banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มอญ

ชาติพันธุ์ / มอญ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

มอญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

เขาบังภู

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ทางอีศาน ปีที่ 6, ฉบับที่ 67 (พ.ย. 2560), หน้า 24-28 : ภาพประกอบ

Annotation

บทความนี้เป็นบทความภูมินามวิทยา โดยกล่าวถึงสถานที่ 3 แห่ง คือ ดงบัง บ้านดุง และนาดูนโดยพยายามหาหลักฐานหลายมิติมาแสดง ได้แก่ นิทาน ตำนาน พงศาวดาร เทียบจารึกโบราณ เทียบหลักฐานทางโบราณคดี เพื่อสนับสนุนร่องรอยชาติพันธุ์ภาษา พร้อมทั้งพิจารณากายภาพที่ตั้ง นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า นครรัฐก่อนสมัยสุโขทัยนั้น คนไทยสยามใช้อักษรมอญ – ภาษามอญในอารยธรรมทวาราวดีด้วย การศึกษา
ภูมินามวิทยานี้จะสามารถนำไปสู่ความจริงในอดีตได้

 

อ่านต่อ...
image

Author

ยศธร ไตรยศ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

สารคดี ปีที่ 33, ฉบับที่ 388 (มิ.ย. 2560), หน้า 102-113 : ภาพประกอบ

Annotation

สังขละบุรี ตั้งอยู่เหนือเขื่อนวชิราลงกรณ เป็นจุดไหลมาบรรจบของแม่น้ำสำคัญสามสาย
อันได้แก่ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี ภาพธรรมชาติของพื้นน้ำขนาดใหญ่โอบล้อมด้วยหุบเขารอบด้าน ภาพสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ วัดกลางน้ำ เจดีย์พุทธคยาจำลอง หรือการตักบาตรตอนเช้าของชาวมอญ ทำให้หลายคนมีความทรงจำและวันเวลาที่ดีเมื่อพูดถึงสังขละบุรี สิ่งที่น่าประทับใจอย่างมากของสังขละบุรี คือการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งคนไทย มอญ กะเหรี่ยง หรือแม้กระทั่งศาสนาที่มีทั้งชาวพุทธ คริสต์ และมุสลิม บทความนี้ถ่ายทอดภาพและชีวิตความเป็นไปของผู้คนชาวมอญในสังขละบุรีเมืองเล็ก ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี ท่ามกลางความนิยมท่องเที่ยวและความเจริญที่ค่อย ๆ เข้ามาในพื้นที่


 

อ่านต่อ...
image

Author

ปริญญา กุลปราการ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

เสียงรามัญ ปีที่ 10, ฉบับที่ 45 (ก.ค. / ธ.ค. 2559), หน้า 28-29

Annotation

มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ชาติหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บรรพชนมอญหลาย ๆ ท่านได้เพียรพยายามคิดประดิษฐ์ บุกเบิกและวางรากฐานทางดานศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม กฎหมาย
อักษรศาสตร์ สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี เป็นมรดกตกทอดให้กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าทุกวันนี้ชนชาติรามัญจะไม่มีประเทศที่จะปกครองตนเองได้ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้กลับได้รับการยอมรับจากชนชาติอื่น ๆ นำไปเป็นต้นแบบในทุก ๆ ด้านที่บรรพชนมอญได้คิดสร้างขึ้นจวบจนปัจจุบัน
จนกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมของชาติพันธุ์นั้น ๆ

 

อ่านต่อ...
image

Author

อารียา จุ้ยจำลอง

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

เสียงรามัญ ปีที่ 10, ฉบับที่ 45 (ก.ค./ธ.ค. 2559), หน้า 9-14

Annotation

บตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การอพยพของชาวมอญเข้ามาพึ่งใต้ร่มพระบารมีในพระบรมราชจักรีวงศ์ มีโอกาสได้ถวายตัวเข้ารับราชการและเป็นข้ารองบาทในพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ของชาวไทย
มีบทบาทสำคัญในการนำเอาศิลปวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อรับใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะ การขับร้องและฟ้อนรำ การประดิษฐ์ดอกไม้ เครื่องหอม งานเย็บปักถักร้อย และที่สำคัญก็คือ ศิลปะการจัดทำอาหารอาหารมอญเป็นที่ชื่นชอบของพระบรมราชจักรีวงศ์ และบรรดาขุนนางในวัง อาหารมอญจึงอยู่คู่วังมาหลายยุคหลายสมัย อาหารมอญหลายชนิดที่แพร่หลายมีการปรับเปลี่ยน พร้อมทั้งมีการอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คงเดิมแบบต้นตำรับ จึงทำให้ลักษณะของวัฒนธรรมอาหารมอญต้องประยุกต์ร่วมสมัย ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างวัฒนธรรมได้อย่างแยบยล


 

อ่านต่อ...
image

Author

มิโน่นเต่เตวี

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

เสียงรามัญ ปีที่ 10, ฉบับที่ 45 (ก.ค./ธ.ค. 2559), หน้า 26-27 URL: http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068304

Annotation

มอญ เป็นชนชาติที่มีอารยธรรมอันเก่าแก่โบราณ ชาวมอญเป็นผู้ที่เลื่อมใสและเคร่งครัดปฏิบัติในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทั้งความเชื่อและความศรัทธาด้วยชีวิตจิตใจ ชายมอญสามารถเข้าถึงพุทธศาสนา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เจดีย์ต่าง ๆ ได้แบบใกล้ชิด เพราะมีความเชื่อว่าผู้ชายเป็นผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์สามารถบวชเรียนอยู่ในผ้าเหลืองได้ แต่ผู้หญิงมอญจะถือตัวว่าเป็นผู้ที่ไม่สะอาดบริสุทธิ์ เนื่องจากมีรอบเดือน ไม่สามารถเข้าถึงพระหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เจดีย์ต่าง ๆ แบบใกล้ชิดได้เหมือนผู้ชาย ผู้หญิงมอญจึงคิดประดิษฐ์ลายผ้าถุง เป็นลายคลื่น 7 ชั้น ซึ่งเป็นการแสดงออกด้วยการแต่งกายเพื่อแสดงให้รู้ว่า ผู้หญิงมอญก็เป็นชาวพุทธที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนามากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้ชายมอญเลย
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ