banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ลาหู่ ลาฮู

ชาติพันธุ์ / ลาหู่ ลาฮู

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 07 ก.ย. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : ลาหู่ ลาฮู
            กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ลาฮู คนในเรียกตัวเองว่า ลาหู่, ลาฮู, ลาหู่นะ, ลาหู่นาเมี้ยว, ลาหู่ซิมี แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ มูเซอ,โลไฮ, ลาหู่, ลาหู่แดง, ลาหู่ดำ, ลาหู่เซเล 
            ชาวลาหู่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศธิเบตและจีน กระทั่งศตวรรษที่ 17 และ 18 ชาวจีนได้เข้ามารุกราน จึงอพยพลงมาทางใต้ตั้งอาณาจักรอิสระบริเวณเขตแดนประเทศจีนและพม่าในดินแดนที่เรียกว่า “ดินแดนแห่ง 18 หัวหน้าชนเผ่า” โดยมีเมืองหลวงชื่อ “ลิเชียงกาซี” อยู่ในมณฑลยูนนานของประเทศจีน จวบจน พ.ศ. 2423-2433 ชาวจีนได้รุกรานอีกครั้ง ครั้งนี้อพยพลงมาทางใต้ บางกลุ่มเข้ามาอาศัยในประเทศลาว รัฐฉาน และไทย
            ปัจจุบันมีการกระจายอยู่ใน 7 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย)  เชียงใหม่ (อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย) แม่ฮ่องสอน (อำเภอบางมะผ้า) ตาก (แม่สอด)  ลำปาง (อำเภอเมืองปาน) พะเยา  กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ แบ่งออกเป็น 4 คือ
           1. ลาหู่แดง มีจำนวนมากสุดเรียกตัวเองว่า ลาหู่นะ
           2. ลาหู่ดำ มีจำนวนเป็นที่สองรองจากลาหู่แดง เรียกตัวเองว่า ลายูนะหรือลาหู่ คนไทยภาคเหนือและไทยใหญ่เรียก ลาหู่ดำ
           3. ลาหู่เซเล มีจำนวนเป็นอันดับสามรองจากลาหู่ดำ เรียกตัวเองว่า ลาหู่นาเมี้ยว
          4. ลาหู่ซิ มีจำนวนน้อยที่สุด คนไทยเรียก ลาหู่กุยหรือลาหู่เหลือง มี 2 เชื้อสายคือ เชื้อสายบาเกียวและบาลาน    
            ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ลาฮู มูเซอ ที่ไม่ซ้ำกับฐานข้อมูลงานวิจัยด้านชาติพันธุ์  ทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง 
            อนึ่งเพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ติดตามอ่านทั้ง Subject Guide ล่าหู่ และ ฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์
 

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

มูลนิธิกระจกเงา

Imprint

[เชียงราย : มูลนิธิกระจกเงา, ม.ป.ป.]

Collection

Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - VCD 000873

Annotation

            หมู่บ้านจะแลเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลาหู่ที่ตั้งอยู่ในชุมชนห้วยแม่ทราย ชาวบ้านมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ มีประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความเชื่อเรื่องการนับถือบรรพบุรุษและจิตวิญญาณแบบดั้งเดิม เดิมทีหมู่บ้านจะแลตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ภายหลังได้มีการโยกย้ายลงมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันเนื่องจากการจัดสรรที่ดินใหม่ของกรมป่าไม้ ภายในหมู่บ้านจะมีสถานที่เรียกว่า “หอเย่” ตั้งอยู่ใกล้บ้านของผู้นำหมู่บ้าน เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นอกจากพิธีกรรมเกี่ยวกับจิตวิญญาณแล้ว ชาวลาหู่ยังมีพิธีที่แสดงความเคารพต่อผู้เฒ่าผู้แก่ภายในหมู่บ้านนั่นคือพิธีรดน้ำดำหัว ความสามารถที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของชาวลาหู่คือการเป็นนายพราน เนื่องจากชาวลาหู่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันและหากินล่าสัตว์อยู่กับป่า ภายในหมู่บ้านยังมีพิพิธภัณฑ์ชาวเขาที่ศูนย์กระจกเงาร่วมกับชาวบ้านจะแลสร้างขึ้น มีการจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านในอดีต ถือเป็นสถานที่ที่บันทึกและบอกเล่าเรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบันของชาวหมู่บ้านจะแล

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2556]

Collection

Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000313

Annotation

            รายการพันแสงรุ้งตอน “เยี่ยมบ้านลาหู่ที่จ่าโม่” นำเสนอเรื่องราวของชาวลาหู่นะหรือมูเซอดำ บ้านจ่าโบ่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในรูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชน ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจวีถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การอยู่กับป่าและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชาวลาหู่ดำ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมหรือพักที่หมู่บ้านจ่าโบจะได้เรียนรู้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน การทำงานหัตถกรรมจักสานที่เป็นเอกลักษณ์ของชายชาวลาหู่ดำ การเย็บผ้า เครื่องดนตรีและการละเล่นดนตรีพื้นบ้าน อีกหนึ่งกิจกรรมที่มีความโดดเด่นของการท่องเที่ยวบ้านจ่าโบ่ คือการเยี่ยมชมถ้ำผีแมนที่มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์โบราณเมื่อสมัย 2,000 ปีก่อน การเข้ามาของนักท่องเที่ยวยังหมู่บ้านจ่าโบ่มีทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ผลกระทบเชิงบวกคือเป็นการสร้างรายได้ สร้างโอกาสให้ชาวบ้านได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวและเกิดความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลกระทบในด้านลบได้หากชาวบ้านต่างพากันปรับเปลี่ยนตนเองไปตามกระแสความเป็นสมัยใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับนักท่องเที่ยว

อ่านต่อ...
image

Author

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคม. กลุ่มศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา

Imprint

เชียงใหม่ : สถาบัน, 2551

Collection

Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000070

Annotation

                สารคดีนี้นำเสนอเรื่องราวชาวลาหู่ บ้านสองพี่น้อง ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่กลมกลืนกับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและอาหาร ชาวลาหู่มีชื่อเสียงในด้านการล่าสัตว์ ประกอบอาชีพแบบพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก เช่น การหาของป่า ล่าสัตว์ ทำนา ทำข้าวไร่ เลี้ยงสัตว์ โดยส่วนมากเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง ชาวลาหู่มีความเชื่อในเรื่องผี มีทั้งผีบ้าน ผีเฮือน ผีป่า ผีบรรพบุรุษ ผีน้ำ ผีเป๊าะหรือผีก๊ะ ผีตะวัน ผสมผสานกับความเชื่อทางพุทธศาสนา มีพิธีกรรมสำคัญอย่างหนึ่งคือพิธีสืบชะตาป่า ดิน น้ำ เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะช่วยให้ชาวบ้านมีผืนป่า ดิน และแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และคุ้มครองชาวลาหู่ไม่ให้เกิดอันตราย

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ