Thursday, 19 September 2013 14:25

The Veil Unveiled

ประเทศเยเมนเป็นหนึ่งในประเทศมุสลิมที่มีความหลากหลายในเรื่องของการใช้ผ้า คลุมหน้า ในกรุง Sana การคลุมหน้าของสตรีมีความสำคัญมากพอๆกับเสื้อผ้าชุดดำที่สวมใส่ มันไม่ใช่เป็นเพียงการปฏิบัติธรรมดาเท่านั้นแต่มันเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ทางศาสนา การสวมใส่ผ้าคลุมหน้าจะบ่งบอกสถานะของสตรีคนนั้นๆ ด้วย และเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาของเรื่องนี้ผ่านมุมมองทางแฟชั่น ผู้ชมสามารถติดตามได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจให้ได้ศึกษาต่อไป

สารคดีนำเสนอวงเสวนาของบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ชั้นนำ ศิลปิน และนักชาติพันธุ์วรรณนา เกี่ยวกับอนาคตของมานุษยวิทยาทัศนา เวทีดังกล่าวจัดขึ้นที่ Temple University โดยเน้นคำถามเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างผู้ที่ทำงานในสายนี้ สุนทรียะ การใช้สื่อสมัยใหม่ และการสร้างวิถีทางในการทำงานที่ใช้มุมมองของหลายสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ผู้เข้าร่วมเสวนาสร้างบทสนทนาที่โดดเด่น และเกี่ยวเนื่องกับวาระในอนาคตของมานุษยวิทยาทัศนาที่อาศัยมุมมองจากหลาย สาขาวิชาในยุคของโลกาภิวัตน์ บทโต้ตอบต่างๆ เป็นประโยชน์ทั้งในเชิงปฏิบัติการและมุมมองทางทฤษฎี ผู้เข้าร่วมการเสวนาประกอบด้วย Phillip Alperson, Kelly Askew, Rebecca Baron, Michel Brault, Kathy Brew, Roderick Coover, Jayasinhji Jhala, Paul Stoller, and Lucien Taylor, Warren Bass, Noel Carroll, Kimmika Williams และอื่นๆ

Wednesday, 18 September 2013 10:18

The son is not at home

Mr Xie ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมือง Dwan ซึงเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านไตในจังหวัด Dehong ซึงอยู่ในเส้นทางลักลอบค้ายาเสพติดจากพม่า ในปี 2002 ลูกชายของเขาได้ถูกจำกุมโดยรัฐบาลและถูกส่งไปยังสถานบำบัดยาเสพติดใน Chuxiong ทิ้งให้ Xie ต้องอยู่ลำพังกับภรรยาที่เจ็บป่วยโดยไม่มีเงินรักษาพยายาล ส่วนพืชผลที่ปลูกไว้ที่จะเก็บเกี่ยวก็เสียหายอีก ติดตามเรื่องราวชีวิตของพวกเขาได้จากภาพยนตร์

Mr. Xie lives in Dawan, a typical Dai village in province of Dehong that is part of a drug-smuggling route from Myanmar. In Spring 2002, the authorities sent his son to a drug rehabilitation center in Chuxiong, leaving Mr. Xie and his wife to care for themselves. Although he battles illness, he has no money for hospital treatment. Meanwhile, harvest season approaches, but the sugar cane and corn crops are left untouched in the fields.

Monday, 16 September 2013 09:48

Yap...how did you know we'd like tv?

Willy Gorongfel, ชาว Yapese เป็นทั้งผู้รายงานข่าว, ผู้ประกาศโทรทัศน์สถานี WAAB-TV ออกอากาศวันละ 8 ชั่วโมงให้คนบนเกาะ Yap ซึ่งอยู่ในเขตปกครองหมู่เกาะ Pacific Island หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ไมโครนีเซีย (Micronesia) อยู่ในการดูแลของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ผู้คนบนเกาะนี้ได้รับการดูแลจากสหรัฐอเมริกา ความเป็นอยู่ต่างๆจึงได้รับอิทธิพลจากอเมริกาอย่างเต็มที่ ใน ปี 1979 สหรัฐได้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้น และนำเอารายการของอเมริกามาออกอากาศ ค่านิยมแบบอเมริกาถูกนำมาเผยแพร่อย่างผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ แต่กระนั้นก็ตามชาว Yap ก็ได้รับประโยชน์จากโทรทัศน์แห่งนี้ในการรายงานข่าวท้องถิ่น แต่ก็มีชาว Yapese จำนวนไม่น้อยที่เห็นว่าโทรทัศน์ได้เข้ามาทำลายวัฒนธรรมของเขา โดยพยายามยัดเยียดวัฒนธรรมอเมริกันเข้าบนหมู่เกาะแห่งนี้

Monday, 16 September 2013 09:00

Taking Pictures

นักสร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรเลียที่เป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น Kildea, O'Rourke และ Connolly/Anderson เป็นกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์สารคดีที่ใช้ชีวิตอยู่ในเกาะปาปัวนิวกินี ภาพยนตร์ของพวกเขา เต็มไปด้วยเนื้อหาและมุมมอง ที่บอกเล่าพลังและความยอกย้อนของประเทศที่เปลี่ยนผ่านจากประเทศในอาณานิคม ไปสู่ความเป็นรัฐชาติในโลกสมัยใหม่ แต่เรื่องราวที่ปรากฏนั้นเป็นของใคร? เหล่านักสร้างภาพยนตร์เผชิญปัญหาเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรม และอิทธิพลของชาติตะวันตกในการบอกเล่าเกี่ยวกับชนพื้นถิ่น ภาพยนตร์เรื่อง Taking Pictures จึงจุดประเด็นและชี้ให้เห็นกับดักของการถ่ายทำภาพยนตร์ข้ามวัฒนธรรม รูปแบบของการนำเสนอในภาพยนตร์อาศัยการพูดคุยกับนักสร้างภาพยนตร์ชาวออกสเตร เลีย และเลือกภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัลและทรงอิทธิพล เกี่ยวกับปาปัวนิวกินี

Sunday, 15 September 2013 21:07

Margaret Mead: Taking Note

เมื่อมาร์กาเร็ต มี้ด เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1978 อาจกล่าวได้ว่า เธอเป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมาก ที่สุดคนหนึ่ง ภาพยนตร์ฉายให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างเรื่องราวส่วนตัวกับคุณูปการทางวิชาการของเธอ โดยอาศัยการสนทนากับเธอก่อนการเสียชีวิต เกี่ยวกับครอบครัวและภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนาม นอกจากนี้ การพูดคุยยังเกี่ยวข้องกับเพื่อนพ้อง ครอบครัว และนักศึกษารุ่นต่างๆ Born in 1901 in Philadelphia, Mead เกิดเมื่อ ค.ศ. 1901 เมืองฟิลาเดลเฟีย เธอสนใจมานุษยวิทยาครั้งแรก เมื่อเป็นนักศึกษาที่ Barnard ในขณะนั้น เธอได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Franz Boas และ Ruth Benedict เมื่อ ค.ศ. 1925 เธอตัดสินใจออกเดินทางไปซามัว (Samoa) "ฉันเดินทางไปซามัวตามที่อาจารย์ของฉันบอกให้ออกเดินทางไปยังดินแดนที่มี เรือเข้าเทียบท่าทุกๆ สามสัปดาห์)

The Hamat'sa หรือ "Cannibal Dance" (ร่ายรำการกินมนุษย์) เป็นพิธีกรรมที่เป็นภาพลักษณ์สำคัญของกลุ่ม Kwakwaka'wakw (Kwakiutl) people ในบริติช ดคลัมเบีย (British Columbia) ภาพยนตร์นี้ย้อนรอยประวัติศาสตร์การบอกเล่าทางมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ การร่ายรำนี้ ด้วยการกลับไปดูภาพยนตร์เก่าที่เกี่ยวข้องกับชุมชนพื้นถิ่น เพื่อฉายให้เห๊นมุมมองที่เปลี่ยนแปลงของการร่ายรำในปัจจุบัน ภาพยนตร์อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทำงานของผู้สร้างภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะตั้งคำถามเกี่ยวกับจรรยาบรรณาในการสร้างตัวแทนทาง ชาติพันธุ์ และยังสะท้อนการต่อรองระหว่างการทำงานของนักมานุษยวิทยากับสมาชิกที่ี่้ร่วม วิจัย

The Hamat'sa (or "Cannibal Dance") is the most important-and highly represented-ceremony of the Kwakwaka'wakw (Kwakiutl) people of British Columbia. This film traces the history of anthropological depictions of the dance and, through the return of archival materials to a First Nations community, presents some of the ways in which diverse attitudes toward this history inform current performances of the Hamat'sa. With a secondary focus on the filmmaker's fieldwork experience, the film also attends specifically to the ethics of ethnographic representation and to the renegotiation of relationships between anthropologists and their research partners.