เขียนโดย Lajonchère, Etienne Lécuyer de, 1690-1740. | วันที่เผยแพร่เอกสาร 01/01/2513
ผู้เข้าชม 3032 | จำนวนดาวน์โหลด 0
คะแนนสื่อ
Vieng-Chan = เวียงจันทน์
Lajonchère, Etienne Lécuyer de, 1690-1740.
ไทย
ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
Capitiline Lunet De Lajonquière. (Année 1901). Vleng-Chan .Bulletin de l'Ecole française d'Extrême-Orient. Volume 1 Numéro 1 pp. 99-118
ดูเอกสารต้นฉบับจาก www.persee.fr
เวียงจันทน์ (Vieng-Chan) โดยร้อยเอกลุเนต์ เดอ ลาจงกิแยร์
(Par le copitaine Lunet de LAJONQUIÈRE) (Ancien attaché à l’École française d’ Extrême-Orient)
สรุปความโดย ดร.เสาวนิต รังสิยานนท์
อาณาจักรล้านช้าง ได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรที่มั่งคั่งตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 Vanwusthoff ราชทูตจากฮอลแลนด์ได้เล่าวว่า “อาณาจักรล้านช้างมีผืนดินอุดมสมบูรณ์ มีไร่นา มีวัดมาก มีพระราชวัง ชาวเมืองร่าเริงแจ่มใส อาศัยอยู่ในบ้านหลังใหญ่ แต่งตัวด้วยผ้าไหม และใช้ทองเป็นเครื่องประดับ พวกเขาคิดแต่เรื่องสนุกสนาน” ในสมัยพระเจ้าอนุลาวกับไทย และเจ้าอนุหนีไปอยู่ในอันนัม ไทยอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ปัจจุบัน (ค.ศ.1901 – ผู้แปล) เวียงจันทน์กลับมีชีวิตอีกครั้งหลักจากรบกับไทย พระราชวังและวัดได้รับการบูรณะ ชาวเมืองกลับเข้ามาอยู่ในบ้านเรือนตามเดิม แต่ที่เปลี่ยนไปคือเวียงจันทน์ กลายเป็นที่ทำการของผู้สำเร็จราชการและเป็นเมืองหลวงของลาว ในบทความนี้ผู้เขียนกล่าวถึงเวียงจันทน์ในสมัยก่อน โดยศึกษาเรื่องวัดที่มีอยู่มาก ค่อนข้างละเอียด และการบูรณะที่ขาดความชำนาญ ทำให้วัดมีลักษณะที่ผิดแผก
เมืองเวียงจันทน์
ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ระหว่างปากน้ำป่าสัก และลำธารเล็ก ๆ สายหนึ่ง เหนือลำน้ำป่าสัก เป็นหมู่บ้าน khon ta ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองการขนส่งทางน้ำและการพาณิชย์ ทำหน้าที่นำเข้าสุรา และเหล้าองุ่น และส่งออกยางพารา ตัวเมืองเป็นที่ตั้งที่ทำการของฝ่ายบริหาร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ภายในกำแพงเมือง กำแพงเมืองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่1 ติดกับลำน้ำป่าสัก ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กำแพงก่อด้วยอิฐสูง 4-6 เมตร ปัจจุบันมีหญ้าขึ้นรก ส่วนที่ 2 มีประตูป้อม 2 ประตู เปิดสู่ทางหลวงพระบาง และพระธาตุหลวง มีช่องสำหรับยิงปืนอยู่เชิงกำแพง ระหว่างประตูทั้งสองบานกำแพงมีรอยแตก นอกจากนั้นมีหญ้าขึ้นรก ส่วนที่ 3 ระหว่างประตูพระธาตุหลวงกับจุดบรรจบ Huei กำแพงพังทลายหมด ปกคลุมด้วยกองดินมีต้นไม้ขึ้น มีหญ้ารกหนา และมีพงหนามกว้างมากกว่า 200 เมตร คูน้ำนอกกำแพงเมืองตื้นเขิน เขตพระราชวังล้อมรอบด้วยกำแพงสูง 4 เมตร มีซุ้มประตู พระราชวังเก่า เหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง ขณะนี้เป็นที่พำนักข้าราชการระดับสูงของอาณานิคม ผังเมือง ระหว่างลำน้ำป่าสักและเส้นทางสายพระธาตุหลวงมีถนน 4 สาย มีบ้านของชาวเมืองหลังใหญ่ล้อมรอบด้วยสวนกว้าง ระหว่างกำแพงเมืองบ้านเรือนประชาชนมีต้นไม้ขึ้นรก มองเห็นกำแพงวัดเก่า ๆ ประปราย ทางด้านตะวันออกของตัวเมืองร้างผู้คน มีร่องรอยของนาข้าวที่ถูกทองทิ้ง
วัด
วัดอยู่ในกำแพงเมืองเช่นเดียวกับพระราชวัง ประกอบด้วยวิหาร หอธรรม ระเบียงคต กุฏิวิปัสสนา เจดีย์ [ผู้เขียนเรียกว่า “ธาตุ” (that)] กุฏิพระ ผู้เขียนบรรยายลักษณะภายนอกและภายในของวิหารลาว ซึ่งคล้ายกับของไทย ส่วนหอธรรมมีลักษณะคล้ายโบสถ์หลังเล็ก ๆ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหน้าต่างเล็ก สูงจากพื้น 1-2 เมตร ส่วนระเบียงคตก็คล้ายกับที่มีอยู่ในวัดไทย กุฏิวิปัสสนาเป็นกุฏิหลังเล็ก มีประตูเดียวไม่มีหน้าต่าง มีแท่นบูชาอยู่ติดผนังด้านในสุด หน้าแท่นบูชามีที่นอน พระธาตุหรือเจดีย์ของลาวลักษณะทั่วไปคล้ายของไทย กุฏิพระ เป็นบ้านไม้หรือกระท่อมแบบลาวหลังเล็ก มีห้องนอนสำหรับพระ 1 ห้อง อีก 1 ห้องสำหรับศิษย์วัด ประตูทางเข้าหันออกสู่วิหาร กรอบประตูและหน้าต่างด้านนอกมีลวดลายประดับแบบเดียวกัน ต่างกันเพียงรายละเอียดเล็กน้อย นอกจากนี้ผู้เขียนได้บรรยายวัดที่สำคัญของลาว เช่น วัดศรีสระเกศ วัดพระแก้ว พระเมรุ วัดกอง (Kong) ธาตุหลวง นอกจากบรรยายลักษณะของวิหารวัดศรีสระเกศอย่างละเอียดแล้ว ยังกล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดเดียวที่มีสภาพดี เนื่องจากได้รับการบูรณะ แต่การบูรณะก็ไม่ดีเท่าที่ควร และรายละเอียดของลวดลายตกแต่งในวิหารบางตอนแสดงให้เห็นอิทธิพลของประเทศอื่น ส่วนวัดพระแก้วเป็นศิลปสถาปัตยกรรมของราชอาณาจักรล้านช้างที่งดงาม ถึงแม้จะถูกทำลายไปมาก พระเมรุมีสภาพเช่นเดียวกับวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นศิลปะในสมัยเดียวกัน เป็นที่เก็บพระศพของสมาชิกในราชวงศ์เพื่อรอวันถวายพระเพลิง เป็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 10 เมตร ส่วนหลังคาหายไป มีประตูใหญ่ 4 ด้าน วัดกอง ได้ชื่อเช่นนี้เพราะสร้างบนเนินที่เคยเป็นที่ตั้งของพระราชวังมาก่อน ถึงแม้จะสลักหักพังแต่ก็มีร่องรอยของสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ส่วนวัดอื่น ๆ ในเวียงจันทน์ ดูเหมือนว่าสร้างตามแบบของวัดศรีสระเกศ วัดพระแก้ว และ วัดกอง แต่วัดส่วนมากก็เหลือเพียงซากปรักหักพัง เหลือเพียงกำแพงที่มีหญ้าขึ้นรกเรื้อ และถูกรากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บนกำแพงชอนไช พระพุทธรูปองค์ใหญ่ก็ไม่มีเศียรหรือกร บริเวณวัดร้างเป็นที่ร้องรำทำเพลง ดื่มสุรา และสูบฝิ่นของชาวลาว ธาตุหลวง อยู่ห่างจากกำแพงเมือง 3 กิโลเมตร จากจารึกธาตุหลวงสร้างเมื่อ ค.ศ.1586 สูง 26 เมตร มีระเบียงรอบองค์พระธาตุ (เจดีย์) 3 ชั้น ชั้นบนสุดมีเจดีย์องค์เล็ก 26 องค์ล้อมรอบยอดเจดีย์องค์ใหญ่ (ธาตุหลวง) ต่อมาถูกพวกฮ่อ (Hos) ขุดค้นเพื่อหาของมีค่า จึงสร้างขึ้นใหม่สูง 24 เมตร ส่วนบนขององค์ธาตุจึงไม่ค่อยจะเหมาะสมกับฐาน M. de Carné เคยเห็นธาตุหลวงก่อนจะถูกฮ่อ (Hos) ทำลาย กล่าวว่าธาตุหลวงเป็นสถาปัตยกรรมของลาวโดยแท้ แต่เมื่อสร้างใหม่แล้ว ธาตุหลวงมีศิลปะที่ไม่งดงามเท่าเจดีย์วัดพระแก้ว วัดกอง หรือพระเมรุ เป็นที่น่าสังเกตว่าวัดทุกวัดในเวียงจันทน์ขนานกับฝั่งแม่น้ำ (นอกจากวัดศรีสระเกศ) และด้านหน้าของวัดหันออกสู่เชิงเขาที่มีน้ำไหลผ่าน ส่วนวัดในหลวงพระบางหันหน้าสู่เนินเขา และวัดของชนชาติจามมีประตูทางด้านตะวันออก ลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมเวียงจันทน์มีดังนี้: มีหลังคาเหลื่อมกัน 2 ชั้น ลาดตรง ตัวอาคารมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเสาเรียบมาก ไม่มีฐานรองรับ โดยมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หัวเสามีรูปใบไม้ ด้านในกำแพง ไม่มีการประดับตกแต่ง ฐานกำแพงประดับด้วยลายปูนปั้น ด้านข้างของพระธาตุ (เจดีย์) มีลวดลายปูนปั้นขนาดต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานของยอดแหลมหรือคันฉัตรสีทอง อาคารทุกแห่งก่อด้วยอิฐ บางครั้งมีฐานและเสาหิน เช่นที่วัดป่าสักหลวง สิ่งก่อสร้างทุกชนิดฉาบด้วยซีเมนต์แข็งและทนทาน หลังคามุงกระเบื้อง มีเพดานไม้ ไม่ใช้หินในการก่อสร้าง และใช้ตะปูเหล็กบางครั้ง การตกแต่งวัด ราวบันได และหลังคาโบสถ์ วิหาร ประดับด้วยลายมังกร (dragons) มีรูปปั้นทวารบาลนั่ง มีไหวางบนตักอยู่สองข้างประตูทางเข้าวัด ในวัดมีพระพุทธรูปทุกปางทุกขนาด ขนาดใหญ่ทำด้วยอิฐหรือบรอนซ์ ปิดทองทุกองค์ และมีรูปปั้นพระสังขจายอยู่ด้วย บางทีชาวลาวก็แกะสลักพระพุทธรูปจากเขาสัตว์ บางครั้งก็ปั้นด้วยดินเหนียว แต่ไม่มีคุณค่าทางศิลปะมากนัก ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหินนั้นนำมาจากอาณาจักรจัมปาหรือเขมร ชาวลาวใช้ไม้แกะสลักลวดลายประดับหน้าบันของโบสถ์และวิหาร งานชิ้นสำคัญคือบานประตูทางเข้าวัดพระแก้ว และที่วัดใน Ban-muong ตรงกันข้ามกับจำปาสัก บางครั้งก็จะพบวัตถุที่ทำด้วยไม้ลงรักปิดทอง เช่น เชิงเทียน แท่นธรรมาสน์ แต่ก็หายาก ภาพวาดบนฝาผนังวัดศรีสระเกศ เป็นภาพวาดสมัยใหม่จนไม่สามารถทราบว่าเป็นศิลปะในสมัยใด แต่ก็เห็นได้ชัดว่าได้รับแรงบันดาลใจจากสยาม ส่วนรูปสัตว์สลักบนหินที่วัดศรีเมือง ดูมีชีวิต และมีลักษณะจาม ส่วนภาพบนบานประตูลงรักปิดทองที่วัดศรีสระเกศและวัดกอง เป็นศิลปะอันนัม ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งบอกความสัมพันธ์ของกษัตริย์อันนัม และเจ้ามหาชีวิตเวียงจันทน์ในเวลาที่บ้านเมืองถูกทำลาย ด้านนอกหอธรรมประดับด้วยลายปูนปั้น แต่ผิดแผกไปจากเดิม เพราะการบูรณะ ส่วนลวดลายปูนปั้นรอบเจดีย์นั้น ถึงแม้จะมีมาก และซ้ำ ๆ กัน แต่ก็แสดงถึงรสนิยมที่ดี นอกจากนี้ช่างลาวยังใช้สีทองเขียนบนลวดลายที่มีสีทึม ๆ เช่นลวดลายบนเพดานที่วัดศรีสระเกศ ส่วนหีบใส่คัมภีร์นั้นลงรักปิดทอง โดยสรุปแล้ว ลวดลายที่ใช้ประดับมีขนาดเล็ก และไม่มีภาพขนาดใหญ่ ศิลปะของลาวจึงบอบบางและไม่คงทน ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตบางอย่างเกี่ยวกับศิลปะลาวในยุคที่รุ่งเรือง ขณะที่เวียงจันทน์ยังยิ่งใหญ่ ศิลปะของเวียงจันทน์ต่างจากของสยาม กรุงเทพฯเพิ่งจะสร้าง และชาวเวียงจันทน์ก็กล่าวหาว่าชาวสยามกวาดต้อนศิลปินไปจากลาว เพื่อให้เขาเหล่านี้ทำงานศิลปะตกแต่งกรุงเทพฯ
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร เข้าสู่ระบบ *