มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

การประเมินส่วนสูงคนไทยในปัจจุบัน จากความยาวของกระดูกยาว

ชื่อเรื่อง
การประเมินส่วนสูงคนไทยในปัจจุบัน จากความยาวของกระดูกยาว
ผู้แต่ง
นัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์, อารยา เสงี่ยมพงษ์, ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล, สรรใจ แสงวิเชียร, นฤพล หวังธงชัยเจริญ
เขียนเมื่อ
1 มิ.ย. 2553
หัวเรื่อง

ใน วารสารดำรงวิชาการ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555)

บทความนี้นำเสนอสมการประเมินส่วนสูงคนไทยปัจจุบัน จากความ ยาวของกระดูกยาวส่วนแขนขา ที่ได้จากการศึกษาร่างมนุษย์ชาวไทยปัจจุบัน (วัยผู้ใหญ่) จำนวน 275ร่างอายุระหว่าง 25-97 ปีที่เจ้าของร่างได้บริจาคเพื่อ การศึกษาแก่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Microsoft Excel 2003 และ Minitab 14) เพื่อศึกษาสถิติพรรณนา ทดสอบ ความสัมพันธ์(ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05) และวิเคราะห์การถดถอย ระหว่าง 2 ตัวแปร คือ ส่วนสูงของมนุษย์กับความยาวของกระดูกยาวส่วนแขนขา จำนวน 6 ชิ้น ได้แก่ Humerus, Radius, Ulna, Femur, Tibia และ Fibula ทั้งนี้การศึกษาจะจัดแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เพศชาย เพศหญิง และรวมเพศ (เพศชาย+เพศหญิง) เพื่อหาสมการประเมินส่วนสูงของแต่ละ กลุ่มและเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานต่อไป

ผลการศึกษาพบว่าความยาวของกระดูกยาวส่วนแขนขาทั้ง 6 ชิ้น มีความสัมพันธ์กับส่วนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(ที่ระดับ 0.05) และเมื่อ วิเคราะห์การถดถอยเพื่อหาสมการประเมินส่วนสูงพบว่ากระดูกส่วนขา และแขนที่ต่อกัน 2 ชิ้น โดยเฉพาะกระดูก Femur (max) + Tibia (max) มี ค่าความแม่นยำในการใช้ประเมินมากกว่ากระดูกชิ้นเดียว ส่วนกระดูกชิ้น เดียวที่มีค่าความแม่นยำในการใช้ประเมินส่วนสูงมากที่สุด คือกระดูก Femur นอกจากนั้น ยังพบว่าในเพศชายกระดูกแขนสามารถใช้ประเมินส่วนสูงได้ ดีกว่ากระดูกส่วนขา (ยกเว้น Femur) ในขณะที่เพศหญิงความยาวของ กระดูกส่วนขาสามารถใช้ประเมินส่วนสูงได้ดีกว่ากระดูกส่วนแขน

เอกสารฉบับเต็ม
ไฟล์ขนาดไฟล์จำนวนครั้งที่ดาวน์โหลด
EstStatureThai1.01 MB12