Title Author Imprint Collection Url Annotation
เครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง เชียงใหม่ : ร่วมเจริญปริ้น, 2562 Books GN495.6 .ค82 2562 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097112 หนังสือเล่มนี้มีการเก็บรวมรวบลักษณะการแต่งกายของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย เพื่อแสดงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มตามการแต่งกายที่แตกต่างกัน ลวดลายและสีของเครื่องแต่งกายเป็นสิ่งที่สามารถจำแนกลักษณะเฉพาะของกลุ่ม ตามโทนสีของเสื้อผ้า ลวดลายการปัก อาทิ ชาวกะเลิงในประเทศไทยสวมเสื้อที่ทำจากผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีครามผู้หญิงจะมีผ้าสไบทำจากผ้าฝ้ายสีขาวนุ่มผ้าซิ่นที่มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น มัดหมี่ย้อมคราม ลายนาคขอ นาคน้อย เป็นต้น มีการแต่งกายเพื่อไปร่วมพิธีที่สำคัญต่าง ๆ เช่น งานเลี้ยงผีปู่ตา งานเลี้ยงผีหมอเหยา เป็นต้น ผู้ชายของนุ่งกางเกงขายาวทรงกระบอกและมัดเอวด้วยผ้าขาวม้าลายสีขาวสลับดำ ผู้หญิงจะมีการมัดผมด้วยผ้าสีขาว และสวมใส่เครื่องประดับ คือ สร้อยลูกปัดสีขาว ตุ้มหู กำไลแขน
คนไทยหลากหลายชาติพันธุ์ สำนักกิจการชาติพันธุ์ กรุงเทพฯ : สำนักกิจการชาติพันธุ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, [2555] Books GN495.4.ค39 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079015 กล่าวถึงความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิต ลักษณะ รูปร่าง ความเชื่อ พิธีกรรม ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ตระกูลภาษาไท-กะได เรียกว่า "กลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง" ซึ่งในอดีตนักสำรวจชาวฝรั่งเศสระบุว่า พบกลุ่มชาติพันธุ์นี้อาศัยอยู่ไม่ไกลจากเมืองแง่อานในเวียดนาม ลุ่มแม่น้ำตะโปน และบนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และในปัจจุบันได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเทือกเขาภูพานในจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร ชาวกะเลิงมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่ต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ คือ มีการเก็บอาหารจากป่ามาปรุงอาหาร ทำไร่นา หาสมุนไพร และชาวกะเลิงมีความเชื่อ และพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผี คือ พิธีเหยา ผีฟ้า และผีน้ำ 
สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : กะเลิง วีระพงศ์ มีสถาน นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548 Books DS570.ก57ว64 2548 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063174 เรื่องราวที่นำมาเสนอในสารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยฉบับนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชาติพันธุ์กะเลิง 1 ใน 8 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้ดำเนินการวิจัยจากหลายพื้นที่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนำเสนอเรื่อราวของชาวกะเลิงผ่านสารานุกรมฉบับนี้ ชื่อเรียกขานว่า “ข่าเลิง” หรือ “ข้าเลิง” มีความหมายในเชิงดูแคลน ในเอกสารทางราชการจึงเรียกแทนว่า “ไทยกะเลิง” เพื่อสื่อว่ากลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มในดินแดนสยามว่าเป็นคนไทย เรื่องราวของชาวกะเลิงโดยตรงไม่ค่อยปรากฏในเอกสารหลักของไทย แต่มีปรากฏในวรรณกรรมของชาวลาวอีสาน คือเรื่องย่าสอนหลาน และนอกจากนี้ในสารานุกรมยังในข้อมูลเกี่ยวกับชาวกะเลิงในด้านอื่น ๆ   อาทิ ประวัติความเป็นมา จำนวนประชากร ที่อยู่อาศัย ภาษา การแต่งกาย ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม เป็นต้น  
 
แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย = Ethnolinguistic maps of Thailand สุวิไล เปรมศรีรัตน์ กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2547 Research and Thesis P35.ท9อ72 2547 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043616 งานวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ความรู้สามด้านด้วยกันคือ 1.ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ มีการศึกษาโดยใช้ภาษาพูดของกลุ่มชนต่างๆเป็นเกณฑ์ โดยศึกษาทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน 2. ด้านฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาษาและชาติพันธุ์ในประเทศ 3. การทำแผนที่เพื่อแสดงข้อมูลการกระจายของกลุ่มภาษาต่างๆด้วยสีและสัญลักษณ์บนพื้นที่ นอกจากนั้นยังแสดงการกระจายของภาษาทั้งพื้นที่ทางวัฒนธรรม พื้นที่ทางภูมิศาสตร์และการปกครองในระดับต่างๆ ว่าภาษานั้นๆมีการใช้มากหรือน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่นกะเลิ้ง โย้ยและพวนจากการสำรวจมีผู้ใช้ภาษานี้ไม่ถึงร้อยละ 1 นับว่าอยู่ในเกณฑ์ผู้ใช้น้อย มีการศึกษาโดยการเก็บข้อมูล การใช้แบบสอบถาม การนำวิทยาการคอมพิวเตอร์มาใช้ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก Mr.Greg Lyons และ Mr.Philipp Dill จากสถาบันเอสไอแอล อินเตอร์เนชั่นแนลในการนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้งานกับข้อมูลทางภาษาที่ได้ทำการสำรวจและวิจัย
สกลนคร ชาติชาย มุกสง กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999, 2543 Books DS589.ส1ช63 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040646 หนังสือสกลนครเล่มนี้ได้นำเสนอประวัติของจังหวัดสกลนครในด้านต่างๆ เช่น ความเป็นมา ตราประจำจังหวัดและคำขวัญ สภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ การปกครองประชากรและการเมือง การศึกษา ศาสนา สาธารณูปโภคและการบริการ สภาพเศรษฐกิจและอาชีพ รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ 3 – 5 ได้มีการปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ทำให้ผู้คนจากฝั่งลาวอพยพเข้ามาที่ประเทศไทยเพิ่ม ดังนั้นประชากรชาวสกลนครนอกจากจะมีชาวไทยอีสานดั้งเดิม ในแถบอำเภอเมืองสกลนคร อำเภอพรรณานิคม และอำเภอวาริชภูมิยังมีชาวไทยเผ่าอื่นๆที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ด้วยเช่น กะเลิง ย้อ โย้ย จนเกิดเป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมเดิมกับวัฒนธรรมของชนเผ่าที่โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อยู่ควบคู่กันมาจนถึงปัจจุบัน
พิธีเหยาของชาวกะเลิง นพวรรณ สิริเวชกุล - Journal วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 35, ฉบับที่ 8 (พ.ค. 2541), หน้า 23-26 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00043916 บทความเกี่ยวกับพิธีเหยาของชาวกะเลิง เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมที่สำคัญของชาวกะเลิงบ้านบัว    ในหมู่บ้านหนึ่งมีหมอเหยาได้หลายคน การเป็นหมอเหยานั้นก็ไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องเป็นคนที่เสียสละ มีคุณธรรม มีสัจจะ ปรุงแต่งตัวเองด้วยเครื่องหอมเหน็บด้วยดอกสะเลเต หรือ ดอกมหาหงส์ไว้ที่มวยผม และต้องประพฤติตามฮึด-คอง หมอเหยาส่วนใหญ่เป็นการสืบทอดเชื้อสายต่อ ๆ กัน ซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยผู้อาวุโสสุดจะเป็นแม่หมอใหญ่ และเป็นผู้นำในการประกอบพิธีร่วมกัน เช่น การไหว้ครูร่วมกันของหมอเหยา จะจัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี ในการ   ทำพิธีกรรมนี้ทุกคนในหมู่บ้านจะไม่ไปทำงานตลอดสองวันสองคืนเนื่องจากต้องไปร่วมพิธีกรรมในครั้งนี้ แสดง    ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนของขาวกะเลิงบ้านบัว ตามความเชื่อของการเจ็บป่วยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ   ป่วยเพราะโรค และป่วยเพราะผีทำ หากรักษาทางการแพทย์ไม่หายก็จะมารักษากับหมอเหยา ซึ่งก็จะเข้าสู่         การทำพิธีการรักษาต่อไป
ลมหายใจสุดท้ายของดอกหมากเคื่องประดับและเครื่องหอมของแม่หญิงข่าเลิงบ้านบัวห้วยทรายบนเทือกเขาภูพาน ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ - Journal ศิลปวัฒนธรรม : 18, 12(ต.ค. 2540) ;หน้า 108-110 -- 0125-3654 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00003958 บทความนี้ผู้เขียนจะเล่าถึงชาวข่ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่เรียกตนเองและถูกผู้อื่นเรียกว่า “ข่าเลิง”  ที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านบัวห้วยทราย ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวข่าเลิง อาทิ การเลี้ยงหมูไทกี้ การใช้ยาสมุนไพร การสร้างเรือนแบบดั้งเดิม การแต่งงานในกลุ่มชนเดียวกัน สกุล “กุดวงศ์แก้ว” ภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สำคัญของแม่หญิงข่าเลิง อีกหนึ่งอย่างคือ การทำดอกหมก เป็นเครื่องหอมที่มีลักษณะคล้ายดอกไม้ ทำมาจากพืชถิ่นในหมู่บ้านที่ขึ้นตามเขตแนวรั้ว ได้แก่ รากหมากแหน่ง ใบอ้ม ใบคำพอง ใบเนียม ใบว่านหอม ใบเสน่ห์จันทร์ และขมิ้นตากแห้ง ใช้นำมาเสียบผม ประดับผม ปัจจุบันค่านิยมได้เปลี่ยนไปมาก จึงหลงเหลือภูมิปัญญานี้กับแม่หญิงข่าเลิง มีเพียงแม่ใหญ่สาย แม่ใหญ่มาก แม่ใหญ่มาด กุดวงศ์แก้ว และแม่เฒ่าอีกสองคน
การศึกษาศักยภาพและภูมิปัญญา เพื่อตอบสนองชีวิตชุมชนชาวกะเลิงบ้านบัว อ.กุดบาก จ.สกลนคร สุรัตน์ วรางค์รัตน์ กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2534 Research and Thesis DS570.ก57ส75 2534 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00035455 กะเลิงคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงในบางจังหวัด แต่ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะกล่าวถึงชาวกะเลิงบ้านบัว ที่อาศัยอยู่ในอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาหมู่บ้านชาวกะเลิงในด้านต่างๆ เช่น การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น การเพาะปลูกพืชเพื่อการดำรงชีวิต และการรักษาพยาบาล การหัตถกรรมในครัวเรือน การเลี้ยงสัตว์พื้นบ้านการเลี้ยงปลา และการรวมกลุ่ม หรือจัดระเบียบองค์กรทางสังคมโดยกลุ่มผู้นำทางธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาให้เป็นตัวอย่างแก่เยาวชน และเพื่อศึกษากระบวนการทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทั้งในอดีตและปัจจุบันซึ่งสร้างขึ้นใหม่แต่ให้คุณค่าต่อวิถีชีวิตในสังคมชาวกะเลิง
การอพยพย้ายถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านภูพานทอง ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร จุลสัน ทันอินทร์อาจ มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2534 Research and Thesis HB2104.55.ต6จ74 2534 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036615 งานวิจัยเรื่องการอพยพย้ายถิ่น ของบ้านภูพานทอง ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนครมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนไทยลาว ผู้ไทย ไทยภาคกลาง ไทยโคราช และไทยภาคใต้ โดยมีการใช้เอกสารเพื่อศึกษา มีการลงภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์และสังเกต จากนั้นจึงสรุปผลโดยเน้นในเรื่องการบูรณาการทางวัฒนธรรม เช่นในด้านการพูด ทุกกลุ่มจะใช้ภาษาลาวอีสานในการสื่อสารเป็นหลัก ในด้านประเพณีศาสนาความเชื่อ ทุกกลุ่มโดยพื้นฐานมีวิถีชีวิตใกล้เคียงกันจึงสามารถปรับตัวเข้าร่วมประเพณีทางศาสนาร่วมกันได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการบูรณาการหรือการใช้วัฒนธรรมร่วมกันก็คือการอยู่ภายใต้สังคมเกษตรกรรมแบบเดียวกันและอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนาเดียวกัน
ภูมิศาสตร์ภาษาจังหวัดสกลนคร : การศึกษาโดยใช้ศัพท์ = Linguistic geography of Sakon Nakhon : the lexical approach บัญญัติพร สมบัติเมืองกาฬ กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533 Research and Thesis PL4195.ส2บ62 2533 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00005776 วิทยานิพนธ์เล่มนี้ทำการศึกษาภาษาย้อ ภาษาผู้ไทย ภาษากะเลิง และภาษาโย้ยในจังหวัดสกลนคร โดยใช้การวิเคราะห์ศัพท์และจัดศัพท์แยกเป็นแต่ภาษาของแต่ละถิ่น จากนั้นถึงนำมาสร้างแผนที่ด้วยการใช้สัญลักษณ์แทนแต่ละภาษาในแผนที่ ผลจากการศึกษาพบว่า ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดสกลนครทั้ง 4 ภาษา ภาษาย้อ ใช้มากที่สุดในแถบภาคเหนือของจังหวัด ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภาษาผู้ไทย จะใช้ในบริเวณตอนกลางยาวตลอดของแนวจังหวัด ภาษาโย้ย ใช้อยู่ในบริเวณที่เป็นกระเปาะเล็กๆตอนเหนือบริเวณตอนกลาง และภาษากะเลิง บริเวณที่ใช้ส่วนใหญ่คือภาคใต้ของจังหวัด ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ พบมากในอำเภอเมือง อำเภอกุดบาก กิ่งอำเภอนิคมน้ำอูน และอำเภอเต่างอย
เรื่องของดีเมืองสกล สุรัตน์ วรางค์รัตน์ สกลนคร : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วค.สกลนคร, 2532 Books DS589.ส1ส74 ล.2 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000263 ของดีเมืองสกลเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยสังคม – วัฒนธรรมอีสานลำดับที่ 14 สกลนครเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ทั้งยุคก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ ประกอบไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น ภาพเขียนสี โลหะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผาลายเขียนสี แต่เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สกลนครจึงกลายเป็นแหล่งชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเชื่อตามแบบขอม และพุทธศาสนาแบบมหายาน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชนที่อพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศลาวและเวียดนามทำให้เกิดคติความเชื่อจากกลุ่มชนหลายๆกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมจนเกิดเป็นศิลปะที่ผสมผสานกับความเชื่อของท้องถิ่นเดิม ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มชนชาวกะเลิ้ง ซึ่งความเชื่อในด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีการรักษาโดยใช้หมอเหยาหรือหมอผีมาปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ตลอดจนการสร้างบ้านเรือนล้วนแล้วแต่มีความเชื่ออยู่ในงานสถาปัตยกรรมและในพิธีกรรมทั้งสิ้น
2 ปี ที่หมู่บ้านบัว ชาวกะเลิง ธวัชชัย กุณวงศ์, สุรัตน์ วรางค์รัตน์ สกลนคร : ศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูสกลนคร, 2532 Books DS570.ก57 ธ52 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000174 เอกสารฉบับนี้เป็นรายงานการดำเนินงานตามโครงการกระบวนการศึกษาและพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อวิถีชีวิตของชุมชนชาวกะเลิง รวบรวมข้อมูลจากสองมุมมอง คือ จากอาสาสมัครบุคคลที่ลงพื้นที่   เพื่อเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับคนในชุมชน การเข้าร่วมทำพิธีกรรมที่สำคัญ การพูดคุยเพื่อสอบถามวิถีชีวิต ประวัติความเป็นมา และแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวกะเลิง บ้านบัว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่เข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน และอีกหนึ่งมุมมองจากนักวิจัยที่ได้ตั้งประเด็นเพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ การตอบสนองชีวิตชุมชนชาวกะเลิง ความสำเร็จของงานโครงการ ที่ผ่านมา และความสำเร็จในอนาคต ตามจุดมุ่งหมายของโครงการว่า กระบวนการพัฒนาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นสามารถตอบสนองให้เกิดการพัฒนาวิถีชีวิตของชุมชนชาวกะเลิงอย่างไร 
กะเลิง = Ka The Kaloeng:A Minority Group สุรัตน์ วรางค์รัตน์ - Journal เมืองโบราณ 7, 3(สิงหาคม - พฤศจิกายน 2524), หน้า 108-114 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00002587 บทความนี้จะเล่าถึง “กะเลิง” ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง      ในแถบจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร หากจะพูดถึงกะเลิง มักมีคนเข้าใจผิดว่าเป็นข่าเลิง ซึ่งทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ พวกกะเลิงชอบสังคม แต่พวกข่าจะชอบอยู่ตามป่าเขา จึงทำให้เอกลักษณ์ของกะเลิงค่อย ๆ จางหายไป เนื่องจากได้รับวัฒนธรรมจากกลุ่มอื่น ๆ ที่เข้าร่วมสังคมด้วย โดยเฉพาะการไปคบค้าสมาคม กับพวกลาว จึงไปรับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากพวกลาว อาทิ ภาษาพูด การแต่งกาย พิธีกรรม เป็นต้น ลักษณะเด่นของกะเลิงโบราณ คือ การสักนกที่แก้ม แต่ในปัจจุบันความนิยมในสมัยนั้นก็ค่อย ๆ จางหายไป ความเชื่อใน               การนับถือผีของชาวกะเลิง ได้แก่ ผีเรือน ผีชาน, ผีหมู่บ้าน ผีหอ หรือผีมเหสัก, ผีนา หรือ ตาแฮก
ภาษาถิ่นแถบภูพาน วิทยาลัยครูสกลนคร สกลนคร : วิทยาลัยครูสกลนคร, 2519 Books PL4191.ท52 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012412 ภาษาถิ่นแถบภูพานเป็นการศึกษารวบรวมภาษาท้องถิ่นของชาวไทยอีสานทั้ง 7 เผ่า ในจังหวัดสกลนครเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูในการสื่อสารกับชาวบ้านและนักเรียน ซึ่งคนไทยเหล่านี้ก็คือชาวผู้ไทย ชาวย้อ ชาวแสก ชาวโย้ย ชาวกะตาก ชาวกะโซ้ และชาวกะเลิงที่ปัจจุบันจะมีลักษณะไม่แตกต่างจากชาวอีสานโดยทั่วๆไป ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ก็คือภาษา วัฒนธรรม และการแต่งกายของคนเฒ่าคนแก่ที่ยังหลงเหลือไว้เป็นเอกลักษณ์ เช่น ชาวกะเลิงจะมีการไว้ผมประบ่า ผู้ชายไว้ผมมวย หรือการสักรูปนกที่แก้ม มีการเปรียบเทียบคำศัพท์ในภาษาด้วยการจำแนกเป็นสามภาษาด้วยกันคือไทยกลาง ไทยอีสาน และภาษาของแต่ละเผ่า ประกอบไปด้วยหมวดเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย เครื่องนอน เครื่องครัว กิริยาอาการต่างๆ เป็นต้น
Tending the spirits : the Shamanic experience in Northeastern Laos Findly, Ellison Banks Bangkok, Thailand : White Lotus Press, [2016] Books BL2370.S5 F56 2016 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090716 การดูแลรักษาจิตวิญญาณเป็นการศึกษาเรื่องหมอผีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศลาวและเวียดนาม มีการนำเสนอเรื่องบทบาทของหมอผีหญิงและชาย การทำพิธีกรรม ตั้งแต่การรักษาผู้ป่วย หรือการเรียกขวัญกลับเข้าสู่ตัวที่เชื่อกันว่ามีสิ่งลึกลับดลบันดาลให้เกิดอาการเจ็บป่วย มีการศึกษาเกี่ยวกับข้าวของเครื่องใช้สำหรับใช้ในพิธีต่างๆ ไปจนถึงพิธีการทำศพเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ เอลิสัน แบงส์ ฟินด์ลีย์ได้ทำการศึกษาเหล่าหมอผีจากการสัมภาษณ์ และสอบถาม รวมทั้งการเข้าไปสังเกตการณ์ด้วยตนเองในหมู่บ้านบนภูเขาและในเมืองที่มีชาวลาว-ไท ชาวไทแดง ไทเสียม และยังมีการศึกษาเกี่ยวกับประเพณีการทำของเครื่องใช้เช่นผ้าทอ ชาวลาว-ไท จะมีลวดลายผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ของตน และจะใช้ผ้าทอในแต่ละแบบแตกต่างกันไปตามแต่ละวาระซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือเล่มนี้
Ethnic Groups of Laos Schliesinger, Joachim Bangkok, Thailand : White Lotus, 2003 Books DS557.L2S34 2003 v.2 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00035503 กลุ่มชาติพันธุ์ของลาวเล่ม 2 กล่าวถึงชนชาติในตระกูลภาษาออสโตร - เอเชียติก ประกอบด้วยคนลาวที่พูดภาษามอญ - เขมร 41 กลุ่ม มีการอธิบายประวัติความเป็นมาของชนเผ่าต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น กะเลิ้ง ภาษาที่ชาวกะเลิ้งใช้จะอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร ในปี1999 ได้มีการสำรวจพบว่าชนเผ่ากะเลิ้งมีประชากรราว16,000 คน ส่วนมากมักจะอาศัยอยู่ในคำม่วน และบอลิคำไซ  นอกจากนั้นยังมีบางส่วนที่อพยพโยกย้ายมาที่ประเทศไทย และได้อธิบายถึงประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกาย งานฝีมือหรือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าทอ คติในการออกแบบบ้านเรือน วัฒนธรรมการกินอยู่อาศัย ศิลปะ และการทำเกษตรกรรม ความเชื่อทางศาสนาและประเพณี
Ethnic Groups of Laos Joachim Schliesinger Bangkok, Thailand : White Lotus, 2003 Books DS557.L2S34 2003 v.1 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00035503 กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเล่ม 1 กล่าวถึงความนำ และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลเดียวกันคือออสโตร – เอเชียติก ซึ่งมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน รวมถึงมีความเชื่อบางอย่างร่วมกัน  จากการสำรวจและศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศลาวพบว่าในแต่ละจังหวัดมีหลายๆชนเผ่าที่กระจายกันอาศัยอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดคำม่วน และจังหวัดสุวรรณเขต จะประกอบไปด้วยกลุ่มชนชาวผู้ไท ชาวกะเลิ้ง ชาวกะโซ่ ไทเสียม ฯลฯ นักสำรวจและนักวิจัยได้มีการถ่ายภาพวิถีชีวิต การแต่งกาย รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้อย่างงานจักรสาน งานฝีมือของชนเผ่าต่างๆ  เพื่อบันทึกสิ่งที่ได้พบเห็นไว้เป็นข้อมูลความรู้ และมีการสำรวจในพื้นที่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล ซึ่งก็คือทางภาคใต้ของประเทศลาว รวมทั้งบริเวณแม่น้ำโขง มีการแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ในลาวโดยกลุ่มนักวิจัยและสถาบันต่างๆ เพื่อไว้ทำการศึกษาและสำรวจการขยายตัวของกลุ่มชนและการลดจำนวนประชากรในแต่ละปี
Ethnic groups of Thailand : Non-Tai-Speaking Peoples Schliesinger, Joachim Bangkok, Thailand : White Lotus Press, 2000 Books GN635.T4S34 2000 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00020779 กล่าวถึงกะเลิงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยบริเวณบ้านบาก บ้านดงแสนแก้ว จังหวัดมุกดาหาร, บ้านตะโก บ้านคำเต่า จังหวัดนครพนม, จังหวัดสกลนคร ชาวกะเลิงเชื่อว่าบรรพบุรุษของพวกเขาอพยพมาประเทศไทยในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ด้วยความที่ชาวกะเลิงได้อพยพมาอาศัยอยู่ที่ประเทศไทยเป็นเวลานาน ได้รับอิทธิพลจากวิถีชีวิตและความเป็นอยู่จากสังคมในถิ่นที่อาศัย และวัฒนธรรมต่าง ๆ จนทำให้ความเป็นกะเลิงแบบดั้งเดิมค่อย ๆ จางหายไป และเลิกใช้ภาษาของตน มีเพียงคนเฒ่าคนแก่เท่านั้น ที่ยังสามารถพูดภาษาเดิมที่มีต้มกำเนิดจากภาษามอญ-เขมรได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวต่าง ๆ ของชาวกะเลิง อาทิ การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย การเกษตร เศรษฐกิจ สังคม และพิธีกรรม ตำนาน ความเชื่อของชาวกะเลิง