หมวดใหญ่ : วรรณกรรม
หมวดหมู่ย่อย : นิราศ
เขียนโดย พระยาตรัง | วันที่เผยแพร่เอกสาร 27/02/2505
ผู้เข้าชม 5193 | จำนวนดาวน์โหลด 22
ลิงก์ คลิกเพื่อไปยังลิงก์
คะแนนสื่อ
โคลงกวีโบราณ และวรรณกรรมพระยาตรัง
โคลงนิราศพระยาตรัง, นิราศถลาง, นิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย
พระยาตรัง
2505
โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์
ไทย
พระนคร
นิราศ
นิราศ, พระยาตรัง, หนังสืออนุสรณ์งานศพ, แย้ม ณ นคร
พระยาตรัง.(2505) โคลงกวีโบราณ และวรรณกรรมพระยาตรัง, พระนคร : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
โคลงกวีโบราณเป็นหนังสือรวมบทประพันธ์ที่กวีสมัยโบราณเป็นผู้แต่งไว้ พระยาตรัง ซึ่งเป็นผู้รวบรวม ระบุไว้ว่า “ข้าพระพุทธเจ้า พญาตรังจ่าโคลงบุราณไว้” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระยาตรังรวบรวมถวายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เมื่อเข้ามารับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ คำประพันธ์ทั้งหมดจำแนกได้เป็นสี่กลุ่ม คือ 1. โคลงเบ็ดเตล็ดของกวีโบราณ เป็นโคลงสี่สุภาพ ระบุชื่อผู้แต่งไว้หลายคน เช่น พระเยาวราช พระเทวี พระเจ้าเชียงใหม่ สนมข้างใน ศรีธนญชัย ศรีปราชญ์ และมีบางส่วนที่ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง 2. โคลงกลบทและโคลงกระทู้ เช่น โคลงกลบททวาตรึงประดับ กรนารายณ์ นารายณ์กางกร โคลงกระทู้ยี่สิบ โคลงกระทู้เสือซ่อนเล็บ มีทั้งผลงานของพระยาตรังเอง และกวีคนอื่น ๆ 3. โคลงนิราศของกวีสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศของเจ้าฟ้าอภัย 25 บท และโคลงนิราศของพระมหานาคท่าทราย 25 บท เนื้อหาพรรณนาถึงการเดินทางและครวญถึงนางที่รัก แต่มีเฉพาะตอนกลางเรื่อง ไม่จบความ สันนิษฐานว่าต้นฉบับเดิมคงขาดหายไป 4. บทประพันธ์ชนิดอื่น ได้แก่ วสันตดิลกฉันท์ 9 บท เนื้อหาเป็นการชมพรรณไม้ในอุทยาน และกาพย์เห่เรือ แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลงพรรณนากระบวนเรือต่าง ๆ มีเนื้อความไม่ยาวนัก
----------
โคลงนิราศพระยาตรัง หรือโคลงนิราศถลางนี้ พระยาตรังกล่าวถึงสาเหตุการเดินทางว่าเพื่อไปรับศึกพม่าที่เมืองถลาง โดยไม่ระบุวัน เวลา
เนื้อความเริ่มด้วยบทชมเมือง และยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ จากนั้นแสดงความอาลัยที่ต้องจากนาง แล้วกล่าวถึงการเดินทางโดยทางเรือ ผ่านวัดสามปลื้ม ฉางเกลือ วัดทอง วัดราชบุรณะ วัดดอกไม้ เข้าคลองลัด ผ่านช่องนนทรี พระประแดง สำโรง เมืองสมุทรปราการ จนถึงปากน้ำ แล้วแล่นเลียบไปตามชายฝั่งทะเลตะวันออก บรรยายถึงเกาะและภูเขาต่างๆ ที่ได้พบเห็น อาทิ เกาะสีชัง เขาสามมุข เกาะคราม เกาะไผ่ แล้วตัดข้ามทะเลไปชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ที่ปราณบุรี เขาเจ้าลาย เกาะนมสาว เขาสามร้อยยอด อ่าวเกลียวไปจนถึงเกาะทะลุและแหลมไทร สุดท้ายจึงพรรณนาความในใจตามแบบนิราศโดยไม่อ้างถึงสถานที่นับเป็นโคลงนิราศที่ดีเด่นเรื่องหนึ่ง
---------
โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อยนี้ พระยาตรังแต่งพรรณนาการเดินทางตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปในทัพหลวงจากกรุงเทพฯ ถึงแม่น้ำน้อย แขวงเมืองกาญจนบุรี โดยไม่ระบุวัน เวลาที่แต่ง
เริ่มต้นด้วยบทสดุดีบ้านเมืองและกษัตริย์ แล้วกล่าวชมนาง แสดงความอาลัยที่ต้องจากนางที่รัก จากนั้นจึงพรรณนาการเดินทางจากคลองบางหลวง ผ่านวัดหงส์ วัดสังข์กระจาย ผ่านด่านโขลนทวาร หัวกระบือ คลองมหาชัย ท่าจีน ไปจนถึงแม่กลอง ผ่านเมืองสมุทร อัมพวา บางช้าง เข้าราชบุรี เจ็ดเสมียน แวะพักที่โพธารามแล้วเดินทางต่อผ่านลูกแก หวายเหนียว พระแท่นดงรัง จนถึงเมืองไทรโยค เขาซ่อนชู้ และไปจบความตอนเข้าตั้งทัพที่แม่น้ำน้อย
อ้างอิงจาก
http://vajirayana.org/วรรณกรรมพระยาตรัง
http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=96
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร เข้าสู่ระบบ *
ไฟล์ : 01-nirat-kawiboran.pdf
คำอธิบาย : 01-nirat-kawiboran
ขนาดไฟล์ : 21.16 MB
ดาวน์โหลด : 22