banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มลาบรี

ชาติพันธุ์ / มลาบรี

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มลาบรี กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี คนในเรียกตัวเองว่า ยุมบรี, มลาบรี, มละบริ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ ผีตองเหลือง/ผีป่า ข่าตองเหลือง (Kha Tong Luang)/ข่าป่า (Kaa Paa) ม้ากู่/จันเก้ม ตองเหลือง/คนตองเหลือง คนป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ชาวมลาบรี เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสายยะบุรี ประเทศลาว ต่อมาเริ่มอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ ตามแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่มีตามฤดูกาลเช่น แถบภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แถบภูกระดึง จังหวัดเลย และตามป่าบนดอยสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีชุมชนเป็นของตนเองในพื้นที่ 2 จังหวัด หมู่บ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และบ้านทะวะ อำเภอสอง และบ้านห้วยฮ่อม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ “มละบริ” คือคนที่อยู่กับป่า ผู้มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการยังชีพในป่า อาศัยป่าเลี้ยงตัวเอง พวกเขามีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่ด้วยการแลกเปลี่ยนของป่ากับของจำเป็นที่ใช้ดำรงชีวิต เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เกลือ เป็นต้น ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี ทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สุนิษา สุกิน

Imprint

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552

Collection

ThaiLIS Digital Collection

Annotation

            คำว่า “จะคึ” ในภาษามูเซอแปลว่าการเต้น การเต้นจะคึของชาวลาหู่ในตำบลด่านแม่ละเมาะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นการเต้นที่เกิดจากความเชื่อความศรัทธาของชาวลาหู่ที่มีต่อผีและพระเจ้ากือซ่าตามความเชื่อของคนในชุมชน เพื่อประกอบในพิธีบวงสรวง และพิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติตามปฏิทินของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการเฉลิมฉลอง การเรียกขวัญรักษาโรค หรือพิธีกรรที่เกี่ยงข้องกับเกษตรกรรม กล่าวได้ว่าการจะคึ และดนตรีนั้นมีความสำคัญและผูกโยงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างสิ้นเชิง การศึกษาเกี่ยวกับการเต้นจะคึจึงสามารถถ่ายทอดเรื่องราวของความเชื่อ ระบบเครือญาติ การปกครอง เศรษฐกิจ และการแต่งกายของลาหู่ในตำบลด่านแม่เมาะออกมาได้เป็นอย่างดี

อ่านต่อ...
image

Author

ศักรินทร์ ณ น่าน

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ผ6ศ62 2548

Annotation

            วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ศึกษาเน้นศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของชุมชนมลาบรีบ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และบ้านบุญยืน ตำบลห้วยห้อย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ผู้วิจัยใช้แนวคิดนิเวศวิทยาการเมือง เข้ามาเป็นแนวคิดหลักเพื่อช่วยวิเคราะห์การต่อสู้ดิ้นรนของชาวมลาบรี 
ในบริบทการพัฒนาของรัฐผ่านประเด็นการช่วงชิงทรัพยากร ทำให้มลาบรีถูกผลักใสให้ตกอยู่ในสภาวะชายขอบของสังคม ความเป็นชาติพันธุ์กลายเป็นสินค้าในกระแสลัทธิบริโภคนิยมและการท่องเที่ยว แรงกดดันดังกล่าวทำให้มลาบรีต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อช่วงชิงทรัพยากร
            โครงการพัฒนาทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เข้ามามีบทบาทจัดการกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของมลาบรี ด้วยการใช้อำนาจรัฐให้สิทธิจัดสรรที่ดินในชุมชนม้งบ้านห้วยหยวก ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้มลาบรีเข้ามาตั้งหลักแหล่งถาวร โดยการจัดตั้งเป็น "ชุมชนตองเหลือง" การจำกัดพื้นที่เฉพาะ ทำให้การเข้าถึงทรัพยากรและพื้นที่ป่าของมลาบรีเป็นไปอย่างยากลำบาก มลาบรีจำต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการยังชีพจากที่เคยหาของป่าล่าสัตว์ สู่การเป็นแรงงานรับจ้างทำไร่ในชุมชนม้ง ซ้ำยังตกเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน มีการนำมลาบรีที่แต่งกายด้วยการนุ่งตะแยด ซึ่งถูกลดทอนให้กลายเป็นเพียงสัญญะที่สำคัญในการจัดแสดงวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมแบบชนเผ่าดั้งเดิม มาใช้สร้างจุดขายเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัด แทนที่จะวางแผนพัฒนาวิถีชีวิตบนรากฐานที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และตัวตนของมลาบรีอย่างแท้จริง แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรม ระบบคุณค่าและโครงสร้างความเชื่อของสังคมชนเผ่ามลาบรี การพัฒนาได้ส่งผลให้มลาบรีมีตัวตนทางสังคมที่ปรากฏต่อสังคมภายนอกไม่ต่างจาก "คนชายขอบของสังคม" ภายใต้การจัดการโดยกลุ่มอำนาจต่าง ๆ 

อ่านต่อ...
image

Author

มะลิวัลย์ โสภา

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545

Collection

Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - S938 .ม64 2545

Annotation

            งานวิจัยในหัวข้อเงื่อนไขในการอนุรักษ์ดินและน้ำของเกษตรกรบนที่สูงเป็นการศึกษาเงื่อนไขที่สัมพันธ์กับการอนุรักษ์กินและน้ำของครัวเรือนเกษตรกร เงื่อนไขที่สัมพันธ์กับการแผ้วถางป่าเพื่อขยายพื้นที่และการประยุกต์ใช้สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลระยะไกลสำหรับการจัดการที่ดินระดับท้องถิ่นของเกษตรผ่านชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าต้นน้ำจังหวัดแพร่ โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง มลาบรี และคนเมือง ผ่านกรอบแนวคิดเรื่อง แรงกดดันของประชากรต่อที่ดินทำกินในป่า การถือครองที่ดินกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ การตัดสินใจยอมรับการอนุรักษ์ดินและน้ำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ในการศึกษาใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและการสัมภาษณ์เชิงลึก นอกจากนี้ยังใช้การวิเคราะห์สถิติทดสอบแบบไควสแควร์และถดถอยแบบโลจิสติก ในการศึกษาพบว่าชุมชนที่ถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติจึงพยายามตอบโต้ว่าภายในกลุ่มมีความสามารถอนุรักษ์ดินและน้ำได้หลายรูปแบบเพื่อตอบโต้จากภาครัฐ โดยภายในกลุ่มถือว่าการทิ้งพื้นที่ให้เป็นไร่ร้างเป็นรูปแบบหนึ่งของการอนุรักษ์ โดยวิเคราะห์ได้ทั้งในระดับชุมชน ครัวเรือน และแปลงเพาะปลูกของกลุ่มเกษตรกรบนพื้นที่สูง

อ่านต่อ...
image

Author

ถวัลย์ มาศจรัส.

Imprint

กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2545

Collection

Sac Library - Books (7th floor) - PZ90.ถ56 ม46 2545

Annotation

            วรรณกรรมเยาวชนที่บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีหรือที่รู้จักกันในนามผีตองเหลืองโดยเนื้อหามีการดำเนินเรื่องผ่านตัวละคร “กุนโฮะ” และครอบครัวของเขาในการเสนอเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การอพยพเคลื่อนย้ายถิ่น การให้ความหมายของบ้านหรือที่พักอาศัยหรือแม้กระทั่งธรรมชาติล้วนเป็นสิ่งที่ตัวละครในเรื่องพยายามถ่ายทอดออกมา การติดต่อสื่อสารกับกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น การดำเนินเรื่องที่เกิดขึ้นจากสังคมภายนอกที่เข้ามามีส่วนในการดำเนินชีวิตของครอบครัวกุนโฮะผู้ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมลาบรีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเนื้อหาที่น่าติดตาม ทำให้สามารถจินตการและทำความเข้าใจต่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มมลาบรีมายิ่งขึ้น

อ่านต่อ...
image

Author

ศักรินทร์ ณ น่าน.

Imprint

น่าน : ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ในเครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน จ.น่าน, [ม.ป.ป.].

Collection

Sac Library - Pamphlet (Contact Counter Service 8th floor) - จุลสาร 00557

Annotation

            นับตั้งแต่อดีตสังคมมลาบรีนั้นไม่ได้ตัดขาดจากสังคมอื่นๆ มีความสัมพันธ์กลุ่มคนอื่นๆเรื่อยมา ยิ่งภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่อสังคมเกษตรกรรม รัฐ ระบบทุนนิยมและโลกาภิวัฒน์ ผู้เขียนได้ศึกษาผ่าชุมชนมลาบรี ในเขตบ้านห้วยหยวก ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าวก่อให้กลุ่มคนมลาบรีประสบกับภาวะชายขอบของสังคม ภายในพื้นที่ปิดล้อมของการพัฒนา ทั้งการปิดล้อมเชิงกายภาพ ซึ่งเป็นการกีดกันการเขาถึงทรัพยากรธรรมชาติ อย่างป่าไม้และที่ดินทำกิน และการปิดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่ถูกควบคุมอัตลักษณ์ทางสังคม  อย่างการถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามกลุ่มคนมลาบรีนั้นมีการต่อสู้ดิ้นรนและต่อรองกับสถานการณ์เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของสังคมผู้เก็บของป่าล่าสัตว์ในปัจจุบัน

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ