มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

การจำแนกเพศจากกระดูกหน้าแข้งและกระดูกปลายแขนในโครงกระดูกของคนไทย

ชื่อเรื่อง
การจำแนกเพศจากกระดูกหน้าแข้งและกระดูกปลายแขนในโครงกระดูกของคนไทย
ผู้แต่ง
ชุติมา เสริมดวงประทีป
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
ไทย
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2013
วันที่
เผยแพร่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นที่สามารถใช้ในการแยกเพศโดยใช้กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกปลายแขน (Ulna) เนื่องจากเป็นกระดูกที่มีความคงทนต่อสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งมีโอกาสแตกหักเสียหาย ถูกทำลายได้น้อย

กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกปลายแขน (Ulna) ที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ ด้วยความอนุเคราะห์จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) มีจำนวน 52 ร่าง เพศชายจำนวน 30 ร่าง และเพศหญิงจำนวน 22 ร่าง ในช่วงอายุตั้งแต่ 20-90 ปี โดยแบ่งเป็นกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) จำนวน 7 จุดและกระดูกปลายแขน (Ulna) จำนวน 6 จุด นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ (Discrimination analysis) ผลการวัดกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกปลายแขน (Ulna) ของเพศชายและเพศหญิง พบว่าค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน (Standard deviation) ของเพศชายมีค่าสูงกว่าเพศหญิงทุกส่วน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลวิจัยครั้งนี้ พบว่าค่าความถูกต้องการแยกเพศที่ดีที่สุดในเพศชาย คือ จุด MTCL ข้างขวา 86.67% และจุด Total length of Ulna ข้างซ้าย 80% ส่วนในเพศหญิงพบว่าค่าความถูกต้องคือจุดจุด (DSBT) ข้างขวาของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) มีค่าสูงสุด 90.91% และจุด Total length of Ulna ทั้งข้างซ้ายและขวาของกระดูกปลายแขน (Ulna) กับจุด Minimum olecranon breadth ข้างของกระดูกปลายแขน (Ulna) ซึ่งมีค่าความถูกต้องเท่ากัน 86.36%

ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกใช้วิเคราะห์คดีในกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ต่อไป

เอกสารฉบับเต็ม