banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเลิง

ชาติพันธุ์ / กะเลิง

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีชื่อที่ตนเองเรียก คือ "กะเลิง" และชื่อที่ผู้อื่นเรียก คือ ข่า, ข่าเลิง และข่ากะเลิง

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

นพวรรณ สิริเวชกุล

Imprint

-

Collection

Journal วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 35, ฉบับที่ 8 (พ.ค. 2541), หน้า 23-26

Annotation

บทความเกี่ยวกับพิธีเหยาของชาวกะเลิง เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมที่สำคัญของชาวกะเลิงบ้านบัว    ในหมู่บ้านหนึ่งมีหมอเหยาได้หลายคน การเป็นหมอเหยานั้นก็ไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องเป็นคนที่เสียสละ มีคุณธรรม มีสัจจะ ปรุงแต่งตัวเองด้วยเครื่องหอมเหน็บด้วยดอกสะเลเต หรือ ดอกมหาหงส์ไว้ที่มวยผม และต้องประพฤติตามฮึด-คอง หมอเหยาส่วนใหญ่เป็นการสืบทอดเชื้อสายต่อ ๆ กัน ซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยผู้อาวุโสสุดจะเป็นแม่หมอใหญ่ และเป็นผู้นำในการประกอบพิธีร่วมกัน เช่น การไหว้ครูร่วมกันของหมอเหยา จะจัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี ในการ   ทำพิธีกรรมนี้ทุกคนในหมู่บ้านจะไม่ไปทำงานตลอดสองวันสองคืนเนื่องจากต้องไปร่วมพิธีกรรมในครั้งนี้ แสดง    ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนของขาวกะเลิงบ้านบัว ตามความเชื่อของการเจ็บป่วยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ   ป่วยเพราะโรค และป่วยเพราะผีทำ หากรักษาทางการแพทย์ไม่หายก็จะมารักษากับหมอเหยา ซึ่งก็จะเข้าสู่         การทำพิธีการรักษาต่อไป

อ่านต่อ...
image

Author

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์

Imprint

-

Collection

Journal ศิลปวัฒนธรรม : 18, 12(ต.ค. 2540) ;หน้า 108-110 -- 0125-3654

Annotation

บทความนี้ผู้เขียนจะเล่าถึงชาวข่ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่เรียกตนเองและถูกผู้อื่นเรียกว่า “ข่าเลิง”  ที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านบัวห้วยทราย ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวข่าเลิง อาทิ การเลี้ยงหมูไทกี้ การใช้ยาสมุนไพร การสร้างเรือนแบบดั้งเดิม การแต่งงานในกลุ่มชนเดียวกัน สกุล “กุดวงศ์แก้ว” ภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สำคัญของแม่หญิงข่าเลิง อีกหนึ่งอย่างคือ การทำดอกหมก เป็นเครื่องหอมที่มีลักษณะคล้ายดอกไม้ ทำมาจากพืชถิ่นในหมู่บ้านที่ขึ้นตามเขตแนวรั้ว ได้แก่ รากหมากแหน่ง ใบอ้ม ใบคำพอง ใบเนียม ใบว่านหอม ใบเสน่ห์จันทร์ และขมิ้นตากแห้ง ใช้นำมาเสียบผม ประดับผม ปัจจุบันค่านิยมได้เปลี่ยนไปมาก จึงหลงเหลือภูมิปัญญานี้กับแม่หญิงข่าเลิง มีเพียงแม่ใหญ่สาย แม่ใหญ่มาก แม่ใหญ่มาด กุดวงศ์แก้ว และแม่เฒ่าอีกสองคน

อ่านต่อ...
image

Author

สุรัตน์ วรางค์รัตน์

Imprint

-

Collection

Journal เมืองโบราณ 7, 3(สิงหาคม - พฤศจิกายน 2524), หน้า 108-114

Annotation

บทความนี้จะเล่าถึง “กะเลิง” ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง      ในแถบจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร หากจะพูดถึงกะเลิง มักมีคนเข้าใจผิดว่าเป็นข่าเลิง ซึ่งทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ พวกกะเลิงชอบสังคม แต่พวกข่าจะชอบอยู่ตามป่าเขา จึงทำให้เอกลักษณ์ของกะเลิงค่อย ๆ จางหายไป เนื่องจากได้รับวัฒนธรรมจากกลุ่มอื่น ๆ ที่เข้าร่วมสังคมด้วย โดยเฉพาะการไปคบค้าสมาคม กับพวกลาว จึงไปรับวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากพวกลาว อาทิ ภาษาพูด การแต่งกาย พิธีกรรม เป็นต้น ลักษณะเด่นของกะเลิงโบราณ คือ การสักนกที่แก้ม แต่ในปัจจุบันความนิยมในสมัยนั้นก็ค่อย ๆ จางหายไป ความเชื่อใน               การนับถือผีของชาวกะเลิง ได้แก่ ผีเรือน ผีชาน, ผีหมู่บ้าน ผีหอ หรือผีมเหสัก, ผีนา หรือ ตาแฮก

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ