banner image

หนังสือแนะนำ

หน้าแรก / หนังสือแนะนำ / Consumer culture and modernity

detail image

Consumer culture and modernity

รายละเอียด


ปีที่พิมพ์ :

2002


ผู้แต่ง :

Don Slater


เลขเรียกหนังสือ :

HC79.C6S58 2002


Collection :

Books


ลิงก์หนังสือ :

รายละเอียด :

            Consumer Culture and Modernity เป็นผลงานของ Don Slater ตีพิมพ์ในปี 1997 และพิมพ์ซ้ำในปี 1998, 2000, 2002 เนื้อหาหลักเป็นความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการบริโภคและความทันสมัย รวมทั้งการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมว่าเกิดขึ้นมาอย่างไร ความน่าสนใจอยู่ที่วิธีการศึกษาของผู้เขียน โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์และปัญหาของยุคสมัยใหม่ที่มีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมการบริโภค การก่อตัวของวัฒนธรรมการบริโภคซึ่งสามารถอ้างอิงถึงสังคมที่ปรากฏอยู่ในวาทกรรมสมัยใหม่ ผู้เขียนใช้ทฤษฏีสมัยใหม่มาอธิบายปรากฏการณ์ภายใต้บริบทเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม โครงสร้างสถาบันและระบบ ผ่านการถกเถียง เชื่อมโยงแง่มุมสำคัญๆของวัฒนธรรมการบริโภค เช่น ความต้องการ ทางเลือก อัตลักษณ์ สถานะ ความแปลกแยก วัตถุและวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา (Enlightenment)  จนถึงยุคหลังสมัยใหม่ โดยผู้เขียนนำเสนอให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างบริโภคนิยม วัฒนธรรมและความทันสมัยในแต่ละบท

            เริ่มจากบทที่ 1 เป็นการนำเสนอภาพกว้างของวัฒนธรรมการบริโภคในฐานะที่เป็นลักษณะอันโดดเด่นของความทันสมัย บทที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้บริโภคและอำนาจของผู้บริโภค  โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับผู้บริโภคซึ่งให้ความสำคัญกับการให้เหตุผล เสรีภาพและความก้าวหน้าทางสังคม ตั้งแต่ยุคเรืองปัญญาผ่านแนวคิดเศรษฐศาสตร์สังคมแบบเสรีจนถึงแนวคิดร่วมสมัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร บทที่ 3 เนื้อหาหลักคือวัฒนธรรม สำหรับการวิพากษ์ “วัฒนธรรมการบริโภค” ในยุคสมัยใหม่มีความย้อนแย้งอยู่ในตัว เพราะวัฒนธรรมการบริโภคมีนัยยะของการทำลายระเบียบทางสังคมแบบดั้งเดิม ลดทอนคุณค่าวัฒนธรรมอันแท้จริงและยังบ่อนทำลายความเป็นปึกแผ่นทางสังคมอีกด้วย

            บทที่ 4 เป็นประเด็นเกี่ยวกับความแปลกแยก เนื่องจากวัฒนธรรมการบริโภคมักถูกวิพากษ์ในมุมประสบการณ์ของผู้คนในสังคมที่ให้ความสำคัญกับวัตถุที่มีมากเกินความจำเป็น ความหรูหรา ฟุ่มเฟือย ซึ่งควรนำความพึงพอใจมาให้แต่กลับกลายเป็นว่า วัฒนธรรมการบริโภคสร้างความเบื่อหน่ายและความแปลกแยก บทที่ 5 เกี่ยวกับความหมายของวัตถุและพื้นที่สำหรับการบริโภคภายใต้ปฏิบัติการทางสังคม โดยผู้เขียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการกับวัตถุ ธรรมชาติกับวัฒนธรรม ความหมายกับปฏิบัติการทางสังคมผ่านแนวคิดสัญญวิทยา บทที่ 6 เป็นการทำความเข้าใจความหมายของสินค้าซึ่งเกิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของอัตลักษณ์ทางสังคม การเป็นสมาชิกของสังคม สถานะและอุดมการณ์ บทที่ 7 New Times? เป็นการถกเถียงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในหลายทศวรรษที่ผ่านมา อันส่งผลให้การบริโภคและวัฒนธรรมกลายเป็นแกนกลางของชีวิตผู้คนในสังคม เกิดการปรับเปลี่ยนจากยุคแห่งความทันสมัยสู่ New Times หรือยุคหลังสมัยใหม่ในที่สุด

          หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจสำหรับบุคคลจากสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาการสื่อสาร วัฒนธรรมศึกษา มนุษยวิทยาหรือสาขาประวัติศาสตร์ที่มีความสนใจในประเด็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบริโภค ที่จะได้เห็นวิวัฒนาการของวัฒนธรรมการบริโภค สาเหตุและผลกระทบซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประเด็นสำคัญและแนวคิดทางสังคมของของยุคสมัยใหม่

แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติม
Bocock, Robert. Consumption. London: Routledge, 1993.
Lee, Martyn J. Consumer Culture Reborn: the Cultural Politics of Consumption. London: Routledge, 1993.
Mathur, Nita. Consumer Culture, Modernity and Identity. New Delhi: SAGE, 2013.
Ritzer, George. Enchanting a Disenchanted World: Revolutionizing the Means of Consumption. Thousand Oak: Pine Forge Press, 2005.
 

user image

ผู้แนะนำ : ดร. พิทยา พละพลีวัลย์


ตำแหน่ง :

อาจารย์

การศึกษา :

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน (การสื่อสารระหว่างประเทศ) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์ :

ความสนใจทางวิชาการ  การสื่อสารกับวัฒนธรรมการบริโภค  การวิเคราะห์การบริโภคร่วมสมัยโดยใช้สัญญวิทยา  การโฆษณาและการสร้างแบรนด์


ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ