มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

การวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียง จากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน จังหวัดสกลนคร

ชื่อเรื่อง
การวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียง จากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน จังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง
กรกฎ บุญลพ
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
ไทย
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
2003
วันที่
เผยแพร่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

งานวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ครั้งนี้อาศัยวิธีวิทยาทางมหกายวิภาคศาสตร์และมานุษยวิทยากายภาพ ทั้งโดยการวัดและการสังเกตลักษณะทางกายภาพของกระดูกมนุษย์แต่ละส่วน ทำให้ทราบถึงลักษณะทางกายภาพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณแอ่งสกลนคร ผลการศึกษาเปรียบเทียบบ่งชี้ว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอนมีรูปพรรณสัณฐานของกะโหลกศีรษะและโครงสร้างร่างกายส่วนใหญ่ คล้ายคลึงกับกลุ่มชนในชุมชนโบราณร่วมสมัยอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ทั้งยังมีลักษณะทางกายภาพที่ไม่แตกต่างจากกลุ่มประชากรปัจจุบันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากนัก ส่วนผลการศึกษาเกี่ยวกับอายุขัยคาดคะแนน (Life expectancy) พบว่ากลุ่มประชากรวัยแรกเกิดสมัยก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ มีแนวโน้มการมีช่วงชีวิตที่ยืนยาวขึ้นเป็นลำดับจากสมัยก่อนยุคสำริด สมัยสำริดและสมัยเหล็ก นอกจากนั้น ลักษณะทางกายภาพบางประการยังนำไปสู่ การตั้งข้ออนุมานหรือนัยยะทางสังคมวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณแอ่งสกลนครว่า กลุ่มชนเหล่านี้มีการตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นชุมชนที่มีโครงสร้างทางสังคมแบบซับซ้อนในระยะแรกเริ่ม (Simple complex society) ซึ่งมีการแบ่งงานตามความชำนาญเฉพาะด้าน (Division of Labor or Craftsmanship) ทั้งนี้ ลักษณะพยาธิสภาพเป็นหลักฐานสนับสนุนว่าประชากรกลุ่มดังกล่าว มีสุขภาพอนามัยโดยทั่วไปในเกณฑ์ที่ดี ร่องรอยบาดแผลหรืออาการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง แสดงให้เห็นสถานการณ์ทางสังคมซึ่งปราศจากภาวะ ความขัดแย้งที่รุนแรงทั้งในระดับต่อบุคคลและชุมชนต่อชุมชน

เอกสารฉบับเต็ม