banner image

หนังสือแนะนำ

หน้าแรก / หนังสือแนะนำ / Intangible heritage

detail image

Intangible heritage

รายละเอียด


ปีที่พิมพ์ :

2009


บรรณาธิการ :

Laurajane Smith and Natsuko Akagawa


เลขเรียกหนังสือ :

CC135.I56 2009


Collection :

Books


ลิงก์หนังสือ :

รายละเอียด :

            หนังสือ Intangible Heritage บรรณาธิการโดย Laurajane Smith และ Natsuko Akagawa มีเนื้อหากล่าวถึงการประชุมเพื่อการปกป้องมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ริเริ่มโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) เพื่อแก้ปัญหาให้ประเทศสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาในทวีปเอเซีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ประเทศเหล่านี้ประท้วงว่ามาตรฐานในการคัดเลือกมรดกโลกไม่สอดคล้องกับลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ การจัดประชุมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคัดเลือกมรดกมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ยังมีชีวิต (living culture) ของประเทศต่างๆ มากขึ้น

            มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีความหมายตั้งแต่มิติที่ไม่ใช่วัตถุของมรดกที่เป็นวัตถุ  เช่น ความโศกเศร้าของญาติผู้ตกเป็นเหยื่อในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นซ่อนอยู่เบื้องหลังสถานที่เกิดเหตุหรืออนุสาวรีย์ที่ระลึกของเหตุการณ์ ไปจนถึงมิติที่จับต้องไม่ได้มากที่สุด เช่น นิทาน บทกวี บทเพลง บทสวด กลิ่น เป็นต้น มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้สามารถสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้ ในทางกลับกัน มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยขึ้นกับสภาพแวดล้อมหรือบริบท

            นอกจากการอนุรักษ์แล้ว มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ยังมีมิติของการช่วยให้วัฒนธรรมของคนชายขอบไร้สิทธิ์ไร้เสียงมีตัวตนชัดเจนขึ้น ดังกรณีของชาว Ogiek ชนพื้นเมืองในเคนยา ซึ่งถูกขับไล่ออกจากดินแดนบ้านเกิดเพื่อ “การคุ้มครองป่า” พวกเขามีความชำนาญในการเก็บน้ำผึ้ง น้ำผึ้งถูกใช้เป็นสินสมรส เป็นยารักษาโรค เหล็กในของผึ้งใช้เป็นยาฉีด หากไม่มีป่าก็ไม่มีน้ำผึ้ง ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาว Ogiek ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะทำลายป่า การเสนอให้วิถีชีวิตที่ผูกพันกับผึ้งและน้ำผึ้งของชาว Ogiek เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ นอกจากจะช่วยอนุรักษ์วิถีชีวิตของพวกเขาเอาไว้แล้ว ก็ยังแสดงให้เห็นว่านโยบายคุ้มครองป่าแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ทั้งยังนำไปสู่การทำลายวัฒนธรรมของชาว Ogiek อีกด้วย

            สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้คือความเป็นมาและข้อถกเถียงเกี่ยวกับคำนิยามของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งนักวิชาการจากยูเนสโก นักวิชาการท้องถิ่นหลายสาขาวิชา รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และคนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของมรดก จึงต้องพิจารณาให้คำนิยามที่ครอบคลุมกับลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคม นอกจากนี้ยังมีคำวิจารณ์ว่ามานุษยวิทยามักแยกส่วนที่เป็นอุดมคติของมรดกออกจากส่วนที่เกี่ยวของกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทั้งที่เศรษฐกิจคือมิติสำคัญอันหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น หากก้าวข้ามคู่ตรงข้ามนี้ได้ ก็จะทำให้สามารถนำแนวคิดมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มาแก้ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของเจ้าของมรดกนั้นได้อย่างเป็นองค์รวม

แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติม
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, บ.ก. 2560. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
Marilena Alivizatou. 2012. Intangible heritage and the museum: new perspectives on cultural preservation.  Walnut Creek, Calif.: Left Coast Press.
 

user image

ผู้แนะนำ : นางสาวสุนีย์ ประสงค์บัณฑิต


ตำแหน่ง :

นักวิจัยอิสระ

การศึกษา :

ปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์ :

ความสนใจทางวิชาการ ทฤษฎีทางมานุษยวิทยากับการสร้างสันติภาพ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับการสร้างสันติภาพ


ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ