banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเลิง

ชาติพันธุ์ / กะเลิง

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีชื่อที่ตนเองเรียก คือ "กะเลิง" และชื่อที่ผู้อื่นเรียก คือ ข่า, ข่าเลิง และข่ากะเลิง

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สุรัตน์ วรางค์รัตน์

Imprint

สกลนคร : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วค.สกลนคร, 2532

Collection

Books DS589.ส1ส74 ล.2

Annotation

ของดีเมืองสกลเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยสังคม – วัฒนธรรมอีสานลำดับที่ 14 สกลนครเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ทั้งยุคก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ ประกอบไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น ภาพเขียนสี โลหะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผาลายเขียนสี แต่เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สกลนครจึงกลายเป็นแหล่งชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเชื่อตามแบบขอม และพุทธศาสนาแบบมหายาน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชนที่อพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศลาวและเวียดนามทำให้เกิดคติความเชื่อจากกลุ่มชนหลายๆกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมจนเกิดเป็นศิลปะที่ผสมผสานกับความเชื่อของท้องถิ่นเดิม ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มชนชาวกะเลิ้ง ซึ่งความเชื่อในด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีการรักษาโดยใช้หมอเหยาหรือหมอผีมาปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ตลอดจนการสร้างบ้านเรือนล้วนแล้วแต่มีความเชื่ออยู่ในงานสถาปัตยกรรมและในพิธีกรรมทั้งสิ้น

อ่านต่อ...
image

Author

ธวัชชัย กุณวงศ์, สุรัตน์ วรางค์รัตน์

Imprint

สกลนคร : ศูนย์วัฒนธรรมวิทยาลัยครูสกลนคร, 2532

Collection

Books DS570.ก57 ธ52

Annotation

เอกสารฉบับนี้เป็นรายงานการดำเนินงานตามโครงการกระบวนการศึกษาและพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อวิถีชีวิตของชุมชนชาวกะเลิง รวบรวมข้อมูลจากสองมุมมอง คือ จากอาสาสมัครบุคคลที่ลงพื้นที่   เพื่อเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับคนในชุมชน การเข้าร่วมทำพิธีกรรมที่สำคัญ การพูดคุยเพื่อสอบถามวิถีชีวิต ประวัติความเป็นมา และแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวกะเลิง บ้านบัว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่เข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน และอีกหนึ่งมุมมองจากนักวิจัยที่ได้ตั้งประเด็นเพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ การตอบสนองชีวิตชุมชนชาวกะเลิง ความสำเร็จของงานโครงการ ที่ผ่านมา และความสำเร็จในอนาคต ตามจุดมุ่งหมายของโครงการว่า กระบวนการพัฒนาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นสามารถตอบสนองให้เกิดการพัฒนาวิถีชีวิตของชุมชนชาวกะเลิงอย่างไร 

อ่านต่อ...
image

Author

สุรัตน์ วรางค์รัตน์

Imprint

-

Collection

Journal เมืองโบราณ 7, 3(สิงหาคม - พฤศจิกายน 2524), หน้า 108-114

Annotation

บทความนี้จะเล่าถึง “กะเลิง” ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง      ในแถบจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร หากจะพูดถึงกะเลิง มักมีคนเข้าใจผิดว่าเป็นข่าเลิง ซึ่งทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ พวกกะเลิงชอบสังคม แต่พวกข่าจะชอบอยู่ตามป่าเขา จึงทำให้เอกลักษณ์ของกะเลิงค่อย ๆ จางหายไป เนื่องจากได้รับวัฒนธรรมจากกลุ่มอื่น ๆ ที่เข้าร่วมสังคมด้วย โดยเฉพาะการไปคบค้าสมาคม กับพวกลาว จึงไปรับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากพวกลาว อาทิ ภาษาพูด การแต่งกาย พิธีกรรม เป็นต้น ลักษณะเด่นของกะเลิงโบราณ คือ การสักนกที่แก้ม แต่ในปัจจุบันความนิยมในสมัยนั้นก็ค่อย ๆ จางหายไป ความเชื่อใน               การนับถือผีของชาวกะเลิง ได้แก่ ผีเรือน ผีชาน, ผีหมู่บ้าน ผีหอ หรือผีมเหสัก, ผีนา หรือ ตาแฮก

อ่านต่อ...
image

Author

วิทยาลัยครูสกลนคร

Imprint

สกลนคร : วิทยาลัยครูสกลนคร, 2519

Collection

Books PL4191.ท52

Annotation

ภาษาถิ่นแถบภูพานเป็นการศึกษารวบรวมภาษาท้องถิ่นของชาวไทยอีสานทั้ง 7 เผ่า ในจังหวัดสกลนครเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูในการสื่อสารกับชาวบ้านและนักเรียน ซึ่งคนไทยเหล่านี้ก็คือชาวผู้ไทย ชาวย้อ ชาวแสก ชาวโย้ย ชาวกะตาก ชาวกะโซ้ และชาวกะเลิงที่ปัจจุบันจะมีลักษณะไม่แตกต่างจากชาวอีสานโดยทั่วๆไป ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ก็คือภาษา วัฒนธรรม และการแต่งกายของคนเฒ่าคนแก่ที่ยังหลงเหลือไว้เป็นเอกลักษณ์ เช่น ชาวกะเลิงจะมีการไว้ผมประบ่า ผู้ชายไว้ผมมวย หรือการสักรูปนกที่แก้ม มีการเปรียบเทียบคำศัพท์ในภาษาด้วยการจำแนกเป็นสามภาษาด้วยกันคือไทยกลาง ไทยอีสาน และภาษาของแต่ละเผ่า ประกอบไปด้วยหมวดเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย เครื่องนอน เครื่องครัว กิริยาอาการต่างๆ เป็นต้น

อ่านต่อ...
image

Author

Findly, Ellison Banks

Imprint

Bangkok, Thailand : White Lotus Press, [2016]

Collection

Books BL2370.S5 F56 2016

Annotation

การดูแลรักษาจิตวิญญาณเป็นการศึกษาเรื่องหมอผีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศลาวและเวียดนาม มีการนำเสนอเรื่องบทบาทของหมอผีหญิงและชาย การทำพิธีกรรม ตั้งแต่การรักษาผู้ป่วย หรือการเรียกขวัญกลับเข้าสู่ตัวที่เชื่อกันว่ามีสิ่งลึกลับดลบันดาลให้เกิดอาการเจ็บป่วย มีการศึกษาเกี่ยวกับข้าวของเครื่องใช้สำหรับใช้ในพิธีต่างๆ ไปจนถึงพิธีการทำศพเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ เอลิสัน แบงส์ ฟินด์ลีย์ได้ทำการศึกษาเหล่าหมอผีจากการสัมภาษณ์ และสอบถาม รวมทั้งการเข้าไปสังเกตการณ์ด้วยตนเองในหมู่บ้านบนภูเขาและในเมืองที่มีชาวลาว-ไท ชาวไทแดง ไทเสียม และยังมีการศึกษาเกี่ยวกับประเพณีการทำของเครื่องใช้เช่นผ้าทอ ชาวลาว-ไท จะมีลวดลายผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ของตน และจะใช้ผ้าทอในแต่ละแบบแตกต่างกันไปตามแต่ละวาระซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือเล่มนี้

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ