กิจกรรมที่ผ่านมา (4)

Visual Anthropology หรือมานุษยวิทยาทัศนา คือกระบวนการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่อาศัยสื่อโสตทัศน์เช่น ภาพถ่าย ภาพยนตร์และ สื่อใหม่ (New media) ในการถ่ายทอดงานศึกษาวิจัยทางมานุษยวิทยาทัศนา รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด “เสียง” ของเจ้าของวัฒนธรรม ขณะเดียวกันอาจกล่าวได้ว่าผู้ผลิตสื่อก็อาศัยวิธีการทางมานุษยวิทยาที่จะเข้าถึงแหล่งข้อมูล เพื่อที่จะผลิตสื่อเช่น ภาพยนตร์ชาติพันธุ์ (Ethnographic Film) อย่างมีส่วนร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามหลักการสำคัญของมานุษยวิทยาทัศนา (Visual Anthropology) ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือหรือวิธีการศึกษาวิจัยเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการทำความเข้าใจเนื้อแท้ของวัฒนธรรม (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หรือมองเห็นได้ยาก) และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เจ้าของวัฒนธรรมต้องการสื่อสารให้คนอื่น (หรือคนนอกวัฒนธรรม) เข้าใจได้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร…
กิจกรรมเสวนาภาพยนตร์ “Visualizing Culture: Ethnographic Film in Thailand and ASEAN Screening and Roundtable” ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ระหว่างวันที่ 10-11 เมษายน 2556 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้จัดโครงการมานุษยวิทยาทัศนา (Visual Anthropology) ขึ้นเพื่อที่จะช่วยสร้างความเข้าใจ อนุรักษ์และส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันในภูมิภาค เพื่อเป็นการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของศูนย์ฯ ซึ่งเน้นความสำคัญของความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN…
Page 2 of 2
SFbBox by EnterLogic