มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

BAN CHIANG, A PREHISTORIC VILLAGE SITE IN NORTHEAST THAILAND

ชื่อเรื่อง
BAN CHIANG, A PREHISTORIC VILLAGE SITE IN NORTHEAST THAILAND
ผู้แต่ง
ไมเคิล ปิทรูซิวสกี
ประเภทเอกสารวิชาการ
รายงานวิจัย
ภาษา
อังกฤษ
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2002
วันที่
เผยแพร่
University of Pennsylvania Museum of Archaeology and Anthropology
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

ที่ตั้งแหล่งโบราณคดี แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เทศบาลตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ UTM – WGS 84: 48 313231E, 1925409N (ละติจูด 17° 24’ 24.3” เหนือ ลองจิจูด 103° 14’ 30.3” ตะวันออก)
สภาพทั่วไป
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ลักษณะเป็นเนินดินรูปรี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 300 เมตรตามแนวแกนทิศตะวันออก - ตะวันตก มีขนาดพื้นที่รวมประมาณครึ่งตารางกิโลเมตร มีระดับความสูงเฉลี่ยราว 175 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และสูงราว 8 เมตรจากพื้นที่นาโดยรอบเมื่อวัดจากจุดสูงสุดบริเวณกลางเนิน พื้นที่เป็นแบบที่ราบขั้นบันไดกลาง บริเวณปลายเนินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (วัดโพธิ์ศรีใน) เป็นที่บรรจบของลำน้ำสำคัญสองสา่ย คือ ห้วยนาคำทางด้านทิศเหนือและห้วยดงยางด้านทิศใต้ สภาพปัจจุบันบนเนินเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎร ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกใช้สำหรับการเกษตรกรรม ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ขยายของบ้านเรือนในเขตปกครองเทศบาลตำบลบ้านเชียง


ประวัติการขุดค้น

บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์สำคัญของไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นทะเบียนบัญชีเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ตัวแหล่งถูกพบในปีพ.ศ. 2500 ได้รับการขุดค้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2510 และอีกหลายครั้งต่อมา โดยมีการขุดค้นครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2517-2518 เป็นโครงการขุดค้นขนาดใหญ่ด้วยความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร ประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้การควบคุมของ Dr. Chester Gorman ผู้อำนวยการโครงการชาวอเมริกัน และ ดร.พิสิฐ เจริญวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการชาวไทย


สภาพปัจจุบัน บริเวณกลางเนินแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง พื้นที่ขุดค้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 - 2518

จำนวนตัวอย่างโครงกระดูก
การขุดค้นพบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์รวม 142 โครง โดยเป็นหลักฐานจากการขุดค้นปี พ.ศ. 2517 (Ban Chiang – (BC1974)) จำนวน 57 โครง และการขุดค้นปี พ.ศ. 2518 (Ban Chiang Eastern Soi – BCES(1975)) 85 โครง แบ่งตามลำดับชั้นวัฒนธรรมได้เป็น 3 สมัย คือ (1) สมัยต้น พบมากที่สุดราว 94 โครง ประกอบด้วยตัวอย่างโครงกระดูกทารกและเด็ก 28 โครง โครงกระดูกผู้ใหญ่เพศชาย 36 โครง หญิง 28 โครง และโครงกระดูกที่ไม่สามารถประเมินเพศได้ 2 โครง (2) สมัยกลาง พบรวม 34 ตัวอย่าง แบ่งเป็นโครงกระดูกเด็กและทารก 7 โครง โครงกระดูกเพศชาย 12 โครง และหญิง 15 โครง และ (3) สมัยปลาย พบรวม 14 ตัวอย่าง แบ่งเป็นโครงกระดูกทารกและเด็ก 5 โครง โครงกระดูกเพศชาย 4 โครง และหญิง 4 โครง


โครงกระดูกทั้งหมดวิเคราะห์โดย Michael Pietrusewsky, Michele T. Douglas และนักศึกษามานุษยวิทยากายภาพ ที่ห้องปฏิบัติการมานุษยวิทยากายภาพประจำมหาวิทยาลัยฮาไว มานัว ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และตีพิมพ์รายงานผลการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2545

ลักษณะทางประชากรศาสตร์สมัยโบราณ
ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์สมัยโบราณ ศึกษาจากโครงกระดูกที่ประเมินเพศและอายุเมื่อตายได้รวม 139 โครง หรือร้อยละ 94.6 เบื้องต้นพบว่าค่าประเมินอายุเมื่อตายโดยเฉลี่ยของทั้งกลุ่มประชากรหรือค่าอายุขัยคาดคะเนช่วงแรกเกิดอยู่ที่ราว 29.5 ปี แต่เมื่อพ้นอายุ 15 ปีแล้ว อายุขัยคาดคะเนอยู่ราว 23.1 ปี หรือมีอายุเมื่อตายโดยเฉลี่ยประเมินราว 38.1 ปี (15+23.1) เพศชายมีค่าอายุเมื่อตายมากกว่าหรือมีอายุยืนกว่าเพศหญิง อัตราการเกิดของประชากรอยู่ที่ราวร้อยละ 0.033 ขณะตัวอย่างประชากรปัจจุบันมีอัตราการเกิดสูงกว่า ราวร้อยละ 0.050 อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มประชากรเด็ก (อายุระหว่าง 5-14.9 ปี) และผู้ใหญ่ (มากกว่า 20 ปี) อยู่ระหว่าง 10/97.02 หรือร้อยละ 0.103 แสดงถึงอัตราภาวะการเจริญพันธ์ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ


เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทางประชากรแต่ละสมัยจากสังคมแบบล่าสัตว์ หาของป่า และการเกษตรกรรมเลื่อนลอยแบบเดิมกับสังคมเกษตรกรรมแบบเข้มข้น ไม่พบการเปลี่ยนแปลงมากนัก มีการลดลงของประชากรเล็กน้อย ขัดแย้งกับข้อสมมติฐานเรื่องการขยายตัวของประชากร หลังการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบเดิมเป็นสังคมเกษตรกรรมถาวร


ตารางจำแนกตัวอย่างโครงกระดูกจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงตามค่าประเมินอายุเมื่อตายและเพศ

อายุ/ เพศเพศชายเพศหญิงจำแนกไม่ได้รวม
ทารก (0-2 ปี)65415
เด็ก (2-12 ปี)68721
วัยรุ่น (12-20 ปี)4239
ผู้ใหญ่ (20-35 ปี)410 14
วัยกลางคน (35-50 ปี)2314 37
วัยสูงอายุ (มากกว่า 50 ปี)32 5
ผู้ใหญ่ (จำแนกอายุไม่ได้)1919341
รวม656017142

ที่มา: Pietrusewsky, M. and M. T. Douglas, Ban Chiang, a prehistoric village site in northeast Thailand I: the human skeletal remains. (Philadelphia: The University of Pennsylvania, 2002), 21.

ลักษณะทางกายภาพที่สามารถวัดได้ของกะโหลกศีรษะ
การศึกษาลักษณะที่วัดได้ของกะโหลกศีรษะ ใช้ตัวอย่างกะโหลกศีรษะโครงกระดูกผู้ใหญ่ มีอายุประเมินเมื่อตายมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี รวมจำนวนตัวอย่างกะโหลกศีรษะบน (cranium) จำนวน 55 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 38.7 จำแนกเป็นเพศชาย 27 ตัวอย่างและหญิง 28 ตัวอย่าง กับตัวอย่างกระดูกขากรรไกรล่าง (mandible) จำนวน 52 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 36.6 จำแนกเป็นเพศชายและหญิงอย่างละ 26 ตัวอย่าง วัดทั้งสิ้นรวม 80 จุดกำหนด (กะโหลกศีรษะบน 54 จุดกำหนดและขากรรไกรล่าง 26 จุดกำหนด) และคำนวณค่าดรรชนีกระดูกรวม 15 ดรรชนี (ดูรายละเอียดจุดกำหนด ระเบียบวิธี และค่าการวัดใน Pietrusewsky and Douglas 2002, 307-309)

เบื้องต้น พบว่าขนาดเฉลี่ยแต่ละจุดกำหนดของกะโหลกศีรษะเพศชายมีขนาดใหญ่ สูง และกว้างกว่าเพศหญิง ตามหลักพื้นฐานด้านลักษณะทางกายภาพระหว่างเพศ โดยเพศชายจะมีขนาดกระดูกใหญ่ หนา และกว้างกว่าเพศหญิง เว้นแต่จุดกำหนดการวัดความกว้างของกะโหลก (Maximum cranial breadth) ซึ่งเพศหญิงมีขนาดโดยเฉลี่ยกว้างกว่าตัวอย่างเพศชาย

ดรรชนีกะโหลกศีรษะ โดยเฉลี่ยเพศชายมีขนาดปริมาตรสมองราว 1,451.8 ซีซี มากกว่าเพศหญิงประมาณ 137.4 ซีซี เมื่อพิจารณาจากดรรชนี cranial เพศชายมีลักษณะกะโหลกศีรษะยาวแต่แคบ (mesocranic) แต่เพศหญิงมีลักษณะกะโหลกสั้นและกว้างกว่า (brachycranic) ดรรชนี height-length พบว่าทั้งสองเพศมีลักษณะกะโหลกค่อนข้างสูง ส่วนดรรชนี height-breadth โดยเฉลี่ยเพศชายจัดเป็นแบบ acrocrane ส่วนเพศหญิงเป็นแบบ metricocrane

ตารางค่าเฉลี่ยดรรชนีและประเภทของกะโหลกศีรษะ ตัวอย่างโครงกระดูกแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

เพศชาย (n=27)เพศหญิง (n=28)
ค่าเฉลี่ยประเภทค่าเฉลี่ยประเภท
ดรรชนี Cranial capacity1451.8 ลบ.ซม. 1314.4 ลบ.ซม.
ดรรชนี Cranial module152.9 148.6
ดรรชนี Cranial76.3mesocranic81.2brachycranic
ดรรชนี Height-length76.4hypsicrane77.9hypsicrane
ดรรชนี Height-breadth100.2acrocrane95.9metricocrane
ดรรชนี Gnathic100.2mesognathism100.5mesognathism
ดรรชนี Upper facial53mesene51.9mesene
ดรรชนี Total facial88.6mesoprosopic89.9mesoprosopic
ดรรชนี Orbital85.7mesoconchy87mesoconchy
ดรรชนี Nasal50.1mesorhine55.6platyrhine
ดรรชนี Maxillo-alveolar123.7brachyuranic123.9brachyuranic
ดรรชนี Mandibular85.1mesonathism86.2mesonathism
ดรรชนี Gonio-condylar84.5 83.5
ดรรชนี Ramus52.7 58.9
ดรรชนี Mandibular robusticity41.6 40.6

ที่มา: Pietrusewsky, M. and M. T. Douglas, Ban Chiang, a prehistoric village site in northeast Thailand I: the human skeletal remains. (Philadelphia: The University of Pennsylvania, 2002), 29.

ใบหน้า ค่าดรรชนีทั้ง gnathic หรือ alveolar, ดรรชนี facial และ upper facial โดยเฉลี่ยบ่งชี้ว่าทั้งเพศชายและหญิงมีลักษณะกะโหลกแบบปานกลาง ส่วนเบ้าตา ดรรชนี orbital ทั้งชายและหญิงจัดเป็นเบ้าตาขนาดกลาง ดรรชนี nasal เพศชายมีลักษณะจมูกขนาดกลาง แต่เพศหญิงโดยเฉลี่ยมีขนาดช่องจมูกกว้างกว่าชาย เพดานปากทั้งชายและหญิงมีลักษณะกว้างเช่นเดียวกัน โดยภาพรวมเพศชายมีความจุภายในกะโหลกศีรษะแบบปานกลาง กะโหลกยาวปานกลางและสูง มีลักษณะใบหน้า เบ้าตา และช่องจมูกขนาดกลาง เพดานปากกว้าง ส่วนเพศหญิงโดยเฉลี่ยมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่มีความจุกะโหลกศีรษะน้อย กะโหลกศีรษะกว้าง และช่องจมูกกว้างกว่าเพศชาย ลักษณะดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับลักษณะกะโหลกศีรษะกลุ่มบรรพบุรุษประชากรในเอเชียตะวันออก

ลักษณะทางกายภาพที่ไม่สามารถวัดได้ของกะโหลกศีรษะ

ลักษณะที่วัดไม่ได้ที่ปรากฎบนกะโหลกศีรษะโครงกระดูกผู้ใหญ่ ศึกษาจากตัวอย่างกะโหลกศีรษะบนและขากรรไกรล่างของโครงกระดูกมีอายุประเมินเมื่อตายมากกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี จำนวน 62 ตัวอย่างหรือร้อยละ 43.66 จำแนกเป็นชายและหญิงอย่างละ 31 โครง บันทึกลักษณะที่วัดไม่ได้รวม 52 ลักษณะ แบ่งเป็นส่วนที่ปรากฏบนกะโหลกศีรษะบนจำนวน 45 ลักษณะ และขากรรไกรล่าง 7 ลักษณะ


กะโหลกศีรษะตัวอย่างแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เมื่อมองทางด้านท้ายทอย (Norma occipitalis) เพศชายส่วนใหญ่ราวร้อยละ 69.2 (9/13) มีลักษณะแบบ house (haus) form หรือรูปทรงห้าเหลี่ยม ขณะที่เพศหญิงส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 55 (5/9) มีลักษณะแบบ arch หรือโค้งมน เพศชายร้อยละ 65 (13/20) มีการยื่นของปุ่มบริเวณท้ายทอยเด่นชัด แตกต่างจากเพศหญิงซึ่งร้อยละ 76.9 (10/13) มีลักษณะค่อนข้างเรียบ โค้งมน ส่วนใบหน้า พบลักษณะ metopism ระดับเบาบาง เพียง 2 กะโหลกจากตัวอย่างทั้งหมด พบลักษณะ horizontal ridge ร้อยละ 31.6 (6/19) ในตัวอย่างเพศชายและค่อนข้างเบาบางในเพศหญิงราวร้อยละ 6.7 (1/15) ลักษณะ frontal grooves หรือรอยเส้นประสาทที่เกี่ยวกับตา (the ophthalmic nerves) พบโดยเฉลี่ยเบาบางราวร้อยละ 7.4 (4/54) เท่านั้น ด้าน supraorbital ส่วนใหญ่ราวร้อยละ 37.5 (21/56) พบลักษณะรอยบากหรือรอยบุ๋มเดียว ส่วน infraorbital โดยทั่วไปราวร้อยละ 92.9 (39-42) เป็นแบบรูเดียว พบแบบหลายรู (multiple foramina) เพียงร้อยละ 4.8 (2/42) เท่านั้น ลักษณะรอยประสาน naso-frontal ร้อยละ 73.3 (11/15) มีรูปทรงแบบตัวอักษรโอเมกา และมีรูปทรงส่วนใหญ่ของช่องจมูกเป็นรูปนาฬิกาทราย (ร้อยละ 54.5 (6/11))

การสังเกตส่วนฐานกะโหลก (basal) ตัวอย่างบ้านเชียงไม่ปรากฏลักษณะ palentine torus และ maxillary torus แต่อย่างใด เช่นเดียวกับไม่ปรากฎลักษณะ wormion bone หรือกระดูกชิ้นเล็กๆ ในส่วนรอยประสานกะโหลก coronal และพบลักษณะดังกล่าวเพียงเล็กน้อยในส่วนเชื่อมต่อระหว่างรอยประสานกะโหลก coronal กับ bregma กับบริเวณรอยประสานกะโหลก sagittal ส่วนกระดูกขากรรไกรล่าง ไม่ปรากฏลักษณะของ mandibular torus แต่อย่างใด ลักษณะ mandibular foramen ร้อยละ 20 (14/70) หรือบางส่วนพบลักษณะรูเดียวขนาดใหญ่ ส่วนลักษณะ mental foramina พบเป็นจำนวนมากในตัวอย่างจากบ้านเชียง มักเป็นแบบรูเดียว มีเพียงบางส่วนราวร้อยละ 6.5 (3/46) ในเพศชายและร้อยละ 9.7 (3/31) เท่านั้นที่เป็นแบบหลายรู


สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ rocker jaw ซึ่งเป็นลักษณะบ่งชี้เชื้อชาติ ปัจจุบันพบมากกว่าร้อยละ 80 ในกลุ่มโพลีนีเซียน กว่าร้อยละ 63 ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกว่าร้อยละ 73 ในชนชาติจีนและเอเชียตะวันออก สำหรับตัวอย่างจากบ้านเชียง พบลักษณะดังกล่าวสมบูรณ์เพียง 2 ตัวอย่างเท่านั้น มีจำนวน 8 ตัวอย่างที่ถูกประเมินว่าปรากฏลักษณะดังกล่าวแต่ไม่สมบูรณ์ และราวร้อยละ 71.9 (23/32) ไม่พบลักษณะดังกล่าวอย่างใด


การเปรียบเทียบความถี่ของลักษณะวัดไม่ได้ที่ปรากฏระหว่างเพศชายและหญิง พบอย่างน้อย 6 ลักษณะที่แตกต่างระหว่างเพศอย่างมีนัยสำคัญเมื่อวิเคราะห์สถิติเชิงคุณภาพ ด้วยการหาค่าไคร์-สแควร์ (chi-square) คือ infraorbital suture, asterionic wormion bone, tympanic dehiscence, tympanic marginal foramina ที่ปรากฏค่อนข้างถี่ในตัวอย่างเพศชาย และลักษณะ sharp subnasal region, paramastoid process ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าชาย ทั้งนี้ ลักษณะบางประการ เช่น os incae, asterionic wormion bone, tympanic dehiscence และ tympanic marginal foramina ที่พบในเพศชายมากกว่าหญิง เป็นลักษณะเฉพาะบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของเพศชายกับกลุ่มประชากรอื่นมากกว่าหญิง ทั้งด้วยการแต่งงานและความสัมพันธ์ทางสังคมด้านอื่นๆ


อย่างไรก็ตาม ภาพรวมประชากรก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง โครงกระดูกผู้ใหญ่ทั้งเพศชายและหญิงปรากฏลักษณะที่วัดไม่ได้อย่าง supraorbital notch, infraorbital foramen, single zygofacial foramen, omega-shaped nasal-frontal suture, hour-glass shaped nasal bone, sharp subnasal sill, marginal tubercle, single hypoglossal และ posterior condylar canals, lambdoidal wormion bone และการไม่ปรากฏลักษณะ parietal foramen เป็นส่วนใหญ่ สามารถบ่งชี้ถึงการสืบทอดทางพันธุกรรม ที่เพศชายและเพศหญิงจัดได้เป็นกลุ่มสายสกุลหรือสาแหรกเดียวกัน และใช้กำหนดเชื้อชาติเพราะลักษณะที่ปรากฏในกลุ่มตัวอย่างบ้านเชียง พบค่อนข้างหนาแน่นในกลุ่มบรรพบุรุษประชากรเอเชียตะวันออก


ขณะเดียวกัน ลักษณะที่วัดไม่ได้อย่าง รอยประสานกะโหลก metopic, frontal groove, palentine torus, ovale-spinosum confluence, sagittal wormion bone, os incae, mylohyoid bridge, multiple mental foramina และ rocker jaw ก็พบเบาบางในอัตราน้อยกว่าร้อยละ 10 ส่วนลักษณะอย่าง spina trochlearis, os japonicum, ossified apical ligament, pharyngeal fossa, coronal wormion bone, bregmatic bone, auditory exostosis และ mandibular torus นั้นไม่พบจากตัวอย่างบ้านเชียงอย่างใด ไม่น่าจะเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มบรรพบุรุษประชากรเอเชียตะวันออกในความหมายเดียวกัน

ลักษณะทางกายภาพของฟัน

ลักษณะทางกายภาพของฟัน ศึกษาใน 3 ลักษณะด้วยกัน คือ (1) ลักษณะที่สามารถวัดได้ ซึ่งศึกษาได้เฉพาะจากชุดฟันแท้ (2) ลักษณะที่ไม่สามารถวัดได้ และ (3) ร่องรอยพยาธิสภาพภายในช่องปากและฟัน ศึกษาทั้งลักษณะของฟันแท้และฟันน้ำนม จากตัวอย่างโครงกระดูก 76 โครงหรือร้อยละ 53.52 จำแนกเป็นโครงกระดูกผู้ใหญ่ 62 โครง (เพศชาย 29 โครงและหญิง 33 โครง) โครงกระดูกวัยรุ่น อายุประเมินเมื่อตายระหว่าง 12-20 ปี จำนวน 5 โครง และโครงกระดูกเด็ก (อายุน้อยกว่า 12 ปี) จำนวน 9 โครง รวมตัวอย่างฟันแท้ที่ใช้ศึกษา 1273 ซี่ หรือราวร้อยละ 84.2 (n=1512)


การศึกษาลักษณะที่วัดได้ วัดทั้งในส่วน mesio-distal (MD) และด้าน buccal-lingual (BL) เพื่อใช้คำนวณหาค่าขนาดด้านตัด (cross-sectional - CX) ตามค่าสมการ CX = MD x BL ของฟันแต่ละซี่ และการคำนวณหาขนาดโดยรวมของฟัน (Tooth Summary figure - TS) เบื้องต้นพบว่าค่า CX โดยเฉลี่ยของฟันเพศชายมีขนาดกว้างกว่าค่าโดยเฉลี่ยขนาดฟันเพศหญิง ในเพศชายฟันกรามบนซี่ที่ 1 มีขนาด CX โดยเฉลี่ยกว้างที่สุด รองลงมาคือฟันกรามล่างซี่ที่ 1 ส่วนเพศหญิง ฟันกรามล่างซี่ที่ 1 มีขนาดโดยเฉลี่ยกว้างที่สุด เมื่อเปรียบเทียบขนาดโดยรวมของฟัน ตัวอย่างบ้านเชียงมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1184.9 ตร.มม. ในเพศชายและราว 1119.3 ตร.มม. ในเพศหญิง จัดเป็นกลุ่มฟันขนาดเล็ก


ลักษณะที่วัดไม่ได้ สังเกตใน 7 ลักษณะทั้งฟันแท้และฟันน้ำนมได้ผลเบื้องต้น คือ ฟันตัดรูปพลั่ว (shovel-shaped incisor) ลักษณะเฉพาะกลุ่มมองโกลอยด์ พบจากฟันตัดบนซี่กลางในความถี่ร้อยละ 31 ในกลุ่มมองโกลอยด์เหนือหรือแบบดั้งเดิมที่มีฟันแบบ “Sinodont” และร้อยละ 71 ในกลุ่มมองโกลอยด์ใต้ที่มีฟันแบบ “Sundadont” ทั้งนี้ตัวอย่างบ้านเชียงปรากฏลักษณะดังกล่าวในระดับสมบูรณ์ประมาณร้อยละ 75 (15/20) ในเพศหญิงและร้อยละ 42.9 (6/14) ในเพศชาย ส่วนลักษณะ peg-shaped teeth หรือการเสื่อมสภาพของฟันจนรูปทรงคล้ายตะปู ไม่พบในกรณีตัวอย่างบ้านเชียง


ลักษณะความผิดปกติของเคลือบฟัน (enamel anomalies) ที่ขยายลงมาถึงรากฟัน (enamel extension) อันเป็นลักษณะที่พบได้มากในฟันกรามน้อยและฟันกราม Turner (1990) ใช้ความถี่ของลักษณะดังกล่าวที่ปรากฏเฉพาะฟันกรามบนซี่ที่ 1 เพื่อจำแนกระหว่างชุดฟันซุนดา (ร้อยละ 26.4 หรือ 1/4) และชุดฟันซิโน (ราวร้อยละ 50 หรือ 1/2) กรณีตัวอย่างบ้านเชียง พบลักษณะความผิดปกติดังกล่าวที่ขยายลงมาถึงแค่ส่วนคอฟัน รวมทั้งส่วนของฟันกรามน้อยและฟันกรามราวร้อยละ 39.6 (153/386) แสดงถึงความสัมพันธ์กับชุดฟันซุนดามากกว่าซิโน ทั้งนี้เพศหญิงจะพบลักษณะดังกล่าวราวร้อยละ 48.6 (85/275) มากกว่าเพศชายที่พบลักษณะดังกล่าวเพียงร้อยละ 33 (66/200) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการเปลี่ยนรูปทิศของฟันตัด หรือ incisor winging พบโดยเฉลี่ยราวร้อยละ 10 เท่านั้น

ความหลากหลายของ cusp ของฟันกราม ฟันกรามล่างไม่พบลักษณะ protostylid แต่อย่างใด ฟันกรามบนซี่ที่ 1 พบลักษณะ Carabelli’s cusp ราวร้อยละ 7 (12/72) ฟันกรามบนซี่ที่ 1 และ 2 พบแบบปุ่มฟัน 4 ปุ่มเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ฟันกรามล่างซี่ที่ 1 และ 2 พบแบบ”Y5” และ “+4” ส่วนฟันกรามล่างซี่ที่ 3 พบแบบ “Y4” เป็นส่วนใหญ่ และ “Y5 & wrinkled” ในระดับหนาแน่นลงมา ทั้งนี้ความถี่ของฟัน “+4” ในฟันกรามล่างซี่ที่ 2 พบราวร้อยละ 71.1 (32/45) เป็นลักษณะหนึ่งที่ปรากฏชัดเจนในฟันชุดซุนดาด้วยเช่นกัน ส่วนการศึกษาฟันน้ำนม พบลักษณะเดียวกับชุดฟันแท้ แต่พบลักษณะของ Carabelli’s cusp มากกว่า โดยพบในอัตราร้อยละ 50 (13/25)

ลักษณะทางกายภาพที่สามารถวัดได้ของกระดูกโครงสร้างร่างกายส่วนแขนขา

การศึกษาใช้ตัวอย่างโครงกระดูกผู้ใหญ่อายุประเมินเมื่อตายมากกว่า 20 ปี หรือมีการเชื่อมต่อระหว่างก้าน (diaphysis) และส่วนต่อกระดูก (epiphysis) แล้วเสร็จ จำนวน 89 โครง หรือร้อยละ 62.67 จำแนกเป็นชาย 45 โครงและหญิง 44 โครง วัดกระดูกรวมทั้งสิ้น 15 ส่วน คือ กระดูกไหปลาร้า ต้นแขน ปลายแขนด้านนอก ปลายแขนด้านใน ต้นขา หน้าแข้ง น่อง สะบ้า กระดูกข้อเท้า calcaneus และ talus และกระดูกสันหลังช่วงเอวชิ้นที่ 1-5 อ้างอิงตาม Martin and Saller (1957) รวม 50 จุดกำหนด เพื่อใช้คำนวณหาดรรชนีกระดูก 14 ค่า ประเมินสัดส่วนความสูง และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศภายในกลุ่มประชากรและเปรียบเทียบร่วมกับตัวอย่างกลุ่มประชากรอื่น


การประเมินสัดส่วนความสูง มีตัวอย่างที่ประเมินได้ราวร้อยละ 50.7 หรือ 72 ตัวอย่าง แบ่งเป็นชาย 39 โครงและหญิง 32 โครง คำนวณตามค่าสมการไทยจีน (สรรใจ แสงวิเชียรและคณะ 2528) เพศชายมีค่าความสูงระหว่าง 160.3-173.7 ซม. มีค่าเฉลี่ยราว 166.2 ± 3.8 ซม. ขณะเพศหญิงมีค่าความสูงระหว่าง149.2-161 ซม. และมีค่าเฉลี่ยราว 154.4 ± 3 ซม. โดยภาพรวมตัวอย่างเพศชายจากบ้านเชียงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิงราว 11.8 เซนติเมตร มีความแตกต่างเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยสัดส่วนความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงในประชากรไทยปัจจุบัน


ลักษณะที่วัดได้โดยเฉลี่ยพบว่ากระดูกเพศชายมีขนาดใหญ่ กว้าง และหนากว่าเพศหญิง ตามหลักพื้นฐานความแตกต่างทางกายภาพระหว่างเพศ เมื่อพิจารณาจากดรรชนีต่างๆ พบว่าทั้งเพศชายและเพศหญิงมีลักษณะก้านกระดูกต้นขาช่วงบนแบน กระดูกหน้าแข้งกลม มีสัดส่วนกระดูกปลายแขนด้านนอกยาว กระดูกหน้าแข้งสั้น และมีสัดส่วนกระดูกโครงสร้างร่างกายส่วนบน (แขน) สั้นกว่ากระดูกโครงสร้างร่างกายส่วนล่าง (ขา) เป็นลักษณะพบได้ทั่วไปในบรรพบุรุษชาวเอเชียตะวันออก ความแตกต่างระหว่างเพศที่พบชัดเจน คือ ดรรชนี humeral diaphyseal พบว่าเพศหญิงมีก้านกระดูกต้นแขนแบนแต่ของเพศชายมีต้นแขนกลม แสดงถึงลักษณะและความถี่ในการประกอบกิจกรรมของเพศหญิงซึ่งสัมพันธ์กับการใช้กล้ามเนื้อหัวไหล่มากกว่าเพศชาย

ตารางดรรชนีและประเภทกระดูกโครงสร้างร่างกายส่วนแขนขา ตัวอย่างโครงกระดูกแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง


เพศชาย (n=45) เพศหญิง (n=44)
ค่าเฉลี่ย ประเภท ค่าเฉลี่ยประเภท
ดรรชนี Humeral robusticity20-20.5 19.2-19.3
ดรรชนี Humeral diaphyseal 77.9-78.7 eurybrachia71.7-71.8 platybrachia
ดรรชนี Brachial 81-81.9 dolichoceric79.3-80.4 dolichoceric
ดรรชนี Femoral robusticity 12.3-12.5 11.9-12.2
ดรรชนี Platymeric 77.7-82.3 platymeric 74.2-74.5 hyperplatymeric
ดรรชนี Pilastric 112.4-114.8 102.9-104.6
ดรรชนี Tibial thickness 66.1-68.7 68-69.8
ดรรชนี Platycnemic 66.1-66.8 mesocnemic 67.9-68.8 mesocnemic
ดรรชนี Crural 84.8-85.2 84.6-85.6
ดรรชนี Patellar module 34.1-35.1 31.1-32.1
ดรรชนี Lumbar vertebral 102.2 100
ดรรชนี Humero-femoral 68.7-70.5 69.8-71.4
ดรรชนี Radial-tibial 66.3-67 66.1-66.3
ดรรชนี Intermembral 67.6-68.9 68.1-68.9

ที่มา: Pietrusewsky, M. and M. T. Douglas, Ban Chiang, a prehistoric village site in northeast Thailand I: the human skeletal remains. (Philadelphia: The University of Pennsylvania, 2002), 83.

ลักษณะทางกายภาพที่ไม่สามารถวัดได้ของกระดูกโครงสร้างร่างกาย
ลักษณะที่วัดไม่ได้ของกระดูกโครงสร้างร่างกายเป็นการสังเกตลักษณะบางประการที่ปรากฏหรือไม่ปรากฏ บนกระดูก ใช้ศึกษาแปลความหมายเรื่องลักษณะทางเชื้อชาติ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความผิดปกติของร่างกาย และรูปแบบ แบบแผนการประกอบกิจกรรมของผู้คนปัจจุบันและในอดีตได้ กรณีตัวอย่างจากบ้านเชียง ศึกษาด้วยการสังเกตลักษณะที่ไม่สามารถวัดได้ใน 48 ลักษณะ แบ่งออกเป็นลักษณะที่ปรากฏในโครงสร้างส่วนแกนลำตัว (กระดูกหน้าอกและกระดูกสันหลัง) รวม 18 ลักษณะ และกระดูกโครงสร้างส่วนแขนและขา รวม 30 ลักษณะ ศึกษาจากตัวอย่างโครงกระดูกผู้ใหญ่จำนวนรวมทั้งสิ้น 84 โครง หรือร้อยละ 59.15 แบ่งเป็นชาย 45 โครงและหญิง 39 โครง


โดยภาพรวม ลักษณะที่ไม่สามารถวัดได้ที่บ่งชี้ความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมบางลักษณะอย่าง unfused acromion process, supra condylar spur, retroarticular bridge และ incomplete costal bar ไม่ปรากฏในตัวอย่างบ้านเชียงอย่างใด ลักษณะ stepnal aperture, atlas bridging และ mammillary foramina พบบ้างในความถี่เล็กน้อย ขณะที่บางลักษณะซึ่งเป็นปรากฏทั่วไปในกลุ่มอเมริกันอินเดีย จีนตอนใต้ และฮาวาย อย่างลักษณะ supraclavicular foramen, suprascapular foramen, acetabular pit, apical process และลักษณะการลดลงของขนาด transverse process ของกระดูกสั้นหลังช่วงเอวชิ้นที่ 1 ก็ปรากฏหนาแน่นในกลุ่มตัวอย่างบ้านเชียงเช่นกัน


การเปรียบเทียบลักษณะที่ปรากฎระหว่างเพศชายและหญิงด้วยวิธีสถิติปริมาณ พบเพียง 3 ลักษณะเท่านั้นที่เพศชายและหญิงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ รูปทรงของ acromion process เพศชายส่วนใหญ่มีรูปทรงแบบสี่เหลี่ยม แต่เพศหญิงพบทั้งแบบสามเหลี่ยมราวร้อยละ 47.1 (8/17) และสี่เหลี่ยมราวร้อยละ 52.9 (9/17) ลักษณะที่ 2 คือ septal aperture ไม่พบในเพศชายแต่พบในตัวอย่างเพศหญิง ร้อยละ 26.7 (8/30) สุดท้ายลักษณะ vastus facet พบในตัวอย่างเพศชายกว่าร้อยละ 91.2 (31/34) และพบในเพศหญิงเพียงร้อยละ 73.1 (19/26) ทั้งนี้ความถี่ที่พบแตกต่างระหว่างเพศในส่วนรูปทรง acromion process ของกระดูกสะบัก และลักษณะ vastus facet ของกระดูกสะบ้านั้น แสดงถึงความแตกต่างของกิจกรรมหรือรูปแบบการใช้กล้ามเนื้อได้ในระดับหนึ่ง ส่วนลักษณะอื่นๆ ที่พบในปริมาณหรือรูปแบบคล้ายคลึงกันทั้งสองเพศอย่างลักษณะ Poirier’s facet, รูปทรงวงรีของ fovea capilis ตรงหัวกระดูกต้นขา, ลักษณะ facet ของกระดูก calcaneus แบบคู่, peroneal tubercle และ apical process แสดงถึงความเป็นกลุ่มเชื้อชาติตามสายพันธุกรรมเดียวกัน

ร่องรอยของโรคในสมัยโบราณ

ร่องรอยผิดปกติที่พบบนกระดูก พยาธิสภาพ หรือร่องรอยของโรคสมัยโบราณ ผู้ศึกษา (Pietrusewsky and Douglas) แบ่งการศึกษาสังเกตลักษณะที่ปรากฎเป็น 2 ส่วน คือ (1) ร่องรอยของโรคในช่องปากและฟัน และ (2) ร่องรอยของโรคที่พบบนกะโหลกศีรษะและกระดูกส่วนอื่น


โรคในช่องปากและฟัน ตัวอย่างจากบ้านเชียงมีอัตราสูญเสียฟันในช่วงก่อนเสียชีวิต (premortem tooth loss) โดยเฉลี่ยร้อยละ 6.8 (87/1729) พบการสูญเสียในส่วนขากรรไกรล่าง ร้อยละ 8.8 (61/691) มากกว่าขากรรไกรบนประมาณ 2 เท่า เพศชายมีอัตราการสูญเสีย ร้อยละ 7.3 (50/681) ใกล้เคียงกับเพศหญิงที่มีการสูญเสียราวร้อยละ 6.3 (37/598) โรคฟันผุ โรคติดเชื้อที่เกิดจากอาหารแป้งและน้ำตาลเป็นหลัก พบในอัตราร้อยละ 7.3 (74/1016) ค่อนข้างต่ำในกลุ่มบ้านเชียง พบจากชุดฟันขากรรไกรบน ร้อยละ 8.6 (45/525) และชุดฟันขากรรไกรล่าง ร้อยละ 5.9 (29/491) ส่วนมากพบหนาแน่นจากฟันกราม ฟันเขี้ยว ฟันตัด และฟันกรามน้อยตามลำดับ และพบในเพศชาย ร้อยละ 8.5 (45/527) มากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 5.9, 29/489)


โรคเหงือกร่น (abscessing) พบร้อยละ 6.4 (67/1055) ของทั้งหมด โดยพบจากชุดฟันขากรรไกรบน ร้อยละ 5.1 (25/487) และขากรรไกรล่างร้อยละ 7.4 (42/568) พบระดับการร่นค่อนข้างมากในฟันกราม ราวร้อยละ 10.1 (37/368) เพศชายพบราวร้อยละ 7.6 (43/568) มากกว่าเพศหญิงที่เพียงร้อยละ 4.9 (24/487) อาการที่เกี่ยวข้องกับโรคเยื่อหุ้มฟันอย่างคราบหินปูน (calculus) พบมากในตัวอย่างจากบ้านเชียง ราวร้อยละ 93.3 (833/893) จำแนกเป็นระดับเล็กน้อย ร้อยละ 64.9 และระดับปานกลางในร้อยละ 28.3 ลักษณะอื่นๆ อย่าง alveolar resorption หรือการกลับละลายของเบ้าฟัน พบในอัตราความถี่ร้อยละ 42.3 (368/869) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มต้น พบในเพศชายรายร้อยละ 53.9 (243/251) มากกว่าเพศหญิง (29.9 %, 125/418)


การสึกของฟันพบในความถี่ร้อยละ 44.5 (452/1015) ราวร้อยละ 38.1 อยู่ในระดับการสึกของเคลือบฟัน ร้อยละ 15.4 พบการสึกถึงในส่วนเนื้อเยื่อฟัน และร้อยละ 1.3 เท่านั้นที่สึกลึกเข้าไปในระดับของรากฟัน เพศชายพบการสึกของฟันราวร้อยละ 73.6 (391/531) มากกว่าเพศหญิง (47.5, 230/484) ลักษณะความไม่สมบูรณ์ของเคลือบฟัน (enamel hypoplasia) ในกลุ่มตัวอย่างโครงกระดูกผู้ใหญ่ พบความถี่ร้อยละ 10 (50/499) ในเพศชายและร้อยละ 11.3 (52/460) ในเพศหญิง พบมากที่สุดจากฟันเขี้ยว ฟันตัด ฟันกรามน้อย และฟันกราม สำหรับกรณีโครงกระดูกเด็ก ลักษณะ LEH – Linear Enamel Hypoplasia พบราวร้อยละ 36.4 หรือ 4 จาก 11 ตัวอย่าง เกิดได้ด้วยสาเหตุภาวะการหย่านม (2-4 ปี) และภาวะของสภาพแวดล้อม (4-5 ปี)


ความผิดปกติของฟันที่เกิดขึ้นด้วยสาเหตุทางพันธุกรรม กลุ่มตัวอย่างบ้านเชียงพบทั้งลักษณะ localized microdontia หรือลักษณะฟันที่มีขนาดเล็กผิดปกติ hypodontia หรือลักษณะที่ฟันขึ้นไม่ครบชุด โดยเฉพาะฟันกรามแท้ซี่ที่ 3 และ hyperdontia หรือลักษณะที่มีฟันมากกว่าปกติ แต่ลักษณะทั้งหมดพบในความถี่ค่อนข้างน้อย เฉลี่ยราวร้อยละ 5-6 เท่านั้น ด้านความผิดปกติที่เกิดขึ้นด้วยรูปแบบทางวัฒนธรรมทั้งการถอนฟัน การขัดฟัน การแต่งฟัน การฝนหรือขัดฟันเขี้ยว พบได้แต่มีความถี่ต่ำ ส่วนการศึกษาฟันน้ำนม พบทั้งลักษณะความไม่สมบูรณ์ของเคลือบฟัน (LEH) ฟันผุ โรคเหงือกร่น และคราบหินปูนเช่นเดียวกับในฟันแท้


โดยสรุป ตัวอย่างประชากรบ้านเชียงมีลักษณะการสูญเสียของฟันก่อนการเสียชีวิต โรคฟันผุ อาการเหงือกร่น และความไม่สมบูรณ์ของเคลือบฟันในความถี่ต่ำ บ่งชี้ว่าประชากรที่บ้านเชียงดำรงชีวิตแบบผสมระหว่างการล่าสัตว์หาของป่าและการเพาะปลูก อัตราของลักษณะเหล่านี้ที่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ยกเว้นความไม่สมบูรณ์ของเคลือบฟัน แสดงถึงความสัมพันธ์ของเพศชายกับอาหารแป้งและน้ำตาลมากกว่า รวมถึงอาหารประเภทกากใย เมื่อพิจารณาว่าความสึกของฟันในเพศชายพบมากกว่าหญิง ด้านลักษณะคราบหินปูนที่พบอย่างหนาแน่นนั้นอาจเกิดได้ทั้งการกินหมากเหมือนคนไทยปัจจุบัน สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารประกอบเป็นด่าง การบริโภคอาหาร และเทคนิควิธีการทำความสะอาดฟันที่ยังไม่ก้าวหน้าก็เป็นได้


การศึกษาร่องรอยผิดปกติที่ปรากฎบนส่วนกะโหลกศีรษะและกระดูกโครงสร้างร่างกายต่างๆ เบื้องต้นไม่พบหลักฐานชี้ถึงสาเหตุการตายแน่ชัด พบเพียงลักษณะที่แสดงอาการของโรคเท่านั้น ลักษณะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอดอย่าง preauricular sulcus พบราวร้อยละ 77 (17/22) ในกลุ่มเพศหญิง แต่ไม่พบในเพศชาย เช่นเดียวกับลักษณะรอยกดบริเวณ pubic symphysis หรือ parturition pits พบเพียง 2 ตัวอย่างเท่านั้นในเพศหญิง


รอยบาดเจ็บหรือรอยแผลที่เกิดขึ้นในช่วงที่ยังมีชีวิต (perimortem trauma) ประกอบด้วยลักษณะกระดูกแตก กระดูกหัก (fracture) กระดูกที่แตกร้าวออกจากกันหรือรอยสมานกระดูกในลักษณะผิดรูป ลักษณะโรคสันหลังติดตรึง (spondylosis) การเกิดอักเสบขึ้นที่กระดูกอ่อนที่ต่อระหว่างหัวและก้านกระดูก (epiphysitis) การช้ำของส่วนเยื่อหุ้มกระดูก (periosteal contusion) และกระดูกข้อต่ออักเสบเรื้อรัง (osteoarthritis) พบในจำนวน 22 โครง จำแนกเป็นเพศชาย 13 โครง เพศหญิง 7 โครง และโครงกระดูกเด็กและวัยรุ่น 2 โครง พบจากส่วนกระดูกต่างๆ ทั้งกะโหลกศีรษะ กระดูกไหปลาร้า กระดูกต้นแขน กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง กระดูกซี่โครง และกระดูกสันหลัง เป็นต้น เพศชายราวร้อยละ 33.3 พบที่ส่วนกระดูก hyoid รองลงมาคือกระดูกสันหลังช่วงลำตัวชิ้นที่ 7 และกระดูกหน้าผากไล่เรียงตามลำดับ ส่วนเพศหญิง ส่วนใหญ่คืออาการของโรคสันหลังติดตรึง พบราวร้อยละ 18.8 ตรงกระดูกสันหลังช่วงเอว


ร่องรอยของโรคติดเชื้อ (infection lesion) เป็นลักษณะการอักเสบของกระดูกทั้งในส่วนเยื่อหุ้มกระดูก (periostitis) เนื้อกระดูกอักเสบ (ostelitis) และกระดูกพรุนอักเสบ (osteomylitis) ภายหลังการติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดการทำลายกระดูกเดิมแล้วสร้างกระดูกใหม่ (creeping substitution) ทั้งแบบ osteoblastic หรือมีการสร้างกระดูกมากกว่าการทำลาย และ osteolytic หรือมีการทำลายกระดูกมากกว่าการสร้าง ส่งผลให้เนื้อกระดูกบางลงและมีบางส่วนหายไป ในกรณีของบ้านเชียงพบร่องรอยโรคติดเชื้อรวม 16 โครง แบ่งเป็นชาย 7 โครง หญิง 4 โครง และโครงกระดูกเด็กและวัยรุ่น 5 โครง ทั้งหมดไม่ปรากฎลักษณะของโรคกระดูกพรุนอักเสบอย่างใด พบเฉพาะการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกและตัวกระดูกเท่านั้น พบบนกะโหลกศีรษะบนมากที่สุด รองลงมาคือกระดูกหน้าแข้ง กระดูกเชิงกราน กระดูกซี่โครง และกระดูกนิ้วมือ


โรคโลหิตวิทยา (hematologic disease) เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่พบได้จากกลุ่มตัวอย่างบ้านเชียง ปรากฎอาการพรุนของกระดูกเบ้าตา (cribra orbitalia) ร้อยละ 8 (2/25) ในกลุ่มตัวอย่างเพศชายและราวร้อยละ 23.8 (5/21) ในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ลักษณะกะโหลกศีรษะหนาผิดปกติ (cranial vault thickening) พบความหนาของกะโหลกศีรษะระหว่าง 3-12 มม. ในเพศชาย และระหว่าง 4-13 มม. ในเพศหญิง แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มที่พบลักษณะกะโหลกศีรษะหนาผิดปกติกลับไม่ได้พบร่วมกับอาการอื่นทั้งการพรุนของเบ้าตา หรือการพรุนของกะโหลกศีรษะ ส่วนอีกลักษณะที่พบและน่าจะเกี่ยวกันกับโรคโลหิตวิทยาอย่างโรคโลหิตจาง (anemia) คือการขยายของรูบนก้านกระดูกฝ่าเท้า (enlarged nutrient foramina) พบทั้งสิ้น 7 ตัวอย่างจากโครงกระดูกที่สามารถศึกษาได้ทั้งหมด โดยสรุปร่องรอยโรคโลหิตวิทยาพบได้ในความถี่ค่อนข้างต่ำ อีกทั้งการไม่พบลักษณะโรคโลหิตวิทยาที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่าง premature epiphyseal fusion จึงมีความน่าจะเป็นได้ว่าลักษณะอาการโรคโล