| |  Log in  |

บทความ (80)


ศมส. อบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการอนุรักษ์เอกสารโบราณ”

ผู้เขียน : นิสา เชยกลิ่น
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการอนุรักษ์เอกสารโบราณ” สำหรับเครือข่ายที่ทำงานด้านเอกสารโบราณ ได้แก่ เครือข่ายสถาบันการศึกษา เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และเครือข่ายคลังข้อมูลชุมชน โดยการอบรมมีทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
วันที่ 7-9 มิถุนายน 2566
ณ ห้องประชุม 402 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ และวัดศาลาแดงเหนือ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

Tags : การอบรมการอนุรักษ์เอกสารโบราณ , การทำสำเนาดิจิทัล , การทำทะเบียนเอกสารโบราณ , การจัดการข้อมูล

รายงานการสำรวจ ทำทะเบียน และทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ วัดหนังราชวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ผู้เขียน : นิสา เชยกลิ่น
เอกสารโบราณเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นใบลาน สมุดไทย เป็นเอกสารโบราณที่เก็บรวมรวบมาจากหลายๆ ที่ ทั้ง พระภิกษุมอบให้บ้าง หรือเอกสารโบราณถูกเก็บไว้ที่กุฏิต่างๆ ที่อยู่ภายในวัด มาเก็บรักษาไว้ในที่เดียวกันที่พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

Tags : รายงานการสำรวจ , เอกสารโบราณ , สำรวจ , สมุดไทย , ใบลาน , วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร

รายงานสำรวจ ทำทะเบียน และถ่ายสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ ณ หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ นนทบุรี 13-14 ธันวาคม 2565

ผู้เขียน : นิสา เชยกลิ่น
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทยได้ติดต่อและขออนุญาตเข้าไปทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณที่อยู่ในความดูแลของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13-14 ธันวาคม 2565 (ครั้งที่ 2)
เอกสารโบราณชุดนี้เป็นเอกสารโบราณส่วนบุคคลที่นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ แพทย์แผนโบราณ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการรักษาโรคและใช้ยาสมุนไพรในการบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยนายทองอ่อนถือเป็นแพทย์ประจำตำบลคนแรกของตำบลหนองบัว อำเภอฝาง จังหวัดขอนแก่น และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม เวชกรรมและผดุงครรภ์แผนโบราณจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข

Tags : รายงานการสำรวจ , เอกสารโบราณ , สำรวจ , สมุดไทย , ใบลาน , นนทบุรี , หอจดหมายเหตุสาธารณสุข , ตำรายา , ไทยน้อย , ธรรมอีสาน , หมอพื้นบ้าน , แพทย์แผนไทย

รายงานสำรวจ ทำทะเบียน และถ่ายสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ ณ หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ นนทบุรี 24-25 พฤศจิกายน 2565

ผู้เขียน : นิสา เชยกลิ่น
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทยได้ติดต่อและขออนุญาตเข้าไปทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณที่อยู่ในความดูแลของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2565
เอกสารโบราณชุดนี้เป็นเอกสารโบราณส่วนบุคคลที่นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ แพทย์แผนโบราณ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการรักษาโรคและใช้ยาสมุนไพรในการบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยนายทองอ่อนถือเป็นแพทย์ประจำตำบลคนแรกของตำบลหนองบัว อำเภอฝาง จังหวัดขอนแก่น และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม เวชกรรมและผดุงครรภ์แผนโบราณจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข

Tags : รายงานการสำรวจ , เอกสารโบราณ , สำรวจ , สมุดไทย , ใบลาน , นนทบุรี , หอจดหมายเหตุสาธารณสุข , ตำรายา , ไทยน้อย , ธรรมอีสาน , หมอพื้นบ้าน , แพทย์แผนไทย

อานิสงส์ดอกเผึ้ง (อานิสงส์ดอกเทียน)

ผู้ปริวรรต : นิสา เชยกลิ่น
อานิสงส์สร้างดอกเผิ้งหรืออานิสงส์ดอกเทียน กล่าวถึงบุญกุศลที่ได้จากการสร้างปราสาทที่ทำจากเทียนแล้วปั้นแต่งเป็นรูปดอกไม้ตกแต่งปราสาทผึ้ง (ดอกไม้ที่ทำจากเทียน เรียก ดอกผึ้ง ดอกเผิ้ง หรือดอกเทียน) เพื่อความสวยงามปราณีต ซึ่งการสร้างปราสาทผึ้งนิยมกระทำในช่วงออกพรรษา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับ ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวอีสาน

Tags : RBR004-175 , อานิสงส์ดอกผึ้ง , อานิสงส์ดอกเทียน , เทียน , การสร้างเทียน , ดอกผึ้ง , การถวายเทียน , อานิสงส์ , การสร้างบุญกุศล , ออกพรรษา , ประเพณีออกพรรษา , วัดโบสถ์ , ราชบุรี

พระอานิสงส์สร้างระฆัง

ผู้ปริวรรต : นิสา เชยกลิ่น
อานิสงส์สร้างระฆังฉบับนี้กล่าวถึง พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยการยกนิทานขึ้นมาเล่าให้แก่พุทธบริษัทได้ฟัง ความว่า อดีตกาลนั้นนานมาแล้ว พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงแสดงธรรมว่าด้วยเรื่องอานิสงส์ของการสร้างระฆัง เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อบุรุษเข็ญใจผู้หนึ่งที่พึ่งพาพระภิกษุและขออาหารประทังชีวิตมาตลอด ได้พบมหาโจรกลุ่มหนึ่งหมายเอาชีวิต เขาต้องการเอาตัวรอดจึงพาโจรไปยังอารามของพระภิกษุและสามเณรเพื่อให้โจรฆ่าพระภิกษุแทนตัวเอง เมื่อไปถึงไม่พบใครจึงตีระฆัง เหล่าพระภิกษุและสามเณรทั้งหลายที่ได้ยินเสียงระฆังจึงปรากฏตัว สามเณรชื่อ สํกิจจํ อาสาเสียสละตนเองเพื่อช่วยชีวิตคนที่เหลือ แต่ความอัศจรรย์เกิดขึ้นจังหวะที่ดาบฟาดลงที่คอดาบก็แตกหักกระจัดกระจาย เหล่าโจรเห็นดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใสจึงปวารณาตนของบวช และหมั่นเพียรฝึกกรรมฐาน
เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะระฆังจึงเป็นปฐมเหตุ เสียงระฆังเป็นเสียงมงคล และเป็นที่ตั้งของพุทธศาสนา ผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างระฆัง ผู้นั้นจะมีอานิสงส์มาก มีเสียงอันไพเราะ และเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป ครั้นสิ้นชีวิตจะได้ไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยสมบัติอันมาก และมีเสียงไพเราะกว่าเทวดาทั้งปวง ครั้นได้ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะมีชีวิตสุขสบาย ทรัพย์สมบัติมหาศาล

Tags : RBR004-160 , อานิสงส์การสร้างระฆัง , ระฆัง , บุญ , ผลบุญ , ความเชื่อ , วัดโบสถ์ , ราชบุรี , บทความปริวรรต

รายงานการสำรวจ ทำทะเบียน และทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ วัดโคก อ.เมือง จ.เพชรบุรี ระหว่างวันที่ 3 – 5 สิงหาคม 2565

ผู้เขียน : นิสา เชยกลิ่น
คณะสำรวจได้ทำทะเบียน และถ่ายภาพสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณทั้งประเภทใบลานและสมุดไทยของวัดโคก ส่วนใหญ่เป็นตำรายา รองลงมาคือโหราศาสตร์ ธรรมคดี ไสยศาสตร์ และวรรณคดี ลดหลั่นกันลงไป ส่วนเอกสารโบราณบางส่วนที่ผลัดจากฉบับ เป็นชิ้นย่อย ไม่สามารถทำสำเนาดิจิทัลได้ก็มัดรวมกันเอาไว้และเขียนกำกับว่าไม่ทำสำเนาดิจิทัล และส่งมอบเอกสารโบราณที่จัดการเรียบร้อยให้แก่วัดโคก โดยมีพระสรศักดิ์ จันทโร เป็นตัวแทนรับมอบ

Tags : รายงานการสำรวจ , เอกสารโบราณ , สำรวจ , วัดโคก , เพชรบุรี , สมุดไทย , ใบลาน

ตัวเลขไทยในตำรายา

ผู้เขียน : ดอกรัก พยัคศรี
ในเอกสารโบราณประเภทตำราเวชศาสตร์หรือตำรายามีการใช้ตัวเลขในการบันทึกเรื่องราวการแพทย์แผนไทย ตัวเลขที่นำมาใช้ในตำรายานี้มีหน้าที่การใช้งานที่แตกต่างกันไปตามบริบทของการบันทึกซึ่งพอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้
1. ตัวเลขบอกสัดส่วนสมุนไพร
2. ตัวเลขบอกชนิดหรือพิกัดสมุนไพร
3. ตัวเลขบอกชื่อวันในสัปดาห์
4. ตัวเลขบอกชื่อเดือนในปี
5. ตัวเลขในระบบชั่งตวงวัด

Tags : ตัวเลข , พิกัดยา , พิกัดสมุนไพร , การชั่งตวง