banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ชอง

ชาติพันธุ์ / ชอง

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : ชอง กะซอง และซัมเร
            ชอง กะซอง และซัมเร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม บุคคลภายนอกเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ชอง” ตั้งถิ่นฐานตามแนวเขาบรรทัดของประเทศไทย-กัมพูชา อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ (ตำบลตะเคียนทอง ตำบลคองพลู ตำบลพลวง และตำบลซากไทย) อำเภอโป่างน้ำร้อน (ตำบลทับไทร) จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และอำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง) จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอศรีสวัสดิ์) รวมทั้งในจังหวัดไพลิน จังหวัดกัมปอด จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดโพธิสัตว์ของประเทศกัมพูชา ชาวชอง ชาวกะซอง และชาวซัมเรมีลักษณะทางกายภาพ ภาษา และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันและแตกต่างกันในรายละเอียด ภาษาที่ใช้คือ ภาษาชอง ภาษากะซองและภาษาซัมเร เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language) กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยเปียริก (Pearic language) เดิมภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง ชาวชองในประเทศไทย นับถือศาสนาพุทธและผี มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของตน เช่น ประเพณีผีโรง ผีหิ้ง ทำมาหากินด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่ ทำนา ชาวกะซอง หรือ ชอง (จังหวัดตราด) ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา ตําบลด่านชุมพล อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ชาวซำเร หรือ สำเหร่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ บ้านมะม่วง บ้านคลองโอน และบ้านนนทรีย์ ตำบลนนทรีย์ เขตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด นอกจากนี้ยังพบชาวซำเรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ( อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ) และจังหวัดกาญจนบุรี (บ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ ชาวซำเรกลุ่มนี้เดินทางมาจากพระตะบอง ประเทศกัมพูชาเป็นเครือญาติกับคนชองซำเร ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Weber, Karl E., 1939-

Imprint

Bangkok : Office of the Senior Research Fellow of the South Asia Institute of Heidelberg University at the German Cultural Institute, 1976

Collection

SAC library- Research and Thesis (7th floor) - DS570.C46W42 1976

Annotation

            การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชอง ในจังหวัดจันทบุรี เป็นการจดบันทึกทางชาติพันธุ์วิทยาที่ผู้ศึกษาได้ทำการลงเก็บข้อมูล และได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา การอพยพมาตั้งถิ่นฐาน ลักษณะทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีผลต่อวิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งการกลืนกลายและการผสมผสานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อาศัยอยู่โดยรอบ
            ผลการศึกษาพบว่าในจังหวัดจันทบุรีมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่หลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นคือกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ชาวชองส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเทือกเขาที่เป็นเส้นกั้นระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทย และบางพวกก็อาศัยอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน พวกเขามีลักษณะทางกายภาพแบบใดยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดเพราะพวกเขามีลักษณะคล้ายกันกับหลายกลุ่ม ชาวชองส่วนใหญ่มักทำเกษตรกรรม มีอาหารการกิน วิถีชีวิตที่แตกต่างกันเล็กน้อยตามสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ แต่ยังมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ความเชื่อ ภาษา ฯลฯ ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชอง แต่ด้วยพวกนั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี อีกทั้งอิทธิพลความเป็นสังคมสมัยใหม่ ส่งผลให้พวกเขาถูกกลืนกลายกลายเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย
 

อ่านต่อ...
image

Author

Isara Choosri

Imprint

Nakhonpathom : Mahidol University, 2002

Collection

SAC Library - Research and Thesis (7th floor) - PL4195.C56 I83 2002

Annotation

            วิทยานิพนธ์การศึกษาความเหมือนและความแตกต่างของภาษาชองในถิ่นต่าง ๆ ในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอโป่งน้ำร้อน ในปีค.ศ. 2001-2002 ผู้วิจัยได้ใช้ภาษาศาสตร์และปัจจัยด้านภูมิศาสตร์มาทำการศึกษา และนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนที่เพื่อแสดงภาพรวมของพื้นที่ที่ใช้ภาษาชอง ผู้วิจัยได้เสนอว่าภาษาชองในจังหวัดจันทบุรีแบ่งได้เป็น 3 ภาษาถิ่น โดยแบ่งเป็นภาษาชองถิ่นเหนือ หรือชองลอ 1, ภาษาชองถิ่นใต้ หรือชองลอ 2 และภาษาชองเฮิบซึ่งเป็นภาษาชองถิ่นตะวันออก ต่างจากงานศึกษาของ Marie Martin ที่แบ่งภาษาชองออกเป็น 2 ภาษาถิ่น คือ ชองลอ และชองเฮิบ ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้ภาษาชองเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่มีการสอนให้คนรุ่นหลัง 

อ่านต่อ...
image

Author

สิริกาญจน์ เจริญธรรม.

Imprint

กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาิวทยาลัยศิลปากร, 2530

Collection

Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - PL4195.ช5 ส646 2530

Annotation

          กลุ่มคนชองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชองในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยที่มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ซึ่งมีอัตลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ “ภาษาชอง” เป็นภาษาในตระกูลภาษามอญ-เขมร หรือ Austroasiatic มีเสียงคล้ายภาษาเขมรและเป็นภาษาที่ไม่มีภาษาเขียน ในปัจจุบันนี้ภาษาชองเริ่มเลือนหายไปในรุ่นคนหนุ่มสาว เนื่องจากใช้กันเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่และคนคุ้นเคยเท่านั้น ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ได้ศึกษาภาษาชองในหมู่บ้านทุ่งตาอิน ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ทั้งระบบเสียง โครงสร้างพยางค์ ชนิดรูปแบบคำและประโยค ผ่านการเก็บข้อมูลโดยตรงจากผู้บอกภาษาในหมู่บ้านแห่งนี้   

อ่านต่อ...
image

Author

สุเรขา สุพรรณไพบูลย์

Imprint

[กรุงเทพฯ] : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2530.

Collection

SUT คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ - DS570.ช5 ส75

Annotation

            ชาวชอง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ภายในพื้นที่ตะวันออก โดยเฉพาะในเขตท่ามะขาม จังหวัดจันทบุรี วิถีชีวิตของกลุ่มคนชองนั้นผูกพันกับผืนป่า ในด้านเศรษฐกิจที่มีการประกอบอาชีพ ทั้งการนำของป่ามาขายในเมือง เช่น สมุนไพรยาต่างๆ โดยนำมาแลกเปลี่ยนสิ่งของที่จำเป็นในการชีวิตอื่นๆ ในด้านประเพณีความเชื่อ สังคมชาวชองมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น “ภาษาชอง” ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรเขียน กลุ่มชนรุ่นหลังจึงเรียนรู้วิถีบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการบอกเล่าที่ไม่มีการบันทึก หรือประเพณี “ผีหิ้ง” และ “ผีโรง” ที่สะท้อนถึงความเชื่อการนับถือผีบรรพบุรุษ ผู้ที่อาวุโสของหมู่บ้านจึงได้รับการเคารพนับถือ เป็นผู้นำของหมู่บ้าน ในด้านการปกครองจึงมีการจัดระเบียบสังคมผ่านระบบอาวุโส ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปเอกลักษณ์วิถีดั้งเดิมเหล่านี้กำลังเลือนหายไปพร้อมกับประสบภาวะยากจนในชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาในนามความเจริญและการพัฒนาแบบสมัยใหม่

อ่านต่อ...
image

Author

เยาวลักษณ์ วิลัย

Imprint

กรุงเทพฯ : [จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย], 2538

Collection

SAC Library - Research and Thesis (7th floor) - DS570.ง7ย75 2538

Annotation

             วิทยานิพนธ์การศึกษาความถี่ยีนบีตาอีโกลบินในชนเผ่าซาไก อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และชาวชอง ตำบลคลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อศึกษาลักษณะแฮปโพลไทป์ของยีนบีตา-โกลบินในชนเผ่าทั้งสอง เพื่อนำมาอธิบายถึงต้นกำเกิดหรือความสัมพันธ์ของชาติพันธุ์ระหว่างกลุ่มชนต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคพีซีอาร์และการวิเคราะห์ทางสถิติเชิงบรรยาย จากการวิจัยพบว่าเกือบทั้งหมดของยีนบีตาอีโกลบินในชาวชองและชาวเขมรมีต้นกำเนิดเดียวกัน

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ