยลุหลวง ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำลอง ปอคำ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 2558 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=421867&query=             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาด้านการเกษตรของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำบ้านห้วยลุหลวง ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกษตรชาติพันธุ์ลาหู่ดำ ทั้งชาวลาหู่ดำที่เป็นเกษตรกรเอง ผู้นำการปกครองของหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าในอดีตการเกษตรชาติพันธุ์ลาหู่ดำเป็นการเกษตรเพื่อเลี้ยงชีพในครอบครัว โดยการทำไร่หมุนเวียนและทำนาบ้างเล็กน้อย มีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้เสริม อาศัยองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านเกษตรกรของชาติพันธุ์ลาหู่ดำเป็นหลัก ต่อมามีการผลิตเพื่อการค้ามากขึ้น เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ พื้นที่ทำการเกษตรที่จำกัด สภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่การเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังมีโรคพืชและสัตว์ทางการเกษตร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือนโยบายของรัฐบาลในการจัดการพื้นที่ป่า นโยบายส่งเสริมพืชเศรษฐกิจเพื่อการค้า และการเข้าไม่ถึงสิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในถิ่นที่อยู่ตนเอง
สิทธิในที่ดินของบุคคลบนพื้นที่สูง : กรณีศึกษาตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทรงพล ชีวินมหาชัย เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา, 2558 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=390920&query=             ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลป่าตึง ประกอบด้วยบุคคลหลายกลุ่มหลายสถานะที่เข้ามาอาศัยอยู่และทำกินเป็นจำนวนมาก มีทั้งคนไทยที่มีฐานะยากจนไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทั้งที่มีสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ใช้ภาษาประจำกลุ่มของตนเองเป็นหลัก ทำให้มีปัญหาด้านการสื่อสาร รวมถึงปัญหาการพิสูจน์สถานะบุคคลและสัญชาติไทย เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่ได้รับความเป็นธรรมในด้านสิทธิในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดิน จึงไม่มีหนังสือรับรองสิทธิครอบครอง ทั้งๆที่มีการครอบครองและเข้าทำประโยชน์ต่อเนื่องมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังมีปัญหาการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อนลงไปในพื้นที่ป่าชุมชนที่เป็นที่ดินทำกินของบุคคลบนพื้นที่สูงอีกด้วย ถึงแม้ภายหลังจะมีการออกโฉนดชุมชนเพื่อจัดสรรที่ทำกินให้ชาวบ้าน แต่พื้นที่ป่าอนุรักษ์ เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า และเขตป่าอนุรักษ์ ก็ไม่สามารถออกโฉนดชุมชนได้ จึงทำให้เกิดความไม่ชัดเจนเรื่องสิทธิในที่ดินของบุคคลบนพื้นที่สูงมาโดยตลอด
เยี่ยมบ้านลาหู่ที่จ่าโบ่ ทีวีไทย กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2556] Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000313 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079166             รายการพันแสงรุ้งตอน “เยี่ยมบ้านลาหู่ที่จ่าโม่” นำเสนอเรื่องราวของชาวลาหู่นะหรือมูเซอดำ บ้านจ่าโบ่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในรูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชน ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจวีถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การอยู่กับป่าและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชาวลาหู่ดำ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมหรือพักที่หมู่บ้านจ่าโบจะได้เรียนรู้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน การทำงานหัตถกรรมจักสานที่เป็นเอกลักษณ์ของชายชาวลาหู่ดำ การเย็บผ้า เครื่องดนตรีและการละเล่นดนตรีพื้นบ้าน อีกหนึ่งกิจกรรมที่มีความโดดเด่นของการท่องเที่ยวบ้านจ่าโบ่ คือการเยี่ยมชมถ้ำผีแมนที่มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์โบราณเมื่อสมัย 2,000 ปีก่อน การเข้ามาของนักท่องเที่ยวยังหมู่บ้านจ่าโบ่มีทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ผลกระทบเชิงบวกคือเป็นการสร้างรายได้ สร้างโอกาสให้ชาวบ้านได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวและเกิดความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลกระทบในด้านลบได้หากชาวบ้านต่างพากันปรับเปลี่ยนตนเองไปตามกระแสความเป็นสมัยใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับนักท่องเที่ยว
การศึกษาศักยภาพของชุมชนเพื่อจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าลาหู่ บ้านท่าฮ่อ ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย อุสิธารา จันตาเวียง เชียงราย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2555 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=429684&query=             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและปัจจัยที่มีผลให้ชาวเขาเผ่าลาหู่บ้านท่าฮ่อ ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เกิดศักยภาพในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาเผ่าลาหู่ โดยพบว่าปัจจัยที่สำคัญคือ ประเพณีการกินข้าวใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวลาหู่ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการสนับสนุนขององค์กรต่างชาติที่ช่วยเหลือในด้านงบประมาณ เช่น ที่ดิน การสร้างที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังพบว่าความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มทางสังคมของชาวลาหู่ในด้านวัฒนธรรมยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก โดยการรวมกลุ่มส่วนใหญ่จะเห็นเด่นชัดในเรื่องของศาสนา
ชีวิตและการทำพันธกิจของคริสตจักรท้องถิ่นในเขตพื้นที่สูงชาติพันธุ์ลาหู่ภาคเหนือ สังกัดคริสตจักรภาคที่ 18 แห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ซิน ซึง ยอม และประสิทธิ์ แซ่ตั้ง ซิน ซึง ยอม และประสิทธิ์ แซ่ตั้ง ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=524956&query=           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพชีวิต และการทำพันธกิจของคริสตจักรท้องถิ่นในเขตกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าคริสตจักรมีลักษณะทั่วไปเป็นไปตามคำสอนในพระคัมภีร์และคริสต์ศาสนศาสตร์ระดับหนึ่ง มีพันธกิจเด่นคือการนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์ การร่วมสามัคคีธรรมเฉพาะในกลุ่มคนที่มาคริสตจักร อย่างไรก็ตามยังมีจุดอ่อนที่เห็นได้ชัดคือ การขาดกระบวนการบ่มเพาะฟูมฟักชีวิตสาวกของพระเยซูคริสต์ ทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ไม่ได้เรียนพระวจนะในคริสตจักรหรืออธิษฐานและอ่านพระคัมภีร์ มีเพียงการฟังคำเทศนาเวลานมัสการเท่านั้น ส่งผลให้พระเจ้าไม่มีส่วนในการตัดสินใจในชีวิต การสำแดงความรักความเมตตาของพระคริสต์ต่อคนในชุมชนมีอย่างจำกัด และเป็นอุปสรรคต่อการประกาศพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์
การพัฒนาความร่วมมือร่วมใจในการอยู่ร่วมกันของคนบนพื้นที่สูง (คนลาหู่) กับคนพื้นที่ราบ (คนเมือง) ในชุมชนบ้านแม่ดอกแดง หมู่ที่ 1 ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ณัฐพงษ์ มณีกร วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิภาคสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2554 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=289775&query=             ปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาในการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาวล่าหู่บนพื้นที่สูง และกลุ่มคนเมืองพื้นราบในชุมชนบ้านแม่ดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการผลิตซ้ำความเป็นชุมชนเดิม เนื่องจากชาวลาหู่มีความอึดอัดใจและไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมเมืองแบบใหม่ได้ จึงเกิดการแยกกลุ่มออกมาตั้งเป็นชุมชนอิสระ ปัจจัยด้านอคติทางชาติพันธุ์ที่คนเมืองมองวัฒนธรรมอื่นต่ำกว่า โดยใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นพื้นฐาน ส่งผลให้เกิดการกีดกันและไม่ให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงสวัสดิการและบริการของภาครัฐตามสิทธิที่คนลาหู่พึงได้รับ ปัจจัยด้านความแตกต่างทางภาษาที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน รวมทั้งวิธีคิดเรื่องกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกัน โดยคนเมืองมองว่าทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเป็นสมบัติของคนดั้งเดิมเท่านั้น ในขณะที่คนลาหู่มองว่าเป็นทรัพย์สินของทุกคนในชุมช
การเมืองของการสร้างภาพตัวแทนทางชาติพันธุ์ในพื้นที่การท่องเที่ยว: กรณีศึกษาโฮมสเตย์ชาวลาหู่ บ้านยะดู สาริณีย์ ภาสยะวรรณ วิทยานิพนธ์ศิลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=275641&query=             วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ชาวลาหู่บ้านยะดู ที่มีการนำชีวิตประจำวันและพื้นที่บ้านในลักษณะความเป็นชาติพันธุ์ลาหู่ มาเป็นสินค้าในการท่องเที่ยว และศึกษาการถูกควบคุมและกำกับการดำเนินชีวิตชาวลาหู่ที่เกิดขึ้นภายใต้การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ นอกจากนี้ยังศึกษาการเมืองของการสร้างภาพตัวแทนของชาวลาหู่บ้านยะดูอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าภาพลักษณ์ของโฮมสเตย์ชาวลาหู่นั้น มีกระบวนการประดิษฐ์สร้างพื้นที่อันเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างชาวลาหู่กับบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ในเชิงธุรกิจทัวร์ และความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ต้องการสร้างบ้านลาหู่ให้เป็นโฮมสเตย์ชาวลาหู่ตามรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุดมคติ ส่งผลให้เกิดการกำกับควบคุมชาวลาหู่ให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวตามรูปแบบโปรแกรมท่องเที่ยวที่บริษัททัวร์และองค์กรพัฒนาเอกชนกำหนด
รูปแบบการเสริมสร้างชุมชนให้กลับฟื้นคืนวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเขาเผ่าลาหู่: กรณีการผลิตข้าวซ้อมมือ อมร แก้วเป็ง วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น, 2553 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=273638&query=             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมเกี่ยวกับการผลิตข้าวซ้อมมือของชาวเขาเผ่าลาหู่ตำบลพระธาตุปู่ก่ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการผลิตข้าวซ้อมมือเพื่อบริโภคมากขึ้น มีความร่วมมือในการช่วยกันตำข้าว ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคได้นำไปจำหน่ายที่สำนักงานส่วนราชการในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จากการทำบัญชีครัวเรือนพบว่าชาวบ้านมีรายได้จากการจำหน่ายข้าวซ้อมมือครั้งละประมาณ 200-300 บาท และมีรายจ่ายลดลงจากการที่ตำข้าวซ้อมมือไว้บริโภคเองในครัวเรือน หากมีการส่งเสริมศักยภาพจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก็จะสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิต และอนุรักษ์วิถีดั้งเดิมของชนเผ่าให้มั่นคงและยั่งยืนสืบต่อไปได้
การเมืองเรื่องพื้นที่ของตลาดชาวเขา กับยุทธศาสตร์ในการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ : กรณีศึกษาลาหู่เวเล สุรเดช ลุนิทรานนท์ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553 SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ช65 ส74 2553 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00092754             ในการศึกษานี้ ศึกษาชาวลาหู่เชเล หรือมูเซอดำ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงดอยมูเซอ ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตากเป็นหลัก โดยชาวลาหู่เชเล มีภาษาของตนเองคือ ภาษาลาหู่ คล้ายภาษาพม่าเพราะมาจากตระกูลภาษาเดียวกัน มีความเชื่อเรื่องผี แต่ต้องเป็นผีที่มีคุณประโยชน์ อย่างผีบรรพบุรุษ นับถือ “กื่อซา”ที่เป็นผู้สร้างโลก สร้างสรรค์ความดีทั้งมวลและมีอำนาจสูงสุด มีความเชื่อว่าชีวิตหลังความตายจะได้ไปอยู่กับกื่อซา ปัจจุบันมีการนับถือศาสนาอื่นๆด้วย อย่างพุทธและคริสต์ ชาวลาหู่บนดอยมูเซอ แรกเริ่มใช้ชีวิตบนที่สูง ด้วยการหาของป่า เพาะปลูก การเข้ามาของรัฐไทย ทำให้พื้นที่บนดอยมูเซอกลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์แลพะพัฒนาไปตามที่รัฐต้องการ ทั้งทางกายภาพและวิธีคิดของคนในชุมชน
กระบวนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าบ้านจะแล ต.แม่ยาว อ.เมือง จ. เชียงราย กุมารี ลาภอาภรณ์ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=263197&query=             กระบวนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าบ้านจะแลในส่วนอาคาร “ซุ้มดินศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตชนเผ่าบ้านจะแล” เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นความสำคัญทางวัฒนธรรมของชุมชน มีขั้นตอนในการจัดตั้งเป็นลักษณะการควบคุม จัดการ และดำเนินการโดยองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งแต่การให้ความหมายของพิพิธภัณฑ์จนกระทั่งการบริหารจัดการ แม้ชุมชนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามที่องค์กรกำหนดไว้ แต่ยังขาดการมีส่วนร่วมในการวางแผนและเป็นผู้ตัดสินใจ จึงทำให้พิพิธภัณฑ์กลายเป็นเพียงสถานที่เก็บสิ่งของและยังไม่สามารถทำหน้าที่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนได้ ในขณะที่กระบวนการจัดทำเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าออนไลน์โดยทีมงานเยาวชนชนเผ่า เป็นไปในลักษณะร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนชนเผ่าและคนในชุมชนได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมตนเอง
พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวมูเซอดำ บ้านห้วยปลาหลด ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก คมกริช เศรษบุบผา และดวงใจ ศุขเฉลิม วารสารวนศาสตร์ : ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 (2552), หน้า 29-39 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=152373&query=             งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวมูเซอดำหรือลาหู่ บ้านห้วยปลาหลด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในการนำพรรณพืชพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าชาวบ้านมีภูมิปัญญาในการเลือกใช้ประโยชน์จากพรรณพืชอย่างหลากหลาย สามารถจำแนกลักษณะการใช้ประโยชน์ออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ พืชอาหาร พืชสมุนไพร พืชที่ใช้ในการก่อสร้าง ไม้ฟืนและถ่าน พืชใช้สอย และพืชปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ในด้านการศึกษาลักษณะนิเวศเชิงปริมาณพบว่า พืชในป่าเบญจพรรณที่ชาวบ้านมักจะนำมาใช้ประโยชน์ได้แก่ กระเจียว มะขามป้อม และเข็มป่า ส่วนป่าดิบแล้งส่วนใหญ่เป็นชะเนียง รองลงมาคือต้างหลวงและหนามไข่ปู นอกจากพรรณพืชธรรมชาติในป่าชุมชนแล้ว ชาวบ้านยังสามารถใช้ประโยชน์จากพรรณพืชที่ปลูกไว้บริเวณบ้านเรือนตัวเองได้อีก เช่น ไม้ผล พืชผัก ไม้ไผ่ พืชสวนครัว หากมีการส่งเสริมให้ปลูกไม้ป่าธรรมชาติที่เหมาะสมและมีประโยชน์เอนกประสงค์ไว้ในบริเวณบ้าน ก็จะเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้อีกทางหนึ่ง
 
การศึกษาคุณภาพชีวิตตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทยภูเขา ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย อรรถพงษ์ อินทพงษ์ การศึกษาอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2551 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=4452&query=              การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทยภูเขา 3 กลุ่ม ได้แก่ เผ่าลาหู่ เผ่าอาข่า และเผ่ากะเหรี่ยง ที่อาศัยอยู่ในตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมพบว่า คุณภาพชีวิตด้านการออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ และด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของทั้ง 3 กลุ่มอยู่ในระดับน้อยและไม่แตกต่างกันในเชิงรูปแบบของกระบวนการเรียนรู้ในครอบครัว ที่มีลักษณะของการสั่งสอนถ่ายทอดจากผู้อาวุโสในครอบครัว ในรูปแบบของความเชื่อ ศรัทธา วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและองค์ความรู้ต่างๆที่สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตประจำวัน ด้านอโรคยาและด้านอบายมุข ทั้ง 3 กลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันออกไปในรูปแบบพฤติกรรมบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยมีผู้นำและผู้อาวุโสในหมู่บ้านเป็นแกนนำในการตัดสินใจว่าสิ่งใดเป็นสิ่งดีจึงดำเนินรอยตามบรรพบุรุษ
พลวัตการเก็บหาผลผลิตจากไผ่เชิงพาณิชย์ของชนเผ่ามูเซอดำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาติชาย รัตนคีรี วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=93754&query=           วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาถึงความเป็นพลวัตในการหาผลผลิตจากไผ่เชิงพาณิชย์ของชนเผ่ามูเซอดําหรือลาหู่ดำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแง่ของเงื่อนไขปัจจัยที่ทําให้การหาผลผลิตจากไผ่เปลี่ยนจากการหาเพื่อยังชีพสู่การหาเชิงพาณิชย์ และเพื่อศึกษาถึงผลของการหาผลผลิตจากไผ่เชิงพาณิชย์ต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของไม้ไผ่ 2 ชนิด ได้แก่ ไผ่ซางและไผ่เป๊าะ ผลการศึกษาพบว่าระบบทุนนิยมที่ใช้การพัฒนา เป็นเครื่องมือที่เข้าไปควบคุมให้การหาผลผลิตจากไผ่เปลี่ยนจากการหาเพื่อยังชีพสู่การหาเชิงพาณิชย์อย่างเข้มข้น รูปแบบการหาผลผลิตจากป่ามีผลกระทบจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเมื่อชุมชนสามารถเข้าหาผลผลิตจากป่าได้อย่างอิสระ ในขณะที่การควบคุมการใช้ทรัพยากรโดยเฉพาะผลผลิตจากป่าของรัฐเข้าไม่ถึงหรือไม่ได้ให้ความสําคัญ และการควบคุมโดยชุมชนตามไม่ทัน จึงทําให้นิเวศน์ป่าไผ่เสื่อมโทรมลง
นโยบายการศึกษาของไทยและผลกระทบที่มีต่อวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย : การศึกษาชาวเขาดอยมูเซอในแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย Nguyen Quang Dung วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=116268&query=Thai education policy and its impact on ethnic minority culture&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2563-09-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=1             วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์นโยบายการศึกษาของไทยต่อชนกลุ่มน้อยและอิทธิพลของนโยบายต่อวัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย กรณีศึกษาชาวมูเซอหรือลาหู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกทั้งยังมุ่งศึกษากระบวนการอนุรักษ์ บูรณาการ และกลืนกลายทางวัฒนธรรมของชนเผ่ามูเซอผ่านรูปแบบทางการศึกษาทั้งแบบที่เป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และการศึกษานอกระบบ ผู้วิจัยพบว่า นอกจากความรู้ต่างๆ ที่ได้ส่งผ่านการเรียนภาษาไทยแล้ว นักเรียนยังได้รับการปลูกฝังในเรื่องของอัตลักษณ์ไทยผ่านคำสอนทางพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของวัฒนธรรมกระแสหลัก มุมมองชีวิตในกลุ่มคนรุ่นใหม่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เห็นว่าตนเองเป็นทั้งคนไทยและมูเซอ โดยแสดงออกในรูปแบบของวิถีชีวิตแบบใหม่ มีค่านิยมและความเชื่อที่แตกต่างจากเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ความเชื่อในพุทธศาสนาที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่วัฒนธรรมดั้งเดิมค่อยๆ เลือนหายไปจากชาวมูเซอ
ปีใหม่และวิถีวัฒนธรรมลาหู่ (มูเซอ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคม. กลุ่มศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา เชียงใหม่ : สถาบัน, 2551 Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000070 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060618                 สารคดีนี้นำเสนอเรื่องราวชาวลาหู่ บ้านสองพี่น้อง ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่กลมกลืนกับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและอาหาร ชาวลาหู่มีชื่อเสียงในด้านการล่าสัตว์ ประกอบอาชีพแบบพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก เช่น การหาของป่า ล่าสัตว์ ทำนา ทำข้าวไร่ เลี้ยงสัตว์ โดยส่วนมากเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง ชาวลาหู่มีความเชื่อในเรื่องผี มีทั้งผีบ้าน ผีเฮือน ผีป่า ผีบรรพบุรุษ ผีน้ำ ผีเป๊าะหรือผีก๊ะ ผีตะวัน ผสมผสานกับความเชื่อทางพุทธศาสนา มีพิธีกรรมสำคัญอย่างหนึ่งคือพิธีสืบชะตาป่า ดิน น้ำ เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะช่วยให้ชาวบ้านมีผืนป่า ดิน และแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และคุ้มครองชาวลาหู่ไม่ให้เกิดอันตราย
การเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนชาวเขาเผ่ามูเซอแดงในโครงการจัดตั้งหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่บ้านนาศิริอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ มานพ กองเงิน เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2551 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=101928&query=             โครงการจัดตั้งหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่บ้านนาศิริ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของชาวบ้านต่อการดำเนินโครงการ พบว่าภายหลังการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่นั้น การใช้ประโยชน์จากที่ดินและการจัดการพื้นที่เป็นไปในลักษณะที่ยั่งยืนมากขึ้น มีการจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ระบบประปาภูเขา และระบบน้ำชลประทาน ทำให้เกษตรกรเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากน้ำเพื่อบริโภคในครัวเรือนและการเกษตรมากขึ้น ถึงแม้จะเป็นการจัดตั้งหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่แต่ชาวบ้านก็ยังคงสามารถรักษาประเพณีการแลกเปลี่ยนแรงงานโดยที่ไม่ต้องมีการจ้างแรงงานภาคเกษตรในชุมชนได้เช่นเดิม อีกทั้งยังมีความเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพนอกการเกษตร โดยชาวบ้านได้ทำงานเป็นลูกจ้างโครงการและทำหัตถกรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย
การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหัตถกรรมท้องถิ่นและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวง : กรณีศึกษาผ้าทอชาติพันธุ์ลาหู่ ธันยา พรหมบุรมย์ และวิสุทธร จิตอารี เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด, 2550 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=95910&query=             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติ ความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ซึ่งเป็นกลุ่มลาหู่ดำ หมู่บ้านผาใต้ และบ้านหนองเขียว จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอ ในด้านความสามารถในการผลิต ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ตลอดจนวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชิงวัฒนธรรมสำหรับตลาดระดับบน จากการศึกษาพบว่าชาวลาหู่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการทำงานหัตถกรรมเป็นเรื่องที่ดี เป็นรายได้เสริมเมื่อว่างจากการเกษตร และได้สืบทอดวิธีการทอผ้า ในด้านการผลิต ชาวลาหู่บ้านหนองเขียวยังมีศักยภาพการผลิตน้อยเนื่องจากกลุ่มที่เคยจัดตั้งในอดีตล้มเลิกไปด้วยสาเหตุความไม่แน่นอนของตลาด ทำแล้วขายไม่ได้ ต้นทุนวัตถุดิบแพง ส่วนกลุ่มบ้านผาใต้มีปัญหาเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบ ผู้วิจัยเห็นว่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าทอของชาวลาหู่ยังขาดเรื่องราวเชิงวัฒนธรรม รูปแบบสินค้าที่โดดเด่น รวมทั้งปัจจุบันลวดลายถูกผสมผสานเข้ากับลวดลายของชนเผ่าอื่นไปมาก ดังนั้นควรมีการนำเอกลักษณ์ของผ้าทอลาหู่ที่โดดเด่นประยุกต์เข้ากับสินค้ารูปแบบต่างๆ เพื่อยกระดับสินค้าเข้าสู่ตลาดระดับบนต่อไป
ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของชาวไทยภูเขา กรณีศึกษา: บ้านห้วยมะซาง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บัณฑิต ยืนยงธรรม วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2550 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=101995&query=             วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรและความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่บ้านห้วยมะซาง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีปัจจัยเรื่องความต้องการเงินตราและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น การซื้อรถจักรยานยนต์ โทรทัศน์ และเครื่องจักรทางการเกษตร เนื่องจากวิถีการทำเกษตรกรรมเพื่อยังชีพแบบดั้งเดิมได้เปลี่ยนแปลงเป็นเกษตรเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยสรุปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของชาวลาหู่มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคมและเกษตรกร ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านภาครัฐและภาคเอกชน
วัฒนธรรมดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ล่าหู่ หมู่บ้านสัมป่อย ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ชูชาติ อินทพงษ์ ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=220297&query=             การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ หมู่บ้านส้มป่อย อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน บทเพลง และบทบาทของวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ โดยการรวบรวมองค์ความรู้เน้นเฉพาะสภาพและบทบาทวัฒนธรรมดนตรี บทเพลง เครื่องดนตรี เป็นสำคัญ เช่น ประวัติที่มาของดนตรี เครื่องดนตรี ส่วนประกอบของเครื่องดนตรี วิธีและขั้นตอนต่างๆของการสร้างเครื่องดนตรี วิธีการบรรเลงบทเพลง นักดนตรี การถ่ายทอดดนตรี และโอกาสที่ใช้ในการบรรเลงดนตรีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและงานรื่นเริงต่างๆ ที่ยังคงยึดถือปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน
สังคมจารีตประเพณีและการยอมรับการวางแผนครอบครัวของชาวเขาในพื้นที่ดอยมูเซอจังหวัดตาก ปิ่นชาย ปินแก้ว วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขมัยธรรมาธิราช, 2550 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=238809&query=              ชุมชนชาวเขาเผ่ามูเซอดำหรือลาหู่ดำ บ้านอุมยอม จังหวัดตากมีลักษณะเป็นสังคมจารีตประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาของรัฐและการเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอก แต่ยังยึดมั่นในจารีตประเพณีของตนเองค่อนข้างมาก ในปัจจุบันชาวเขาเผ่ามูเซอดำยอมรับเรื่องการวางแผนครอบครัวมากกว่าในอดีต โดยมองว่าการวางแผนครอบครัวช่วยทำให้ไม่มีลูกมากเกินความจำเป็น มีการให้ความหมายของการมีลูกแตกต่างไปจากอดีตที่มองลูกในฐานะเป็นแรงงานในครอบครัว มาเป็นลูกในฐานะผู้สืบสกุล ช่วยงานบ้าน และดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า จึงไม่จำเป็นต้องมีลูกจำนวนมาก แต่ควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอแดง (ลาหู่ณี) ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ บ้านนาศิริ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ วัลลภ นามวงศ์พรหม เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2549 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=101388&query=             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมเดิมในการดำรงชีวิตของชาวเขาเผ่ามูเซอแดง หรือลาหู่ณี หมู่บ้านนาศิริ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนการเข้าร่วมโครงการและภายหลังเข้าร่วมโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ คือ มิติทางสังคม และมิติทางวัฒนธรรม ด้านมิติทางสังคมพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการผู้นำการปกครองของหมู่บ้านคือ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อาวุโส และผู้นำทางศาสนา จะทำหน้าที่ในการรักษาจารีตประเพณี ออกกฎระเบียบ ตัดสินปัญหา ดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านให้อยู่กันแบบพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกันและกัน ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและรับจ้างตามสภาพภูมิประเทศและภูมิสังคม ภายหลังเข้าร่วมโครงการได้ปรับเปลี่ยนไปโดยจะมีเจ้าหน้าที่จากโครงการเข้ามาทำงานพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ชาวบ้านมีค่านิยมเหมือนคนพื้นราบมากขึ้น มีการแข่งขันกันแสวงหาเงินเพื่อตอบสนองความต้องการในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในด้านมิติทางวัฒนธรรม ชาวบ้านนิยมแต่งกายแบบคนพื้นราบมากขึ้นและสวมใส่ชุดประจำถิ่นในโอกาสพิเศษเท่านั้น คนที่มีฐานะดีเริ่มสร้างบ้านไม้มุงด้วยกระเบื้องและโบกปูน เมื่อมีการเจ็บป่วยจะรักษาตามแบบแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น การรักษาด้วยสมุนไพรและไสยศาสตร์มีน้อยลง ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เบี่ยงเบนไปจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตำราการแพทย์และสมุนไพรชนเผ่าละหู่ (Lahu) กันยานุช เทาประเสริฐ, ยิ่งยง เทาประเสริฐ [เชียงราย] : วิทยาลัยแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2549 Sac Library - Books (7th floor) - R644.ท9 ต642 2549 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00075765             ตำราเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของชนเผ่าละหู่หรือลาหู่ ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของชนเผ่า ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพ การรักษาของหมอละหู่แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ การรักษาโดยการบำบัดทางจิตใจด้วยพิธีกรรม การรักษาโดยการบำบัดทางกาย และการรักษาโดยการบำบัดด้วยยาสมุนไพร ในส่วนที่สองของตำรา เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรของชนเผ่าละหู่ รวมทั้งการสำรวจแหล่งสมุนไพร โดยในตำราเล่มนี้จะเน้นไปที่ชื่อท้องถิ่น  รูปลักษณะ สรรพคุณและส่วนต่างๆที่ใช้เป็นประโยชน์ เป็นการวิจัยร่วมกันระหว่างทีมวิจัยจากวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกับทีมวิจัยภาคสนามชาวละหู่และหมอละหู่ผู้ทรงความรู้และประสบการณ์
ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พืชอาหารป่าและพืชสมุนไพรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนบ้านใหม่พัฒนา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ วรรณธิภา จันทร์กลม โกมล แพรกทอง สันต์ เกตุปราณีต และ เตือนใจ นุชดำรงค์ เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 : สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม : (2549), หน้า 506-513 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=122597&query=             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ ความหลากหลายและความมั่นคงทางพืชอาหารป่าและพืชสมุนไพร ของชนเผ่ามูเซอหรือลาหู่ ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาศักยภาพของพื้นที่ป่าที่ตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ด้านพืชอาหารป่าและพืชสมุนไพร ของชนเผ่ามูเซอ จากการศึกษาพบว่าพืชอาหารป่าที่ชาวมูเซอบริโภคมีความหลากหลายรวม 84 ชนิด โดยแบ่งช่วงเวลาการเก็บหาเป็น 2 ลักษณะ คือ เก็บได้ตลอดปีและเก็บได้เฉพาะฤดูกาล มีพืชอาหารป่าที่มีสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการอย่างน้อย 37 ชนิด นอกจากนี้พืชอาหารป่ายังมีคุณค่าทางเศรษฐกิจและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อพืชอาหารเพื่อบริโภค โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 1 ใน 7 ของเงินรายได้ในแต่ละปี จึงกล่าวได้ว่า พืชอาหารป่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวมูเซออย่างมาก
 
การศึกษาภูมิปัญญามูเซอแดง บ้านหัวปาย ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน : รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ยาโพ จะตีก๋อย กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2548 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7ย693 2548 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059860             งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือที่ให้คนในชุมชนเข้ามาร่วมในกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การเริ่มคิด ตั้งคำถาม วางแผน และค้นหาคำตอบอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สามารถใช้กระบวนการนี้แก้ไขปัญหาอื่นๆ ในท้องถิ่นได้ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาบริบทชุมชนมูเซอแดงหรือลาหู่แดง บ้านหัวปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความมั่นคงทางอาหารและแหล่งทำกิน รวมทั้งปัจจัยความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากภายนอก เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและจุดแข็งในการดำเนินชีวิตของชุมชน ในขณะที่การเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐเต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย
การต่อสู้เรื่องสัญชาติของผู้หญิงชนเผ่า : กรณีศึกษาชีวิตจริงของผู้หญิงลาหู่คนหนึ่ง ลาเคละ จะทอ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7 ล62 2548 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056271              วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เขียนโดยสตรีชาวลาหู่ที่ต่อสู้เรื่องสัญชาติของตนเองจนมีสิทธิได้รับสัญชาติไทย การศึกษาวิจัยมุ่งไปที่ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงไม่ได้รับสัญชาติ โครงสร้างทางสังคมของลาหู่ที่เป็นสังคมผู้ชายเป็นใหญ่ ทำให้ผู้หญิงไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบัตรประชาชนเพราะคิดว่าตนเองไม่มีบทบาทหน้าที่ในการติดต่อราชการ รวมทั้งผู้หญิงชนเผ่ายังตกอยู่ในสภาวะจำทนกับระบบอุปถัมภ์ การคอรัปชั่น อคติทางชาติพันธุ์ การแสวงหาผลประโยชน์และการใช้อำนาจในทางไม่ชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการลงรายการสัญชาติไทย งานเขียนนี้ยังชี้ให้เห็นถึงกระบวนการได้มาซึ่งสัญชาติไทยของผู้เขียนและการช่วยเหลือผู้หญิงชนเผ่าให้ได้รับสัญชาติไทยด้วย
โครงการการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีด้านดนตรี(หน่อ)ของชนเผ่าลาหู่แซแล บ้านห้วยน้ำริน ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเข้า จ.เชียงราย จะงะ แสงฮอง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,2548 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/download_fullstep1TRFN.asp             สภาวะความเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรม เป็นปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นกับทุกชุมชน ชุมชนเผ่าลาหู่แซแลใน บ้านห้วยน้ำริน ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเข้า จังหวัดเชียงราย ก็เช่นเดียวกัน สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ชุมชน และวัฒนธรรมต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทาย โครงการการฟื้นฟูวัฒนธรรมครั้งนี้ใช้เวลาในการศึกษากว่า 1 ปี สร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างคณะผู้ศึกษากับคนในชุมชน เพื่อการฟื้นฟูด้านพิธีกรรมความเชื่อ ด้านดนตรี ด้านการเต้นจะคึ และการแต่งกาย ซึ่งองค์ความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้คือสิ่งที่ชาวลาหู่ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษรุ่นต่อรุ่น การเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมเพียงเล็กน้อยจึงสามารถส่งผลให้เกิดการกลืนวัฒนธรรมหายไปได้ หากไม่มีการตระหนักรู้ที่เท่าทัน หรือขาดองค์ความรู้ที่จะปรับเปลี่ยนให้วัฒนธรรมยังคงอยู่ได้ในกระแสธารการเปลี่ยนแปลงนี้ แนวทางการสร้างสื่อการสอน เผยแพร่ และดึงกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในชุมชนให้หันมาสนใจกับทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่ตนมีจึงเป็นหลักการหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การฟื้นฟูวัฒนธรรมดนตรีของชาวลาหู่ได้อย่างยั่งยืน
กระบวนการปรับเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำแม่สลอง บ้านจะบูสี อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย สุวิทย์ นิยมมาก การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=100331&query=             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและกลไกของกระบวนการปรับเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำแม่สลอง บ้านจะบูสี จังหวัดเชียงราย ทั้งรูปแบบ ขั้นตอนและเงื่อนไขของการปรับเปลี่ยน รวมทั้งวิเคราะห์ผลของการปรับเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการลุ่มน้ำ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายรัฐ สาธารณูปโภค การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม และสื่อสารมวลชน ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ นิเวศวิทยา ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมในการยอมรับสิ่งใหม่ และการเพิ่มประชากร โดยมีกลไกที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำชุมชน และกระบวนการศึกษาเพื่อการพัฒนา รูปแบบของการปรับเปลี่ยน ได้แก่ การประยุกต์ภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับภูมิปัญญาใหม่ และรูปแบบการปรับภาพลักษณ์ของชาติพันธุ์ โดยมีเงื่อนไขด้านความมั่นคงของชีวิต ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธธรมเป็นบทบาทสำคัญ
การศึกษาภูมิปัญญาเกษตรกรรมพื้นบ้านล้านนา สมนึก ชัชวาลย์ และ บานจิตร สายรอคำ เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- S494.5.ก63ส43 2547 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00048048             การศึกษาวิจัยนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านเกษตรกรรมพื้นบ้าน ที่ยังหลงเหลืออยู่ในชุมชนชนบททางภาคเหนือตอนบนหรือที่เรียกว่าล้านนา โดยศึกษาทั้งในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวนหรือคนเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านลักษณะของพืชพันธุ์ รูปแบบการเพาะปลูก ระดับความสูงของพื้นที่ และระบบนิเวศ การเกษตรกรรมพื้นบ้านล้านนาดั้งเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบไม่พึ่งพิงเงินตรา เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตเพื่อยังชีพไปสู่การผลิตเข้าสู่ระบบตลาดหรือระบบเงินตราเมื่อมีการขยายเส้นทางรถไฟและขยายการคมนาคมทางถนนเข้าสู่ชนบทมากขึ้น อีกทั้งยังมีการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจการตลาดจากภาครัฐ ซึ่งเน้นให้เกษตรกรหันมาใช้ระบบการเกษตรสมัยใหม่แทนการเกษตรพื้นบ้านแบบดั้งเดิม
การเผยแพร่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์กับสถานภาพการนับถือศาสนาของประชากรในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระครูพิศาลธีรธรรม วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น กลุ่มล้านนาคดีศึกษา สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2546 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=21608&query=             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับวิธีการ ศึกษาแนวคิด ความเชื่อในการนับถือศาสนาของประชากรในพื้นที่ และศึกษาอุปสรรคปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าวิธีการประกาศศาสนาของคณะสงฆ์และศาสนาคริสต์ที่เหมือนกัน คือการให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือชาวบ้านและให้ความสำคัญแก่กลุ่มเด็กและเยาวชนพร้อมกับการประกาศศาสนา ส่วนวิธีการที่แตกต่างกันคือ คณะสงฆ์ไม่มีสถานที่ในการจัดกิจกรรมหรือประกอยพิธีเป็นของตนเองในหมู่บ้าน สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผสมกับความเชื่อแบบดั้งเดิมของชาวบ้าน ส่วนศาสนาคริสต์มีโบสถ์ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน สอนให้เคารพนับถือในพระเจ้าองค์เดียว พูดแนะนำหลักธรรมพร้อมแจกเอกสารคำสอน พูดชักชวนให้ชาวบ้านเปลี่ยนแปลงการนับถือศาสนา และให้คนในพื้นที่เป็นตัวแทนในการเผยแผ่ศาสนา ความเชื่อในการนับถือศาสนาของประชากรในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง มีการนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และผีบรรพบุรุษ
การสำรวจด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของชาวเขาเผ่าลีซอและมูเซอ ในหมู่บ้านหนองแขม ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ : รายงานการวิจัย ธารีวรรณ ไชยบุญเรือง,อัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ. เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ล6 ธ64 2546 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056284              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านศาสนา รายได้ และการติดต่อกับชุมชนเมือง กับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้านที่พักอาศัย อาหาร การกำจัดขยะมูลฝอยและสัตว์กัดแทะ น้ำดื่มน้ำใช้ และการกำจัดสิ่งปฏิกูลของชาวเขาเผ่าลีซอและมูเซอหรือลาหู่ ในหมู่บ้านหนองแขม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้านที่พักอาศัยพบว่าบ้านส่วนใหญ่มีความคงทนถาวรอย่างน้อย 5 ปี มีแสงสว่างจากธรรมชาติหรือไฟฟ้าเพียงพอ ครัวเรือนส่วนใหญ่มีบริเวณที่ประกอบอาหารสะอาดเป็นระเบียบ มีที่ระบายอากาศ มีอุปกรณ์กำจัดขยะมูลฝอย และมีการป้องกันยุงโดยการกางมุ้งนอน ด้านน้ำดื่มน้ำใช้ บ้านทุกหลังมีบ่อน้ำใช้ห่างจากส้วมเกิน 30 เมตร ครัวเรือนส่วนใหญ่มีน้ำใช้ตลอดปี แต่มีครัวเรือนน้อยกว่าครึ่งที่มีส้วมใช้ จากการศึกษายังพบว่ารายได้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้านน้ำดื่มน้ำใช้อย่างมีนัยสำคัญ
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยโป่งผาลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- G155.ท9ห8ภ75 2545 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046229             การค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาคุณค่าความสำคัญ วิถีชีวิต บริบทชุมชน วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต พิธีกรรม ความเป็นอยู่และประเพณี ของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอดำหรือลาหู่ ในหมู่บ้านห้วยโป่งผาลาด จังหวัดเชียงราย เพื่อหาแนวทางพัฒนาเพิ่มศักยภาพบ้านห้วยโป่งผาลาดให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผลจากการศึกษาพบว่า ชาวเขาเผ่ามูเซอดำยังคงสืบทอดวัฒนธรรมการแต่งกาย งานประเพณี และพิธีกรรมสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับเทพเจ้าและวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย  นอกจากนี้ยังพบว่าบ้านห้วยโป่งผาลาดมีศักยภาพด้านการศึกษา ความปลอดภัย สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่จะรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยว และควรมีการเพิ่มศักยภาพด้านสาธารณูปโภคขั้นสูง เช่น ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึก ห้องสุขาสำหรับนักท่องเที่ยว ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ต่อไป
ดนตรีชาวเขาเผ่ามูเซอ : กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เจตชรินทร์ จิรสันติธรรม : วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2545 Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - ML3758.ม7จ73 2545 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046286             ชาวเขาเผ่ามูเซอ บ้านห้วยหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อาศัยอยู่ที่สูง มีภาษามูเซอของตนเอง แต่รุ่นหลังก็สามารถสื่อสารกับคนไทยพื้นราบได้ด้วยการใช้ภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ หรือภาษาไทยได้ มีการศึกษาเข้าถึงชุมชน นับถือศาสนาดั้งเดิม คือนับถือผี แต่ก็มีการนับถือศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้นในเวลาต่อมา ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆก็จะมีการบรรเลงเพลงประกอบด้วย การเกิดขึ้นของดนตรี บทเพลงของชาวเขาเผ่ามูเซอ เป็นบทเพลงที่สอนต่อกันมา เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ จุดประสงค์หลักเพื่อพิธีกรรม จุดประสงค์รองเพื่อความบันเทิง แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของเผ่า วิถีชีวิต สื่อสารกับสิ่งที่มองไม่เห็นผ่านบทเพลงในพิธีกกรม การเป็นนักดนตรีเป็นหนึ่งในความกล้าหาญ การถูกยอมรับจากคนในสังคมอีกด้วย 
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร ยศ สันตสมบัติ เชียงใหม่ : โครงการพัฒนาอง๕์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT), 2544 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- G156.5.อ3ย55 2544 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00026964              โครงการวิจัยนี้เป็นหนึ่งในชุดโครงการวิจัยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบและภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์และการจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นและชุมชน ในสภาวะที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีหมู่บ้านกรณีศึกษาที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอร์หรือลาหู่จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่กลุ่มมูเซอร์แดงหรือลาหู่ญีบ้านผามอน และกลุ่มมูเซอร์ดำหรือลาหู่นะบ้านบ่อไคร้ ชาวมูเซอร์แดงบ้านผามอนเป็นกลุ่มที่ยังคงนับถือผี ยึดอาชีพทำไร่ทำสวนเป็นอาชีพหลัก การเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม มีการจัดสรรที่ดินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ที่ไร่ ที่ทำนา และแหล่งน้ำ ความเชื่อทางศาสนามีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีและความเชื่อใหม่ๆจากภายนอกที่มีอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ส่วนชาวมูเซอร์ดำนับถือผีและวิญญาณบรรพชน ในส่วนของการจัดสรรพื้นที่ของหมู่บ้านและการประกอบอาชีพก็มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มมูเซอร์แดง
ภูมิปัญญาปะหล่องและมูเซอเกี่ยวกับความยั่งยืนระบบนิเวศป่าไม้ต้นน้ำและวนเกษตร: รายงานการวิจัย พรชัย ปรีชาปัญญา ชลาธร เจริญ และมงคล โภไคยพิพัฒน์ ม.ป.ท. : มูลนิธิโครงการหลวง, 2544 online download file http://www.royalprojectthailand.com/digital_content/keyword/314              การวิจัยนี้เน้นศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการลุ่มน้ำ และการเลี้ยงสัตว์ในป่าและสวน ในด้านความยั่งยืนของระบบนิเวศป่าไม้ต้นน้ำและวนเกษตรของชาวปะหล่องและมูเซอหรือลาหู่ บ้านขอบดง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาประกอบไปด้วยความรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับระบบนิเวศที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างป่าไม้ต้นน้ำลำธาร สัตว์เลี้ยงในสวนและป่า ที่แสดงให้เห็นว่าภูมิปัญญาของชาวปะหล่องและมูเซอมีความสมเหตุผล ประกอบไปด้วยวิธีการและความรู้ที่หากนำไปผสมผสานกับวิทยาศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำและวนเกษตร จะมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงความยั่งยืนของระบบนิเวศป่าไม้ต้นน้ำและนาข้าวต่อไป
ความต้องการในการพัฒนาอาชีพการเกษตรของชาวเขาเผ่ามูเซอดำ หมู่บ้านดอยปู่หมื่นใน ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ พยุงศักดิ์ ไชยกอ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7พ37 2544 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045942              งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสภาพการเกษตรและความต้องการในการพัฒนาอาชีพการเกษตร ของกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอดำหรือลาหู่ หมู่บ้านดอยปู่หมื่น อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกร ได้แก่ อายุ การศึกษา แรงงานในครัวเรือน การใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร การถือครองที่ดินในการทำเกษตร ส่วนที่สองวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพการทำการเกษตรของชาวมูเซอดำ ความต้องการในการพัฒนาอาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจ สังคม กับความต้องการในการพัฒนาอาชีพ และส่วนที่สามเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา มีความเข้าใจภาษาไทยเพื่อใช้ในการสื่อสารน้อย ขาดการรับรู้ข่าวสารด้านการเกษร การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก และแรงงานในครัวเรือนมีจำกัด
รายงานผลการศึกษาดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของราษฎรในชุมชนพื้นที่สูง : กรณีศึกษาชนเผ่าลาหู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ [กรุงเทพฯ : สำนักงาน, 2544] Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ล65 ร64 2544 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056875           การศึกษาดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของราษฎรในชุมชนพื้นที่สูงนี้ชี้ให้เห็นแนวคิดในการศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรในชุมชนบนพื้นที่สูง กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกับราษฎรในที่ราบที่เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ การศึกษานี้จึงต้องจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของราษฎรในชุมชนพื้นที่สูงโดยเฉพาะ ทำการศึกษาโดยคำนวนเส้นความยากจนประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับความยากจนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการวิเคราะห์เส้นความยากจนเฉพาะกรณีศึกษานี้คือ ราคาสินค้า ความต้องการสารอาหาร และองค์ประกอบของประชากรและรายได้-รายจ่ายในแต่ละครัวเรือน ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขมีทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ สุขภาพอนามัย การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่อาศัยและการดำรงชีพ สิ่งแวดล้อม การเมืองการปกครอง การแพร่กระจายของยาเสพติด และด้านสุดท้ายคือจิตวิญญาณ คุณธรรม ค่านิยม และวัฒนธรรม
การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการใช้ที่ดินของหมู่บ้านมูเซอและหมู่บ้านคนไทย ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ภาติยะ พัฒนะศักดิ์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- HD890.55.ฮ9ช9ภ63 2544 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037988              การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการใช้ที่ดินของหมู่บ้านมูเซอและหมู่บ้านคนไทย ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในหมู่บ้านมูเซอ ได้แก่บ้านดอยป่าคา หมู่ 11 ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอกลุ่มมูเซอดำ มูเซอเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยบนภูเขาสูง ตั้งบ้านเรือนเป็นกระจุกไม่เป็นระเบียบ พูดภาษาสาขาธิเบต-พม่า ซึ่งในหมู่บ้านจะใช้ภาษาถิ่นมูเซอดำเป็นภาษากลาง มีความเชื่อทางศาสนาที่เป็นแบบชาวเขา มีผีฟ้าเป็นบรรพบุรุษ มี “ปู่จอง” ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรม เชื่อว่าภูตผีสามารถกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏและไม่ปรากฏให้เห็นด้วยสายตา การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ โดยปกติไม่สวมเสื้อประจำเผ่า ยกเว้นงานเทศกาล ชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอจะทำเกษตรกรรม ส่วนหมู่บ้านคนไทย ได้แก่บ้านหนองบัวคำ หมู่ 4 ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มที่อาศัยบนพื้นราบ หมู่บ้านมีถนนตัดผ่าน  ตั้งบ้านตามแนวถนน มีภาษาท้องถิ่นของแต่ละกลุ่ม ให้ความสำคัญกับประเพณีและการทำบุญ บ้านหนองบัวคำมักทำเกษตรกรรม ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมล้วนแต่เป็นปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่างในการใช้ที่ดิน ของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอและคนไทยพื้นราบ
บริบททางวัฒนธรรมและการยอมรับการวางแผนครอบครัวของชาวเขาในเขตโครงการหลวง สารณีย์ ไทยานันท์ อุไรวรรณ แสงศร นิภา ลาชโรจน์ สมเกียรติ จำลอง อิฐศักดิ์ ศรีสุโข และสุเมธ ทาริยะ กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์, 2543 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ช65ส64 2543 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037946              งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประชากรบนพื้นที่สูงที่มีผลกระทบต่อการวางแผนครอบครัว หมู่บ้านกรณีศึกษาเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตพัฒนาโครงการหลวง ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ กระเหรี่ยง แม้วหรือม้ง มูเซอหรือลาหู่ และอีก้อหรืออาข่า โดยใช้แนวคิดในการศึกษา 2 แนวคิด คือ แนวคิดเรื่องการเข้าสู่ระบบทุนนิยมภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง และแนวคิดเรื่องการปรับตัวของชุมชนบนพื้นที่สูง การศึกษานี้ทำให้เห็นกระบวนการปรับตัวภายในของชุมชนชาวเขาเพื่อให้สามารถเผชิญหน้ากับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปได้ โดยมีการยอมรับการวางแผนครอบครัวเพื่อควบคุมปริมาณสมาชิกในครัวเรือนให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ลดการแย่งชิงทรัพยากรและทำให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา
รายงานการวิจัยเรื่องสังคมจารีตประเพณีและการยอมรับการวางแผนครอบครัว : ศึกษากรณีชาวเขาในเขตโครงการหลวง มงคล จันทร์บำรุง อิฐศักดิ์ ศรีสุโข ทรงวิทย์ เชื่อมสกุล และสมเกียรติ จำลอง เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, 2542 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ช62 ม22 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00022207              การวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่เป็นเหตุให้ชาวเขามีลูกมากและไม่นิยมการคุมกำเนิด โดยศึกษาในหมู่บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอหรือลาหู่และชาวเขาเผ่าแม้วหรือม้งที่อยู่ในเขตโครงการหลวง จากการศึกษาพบว่าหมู่บ้านเหล่านี้ยังมีสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตามจารีตประเพณี และมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการคุมกำเนิดน้อย 4 ประการ ได้แก่ ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการสืบสานประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ของครอบครัว และการมีลูกเพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานในครัวเรือนเพื่อการทำเกษตรกรรม ปัจจัยทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับระบบเครือญาติ และปัจจัยสุดท้ายคือการขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านเวลาของขั้นตอนการคุมกำเนิดที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อรับบริการ
การสร้างความเป็นหญิงชายทางสังคม และจริยธรรมในชุมชนลาหู่ : กรณีศึกษาหญิงลาหู่ ชลดา มนตรีวัต เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7ช43 2541 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038652             วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาความแตกต่างของความเป็นหญิงและชายจากตำนานความเชื่อของชาวลาหู่ ตั้งแต่การที่หงื่อซาหรือกื่อซาเริ่มสร้างหญิงและชายคู่แรก รวมทั้งสุภาษิต ประเพณี พิธีกรรม ตลอดทั้งการละเล่นที่แตกต่างกันระหว่างเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการเตรียมความพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน การกำหนดบทบาทและสถานภาพของหญิงชาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างและสืบทอดแนวคิดความเป็นหญิงชายของแต่ละสังคม จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้หญิงลาหู่ที่เดินทางเข้าสู่เมืองเพื่อทำงานต้องตกอยู่ในภาวะขายตัว หรือถูกหลอกให้ขายตัวนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่กระบวนการสร้างความเป็นหญิงชายและการกำหนดกรอบทางจริยธรรมและบทบาทหน้าที่ให้กับผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงกลายเป็นผู้อ่อนแอ เมื่อต้องออกจากชุมชนไปใช้ชีวิตในสังคมอื่นจึงมักเกิดความล้มเหลวในการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่กรณีศึกษาคือ หมู่บ้านขาแหย่งพัฒนา ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายในปัจจุบัน
ความต้องการข่าวสารเพื่อปรับปรุงวิถีชีวิตของชุมชนมูเซอแดง : บ้านปางตอง ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จั พัชรินทร์ ประสนธิ์ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 SAC Library-Research and Thesis (7th floor)--DS570.ม7พ61 2541 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038629             บ้านปางตอง หมู่ที่ 2 ต.นาปู่ป้อม อ.บางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนมูเซอแดง ในอดีตชาวมูเซอแดงไม่ได้ตั้งถิ่นฐานถาวร แต่จะเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ เนื่องมาจากปัจจัยด้านการผลิตเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของประชากร แต่เดิมชาวบ้านมักจะประกอบอาชีพปลูกฝิ่นเป็นหลักเพื่อนำไปขายให้แก่พ่อค้าไทใหญ่และจีนฮ่อ และปลูกผักชนิดต่าง ๆ ร่วมด้วยเพื่อใช้ในการบริโภค ในปัจจุบันหมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเข้ามาของหน่วยงานรัฐและเอกชนทำให้ระบบเศรษฐกิจของที่นี่เปลี่ยนไป ชาวบ้านเลิกปลูกฝิ่นและหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจแทน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของชุมชน และศึกษาความต้องการด้านรูปแบบ และประเภทของข่าวสารเพื่อนำมาปรับปรุงวิถีชีวิตของชุมชนมูเซอแดง
ปัญหาการนิยามความหมายของป่า และการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ : กรณีศึกษาชาวลาหู่ สมบัติ บุญคำเยือง เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540 SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7ส43 2540 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00041442             กลุ่มชาติพันธุ์ตกอยู่ในสถานะของชนกลุ่มน้อยภายใต้ขอบเขตของรัฐมาตลอด ดังกรณีของชาติพันธุ์ลาหู่ที่มีการต่อรองและสู้กับอำนาจของคนกลุ่มใหญ่ โดยในอดีตก็มีความพยายามที่จะสร้างรัฐของตนขึ้นมาผ่านสำนึกทางชาติพันธุ์ ซึ่งแม้จะไม่ประสบความสำเร็จแต่ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ก็มีการต่อสู้เพื่อที่จะรักษาตัวตนของตนเองเอาไว้ งานศึกษาชิ้นนี้นำเสนอการต่อรองเชิงอำนาจที่ชาติพันธุ์ลาหู่มีต่อรัฐไทย ภายใต้วาทกรรมการพัฒนา การสร้างภาพจำให้ชาวเขาเป็นผู้ทำลายป่าเพื่อสร้างความเป็นอื่นต่อกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงการพยายามลดทอนคุณค่า และอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลง อย่างไรก็ตามงานศึกษาก็สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้ปฏิบัติการทางอำนาจของรัฐต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานะยอมจำนนแต่อย่างไร แต่กลับมีการดำเนินกิจกรรมเช่น การอนุรักษ์และการจัดการป่าไม้ เพื่อสร้างความหมายและตัวตน รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจต่อความเป็นชาติพันธุ์ของชาวลาหู่
 
กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง : การรักษา เยียวยา ผู้คน ชุมชน และสภาพแวดล้อม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. กรมประชาสงเคราะห์. สถาบันวิจัยชาวเขา เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา, ม.ป.ป. Sac Library - Books (7th floor) - GN492.5 .ว62 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036707             บทความนี้นำเสนอภูมิปัญญาด้านการบำบัดรักษาสุขภาพของกลุ่มลาหู่ญี ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นลาหู่กลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว โดยนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับความเชื่อแบบดั้งเดิม  ซึ่งสัมพันธ์กับแนวความคิดเกี่ยวกับความเจ็บป่วย โดยแยกสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย ออกเป็น 4 สาเหตุหลัก ได้แก่ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การเจ็บป่วยที่เกิดจากขวัญออกจากร่างกาย การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะกื่อซาหรือพระเจ้าลงโทษ และอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากถูกกระทำคุณไสย ในปัจจุบันหากเป็นการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ ชาวลาหู่มักจะใช้บริการสถานีอนามัยประจำหมู่บ้านหรือตำบล ถ้ามีอาการป่วยหนักหรือคลอดลูกก็มักไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอหรือจังหวัด หมอพื้นบ้านชาวลาหู่ที่ยังคงมีในชุมชน ได้แก่ หมอรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ หมอรักษาโรคภายใน และหมอที่รักษาโดยการใช้คาถาเสกเป่า ปัจจุบันการถ่ายทอดความรู้ด้านการแพทย์แก่คนรุ่นหลังของชาวลาหู่ลดน้อยลง รวมทั้งตัวยาสมุนไพรในป่าก็หายากขึ้น ส่งผลให้ในอนาคตข้างหน้า องค์ความรู้ด้านหมอพื้นบ้านของชาวลาหู่อาจเลือนหายไปก็เป็นได้
ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่อการรับรู้ในการจัดการไฟป่า : ศึกษากรณีชุมชนชาวมูเซอแดง สุริยา กาฬสินธุ์ กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539 SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7ส75 2539 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038610             ชุมชนมูเซอมีความสัมพันธ์กับป่าในฐานะทรัพยากรในการดำรงชีพ เนื่องจากวิถีชีวิตแบบเก็บของป่าล่าสัตว์ การทำไร่เลื่อนลอย และการตั้งถิ่นฐาน ทำให้ไฟเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการเผาป่าเพื่อเก็บของป่าและล่าสัตว์ การเผาเพื่อให้ได้พื้นที่ในการทำเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพื้นที่ป่าได้ลดน้อยลง ประกอบกับความชุ่มชื้นของป่าที่น้อยลงส่งผลให้ไฟลุกลามเข้าไปในป่าและรุนแรงมากขึ้นกว่าในอดีต การเกิดขึ้นของกฎหมายการตั้งถิ่นอาศัยของรัฐ และการเข้ามาของหน่วยงานเอกชนในชุมชนมูเซอ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ทำให้ชุมชนมีการรับรู้ต่อปัญหาไฟป่า ประกอบกับความเข้มแข็งภายในชุมชน ส่งผลในชุมชนมีการตระหนักรู้และร่วมกันจัดการไฟป่าเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ อย่างไรก็ตามตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ชุมชนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เกิดการเคลื่อนย้ายไปทำงานต่างถิ่น ส่งผลให้ศักยภาพของชุมชนต่อการจัดการไฟป่าลดน้อยลงกว่าเดิม
 
รายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องวัฒนธรรมชุมชนกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีของหญิงชาวเขาเผ่ามูเซอ : กรณีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดการค้าประเวณี กับวัฒนธรรมชุมชนและการแก้ไขปัญหา สารภี ศิลา [กรุงเทพฯ] : สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์, 2538 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- HQ242.55.A5 ส64 2538 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037304              รายงานนี้เป็นผลการดำเนินงานระยะแรกของการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง “วัฒนธรรมชุมชนกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีของหญิงชาวเขาเผ่ามูเซอ” หรือลาหู่ โดยเน้นศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดการค้าประเวณีกับวัฒนธรรมชุมชน ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง และการแก้ไขปัญหา การศึกษานี้แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีวิกฤติการณ์อยู่ในระดับรุนแรง กลุ่มที่มีปัจจัยแวดล้อมที่มีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะมีหรือเพิ่มขึ้นของการค้าประเวณี และกลุ่มที่ไม่มีหญิงในชุมชนค้าประเวณีและมีกิจกรรมของชุมชนที่แสดงถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาสำหรับกลุ่มที่อยู่ในระดับรุนแรงจำเป็นต้องอาศัยอำนาจรัฐและพลังจากภายนอกเข้าไปดำเนินการ ในขณะที่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสามารถส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ผ่านทางผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ค่านิยม และความเชื่อทางวัฒนธรรมเป็นพลังในการผลักดัน
 
คริสตศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมูเซอแดง : การศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีระหว่างหมู่บ้านยา พิมุข ชาญธนะวัฒน์ วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2538 SAC Library-Research and Thesis-DS570.ม7พ65 2538 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001540             การศึกษาคริสตศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมูเซอแดง จากการเก็บข้อมูลทั่วไปในพื้นที่วิจัยในฐานะครูผู้สอน ค้นคว้าเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และลงเก็บข้อมูลภาคสนาม ตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2537 เพื่อเก็บข้อมูลเปรียบเทียบเฉพาะกรณีระหว่างหมู่บ้านยาป่าแหน กับหมู่บ้านแสนคำลือ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อชี้ให้เห็นว่า ระบบความเชื่อทางศาสนานั้นส่งผลกระทบและมีความสัมพันธ์กับระบบทางสังคมต่างๆ ในชุมชน ถ้าศาสนามีการเปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชนย่อมดำเนินไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วย ดังจะเห็นได้จากการศึกษาครั้งนี้ที่เผยให้เห็นทั้งความขัดแย้งในชุมชนที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนศาสนา ไปจนถึงการพัฒนาภายในชุมชนอันมีที่มาจากการเปลี่ยนศาสนาเช่นกัน
รายงานการวิจัยเรื่องทัศนะทีมีต่อเฮโรอีน โสเภณีและแนวทางการฟื้นฟูจริยธรรม ศึกษากรณีชาวมูเซอ สนิท วงศ์ประเสริฐ เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์, 2537 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7 ส3635 2537 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056779             งานวิจัยนี้มีพื้นที่วิจัยเป็นหมู่บ้านชาวมูเซอหรือลาหู่ บ้านวนาหลวง ตำบลถ้ำลอด กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นแหล่งแพร่ระบาดของเฮโรอีนและการค้าประเวณี ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนที่เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายเฮโรอีนในเขตพม่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อให้เข้าใจบริบทของสังคมหมู่บ้านมูเซอด้วยข้อมูลรอบด้าน เชื่อมโยงกับพฤติกรรมจริยธรรมในชีวิตประจำวัน รวมทั้งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในท้องถิ่นและสังคมภายนอก ผลการวิจัยนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากฐานสู่ยอด คือการร่วมกันแก้ปัญหาระหว่างชาวบ้านในพื้นที่กับนักวิจัยและนักพัฒนาอย่างมีความเข้าใจตรงกัน เพื่อฟื้นฟูจริยธรรมของชาวบ้าน โดยการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่นั่นเอง
รายงานวิจัยชาติพันธุ์ : ศักยภาพในการดูแลสุขภาพและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบริเวณลุ่มน้ำขนาดเล็กในภาคเหนือ ยิ่งยง เทาประเสริฐ [เชียงใหม่ : สถาบันราชภัฏเชียงราย, 2535] Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- R611.ท9 ย63 2535 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033954             รายงานวิจัยนี้ศึกษาศักยภาพทางภูมิปัญญาในการดูแลสุภาพตนเอง และศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือ สำหรับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ที่อยู่บริเวณดอยตุง จังหวัดเชียงราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ลาหู่ญิ และลาหู่นะหรือลาหู่คริสต์ ชาวลาหู่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ค่อนข้างรับเอาวัฒนธรรมจากพื้นราบเข้ามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าชาวอาข่าที่อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงกัน แต่เดิมชาวลาหู่มีวิธีดูแลสุขภาพตนเองตามภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา ทั้งการประกอบพิธีกกรมและการใช้ยาสมุนไพร ภายหลังมีการใช้ยาแผนปัจจุบันมากขึ้นโดยจะไปซื้อมาจากร้านขายยาในเมือง หรือคนขายยาเร่ เพื่อนำมารักษาตนเองก่อนที่จะมีสถานีอนามัยในพื้นที่เกิดขึ้น จึงมักพบเจอผู้ป่วยลาหู่ที่ใช้ยาเกินความจำเป็นและแพ้ยาอยู่บ่อยๆ เมื่อมีการจัดตั้งสถานีอนามัยประกอบกับการเดินทางคมนาคมสะดวกขึ้น ทำให้ความเชื่อและการดูแลสุขภาพของชาวลาหู่ก็ถูกปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ด้วย
รายงานการวิจัยบทบาทของผู้นำศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ามูเซอแดง ศึกษาเฉพาะกรณีจะนุ โสฬส ศิริไสย์ กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2532 SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7ส96 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00005068             กลุ่มชาติพันธุ์มูเซอมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ชาวมูเซอมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่เป็นระยะโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านการถูกครอบงำทางวัฒนธรรมของชนชาติอื่น โดยมีผู้นำทางศาสนาเป็นแกนหลักเช่น ปู่จองมะแฮ เหมาะนะโตโป หรือปู่จองหลวง อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอดเวลาที่ผ่านมาก็มักไม่ประสบความสำเร็จ ในกรณีของประเทศไทย จะนุพญาซึ่งเป็นผู้นำของมูเซอแดงในปัจจุบัน ได้เคลื่อนไหวทางความคิดเพื่อต่อรองกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่กำลังไหลบ่าเข้ามาสู่สังคมมูเซอ โดยใช้บทบาทของผู้นำทางศาสนา และในขณะเดียวกันก็นำคำสอนจากศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เป็นไป
โครงการวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเพาะปลูก : ศึกษากรณีชาวเขาเผ่ามูเซอ สนิท วงศ์ประเสริฐ เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย, 2531 Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - HD1741.ท9 ส36 2531 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00027237             รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเพาะปลูก” ประจำปี 2530 ของสถาบันวิจัยชาวเขา ผู้เขียนรายงานรับผิดชอบศึกษากรณีชาวเขาเผ่ามูเซอหรือลาหู่ หมู่บ้านห้วยน้ำริน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยรวบรวมข้อมูลการถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินของชาวเขาเผ่ามูเซอที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานภาพการใช้ประโยชน์ของที่ดินในปัจจุบันและอนาคต พบว่ามีการปรับการใช้ที่ดินจากระบบหมุนเวียนพื้นที่เพาะปลูกเป็นระบบการปลูกพืชหมุนเวียน มีการขุดอ่างเก็บน้ำและวางระบบการใช้น้ำเพื่อผลิตพืชผักทดแทนและพืชเมืองหนาว เอื้ออำนวยให้มีการใช้ที่ดินขนาดเล็กลงและรู้จักใช้น้ำเพื่อขยายพืชสวนมากขึ้น นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีเนื้อหาโครงการวิจัยเรื่อง “ประสบการณ์ในการพัฒนา : ศึกษาเฉพาะกรณีการเสพฝิ่นติดของชาวเขาเผ่ามูเซอ” โดยผู้เขียนคนเดียวกันอีกด้วย
ข้าวไร่มูเซอ : การวิเคราะห์ปริมาณผลิตบริโภค ใช้ในพิธีกรรมและการสูญเสีย (ภาคที่สอง) สนิท วงศ์ประเสริฐ รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 24 สาขาพืช : เล่มที่ 1 (27-29 ม.ค. 2529), หน้า 88-95 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=146162&query=             การวิเคราะห์ข้าวไร่มูเซอภาคที่สองนี้ แสดงผลงานวิจัยการผลิตข้าวไร่ตามประเพณีของชาวเขาเผ่ามูเซอ (ดำเซเล) หรือล่าหู่ ประจำปี 2527 ในหมู่บ้านห้วยโป่ง หมู่บ้านห้วยน้ำริน และหมู่บ้านดอยมด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย รวม 3 หมู่บ้าน วัฎจักรการผลิตข้าวไร่ของชาวเขาเผ่ามูเซอเริ่มตั้งแต่การประกอบพิธีกรรมขออนุญาตสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อถางไร่ หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ทำขวัญข้าว พิธีกินข้าวใหม่ และพิธีเรียกขวัญเมล็ดข้าวเมื่อนวดเสร็จแล้ว ข้าวที่ปลูกได้จะนำมาใช้เป็นอาหารประจำวันของสมาชิกในครัวเรือน สัตว์เลี้ยง และเป็นส่วนประกอบของพิธีกรรมตามวัฎจักรการเพาะปลูก รวมทั้งพิธีกรรมเซ่นไหว้ต่างๆ ความเสียหายของข้าวไร่เกิดจากโรค แมลง สัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยง รวมทั้งปริมาณน้ำฝนที่จะตกหนักติดต่อกันในช่วงที่ข้าวสุก ทำให้แต่ละครัวเรือนสามารถผลิตข้าวไร่ได้เพียงเกือบสองในสามส่วนของปริมาณข้าวที่ต้องใช้ตลอดทั้งปี อีกหนึ่งส่วนต้องซื้อมาจากภายนอกหมู่บ้าน
 
ศึกษาเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านชาวไทยพื้นราบและชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอ จังหวัดตาก อรทัย สายเพ็ญ วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต หน่วยวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- GR312.ห8 อ43 2528 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012400               การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมนิทานพื้นบ้านของชาวไทยพื้นราบ บ้านปากห้วยแม่ท้อ และชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอหรือลาหู่ บ้านห้วยปลาหลด จังหวัดตาก ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จากนั้นผู้วิจัยได้จำแนกประเภทของนิทานพื้นบ้านตามรูปแบบอย่างเป็นระบบเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ อนุรักษ์ ตลอดจนเผยแพร่โลกทัศน์ของชาวไทยพื้นราบและชาวไทยภูเขา อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดและความเชื่อของชนทั้งสองกลุ่มที่สัมพันธ์กับการกำหนดหลักการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าโลกทัศน์ของชาวไทยพื้นราบและชาวมูเซอจากนิทานพื้นบ้าน มีความคล้ายคลึงและมีลักษณะร่วมอยู่หลายประการ โดยเฉพาะโลกทัศน์ที่มนุษย์มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้แก่ คติเกี่ยวกับเรื่องคุณไสย ดวงวิญญาณและภูตผี ความเชื่อเรื่องขวัญ และคติที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาเป็นต้น
รายงานวิจัยเรื่องปัญหาการศึกษาของชาวเขาเผ่ามูเซอในบริเวณดอยมูเซอ จังหวัดตาก ศุภชัย สถีรศิลปิน เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์, 2527 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7 ศ74 2527 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037625             โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุด้านทัศนติของชาวมูเซอเฌเลหรือลาหู่ ในหมู่บ้านอุมยอม จังหวัดตาก ที่มีต่อการศึกษาที่ภาครัฐจัดให้ เนื่องจากชาวมูเซอหมู่บ้านนี้ให้ความสนใจต่อการศึกษาน้อยมาก มีการส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนบ้านมูเซอในระยะเริ่มต้นเท่านั้น หลังจากนั้นก็ไม่มีนักเรียนจากหมู่บ้านดังกล่าวมาเรียนอีกเลย โดยชาวบ้านให้เหตุผลว่าโรงเรียนตั้งอยู่ไกลหมู่บ้าน ประกอบกับการเดินทางคมนาคมไม่สะดวก ผู้ปกครองเป็นห่วงบุตรหลาน และเด็กมูเซอบางรายที่ไปเรียนมักจะถูกเพื่อนนักเรียนต่างเผ่ารังแกและล้อเลียน อีกทั้งเมื่อส่งบุตรหลานไปเรียนก็จะไม่มีผู้ดูแลบ้านในช่วงที่ผู้ใหญ่ออกไปทำไร่ จากการศึกษาพบว่าผู้นำหมู่บ้านมีอิทธิพลต่อการศึกษาของเด็กและชุมชนอย่างมาก หากผู้นำมีความเห็นที่ไม่ตรงกันกับเจ้าหน้าที่ที่ลงไปปฏิบัติงานแล้ว การจะขอความร่วมมือจากชาวบ้านเพื่อร่วมแก้ไขปัญหานี้ก็จะเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้งานวิจัยยังมุ่งแสวงหาแนวทางต่างๆ ที่จะทำให้ชาวมูเซอหมู่บ้านนี้ให้ความสนใจต่อการศึกษาและส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษามากขึ้นอีกด้วย
ภาษาละหุหรือมูเซอร์ จิตร ภูมิศักดิ์ กรุงเทพฯ : ไม้งาม, 2526 Sac Library - Books (7th floor) - DS570.ล65 จ63 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00006717             จิตร ภูมิศักดิ์ ผู้เขียนหนังสือฉบับนี้ ได้มีโอกาสศึกษาและบันทึกภาษาละหุหรือลาหู่หรือมูเซอ ในช่วงที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกลาดยาวและได้รู้จักกับสองพ่อลูกชาวละหุที่ถูกจับกุมในฐานะเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีการกระทำเป็นคอมมิวนิสต์ สันนิษฐานว่าผู้เขียนเรียบเรียงร่างพจนานุกรมภาษาละหุในช่วงปีพ.ศ.2501-2506 ระหว่างที่อยู่ในคุกและได้นำออกมาด้วยเมื่อพ้นโทษ สำนักพิมพ์ได้ค้นพบผลงานชิ้นนี้เมื่อพ.ศ.2519 และมีการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มหลังจากนั้น นอกจากการเทียบอักขรวิธี สระ พยัญชนะ ระหว่างภาษาไทยและภาษาละหุแล้ว เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ยังประกอบไปด้วยประวัติความเป็นมาของชาวละหุ ความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อ ดนตรีและเครื่องดนตรีอีกด้วย นอกจากนี้ในตอนท้ายของเล่มยังมีการรวบรวมคำศัพท์ภาษาละหุและการออกเสียงไว้เป็นจำนวนมาก
โครงการศึกษาขั้นพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจมูเซอเชเล ศุภชัย สถีรศิลปิน เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์, 2525 Sac Library -- Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ม7ศ72 2525 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019648             ชาวมูเซอ หรือละหู่ หรือลาหู่ สามารถแบ่งจำแนกออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม คือ ละหู่นะ ละหู่ญี ละหู่ชี และละหู่เชเลหรือมูเซอเชเล การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อให้ผู้ที่สนใจทั่วไปมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี กฎระเบียบข้อบังคับ และลักษณะการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวเขาเผ่ามูเซอเชเล ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม ลักษณะที่ตั้งหมู่บ้าน โครงสร้างทางประชากร การปกครอง ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรม ตลอดทั้งระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพและการเพาะปลูก โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่ในบ้านห้วยน้ำริน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
การปฏิบัติทางการตลาดของพืชผลทางการเกษตร ของเกษตรกรชาวเขาเผ่าลาฮูในภาคเหนือของประเทศไทย พร วิชชุเวคิน วิทยานิพนธ์พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาพาณิชยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=491013&query=             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรกรชาวเขาเผ่าลาฮูหรือลาหู่ในภาคเหนือของประเทศไทย และหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจผลิต การตลาดและต้นทุนด้านการตลาด รวมทั้งราคาที่เกษตรกรได้รับ เพื่อทำความเข้าใจลักษณะของปัญหาด้านการตลาดที่ต้องแก้ไขเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรจากการปลูกพืชทดแทน ซึ่งสัมพันธ์กับการกำจัดการปลูกฝิ่นและระบบการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเผ่าลาฮู ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรใช้ราคาตลาดเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผลิตพรรณพืชต่างๆ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่กาแฟ ละหุ่ง ถั่วแดง และงา มีผู้รับซื้อเป็นพ่อค้าคนไทยพื้นเมือง โดยมีค่าขนส่งเป็นต้นทุนด้านการตลาดที่สูงที่สุด
สังคม-เศรษฐกิจการเกษตรของชาวเขาเผ่ามูเซอ (ดำ) สนิท วงศ์ประเสริฐ. กระทรวงมหาดไทย. กรมประชาสงเคราะห์. ศูนย์วิจัยชาวเขา เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยชาวเขา, [2522?] Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - DS 570.ม7ส37 2522 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043474             การศึกษาถึงสภาพทางสังคมของมูเซอและเศรษฐกิจ การผลิตทางการเกษตร ในหมู่บ้านมูเซอ นายจะนู จะแก ตำบลแม่ตืน อำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มูเซอนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขาสูง มีอาชีพทำการเกษตร ล่าสัตว์ป่า เน้นเพื่อการบริโภค และอาศัยอยู่กันแบบกึ่งหลักแหล่ง - กึ่งเร่ร่อน ลักษณะหมู่บ้านของมูเซอจะแบ่งแยกพื้นที่อยู่อาศัยอย่างเป็นสัดเป็นส่วน แยกพื้นที่ทำกินออกจากตัวบ้าน มีความเชื่อถือทางศาสนาแบบชาวเขา นับถือผีฟ้า ผีบรรพบุรุษ ผีป่า ผีดอย และผีอื่นๆ เชื่อว่า ผีเหล่านี้เป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาบนโลก ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น และก็สามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ทั้งโลก รวมถึงคนที่ตายไปแล้ว สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของชาวเขาเผ่ามูเซอ ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรมทั้งสิ้น และค่านิยมในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสังคม และศาสนาที่ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า การรู้พื้นฐานทางสังคม เป็นแนวทางที่จะพัฒนาการวางแผนโครงการพัฒนาชาวเขา ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
 
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชาวเขาดอยมูเซอร์ จังหวัดตาก อนันต์ ดำหริชอบ วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์และสหกรณ์บัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2507 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=389554&query=͹ѹ             การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชาวเขาเผ่ามูเซอร์ดำหรือลาหู่ แม้วดำ และลีซอที่นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ดอยมูเซอร์ ตำบลแม่ท้อ จังหวัดตากนี้ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงความเป็นอยู่ของชาวเขาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งผลกระทบจากการห้ามปลูกและจำหน่ายฝิ่นของรัฐบาลในฐานะเป็นอาชีพดั้งเดิมและอาชีพหลักของชาวเขา นอกจากนี้ยังสำรวจความพึงพอใจในอาชีพและที่อยู่ใหม่ที่เป็นหลักแหล่งประจำที่รัฐจัดให้โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวเขากลับไปปลูกฝิ่นอีก พร้อมกับการแนะนำให้ปลูกพืนทดแทนชนิดอื่นๆ
การเดินทางเคลื่อนที่และเครือข่ายทางสังคมของแม่ค้าลาหู่ในภาคเหนือประเทศไทย Fujii, Yuko Master of Arts in Sustainable Development. Chiangmai University, 2010 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=100744&query=Fujii, Yuko&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2563-09-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=1              การศึกษานี้ ผู้เขียนพยายามเข้าถึงสถานการณ์ปัจจุบันของชาวเขาบนที่สูงทางตอนเหนือของประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้หญิงลาหู่ที่ประกอบอาชีพค้าขายอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากกระแสการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของโครงการต่างๆทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานนานาชาติ ทำให้ชาวเขามีการพึ่งพาตัวเงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้สมาชิกของหลายๆชนเผ่าต้องโยกย้ายเพื่อมาหารายได้ในเขตตัวเมือง การค้าขายเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีอยู่อย่างจำกัดในการประกอบอาชีพของผู้หญิงลาหู่ เมื่อเริ่มมีการเคลื่อนย้ายออกมาหางานนอกหมู่บ้านก็สามารถพูดได้ว่า การเคลื่อนย้ายนี้มีส่วนสนับสนุนในการเติมเต็มบทบาทของผู้หญิงลาหู่ ที่จะหารายได้ที่เป็นตัวเงินให้กับครอบครัว
ลักษณะการเชื่อมโยงสัมพันธสารของนิทานพื้นบ้านภาษาลาหู่ซี Upai Jasa Degree of Master of Arts in Linguistics, Faculty of Arts, Payap University, 2009 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=257069&query=Upai Jasa&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2563-09-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=1              สัมพันธสารคือถ้อยความซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงและชัดเจนเพียงพอ ร่วมกันทำหน้าที่ถักทอสัมพันธสารเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นการเชื่อมโยงความจึงเป็นเครื่องมือหลักในการทำให้สัมพันธสารเกี่ยวเนื่องกันหรือเป็นที่เข้าใจได้โดยผ่านทางการใช้เครื่องมือทางไวยกรณ์ต่างๆ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กรอบวิธีการวิเคราะห์การเชื่อมโยงความในภาษาอังกฤษและการเชื่อมโยงความแบบทั่วไปประเภทต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความเชื่อมโยงความของนิทานพื้นบ้านภาษาลาหู่ซี ซึ่งครอบคลุมในด้านต่างๆ ได้แก่ การเชื่อมโยงความผ่านเอกลักษณ์ การเชื่อมโยงความผ่านความเกี่ยวโยงกันของคำศัพท์ และการเชื่อมโยงความผ่านคำสันธาน
ลักษณะสำคัญบางส่วนของสัมพันธสารในนิทานพื้นบ้านภาษาลาหู่ซี Morris, Amber Master of Arts in Linguistics. Faculty of Arts. Payap University, 2008 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=257063&query=Morris, Amber&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2563-09-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=1              การวิเคราะห์สัมพันธสารหรือโครงสร้างทางวาทกรรมเป็นการศึกษาวิเคราะห์ส่วนต่างๆของตัวบท โดยในงานวิจัยนี้จะวิเคราะห์สัมพันธสารในนิทานพื้นบ้านภาษาลาหู่ซีจำนวน 4 เรื่อง เพื่อให้ทราบรูปแบบและวิธีการเชื่อมโยงเนื้อความเข้าด้วยกันเป็นตัวบทที่มีความต่อเนื่องกลมกลืนกัน จากการวิเคราะห์โครงสร้างของตัวบทแต่ละเรื่องพบว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม ประกอบด้วย เวที ตอนที่ 1 จุดเร่งเร้า ตอนที่ 2 ความขัดแย้งทวี ตอนที่ 3 ความขัดแย้งทวี จุดเด่นหรือจุดสุดยอดของเรื่อง จากนั้นจะเป็นการแก้ปม และการปิดเรื่องหรือสรุปเรื่องซึ่งมักจะมีคำสอนทางศีลธรรมประกอบอยู่ด้วย
พฤติกรรมทางเพศและการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มผู้หญิงชาวเขาที่ตั้งครรภ์ในภาคเหนือประเทศไทย Tawatchai Keereekamsuk Degree of Doctor of Public Health, Mahidol University, 2007 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=261986&query=Tawatchai Keereekamsuk&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2563-09-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=2              การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ชาวเขา โดยสำรวจจากคลินิกบริการฝากครรภ์ 6 แห่งในจังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาปรากฎว่าอายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีคือ 26.91 ปี ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าลาหู่และเผ่าอาข่าตามลำดับ และผู้ติดเชื้อกว่าครึ่งคือผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา จากการศึกษานี้ยังเห็นได้ว่าสาเหตุหลักในการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มหญิงมีครรภ์ชาวเขาเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้หญิงชาวเขามีทักษะการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ตลอดทั้งการเข้าถึงบริการถุงยางอนามัย และควรจัดตั้งระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มนี้โดยเฉพาะ
สำนึกทางชาติพันธุ์และความหมายของพื้นที่ทางสังคมของชาวลาหู่ Strassen, Carina Zur Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University, 2007 Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - DS570.L26 S775 2007 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094534             กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ผ่านมารัฐไทยมีการดำเนินนโยบายที่เข้มข้นเพื่อพัฒนาพื้นที่ชาวเขา เช่นการปลูกพืชเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการศึกษา อย่างไรก็ตาม การเข้าไปพัฒนาโดยภาครัฐก็สร้างความขัดแย้ง และผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ หนังสือเล่มนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาชาติพันธุ์ลาหู่ โดยเฉพาะกลุ่มลาหู่นะเชเล โดยผู้วิจัยใช้มุมมองจากคนในเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของการพัฒนาในกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามงานศึกษาชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นระบบทางวัฒนธรรมที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มีความเข้มแข็งและรักษาตัวตนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม
Lahu writing and writing Lahu : an inquiry into the value of literacy Pine, Judith M. S Seattle, WA : University of Washington, 2002 Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - DS523.4.L33 P56 2002 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00066725             การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนและภาษาเขียนของชาวลาหู่ การเขียนและภาษาของชาวลาหู่ เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่สามารถบ่งบอกถึงความซับซ้อนในความสัมพันธ์และการใช้ชีวิตของคนชาวลาหู่ ในงานวิจัยนี้พูดถึงการเขียนในสองแนวทางที่แตกต่างกัน แนวทางหนึ่งถือว่าภาษาเขียนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการกำหนดและถอดข้อมูลหรือข้อความที่มีความหมาย อีกกลุ่มหนึ่งแยกภาษาเขียนของลาหู่เป็นเครื่องมือเกี่ยวกับภาษาเขียนว่าเป็นการครอบครองของกลุ่ม และระบุการเขียนและไม่ได้เขียน จากการตรวจสอบความเข้าใจในความไม่ชัดเจนของการไม่มีการเขียน
การใช้สมุนไพรกับการดำรงชีวิตของชาวดอยมูเซอ จังหวัดตาก Songsri Pipitkul Master of Science. Technology of Environmental Management. Mahidol University, 2001 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=327567&query=Songsri Pipitkul&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2563-09-29&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=1&maxid=1              งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบและวิธีการใช้สมุนไพร ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางเศรษฐกิจกับการใช้สมุนไพรของชาวลาหู่ ดอยมูเซอ จังหวัดตาก จากการศึกษาพบว่า สมุนไพรมีความสำคัญในฐานะเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาในระบบการแพทย์แบบพหุลักษณ์ของชุมชน โดยจะเห็นได้ว่ามีอัตราเฉลี่ยในการใช้สมุนไพรเพื่อการดำรงชีพต่ำกว่าร้อยละ 50 รูปแบบการใช้สมุนไพรแบ่งตามลักษณะการรักษาได้ 4 แบบคือ การรักษาด้วยสมุนไพรอย่างเดียว ใช้สมุนไพรผสมกับอาหาร ใช้สมุนไพรกับการนวด และใช้สมุนไพรร่วมกับพิธีกรรม โดยใช้ส่วนใบมากที่สุดและมักจะปรุงยาด้วยวิธีการต้ม อย่างไรก็ตามผลการวิจัยยังพบว่า ขนาดของครัวเรือนและปัจจัยทางเศรษฐกิจไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการใช้สมุนไพรของชาวลาหู่อย่างมีนัยสำคัญ
Lahu nyi (red lahu) new year texts I Walker, Anthony R Bangkok : Siam society , 1974 Sac Library - Books (7th floor) - DS570.L3W34 1974 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00009933             หนังสือฉบับนี้รวบรวมบทความจากวารสารสยามสมาคม เกี่ยวกับประเพณีปีใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่หงีหรือลาหู่แดงซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยมีทั้งหมด 3 ตอน นอกจากนั้นยังมีบทความที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณของชาวลาหู่ การเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก การแต่งงาน การหย่าร้าง การเกิด การรับขวัญเด็ก การล่าสัตว์และอาวุธพื้นบ้านที่ชาวลาหู่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการล่า ในแต่ละบทความมีการใช้ภาษาลาหู่เปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษ เนื่องจากผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์ต้นฉบับภาษาลาหู่ เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาภาษาลาหู่ได้วิเคราะห์การแปลเนื้อหาเหล่านี้ต่อไป
ชาติพันธุ์กับความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน
นิเวศวิทยาวัฒนธรรมของชุมชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำคำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย