มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

การกำหนดเพศโดยการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อประเมินค่าความน่าเชื่อถือในการวัดกระดูกสะบ้าในประเทศไทย

ชื่อเรื่อง
การกำหนดเพศโดยการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อประเมินค่าความน่าเชื่อถือในการวัดกระดูกสะบ้าในประเทศไทย
ผู้แต่ง
ศิริวรรณ จึงขจรเกียรติ
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
ไทย
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2009
วันที่
เผยแพร่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการระบุเพศจากโครงกระดูกมนุษย์มีหลายวิธี โดยส่วนใหญ่กระดูกที่นำมาระบุเพศมากที่สุด คือ กะโหลกศรีษะ (skull) และกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) ในงานนิติวิทยาศาสตร์มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อศพ เช่น การเผาทำลายหลักฐาน ทำให้สภาพของโครงกระดูกอาจไม่ครบสมบูรณ์

การทดลองนี้ใช้กระดูกสะบ้าเพื่อระบุเพศของมนุษย์ เนื่องจากกระดูกดังกล่าวจัดเป็นกระดูก sesamoid ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์

ในการวิจัยได้นำกระดูกสะบ้าจากศพที่สำนักงานนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 100 คู่ เป็นเพศชาย 65 คู่ และเพศหญิง 35 คู่ อายุระหว่าง 25-60 ปี มาทำการวัดหาระยะทั้ง 8 ตำแหน่ง แล้วนำมาข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS กระดูกสะบ้าของเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.000) ในทุกตำแหน่งที่ศึกษา ตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูงสุดในการระบุเพศ คือ ตำแหน่งความกว้างกระดูกสะบ้าในข้างซ้าย (MAXWD) และ ตำแหน่ง ความสูงของ lateral articular facet ในข้างซ้ายและข้างขวา (HDLA) ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า 90% จากการศึกษาพบว่ากระดูกสะบ้าสามารถใช้ในการแยกเพศได้
เอกสารฉบับเต็ม