มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

การประเมินส่วนสูงคนไทยในปัจจุบัน จากความยาวของกระดูกยาว

ชื่อเรื่อง
การประเมินส่วนสูงคนไทยในปัจจุบัน จากความยาวของกระดูกยาว
ผู้แต่ง
นัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์, อารยา เสงี่ยมพงษ์, ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล, สรรใจ แสงวิเชียร, นฤพล หวังธงชัยเจริญ
ประเภทเอกสารวิชาการ
บทความ
ภาษา
ไทย
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2012
วันที่
เผยแพร่
วารสารดำรงวิชาการ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555)
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอสมการประเมินส่วนสูงคนไทยปัจจุบัน จากความยาวของกระดูกยาวส่วนแขนขา ที่ได้จากการศึกษาร่างมนุษย์ชาวไทยปัจจุบัน(วัยผู้ใหญ่) จำนวน 275 ร่าง อายุระหว่าง 25-97 ปี ที่เจ้าของร่างได้บริจาคเพื่อการศึกษาแก่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์(Microsoft Excel 2003 และ Minitab 14) เพื่อศึกษาสถิติพรรณนา ทดสอบความสัมพันธ์ (ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05) และวิเคราะห์การถดถอย ระหว่าง 2ตัวแปร คือ ส่วนสูงของมนุษย์กับความยาวของกระดูกยาวส่วนแขนขา จำนวน 6 ชิ้น ได้แก่ Humerus, Radius, Ulna, Femur, Tibia และ Fibula ทั้งนี้การศึกษาจะจัดแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เพศชาย เพศหญิง และรวมเพศ (เพศชาย+เพศหญิง) เพื่อหาสมการประเมินส่วนสูงของแต่ละกลุ่มและเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานต่อไป

ผลการศึกษาพบว่าความยาวของกระดูกยาวส่วนแขนขาทั้ง 6 ชิ้นมีความสัมพันธ์กับส่วนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ที่ระดับ 0.05) และเมื่อวิเคราะห์การถดถอยเพื่อหาสมการประเมินส่วนสูงพบว่ากระดูกส่วนขาและแขนที่ต่อกัน 2 ชิ้น โดยเฉพาะกระดูก Femur (max) + Tibia (max) มีค่าความแม่นยำในการใช้ประเมินมากกว่ากระดูกชิ้นเดียว ส่วนกระดูกชิ้นเดียวที่มีค่าความแม่นยำในการใช้ประเมินส่วนสูงมากที่สุด คือกระดูก Femurนอกจากนั้น ยังพบว่าในเพศชายกระดูกแขนสามารถใช้ประเมินส่วนสูงได้ดีกว่ากระดูกส่วนขา (ยกเว้น Femur) ในขณะที่เพศหญิงความยาวของกระดูกส่วนขาสามารถใช้ประเมินส่วนสูงได้ดีกว่ากระดูกส่วนแขน

เอกสารฉบับเต็ม