banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ชอง

ชาติพันธุ์ / ชอง

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : ชอง กะซอง และซัมเร
            ชอง กะซอง และซัมเร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม บุคคลภายนอกเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ชอง” ตั้งถิ่นฐานตามแนวเขาบรรทัดของประเทศไทย-กัมพูชา อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ (ตำบลตะเคียนทอง ตำบลคองพลู ตำบลพลวง และตำบลซากไทย) อำเภอโป่างน้ำร้อน (ตำบลทับไทร) จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และอำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง) จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอศรีสวัสดิ์) รวมทั้งในจังหวัดไพลิน จังหวัดกัมปอด จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดโพธิสัตว์ของประเทศกัมพูชา ชาวชอง ชาวกะซอง และชาวซัมเรมีลักษณะทางกายภาพ ภาษา และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันและแตกต่างกันในรายละเอียด ภาษาที่ใช้คือ ภาษาชอง ภาษากะซองและภาษาซัมเร เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language) กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยเปียริก (Pearic language) เดิมภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง ชาวชองในประเทศไทย นับถือศาสนาพุทธและผี มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของตน เช่น ประเพณีผีโรง ผีหิ้ง ทำมาหากินด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่ ทำนา ชาวกะซอง หรือ ชอง (จังหวัดตราด) ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา ตําบลด่านชุมพล อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ชาวซำเร หรือ สำเหร่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ บ้านมะม่วง บ้านคลองโอน และบ้านนนทรีย์ ตำบลนนทรีย์ เขตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด นอกจากนี้ยังพบชาวซำเรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ( อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ) และจังหวัดกาญจนบุรี (บ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ ชาวซำเรกลุ่มนี้เดินทางมาจากพระตะบอง ประเทศกัมพูชาเป็นเครือญาติกับคนชองซำเร ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ทีวีไทย นิรมล เมธีสุวกุล

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2556]

Collection

Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000314

Annotation

            “คนกะซอง” บ้านคลองแสง ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตผูกผันกับผืนป่าและมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง ในขณะที่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับวิกฤติที่อัตลักษณ์วัฒนธรรมของตนเองเริ่มเลือนหายไป พร้อมกับการรับวัฒนธรรมอื่นที่ใหญ่กว่าเมื่อความเป็นเมืองขยายเข้ามา อัตลักษณ์และภูมิปัญญาต่างๆของคนกะซองในอดีต จึงมีเพียงกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ที่ยังคงจดจำไว้และไม่ได้รับการสืบสานไปยังกลุ่มชนรุ่นหลัง อย่างอัตลักษณ์ทางภาษาหรือภูมิปัญญาทางด้านสมุนไพรจากป่า

อ่านต่อ...
image

Author

จิรเดช อรชุน

Imprint

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.

Collection

ThaiLIS Digital Collection

Annotation

            กลุ่มชาติพันธุ์ “ชอง” มีพื้นที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่อุดมณ์สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรชาติและวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่ม สิ่งหนึ่งคือภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ได้รับสืบทอดจากบรรพบุรุษ ซึ่งภูมิปัญญาของการดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ สะท้อนภาพของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชน คนกับสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ของคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติในระบบความเชื่อ ซึ่งในงานศึกษานี้จะบอกเล่าเรื่องราวรูปแบบของการดูแลสุขภาพ ของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในบริเวณจังหวัดจันทบุรี เขตภาคตะวันออก ในช่วงปีพุทธศักราช 2555 ที่ถูกปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ “ชอง”

อ่านต่อ...
image

Author

เชษฐ์ณรัช อรชุน

Imprint

2554

Collection

Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

Annotation

            งานวิจัยเกี่ยวกับบริบทชุมชน การใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะในการสร้างแหล่งเรียนรู้ของวัฒนธรรมชอง ที่มีเอกลักษณ์นี้ไม่ให้สูญหายไป ชาวชองคือกลุ่มที่อยู่บริเวณภาคตะวันออกมาเป็นเวลายาวนานโดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรี นักมานุษยวิทยาจัดชาวชองอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic Language Family) ตระกูล มอญ-เขมร ชาวชองมีประเพณีความเชื่อเรื่องโชคลางของขลัง การดำเนินชีวิตประจำวันต่างๆ ของคนชาวชองนั้นส่วนใหญ่ก็จะคล้ายกับของคนไทยในชนบททั่วไป เรียบง่าย อยู่ตามธรรมชาติ ในอดีตภาษาชองมีแต่ภาษาพูด ไมมีภาษาเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง การเปลี่ยนแปลงเริ่มในยุคลัทธิชาตินิยมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ.2481-2487) เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้อัตลักษณ์ชอง เกิดการเปลี่ยนแปลง นโยบายการสร้างชาติเพื่อความมั่นคง ทำให้ชาวชองต้องปฏิบัติตาม ต้องละเลิก ลด ความเป็นท้องถิ่น ความเจริญทางด้านวัตถุทำให้ชาวชองต้องการสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น แต่รายไดก็ยังคงมาจากการทำการเกษตร ทำสวนผลไม้ ซึ่งยังเสียเปรียบพ่อค้าคนกลางอยูเสมอ จนกระทั่งปัจจุบันในส่วนของการคงอยู่ของอัตลักษณ์ชอง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้ความเป็นชองดำรงอยู่ คือความสำนึกถึงคุณค่าเรื่องชาติพันธุ์ของชาวชอง

อ่านต่อ...
image

Author

สิริรัตน์ สีสมบัติ

Imprint

กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล,2552

Collection

Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

Annotation

            ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ ปัญหาของการธำรงอัตลักษณ์เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข ภายในงานศึกษาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนกับการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวชอง ใช้หลักการทางพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเข้ามาประยุกต์เพื่อหาแนวทางที่จะนำเสนออัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชองผ่านภาษา สัญลักษณ์ และประเพณีดั้งเดิมในบริบทของสังคมสมัยใหม่ และเผยแพร่ไปยังสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับความสำคัญกับอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ ไปพร้อม ๆ กับการรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ดั้งเดิมของกลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับการร่วมมือแก้ไขกับคนในพื้นที่ และเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ๆ เพื่อให้ได้แนวทางที่มีความยั่งยืน

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552]

Collection

Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000586

Annotation

            รายการพันแสงรุ้ง ตอน ชึ่มช์อง คนชอง เป็นรายการเชิงสารคดีที่นำเอาข้อมูลจากงานวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ออกมานำเสนอในรูปแบบของสื่อ โดยตอน ชึ่มช์อง เนื้อหาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชสติพันธุ์ชาวชอง ในจังหวัดจันทบุรี ผู้ซึ่งพยายามธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางด้านภาษา วัฒนธรรม และพิธีกรรมต่างๆ ผ่านการร่วมมือกับกลุ่มนักวิจัยและผู้คนในชุมชน  

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ