banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ชอง

ชาติพันธุ์ / ชอง

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : ชอง กะซอง และซัมเร
            ชอง กะซอง และซัมเร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม บุคคลภายนอกเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ชอง” ตั้งถิ่นฐานตามแนวเขาบรรทัดของประเทศไทย-กัมพูชา อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ (ตำบลตะเคียนทอง ตำบลคองพลู ตำบลพลวง และตำบลซากไทย) อำเภอโป่างน้ำร้อน (ตำบลทับไทร) จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และอำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง) จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอศรีสวัสดิ์) รวมทั้งในจังหวัดไพลิน จังหวัดกัมปอด จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดโพธิสัตว์ของประเทศกัมพูชา ชาวชอง ชาวกะซอง และชาวซัมเรมีลักษณะทางกายภาพ ภาษา และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันและแตกต่างกันในรายละเอียด ภาษาที่ใช้คือ ภาษาชอง ภาษากะซองและภาษาซัมเร เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language) กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยเปียริก (Pearic language) เดิมภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง ชาวชองในประเทศไทย นับถือศาสนาพุทธและผี มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของตน เช่น ประเพณีผีโรง ผีหิ้ง ทำมาหากินด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่ ทำนา ชาวกะซอง หรือ ชอง (จังหวัดตราด) ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา ตําบลด่านชุมพล อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ชาวซำเร หรือ สำเหร่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ บ้านมะม่วง บ้านคลองโอน และบ้านนนทรีย์ ตำบลนนทรีย์ เขตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด นอกจากนี้ยังพบชาวซำเรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ( อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ) และจังหวัดกาญจนบุรี (บ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ ชาวซำเรกลุ่มนี้เดินทางมาจากพระตะบอง ประเทศกัมพูชาเป็นเครือญาติกับคนชองซำเร ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

พระมหาเรืองเดช ศรีประสม,สกนะ ภู่งามดี, สันติภาพ คำสะอาด

Imprint

กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552

Collection

SAC Library - Books (7th floor) - DS570.ก64 2552

Annotation

            “คนชอง” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นถิ่นที่อาศัยในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านต่างๆ เช่น ภาษาชอง พิธีกรรมประเพณี การละเล่นและภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม สืบสานถ่ายทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2490-2550 ภายใต้การพัฒนาจากภาครัฐก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตหลายๆด้าน การดำรงชีวิตที่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับวัฒธรรมจากภายนอกได้ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมหลายๆอย่างนั้นเลือนหายไป โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านภาษาที่นับวันนี้มีเพียงคนชองส่วนน้อยที่ยังสามารถสื่อสารได้

อ่านต่อ...
image

Author

อเนก รักเงิน

Imprint

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551

Collection

ThaiLIS Digital Collection

Annotation

               เป็นการศึกษาความสัมพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันภายในท้องถิ่น ที่มีผู้คนหลายชาติพันธุ์ หลายเชื้อชาติ ได้แก่ คนไทย จีน ญวน เขมร และลาว กระจัดกระจายอยู่ในเขตจันทบุรี โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์เดิมที่อาศัยอยู่มาช้านานนั่นคือ กลุ่มชาติพันธุ์ชอง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มในเขตตำบลตะเคียนทอง คลองพลู และจันทเขลม กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มชาติพันธุ์ชองมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นระบบเครือญาติ โดยมีภาษา ความเชื่อ วัฒนธรรม และพิธีกรรม ที่มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง แต่เมื่อมีการพัฒนาของรัฐเข้ามาสู่ท้องถิ่นตามนโยบายต่างๆของรัฐ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในหลายด้านต่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชองซึ่งควรถูกอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย 

อ่านต่อ...
image

Author

รุ่งเพชร ผันผาย

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2551

Collection

Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

Annotation

            การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมชอง เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม ถือเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูด้านภาษาและวัฒนธรรมชอง ในพื้นที่ชุมชนเขตตำบลคลองพลูและตำบลตะเคียนทอง อําเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี 9 เดือน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2548 ถึง สิงหาคม 2551 ผ่านกิจกรรมต่างๆที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชนในพื้นที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชนทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมชอง เพื่อเป็นแนวทางนําไปสู่การสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ผลจากการศึกษาทางคณะทีมวิจัยพบว่ากิจกรรมที่ทำให้คนในชุมชนหรือคนทั่วไปเขามามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างมากนั่นคือกิจกรรมที่ก่อเกิดความสนุกสนาน เป็นกันเองระหว่างผู้ร่วมกิจกรรม เช่น กิจกรรมการสอนผลิตหนังสือนิทานภาษาชอง กิจกรรมการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านและรำวงพื้นบ้าน กิจกรรมเพื่อฟื้นฟูประเพณีเชิงพิธีกรรมความเชื่อของชาวชองในพื้นที่ชุมชนต่างๆ เป็นต้น

อ่านต่อ...
image

Author

สุรพล ไชยพงษ์

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2550

Collection

Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

Annotation

            รายงานวิจัยศึกษาการสร้างหลักสูตรภาษาท้องถิ่น “ภาษาชอง” ในชุมชนชอง ที่ตำบลคลองพลูและตำบลตะเคียนทอง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี โดยการพัฒนาหลักสูตรภาษาท้องถิ่น ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มให้เข้ากับสาระเพิ่มเติมใน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดน้ำขุ่น โรงเรียนวัดทุ่งกบิล และโรงเรียนวัดตะเคียนทอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาท้องถิ่น โดยผู้ศึกษาใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่ 1 เมษายน 2551 ถึง 31 กรกฎาคม 2552

อ่านต่อ...
image

Author

ขนิษฐา หอมแช่ม

Imprint

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549

Collection

ThaiLIS Digital Collection

Annotation

            ชนเผ่า “ชอง” บริเวณภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีที่ถือเป็นพื้นที่ที่มีชนเผ่าชองอาศัยอยู่มากที่สุด และพื้นที่ศึกษานตำบลตะเคียนทอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตอนุรักษ์ของชอง ชุมชนนี้ยังคงปรากฏร่องรอยที่สำคัญทางด้านภาษาที่ถูกใช้ในการขับร้องบทเพลงต่าง ๆ โดยเฉพาะบทเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีกรรม และเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ แม้ว่าปัจจุบันภาษาชองจะมีเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่ยังใช้อยู่ อีกทั้งภาษาดังกล่าวยังเป็นเพียงภาษาพูดเท่านั้น ประเพณี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์จึงง่ายต่อการสูญหายไปตามเวลา การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีจึงเป็นการศึกษาด้านหนึ่งที่สามารถบอกเล่าสภาพสังคมได้ จากเนื้อหาของเพลง ท่วงทำนอง เละเครื่องดนตรีที่ใช้ ซึ่งดนตรีเหล่านี้ถูกใช้ในบริบทต่าง ๆ ประกอบกับวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความบันเทิง การเรียกขวัญกำลังใจ และการรักษาโรค

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ