banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทดำ

ชาติพันธุ์ / ไทดำ

Export All

image author

รวบรวมโดย : ปริยฉัตร เวทยนุกูล

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวไทดำ หรือ ไทยทรงดำ ในประเทศไทย มีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับความหลากหลายทางภาษาและชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ไทดำ วรรณกรรมพื้นบ้าน ประเพณี สังคม วัฒนธรรมและภาษา กลุ่มชาติพันธุ์

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

พิเชฐ สีตะพงศ์ และ ไอยเรศ บุญฤทธิ์

Imprint

นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556

Collection

Books: ML3758.T57 พ32 2556

Annotation

หนังสือเล่มนี้เป็นผลผลิตทางวิชาการภายใต้โครงการวิจัย “ชาติพันธุ์ กระบวนทัศน์ใหม่
ในการสืบสานภาษาและวัฒนธรรม” ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยทุนส่งเสริมกลุ่มการวิจัย เมธีอาวุโส สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2553 – 2556 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทร้องและความหมายของเพลงขับสายแปง ในฐานะภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยโซ่ง ที่สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ โลกทัศน์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และศึกษาเพลงขับสายแปงผ่านการใช้สื่อต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาแนวคิดสู่กระบวนทัศน์ในการฟื้นฟูวัฒนธรรม
          หนังสือประกอบด้วย 7 บท บทที่ 1-2 กล่าวถึงความสำคัญและวิธีการวิจัยเพลงขับสายแปง
บทที่ 3 เป็นการปูพื้นเพื่อทำความเข้าใจวัฒนธรรมเพลงขับสายแปงของชาวไทยโซ่งจากการค้นคว้างานเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่วนบทที่ 4-6 นั้น เป็นการนำเสนอผลการวิจัย โดยในบทที่ 4 เป็นการศึกษาเพลงขับสายแปงในแนวทางมานุษยวิทยาการดนตรี บทที่ 5 ศึกษาความหมายและภาพสะท้อนในเพลงขับสายแปง
บท “เข้ากางข่วง” ในแนวทางวัฒนธรรมศึกษา และบทที่ 6 จะนำเสนอการถ่ายทอดเพลงขับสายแปง
สู่กระบวนทัศน์ใหม่ในการสืบสานวัฒนธรรม ส่วนบทสุดท้าย คือ บทที่ 7 เป็นการสรุปผลและข้อเสนอแนะ
ในการวิจัย

Year: 2556
 

อ่านต่อ...
image

Author

อารี ภาวสุทธิไพศิฐ

Imprint

[นครปฐม] : โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554

Collection

Books: AM79.ท9 อ64 2554

Annotation

การวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยและการพัฒนา มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์สำหรับศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ และ 2. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ของศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ในด้านกระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ
และความยั่งยืน ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการศึกษาเอกสาร

Year: 2554
 

อ่านต่อ...
image

Author

บุญยงค์ เกศเทศ

Imprint

กรุงเทพฯ : อินทนิล, 2554

Collection

Books: DS570.ล6 บ72 2554

Annotation

หนังสือเล่มนี้ รศ.ดร. บุญยงค์ เกศเทศ ได้เล่าเรื่องให้เห็นถึงความเป็นมา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนไทดำในสองถิ่นฐาน ได้แก่ “เมืองแถง” แคว้น “สิบสองจุไท” และ “บ้านหนองปรง”
อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ไว้อย่างน่าสนใจ พร้อมทั้งมีภาพถ่ายที่ผู้เขียนสะสมไว้ประกอบการเล่าเรื่องอีกด้วย ทำให้หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือสารคดีเชิงวิชาการที่นักศึกษาทางด้านชาติพันธุ์ และนักอ่านทั่วไปจะได้รับทั้งสาระและความรื่นรมย์ไปพร้อมกัน

Year: 2554
 

อ่านต่อ...
image

Author

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ พิเชฐ สายพันธ์ : บรรณาธิการ

Imprint

กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, 2553

Collection

DS556.45.T35 ท45 2553

Annotation

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงผลงานของศาสตราจารย์คำจอง ซึ่งเป็นชาวไทดำ ท่านได้รวบรวมจดบันทึกและเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์ และข้อมูลวัฒนธรรมของชาวไทดำโดยเฉพาะ รวมถึงชาวไททุกเผ่าและชาวเผ่าอื่น ในดินแดนสิบสองจุไท โดยท่านสามารถประกอบข้อมูลประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นระบบสังคมชนชาติไทในเวียดนาม ในช่วงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 - ครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 คือระบบบ้าน - เมือง หรือทฤษฎีบ้านเมือง อธิบายโครงสร้างความสัมพันธ์และการยึดโยงขององค์ประกอบต่าง ๆ ของสังคม สภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ น้ำ ที่ดินเพาะปลูก ป่าเขา การทำมาหากิน ชนชั้น ประเพณี การปกครอง ความเชื่อ พิธีกรรม ฯลฯ และกลไกการทำงานของรับบสังคมสิบสองจุไท ผลงานของท่านถึงเป็นการยืนยันการดำรงอยู่และความสำคัญของสัมคมและวัฒนธรรมไทยสิบสองจุไท
Year: 2553
 

อ่านต่อ...
image

Author

Michael Moerman

Imprint

Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre, 2548

Collection

Audio Visual Materials SAC 000556

Annotation

ศาสตราจารย์ไมเคิล มอร์แมน นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับ
กลุ่มชาติพันธุต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการเสวนาครั้งนี้
โดยศาสตราจารย์ไมเคิล มอร์แมน ได้เล่าถึงประสบการณ์การศึกษาเกี่ยวกับชาวไทลื้อ ในประเทศไทย
ตลอดระยะเวลา 45 ปี โดยมีเอกสารบันทึกภาคสนาม เช่น เอกสารที่พิมพ์และเขียนด้วยลายมือ
จดหมาย ภาพถ่าย แถบบันทึกภาพและเสียง เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน บุคคล ชีวิตประจำวัน
สังคม วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ และการศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทาง
ชาติพันธุ์วิทยาที่หลากหลายในการทำวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด
การอยู่ร่วมกันกับสังคมที่ศึกษา หรือการสัมภาษณ์ เพื่อเก็บข้อมูล เอกสารทั้งหมดจึงสะท้อนให้เห็นถึง
แง่มุมต่างๆ ของความเป็นชุมชนไทลื้อได้อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ข้อมูลส่วนตัว
ตลอดจนข้อมูลที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ