banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเลิง

ชาติพันธุ์ / กะเลิง

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีชื่อที่ตนเองเรียก คือ "กะเลิง" และชื่อที่ผู้อื่นเรียก คือ ข่า, ข่าเลิง และข่ากะเลิง

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สุวิไล เปรมศรีรัตน์

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2547

Collection

Research and Thesis P35.ท9อ72 2547

Annotation

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ความรู้สามด้านด้วยกันคือ 1.ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ มีการศึกษาโดยใช้ภาษาพูดของกลุ่มชนต่างๆเป็นเกณฑ์ โดยศึกษาทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน 2. ด้านฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาษาและชาติพันธุ์ในประเทศ 3. การทำแผนที่เพื่อแสดงข้อมูลการกระจายของกลุ่มภาษาต่างๆด้วยสีและสัญลักษณ์บนพื้นที่ นอกจากนั้นยังแสดงการกระจายของภาษาทั้งพื้นที่ทางวัฒนธรรม พื้นที่ทางภูมิศาสตร์และการปกครองในระดับต่างๆ ว่าภาษานั้นๆมีการใช้มากหรือน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่นกะเลิ้ง โย้ยและพวนจากการสำรวจมีผู้ใช้ภาษานี้ไม่ถึงร้อยละ 1 นับว่าอยู่ในเกณฑ์ผู้ใช้น้อย มีการศึกษาโดยการเก็บข้อมูล การใช้แบบสอบถาม การนำวิทยาการคอมพิวเตอร์มาใช้ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก Mr.Greg Lyons และ Mr.Philipp Dill จากสถาบันเอสไอแอล อินเตอร์เนชั่นแนลในการนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้งานกับข้อมูลทางภาษาที่ได้ทำการสำรวจและวิจัย

อ่านต่อ...
image

Author

สุรัตน์ วรางค์รัตน์

Imprint

กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2534

Collection

Research and Thesis DS570.ก57ส75 2534

Annotation

กะเลิงคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงในบางจังหวัด แต่ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะกล่าวถึงชาวกะเลิงบ้านบัว ที่อาศัยอยู่ในอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาหมู่บ้านชาวกะเลิงในด้านต่างๆ เช่น การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น การเพาะปลูกพืชเพื่อการดำรงชีวิต และการรักษาพยาบาล การหัตถกรรมในครัวเรือน การเลี้ยงสัตว์พื้นบ้านการเลี้ยงปลา และการรวมกลุ่ม หรือจัดระเบียบองค์กรทางสังคมโดยกลุ่มผู้นำทางธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาให้เป็นตัวอย่างแก่เยาวชน และเพื่อศึกษากระบวนการทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทั้งในอดีตและปัจจุบันซึ่งสร้างขึ้นใหม่แต่ให้คุณค่าต่อวิถีชีวิตในสังคมชาวกะเลิง

อ่านต่อ...
image

Author

จุลสัน ทันอินทร์อาจ

Imprint

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2534

Collection

Research and Thesis HB2104.55.ต6จ74 2534

Annotation

งานวิจัยเรื่องการอพยพย้ายถิ่น ของบ้านภูพานทอง ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนครมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนไทยลาว ผู้ไทย ไทยภาคกลาง ไทยโคราช และไทยภาคใต้ โดยมีการใช้เอกสารเพื่อศึกษา มีการลงภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์และสังเกต จากนั้นจึงสรุปผลโดยเน้นในเรื่องการบูรณาการทางวัฒนธรรม เช่นในด้านการพูด ทุกกลุ่มจะใช้ภาษาลาวอีสานในการสื่อสารเป็นหลัก ในด้านประเพณีศาสนาความเชื่อ ทุกกลุ่มโดยพื้นฐานมีวิถีชีวิตใกล้เคียงกันจึงสามารถปรับตัวเข้าร่วมประเพณีทางศาสนาร่วมกันได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการบูรณาการหรือการใช้วัฒนธรรมร่วมกันก็คือการอยู่ภายใต้สังคมเกษตรกรรมแบบเดียวกันและอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนาเดียวกัน

อ่านต่อ...
image

Author

บัญญัติพร สมบัติเมืองกาฬ

Imprint

กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533

Collection

Research and Thesis PL4195.ส2บ62 2533

Annotation

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ทำการศึกษาภาษาย้อ ภาษาผู้ไทย ภาษากะเลิง และภาษาโย้ยในจังหวัดสกลนคร โดยใช้การวิเคราะห์ศัพท์และจัดศัพท์แยกเป็นแต่ภาษาของแต่ละถิ่น จากนั้นถึงนำมาสร้างแผนที่ด้วยการใช้สัญลักษณ์แทนแต่ละภาษาในแผนที่ ผลจากการศึกษาพบว่า ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดสกลนครทั้ง 4 ภาษา ภาษาย้อ ใช้มากที่สุดในแถบภาคเหนือของจังหวัด ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภาษาผู้ไทย จะใช้ในบริเวณตอนกลางยาวตลอดของแนวจังหวัด ภาษาโย้ย ใช้อยู่ในบริเวณที่เป็นกระเปาะเล็กๆตอนเหนือบริเวณตอนกลาง และภาษากะเลิง บริเวณที่ใช้ส่วนใหญ่คือภาคใต้ของจังหวัด ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ พบมากในอำเภอเมือง อำเภอกุดบาก กิ่งอำเภอนิคมน้ำอูน และอำเภอเต่างอย

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ