logotype
หน้าหลัก โรงเรียนภาคสนาม

การจัดทำแผนที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

PDF Print E-mail
  
วันที่เผยแพร่: วันศุกร์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๕:๒๕ น.

การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมร่วมกับสมาชิกของชุมชน เป็นวิถีทางที่สะท้อนเรื่องราว ความทรงจำ แบบแผนวัฒนธรรม และความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ของมรดกภูมิปัญญากับบริบททางสังคมและสภาพแวดล้อม ประโยชน์ของแผนที่ทางวัฒนธรรมได้แก่ การสร้างความตระหนัก การศึกษาและการฟื้นฟูภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนต่างๆ ที่หลากหลายในชุมชน

ขอบเขตของการอบรมมุ่งเน้นบทบาทของการจัดทำแผนที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในการปกป้อง การบันทึก และการฟื้นฟูภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วย

  1. นิยามของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ได้แก่ อนุสัญญาขององค์การยูเนสโก ค.. ๒๐๐๓ ว่าด้วยการปกป้องมรดกภูมิปัญญา และมาตรการต่างๆ (การระบุ, การบันทึก, การวิจัย, การปกป้อง, การส่งเสริม, การเผยแพร่, การสืบทอด, การฟื้นฟู)

  2. การแนะนำแนวทางการทำงานของพิพิธภัณฑสถานวิทยาใหม่ รวมทั้งพิพิธภัณฑ์นิเวศ และการจัดการพิพิธภัณฑ์ในทัศนะท้องถิ่น

  3. แนวทางการศึกษาทางมานุษยวิทยา และเครื่องมือในการวิจัยและปกป้องมรดกภูมิปัญญา (ชาติพันธุ์วรรณนา, การสร้างความสัมพันธ์, การสัมภาษณ์แบบปลายเปิด)

  4. การจัดทำแผนที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม

   
 share