สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยวน คนเมือง ไทยวน,ผ้าจก,วิถีชีวิต,ราชบุรี
Author วรรณา วุฒฑะกุล
Title ผ้าจกกับวิถีชีวิตชาวไทยวน : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Total Pages 44 Year 2538
Source กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

การทอผ้าจก เป็นมรดกทางศิลปหัตถกรรมที่ไทยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สืบทอดมาจากบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงแสน อาณาจักรล้านนาไทย ซึ่งกรรมวิธีการทอผ้าด้วยจกต้องอาศัยความประณีต ละเอียดอ่อน และความอุตสาหะของผู้ทอ อันก่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ฯลฯ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันเนื่องจากความเจริญทางวัตถุ ได้ทำให้กรรมวิธีและเทคนิคการทอผ้าจกกำลังจะสูญหายไป ดังนั้นลูกหลานของไทยวนที่เห็นความสำคัญของการทอผ้าจกจึงได้ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมการทอผ้าจกไว้ให้คงอยู่สืบไป

Focus

ศึกษาความสัมพันธ์และความสำคัญของการทอผ้าจกที่มีต่อชีวิตประจำวันทั้งในอดีต ปัจจุบันของไทยวน และบริบททางสังคมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และศิลปะการทอผ้าจกของไทยวน กรณีตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (หน้า 5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยวน

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ระหว่างปี 2537 - 2538 (หน้า 19 เชิงอรรถที่ 7 ผู้เขียนลงภาคสนามปี 2537 - และงานวิจัยชิ้นนี้เสร็จลงในปี พ.ศ. 2538)

History of the Group and Community

ไทยวนที่อาศัยอยู่ในตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากชาวเมืองเชียงแสน แห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งกวาดต้อนเข้ามาในภาคกลางของตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปี พ.ศ. 2347 ต่อมาพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำชาวเชียงแสนเหล่านี้ลงมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองราชบุรี ครั้งแรกตั้งครัวเรือนที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฝั่งขวาทางทิศตะวันออกของตัวเมือง ปัจจุบันชื่อ หมู่บ้านไร่นที ต่อมาได้ย้ายขยายกันไปตั้งถิ่นฐานใกล้ ๆ กับอำเภอเมืองและอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดราชบุรี ส่วนผู้นำไทยวนที่พาผู้คนอพยพมาจากบ้านไร่นที มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลคูบัวในปัจจุบัน คือ หนานฟ้าและหนานขัน ซึ่งเป็นพี่น้องกัน หนานฟ้าตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกกันว่า "บ้านปู่ฟ้า" ส่วนหนานขัน ตั้งในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกกันว่า "บ้านปู่ขัน" ต่อมาเมื่อมีผู้คนมากขึ้นจึงขยายจากบ้านปู่ฟ้าและบ้านปู่ขันไปอยู่บริเวณแคทรายและหนามพุงคอ (หน้า 7 - 8)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ในปัจจุบันนี้(ปี 2538) ชาวราชบุรีเชื้อสายไทยวนในเขตอำเภอเมือง มีประมาณ 10,400 คน จะตั้งบ้านอยู่ที่ตำบลคูบัว ตำบลตะโก ตำบลอ่างทอง ตำบลเจดีย์หัก ตำบลหินกอง ตำบลดอนแร่ (หน้า 8) ส่วนไทยวนตำบลคูบัวในปัจจุบันเป็นกลุ่มชนรุ่นที่ 5 ที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษเชื้อสายไทยวน มีประชากรทั้งสิ้น 6,865 คน เป็นชาย 3,253 คน เป็นหญิง 3,612 คน ประมาณ 1,265 ครัวเรือน ประกอบด้วย 15 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านตากแดด, หมู่ 2 บ้านระหนอง, หมู่ 3 บ้านหนองขันธ์, หมู่ 4 บ้านใต้, หมู่ 5 บ้านตะโก, หมู่ 6 บ้านสระโบสถ์, หมู่ 7 บ้านใหม่, หมู่ 8 บ้านหนองยายแก้ว, หมู่ 9 บ้าน บ้านปากห้วย, หมู่ 10 บ้านท่าช้าง, หมู่ 11 บ้านโพธิ์, หมู่ 12 บ้านหัวนา, หมู่ 13 บ้านต้มแหน, หมู่ 14 บ้านหนามพุงดอ, หมู่ 15 บ้านไร่ต้นมะม่วง (หน้า 23 - 24)

Economy

ไม่มีรายละเอียด แต่ระบุเพียงว่า ปัจจุบันผ้าซิ่นตีนจกเป็นผลงานศิลปาชีพอีกแขนงหนึ่ง ที่สร้างรายได้ให้ราษฎรควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมของไทยวน ผ้าซิ่นตีนจกมีราคาประมาณผืนละ 2,000 - 3,000 บาท (หน้า 32)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในปัจจุบันไทยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ยังคงสืบทอดศิลปะการทอซิ่นตีนจกมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งในอดีตผ้าซิ่นตีนจกเป็นเครื่องนุ่งห่มที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของสตรีไทยวนทุกคน เพราะต้องใช้สวมใส่ในงานบุญหรืองานพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นประจำ ดังนั้น จึงมักจะมีการเลือกผ้าซิ่นตีนจกลายใหม่ ๆ มาใส่อวดกันอยู่เสมอ ทำให้ลวดลายผ้าซิ่นตีนจกของไทยวนในสมัยโบราณมีลักษณะที่หลากลายและยากต่อการสืบหาผู้เป็นเจ้าของลายที่แท้จริงได้ (หน้า 12) อย่างไรก็ตาม ผ้าซิ่นตีนจกที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีในปัจจุบันมีลักษณะลวดลายและเทคนิคการทอที่คล้ายผ้าซิ่นของอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย คือตัวซิ่นมีการทอที่เรียกว่า "ยกมุก" ซึ่งบางครั้งมีการทอแบบมัดหมี่ผสมเป็นลายขวาง ฝีมือในการทอซิ่นตีนจกของไทยวน ตำบลคูบัว จะมีนิยมลวดลายทั้งเก่าและใหม่และลายผสม สีที่มักจกมักใช้สีแดงเพราะเป็นสีแห่งพลังและความสดใสตามความเชื่อของไทยวน ลวดลายผ้าจกของไทยวนมี 3 ประเภท คือ 1.ลายหลัก ได้แก่ ลายกาบ, ลายหน้าหมอน, ลายโก้งเก้ง, ลายโก้งเก้งซ้อนเชีย, ลายดอกเชีย, ลายกาบช้อนหัก, ลายหักนกคู่, ลายดอกแก้ว 2.ลายผสม เกิดจากการนำลายหลัก 2 ลายมาผสมกันเป็นลวดลายใหม่ , และ 3.ลายประกอบเชิง ได้แก่ ลายมะลิเลื้อย, ลายกูดซ้อน, ลายขอปะแจ, ลายดอกข้าวตอก, ลายนกคู่กินน้ำร่วมต้น, และลายชะเปา (หน้า 20 - 21 และดูภาพประกอบใน ภาคผนวก ก หน้า 47 - 54) องค์ประกอบของซิ่นตีนจก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. หัวซิ่น (ส่วนเอว) จะทอด้วยผ้าฝ้ายสีขาวและแดง 2. ตัวซิ่น (ส่วนกลาง) ซึ่งจะทอด้วยผ้าฝ้ายหรือไหมขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สวมใส่ หรือโอกาสที่จะใส่ เป็นการทอต่างหากจากหัวซิ่นไม่ได้ทอติดต่อกัน แต่จะทอเป็นผ้าผืนธรรมดา 3. ตีนซิ่น (ส่วนล่าง) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นเอกลักษณ์ของซิ่นตีนจก ส่วนใหญ่จะทอด้วยผ้าสีดำ แดง ส่วนจกจะใช้สีแดง หรือเหลืองแซมบ้าง นานครั้งจะพบสีเขียวแซมหรือม่วงแซม สำหรับสีที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้าจกที่คูบัว คือ สีแดงและสีเหลือง (หน้า 22 - 23) ในปัจจุบันไทยวนทอผ้าซิ่นตีนจกเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ทอเป็นผ้าขาวม้า, เป็นย่าม, หรือ ทอเป็นผ้าเช็ดหน้า, ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เป็นผ้าคลุมศรีษะนาค, เป็นย่ามพระ ผ้าห่อคัมภีร์, ประดับศาลาหรือธรรมมาสน์ เป็นต้น, และทอใช้ประดับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ (หน้า 11), (ส่วนการแต่งกายของไทยวนดูจากภาพประกอบใน ภาคผนวก ค หน้า 58 - 60) (และดูลักษณะของผ้าจกประเภทต่างๆ ใน ภาคผนวก ง หน้า 62 - 66)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในงานวิจัยระบุข้อมูลอันเดียวที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี นั่นคือ การทอและการสวมใส่ผ้าซิ่นตีนจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าจกสีแดง ดำ และเหลือง และตีนซิ่นที่เป็น ผ้าฝ้ายสีดำแดง (หน้า 17)

Social Cultural and Identity Change

เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ไทยวนตำบลคูบัวได้ทอดทิ้งวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนชาติตนเอง เห็นว่าสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสมและทำมาเป็นสิ่งที่เสียเวลา สู้การซื้อจากตลาดไม่ได้ ควรเอาเวลาและแรงงานไปประกอบอาชีพที่สามารถทำรายได้ที่ได้มากกว่า ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และการศึกษา ทำให้ช่างคูบัวคำนึงถึงความก้าวหน้าของบุตรหลาน ไม่อยากให้ต้องมานั่งทอผ้าอย่างตน จึงพยายามส่งเสียลูกหลานไปเรียนสูง ๆ และเมื่อเด็กรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาแล้วก็มักจะไม่กลับมาทอผ้าจกเหมือนกับบรรพบุรุษของตน ประกอบกับการทอผ้าจกไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐเท่าที่ควร ชาวบ้านที่ทอผ้าจกต้องช่วยเหลือตนเองมาโดยตลอด เมื่อคนรุ่นเก่าหมดไปคนรุ่นใหม่ก็ไม่ให้ความสนใจที่จะสืบทอดศิลปะนี้ พร้อมทั้งไม่ได้รับความสำคัญจากภาคเอกชนโดยทั่วไป จึงทำให้การทอผ้าจกซบเซาลง และหดหายไปในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม, ในปัจจุบันการทอผ้าจกได้รับการสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปการทอจกไม่ให้สูญหายไปแล้ว โดยลูกหลานของไทยวนแล้ว เช่น มีการก่อตั้งศูนย์ศิลปะสืบทอดการทอจกวัดแคทราย ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (หน้า 43)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ : ลวดลายผ้าจก (ในภาคผนวก ก หน้า 47 - 54), สภาพชุมชนไทยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (ดูในภาคผนวก ข หน้า 36), การแต่งกายของไทยวน (ดูในภาคผนวก ค หน้า 58 - 60), ผ้าจกประเภทต่างๆ (ดูใน ภาคผนวก ง หน้า 62 - 66.), และ การสืบทอดการทอผ้าจกของไทยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (ดู ภาคผนวก จ หน้า 68 - 69)

Text Analyst ธิกานต์ ศรีนารา Date of Report 05 พ.ย. 2555
TAG ยวน คนเมือง ไทยวน, ผ้าจก, วิถีชีวิต, ราชบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง