banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มลาบรี

ชาติพันธุ์ / มลาบรี

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มลาบรี กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี คนในเรียกตัวเองว่า ยุมบรี, มลาบรี, มละบริ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ ผีตองเหลือง/ผีป่า ข่าตองเหลือง (Kha Tong Luang)/ข่าป่า (Kaa Paa) ม้ากู่/จันเก้ม ตองเหลือง/คนตองเหลือง คนป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ชาวมลาบรี เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสายยะบุรี ประเทศลาว ต่อมาเริ่มอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ ตามแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่มีตามฤดูกาลเช่น แถบภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แถบภูกระดึง จังหวัดเลย และตามป่าบนดอยสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีชุมชนเป็นของตนเองในพื้นที่ 2 จังหวัด หมู่บ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และบ้านทะวะ อำเภอสอง และบ้านห้วยฮ่อม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ “มละบริ” คือคนที่อยู่กับป่า ผู้มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการยังชีพในป่า อาศัยป่าเลี้ยงตัวเอง พวกเขามีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่ด้วยการแลกเปลี่ยนของป่ากับของจำเป็นที่ใช้ดำรงชีวิต เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เกลือ เป็นต้น ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี ทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Nimonjiya Shu

Imprint

วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 38, ฉบับที่ 1(2558), หน้า 137-170 : ill

Collection

วารสารวิจัยสังคม. ปีที่ 38, ฉบับที่ 1(2558), หน้า 137-170 : ill

Annotation

            ภายใต้โครงการพัฒนาจากภาครัฐต่อกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี หรือที่รู้จักกันว่า “ผีตองเหลือง” ในพื้นที่บ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวในหลายด้านๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างมลาบรีกับป่า ซึ่งจากการที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2555-2557 (ค.ศ. 2012-2014) วิถีชีวิตแบบใหม่ตามโครงการพัฒนาจากภาครัฐ เช่น การตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร การทำงานรับจ้างเพาะปลูกพืชเชิงพาณิชย์และการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แม้จะทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีมีโอกาสในดำรงชีวิตตามวิถีสมัยใหม่แต่ก็ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับป่าอย่างแนบแน่นตามวิถีดั้งเดิมนั้นหายไป ซึ่งอย่างไรก็ตามวิถีบรรพบุรุษที่ป่าคือบ้าน ถือเป็นอัตลักษณ์ที่ยังคงถูกรำลึกถึงอยู่เสมอผ่านรุ่นสู่รุ่น

อ่านต่อ...
image

Author

Long, Mary. Long, Eugene Robert. Waters, Tony

Imprint

The journal of the Siam Society. vol. 101(2013), p.155-176 -- 0857-7099

Collection

Journal of the Siam Society (JSS), Vol. 101, 2013, pp.155-176.

Annotation

            การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามรูปแบบการพัฒนาสังคมสมัยใหม่ที่เข้ามาสู่กลุ่มชาติพันธุ์
มลาบรี ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของพวกเขาในหลายๆด้าน จากการใช้ชีวิตเร่ร่อนในผืนป่ามาใช้ชีวิตที่เริ่มมีการตั้งหลักปักฐานถาวร ได้รับการศึกษา การบริการทางสุขภาพ และเกิดกระบวนการเข้าสู่ความเป็นพลเมืองไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตตามแบบสังคมสมัยใหม่ ซึ่งในขณะเดียวกันได้ทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุ่มคนเหล่านี้ โดยเฉพาะวิถีที่เรียกว่า “Paluh” อันเป็นรูปแบบของวิถีชีวิตที่ช่วยจัดระเบียบควบคุมคนในกลุ่ม โดยการแยกตัวออกมาจากกลุ่มเดิมเมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งภายในกลุ่ม ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้เมื่อมีวิถีชีวิตแบบตั้งหลักปักฐาน วิถี  “Paluh” ที่ช่วยลดความขัดแย้ง ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนก่อให้เกิดการกระจายตัวและเกิดการรวมตัวเพื่อตั้งเป็นกลุ่มใหม่อีกกลุ่มจึงได้เลือนหายไป วิถีชีวิตแบบสังคมสมัยใหม่ในด้านหนึ่งจึงส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี อย่างภาวะการติดสุราเรื้อรัง (Alcoholism) การหย่าร้าง ความรุนแรงต่อผู้หญิง และการฆ่าตัวตาย

อ่านต่อ...
image

Author

ศักรินทร์ ณ น่าน.

Imprint

น่าน : ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ในเครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน จ.น่าน, [ม.ป.ป.].

Collection

Sac Library - Pamphlet (Contact Counter Service 8th floor) - จุลสาร 00557

Annotation

            นับตั้งแต่อดีตสังคมมลาบรีนั้นไม่ได้ตัดขาดจากสังคมอื่นๆ มีความสัมพันธ์กลุ่มคนอื่นๆเรื่อยมา ยิ่งภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่อสังคมเกษตรกรรม รัฐ ระบบทุนนิยมและโลกาภิวัฒน์ ผู้เขียนได้ศึกษาผ่าชุมชนมลาบรี ในเขตบ้านห้วยหยวก ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าวก่อให้กลุ่มคนมลาบรีประสบกับภาวะชายขอบของสังคม ภายในพื้นที่ปิดล้อมของการพัฒนา ทั้งการปิดล้อมเชิงกายภาพ ซึ่งเป็นการกีดกันการเขาถึงทรัพยากรธรรมชาติ อย่างป่าไม้และที่ดินทำกิน และการปิดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่ถูกควบคุมอัตลักษณ์ทางสังคม  อย่างการถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามกลุ่มคนมลาบรีนั้นมีการต่อสู้ดิ้นรนและต่อรองกับสถานการณ์เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของสังคมผู้เก็บของป่าล่าสัตว์ในปัจจุบัน

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ