ผ้าไหม

Print
  
วันที่เผยแพร่: วันศุกร์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๕:๑๖ น.

ในความรู้สึกของคนทั่วไป การทอผ้าอาจหมายถึงเพียง วิธีการทอเพื่อร้อยเรียงเส้นด้ายและผลิตผลจากสิ่งทอ

ทว่าสำหรับชาวสุรินทร์ การทอผ้านับเป็นการถ่ายทอดและสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น ความรุ่งเรืองของผ้าทอสุรินทร์เริ่มตั้งแต่ยุคอิทธิพลของอารยธรรมเขมร และเกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเครือข่ายทางสังคม ที่สะท้อนในลวดลายดั้งเดิมและลวดลายสมัยใหม่

การใช้สอยผ้าทอสุรินทร์มีรูปแบบที่หลากหลาย การทอผ้าและผ้าสะท้อนวิถีชีวิตเรียบง่ายบนพื้นฐานการใช้และบริโภคในครัวเรือน หญิงสาววัยแรกรุ่นได้รับการถ่ายทอดในการทอผ้าจากแม่หรือยาย รวมทั้งเคล็ดลับในการมัดการย้อมและภูมิปัญญาในการเลี้ยงไหม งานผ้าทอในฐานะที่เป็น “มรดกครอบครัว” เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและความศักดิ์สิทธิ์ในรูปแบบของเครื่องบูชา เช่น บายศรีหรืองานบวช

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาลวดลาย โดยเฉพาะ “ลายโฮล” เน้นย้ำความภาคภูมิใจในการถักทอด้วยมือของคนสุรินทร์ อย่างไรก็ดี ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ การทอผ้ากลายเป็นเพียงงานที่ไม่สร้างผลผลิตเชิงเศรษฐกิจและล้าสมัย หญิงสาวรุ่นใหม่ละทิ้งการทอผ้า และให้ความสำคัญกับการศึกษาในระบบ การเลี้ยงไหมดั่งลูกน้อยกำลังจะกลายเป็นตำนานบนกี่ที่ไม่ได้ใช้งานอีกต่อไป

กระนั้นก็ตาม ไหมไม่เคยตายหรือหายไปจากความทรงจำของชาวสุรินทร์ ความพยายามในการฟื้นชีวิตไหมผ่านเหตุการณ์สำคัญอย่างการประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (APEC) และกรมหม่อนไหม ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มาพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว และการขยายตัวทางเศรษฐกิจอันจะช่วยส่งเสริมความสำคัญและตระหนักคุณค่าของไหม เราจึงได้ยิน “เสียงของไหม” และเห็นการเกิดใหม่ของไหมในรูปของผ้าไหม เช่น การใช้แนวคิดโลกสีเขียวยังได้รับความสนใจโดยเฉพาะกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ

แหล่งย้อมสีธรรมชาติ

แอนจำได้ว่าป้าสะอุ่ม เคยเข้าป่าทั้งวัน

เพื่อเก็บใบไม้ รากไม้มาย้อมผ้า”

สุวรรณา ยอดรักษ์

การย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติมักทำที่บ้านและที่ศูนย์บ้านนาตัง บ้านท่าสว่างและหมู่บ้านอื่น ๆ การสืบทอดการย้อมสีธรรมชาติ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความนิยม “ลายโฮล” (ลายเขมร) ซึ่งรู้จักกันในนาม “ราชินีแห่งผ้าไหมสุรินทร์” โดยปรกติลายโฮล มักใช้สีธรรมชาติ โดยสีแดงได้จากครั่ง สีน้ำเงินได้จากครามและสีเหลืองได้จากประโหด

ทั้งนี้มีข้อห้ามและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนในการย้อมและการทำสีธรรมชาติ อย่างเช่น ห้ามพูดคำที่ไม่สุภาพหรือคำหยาบระหว่างการย้อม โดยเฉพาะการย้อมครั่ง ในปัจจุบันเส้นไหมเคมีได้รับความนิยมมากเนื่องจากมีสีหลากหลายและประหยัดเวลา

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านตำปุง

การทอผ้าที่ศูนย์ไม่ได้มีผลกระทบ

ต่อการทอผ้าที่บ้าน”

ปภาณี พูลเฉลียว

กลุ่มทอผ้าไหมส่งขายบ้านตำปุง ก่อตั้งในปี พ.. ๒๕๔๖ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ในปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ ๕๐ คนสมาชิกสามารถยังชีพด้วยการทอผ้าที่ศูนย์ได้แบบเต็มเวลาหรือบางเวลาผ้าไหมจากศูนย์จะได้รับการส่งเสริมและจำหน่ายไปยังมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพใน

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมาชิกสามารถทอผ้าที่บ้านได้โดยกี่มือและย้อมโดยวิธีโบราณ ศูนย์ส่งเสริมการใช้ไหมโรงงานสีเคมีและกี่กระตุกเพื่อเพิ่มผลผลิต แต่กี่กระตุกมักมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทอลายที่ซับซ้อนอย่างในอดีตได้อย่างไรก็ตามสมาชิกพยายามที่จะสร้างสรรค์ลวดลายเพื่อดึงดูดลูกค้าทั้งในระดับท้องถิ่นและบุคคลทั่วไป

บ้านนงเยาว์ : แหล่งสืบสาน

แม่ทอผ้าด้วยหัวใจ ไม่ใช่ธุรกิจ”

นงเยาว์ ทรงวิชา

นงเยาว์ ทรงวิชา หญิงหม้ายอายุ ๕๖ ปี อดีตผู้ใหญ่บ้าน ตระหนักดีว่าการทอผ้าไหม สำหรับผู้หญิงเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปหางานข้างนอก สำหรับนงเยาว์แล้ว การทอผ้าสะท้อนคุณค่าทางสังคมท้องถิ่นและครอบครัว และช่วยรักษา คุณค่าเหล่านั้นไว้ เธอเริ่มโครงการระดับท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและปกป้องการทอผ้า พร้อมกับ การพัฒนาชุมชนและส่งเสริมคุณค่าผู้หญิง นอกจากนี้เธอยังผลักดันให้การทอผ้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในโรงเรียนและสร้างศูนย์การเรียนรู้ที่นักเรียนจะได้เรียนรู้อย่างพอเพียงโดยการปลูกผลไม้และผักรวมถึงเลี้ยงไก่ นักเรียนเหล่านี้ยังมีโอกาสได้เรียนศิลปะท้องถิ่นและงานหัตถกรรมอย่างทอผ้าอีกด้วย “บ้านนงเยาว์”ณ หมู่บ้านนาตัง เป็นศูนย์กลางกิจกรรมที่ผู้หญิงสามารถมาทอผ้า ปั่นไหม ย้อมผ้าและดูแลตัวไหมได้

ผ้าไหม - ตัวแทนความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ

ผ้าไหมเกิดจากความทุ่มเทของเหล่าบรรดาตัวไหมในการย้อมและทอเครื่องนุ่งห่มอันเจิดจรัส ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของมรดกจังหวัดสุรินทร์ ผ้าไหมเป็นตัวแทนความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติความรู้และทักษะอันเชี่ยวชาญได้ถูกส่งผ่านจากมารดาสู่บุตรสาว การผสมผสานอิทธิพลทางวัฒนธรรมและอนาคตอันรุ่งโรจน์มาสู่ผ้าโฮล ที่นิยมการย้อมสีธรรมชาติและใช้ไหมน้อยที่มีคุณภาพอันเป็นลักษณะที่โดดเด่นของผ้าไหม

สุรินทร์การทอผ้าและการสวมใส่ผ้าไหมเป็นแหล่งกำเนิดความภูมิใจของทั้งหญิงและชาย คุณค่าทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ ผ้าไหมในฐานะที่เป็นมรดกตกทอด แลกเปลี่ยนกันระหว่างครอบครัวผ่านการแต่งงาน เป็นงานศิลปะที่ใช้สวมใส่ในพิธีบวชลูกชาย ผ้าไหมยังแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงทั้งทางโลก ทางศาสนากับคนรุ่นราวคราวเดียวกันอีกด้วย

   
 share