banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเลิง

ชาติพันธุ์ / กะเลิง

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีชื่อที่ตนเองเรียก คือ "กะเลิง" และชื่อที่ผู้อื่นเรียก คือ ข่า, ข่าเลิง และข่ากะเลิง

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

นพวรรณ สิริเวชกุล

Imprint

-

Collection

Journal วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 35, ฉบับที่ 8 (พ.ค. 2541), หน้า 23-26

Annotation

บทความเกี่ยวกับพิธีเหยาของชาวกะเลิง เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมที่สำคัญของชาวกะเลิงบ้านบัว    ในหมู่บ้านหนึ่งมีหมอเหยาได้หลายคน การเป็นหมอเหยานั้นก็ไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องเป็นคนที่เสียสละ มีคุณธรรม มีสัจจะ ปรุงแต่งตัวเองด้วยเครื่องหอมเหน็บด้วยดอกสะเลเต หรือ ดอกมหาหงส์ไว้ที่มวยผม และต้องประพฤติตามฮึด-คอง หมอเหยาส่วนใหญ่เป็นการสืบทอดเชื้อสายต่อ ๆ กัน ซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยผู้อาวุโสสุดจะเป็นแม่หมอใหญ่ และเป็นผู้นำในการประกอบพิธีร่วมกัน เช่น การไหว้ครูร่วมกันของหมอเหยา จะจัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี ในการ   ทำพิธีกรรมนี้ทุกคนในหมู่บ้านจะไม่ไปทำงานตลอดสองวันสองคืนเนื่องจากต้องไปร่วมพิธีกรรมในครั้งนี้ แสดง    ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนของขาวกะเลิงบ้านบัว ตามความเชื่อของการเจ็บป่วยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ   ป่วยเพราะโรค และป่วยเพราะผีทำ หากรักษาทางการแพทย์ไม่หายก็จะมารักษากับหมอเหยา ซึ่งก็จะเข้าสู่         การทำพิธีการรักษาต่อไป

อ่านต่อ...
image

Author

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์

Imprint

-

Collection

Journal ศิลปวัฒนธรรม : 18, 12(ต.ค. 2540) ;หน้า 108-110 -- 0125-3654

Annotation

บทความนี้ผู้เขียนจะเล่าถึงชาวข่ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่เรียกตนเองและถูกผู้อื่นเรียกว่า “ข่าเลิง”  ที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านบัวห้วยทราย ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวข่าเลิง อาทิ การเลี้ยงหมูไทกี้ การใช้ยาสมุนไพร การสร้างเรือนแบบดั้งเดิม การแต่งงานในกลุ่มชนเดียวกัน สกุล “กุดวงศ์แก้ว” ภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สำคัญของแม่หญิงข่าเลิง อีกหนึ่งอย่างคือ การทำดอกหมก เป็นเครื่องหอมที่มีลักษณะคล้ายดอกไม้ ทำมาจากพืชถิ่นในหมู่บ้านที่ขึ้นตามเขตแนวรั้ว ได้แก่ รากหมากแหน่ง ใบอ้ม ใบคำพอง ใบเนียม ใบว่านหอม ใบเสน่ห์จันทร์ และขมิ้นตากแห้ง ใช้นำมาเสียบผม ประดับผม ปัจจุบันค่านิยมได้เปลี่ยนไปมาก จึงหลงเหลือภูมิปัญญานี้กับแม่หญิงข่าเลิง มีเพียงแม่ใหญ่สาย แม่ใหญ่มาก แม่ใหญ่มาด กุดวงศ์แก้ว และแม่เฒ่าอีกสองคน

อ่านต่อ...
image

Author

สุรัตน์ วรางค์รัตน์

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2534

Collection

Research and Thesis DS570.ก57ส75 2534

Annotation

กะเลิงคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงในบางจังหวัด แต่ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะกล่าวถึงชาวกะเลิงบ้านบัว ที่อาศัยอยู่ในอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาหมู่บ้านชาวกะเลิงในด้านต่างๆ เช่น การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น การเพาะปลูกพืชเพื่อการดำรงชีวิต และการรักษาพยาบาล การหัตถกรรมในครัวเรือน การเลี้ยงสัตว์พื้นบ้านการเลี้ยงปลา และการรวมกลุ่ม หรือจัดระเบียบองค์กรทางสังคมโดยกลุ่มผู้นำทางธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาให้เป็นตัวอย่างแก่เยาวชน และเพื่อศึกษากระบวนการทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทั้งในอดีตและปัจจุบันซึ่งสร้างขึ้นใหม่แต่ให้คุณค่าต่อวิถีชีวิตในสังคมชาวกะเลิง

อ่านต่อ...
image

Author

จุลสัน ทันอินทร์อาจ

Imprint

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2534

Collection

Research and Thesis HB2104.55.ต6จ74 2534

Annotation

งานวิจัยเรื่องการอพยพย้ายถิ่น ของบ้านภูพานทอง ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนครมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนไทยลาว ผู้ไทย ไทยภาคกลาง ไทยโคราช และไทยภาคใต้ โดยมีการใช้เอกสารเพื่อศึกษา มีการลงภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์และสังเกต จากนั้นจึงสรุปผลโดยเน้นในเรื่องการบูรณาการทางวัฒนธรรม เช่นในด้านการพูด ทุกกลุ่มจะใช้ภาษาลาวอีสานในการสื่อสารเป็นหลัก ในด้านประเพณีศาสนาความเชื่อ ทุกกลุ่มโดยพื้นฐานมีวิถีชีวิตใกล้เคียงกันจึงสามารถปรับตัวเข้าร่วมประเพณีทางศาสนาร่วมกันได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการบูรณาการหรือการใช้วัฒนธรรมร่วมกันก็คือการอยู่ภายใต้สังคมเกษตรกรรมแบบเดียวกันและอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนาเดียวกัน

อ่านต่อ...
image

Author

บัญญัติพร สมบัติเมืองกาฬ

Imprint

กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533

Collection

Research and Thesis PL4195.ส2บ62 2533

Annotation

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ทำการศึกษาภาษาย้อ ภาษาผู้ไทย ภาษากะเลิง และภาษาโย้ยในจังหวัดสกลนคร โดยใช้การวิเคราะห์ศัพท์และจัดศัพท์แยกเป็นแต่ภาษาของแต่ละถิ่น จากนั้นถึงนำมาสร้างแผนที่ด้วยการใช้สัญลักษณ์แทนแต่ละภาษาในแผนที่ ผลจากการศึกษาพบว่า ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดสกลนครทั้ง 4 ภาษา ภาษาย้อ ใช้มากที่สุดในแถบภาคเหนือของจังหวัด ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภาษาผู้ไทย จะใช้ในบริเวณตอนกลางยาวตลอดของแนวจังหวัด ภาษาโย้ย ใช้อยู่ในบริเวณที่เป็นกระเปาะเล็กๆตอนเหนือบริเวณตอนกลาง และภาษากะเลิง บริเวณที่ใช้ส่วนใหญ่คือภาคใต้ของจังหวัด ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ พบมากในอำเภอเมือง อำเภอกุดบาก กิ่งอำเภอนิคมน้ำอูน และอำเภอเต่างอย

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ