|
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database |
|
Record |
|
 |
Subject |
ชาวเขา,การสร้างภาพลักษณ์ในสังคมไทย,ประเทศไทย |
Author |
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ |
Title |
การสร้างภาพลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเขา ในสังคมไทย ระหว่างทศวรรษ 2420 ถึง ทศวรรษ 2520 |
Document Type |
วิทยานิพนธ์ |
Original Language of Text |
ภาษาไทย |
Ethnic Identity |
-
|
Language and Linguistic Affiliations |
ม้ง-เมี่ยน |
Location of
Documents |
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
Total Pages |
318 |
Year |
2550 |
Source |
หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract |
ผู้เขียนพบว่าการสร้างภาพลักษณ์ของ ชาวเขา สามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกคือก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ทศวรรษ 2420 2470) โดยช่วงนี้ภาพลักษณ์ของ ชาวป่า / ชาวเขา ถูกมองจากชนชั้นนำสยามว่าเป็นคนอื่นของสังคม เป็นคนล้าหลัง นับถือผี งมงาย ช่วงทศวรรษ 2420 2440 ชนชั้นนำสยามผลิตงานเขียนเกี่ยวกับการสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ ปีพ.ศ.2455 มีการใช้คำว่า ชาวเขา เป็นครั้งแรก มีการใช้ภาพลักษณ์เชิงลบที่แสดงถึงความต่ำต้อย สกปรก ล้าหลัง การนับถือผีถูกมองเป็นเรื่องงมงาย ไร้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ส่วนภาพลักษณ์ของ ชาวเขา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ตั้งแต่ทศวรรษ 2500) มีความเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนจากสถานการณ์ ภัยคอมมิวนิสต์ อคติทางชาติพันธุ์ ภาพลักษณ์ของ ชาวเขา คือภัยต่อความมั่นคงของชาติ ถ่วงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทำลายป่า กลุ่ม ชาวเขา ที่ปลูกฝิ่นโดยเฉพาะชาวม้งถูกมองภาพลักษณ์เชิงลบจากรัฐบาล ขณะเดียวกัน ชาวเขา กลับถูกหาผลประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว จากภาพลักษณ์ที่ยังดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม มีความพยายามกลืนชาติรวมอัตลักษณ์ความเป็นไทยคำว่า ชาวไทยภูเขา จึงเกิดขึ้น มุมมองของกลุ่มคนต่างๆ ที่มีต่อชาวเขาจะแตกต่างกันไป ช่วงทศวรรษ 2420 2470 ชนชั้นนำสยามเป็นกลุ่มเดียวที่สร้างภาพลักษณ์ ชาวป่า / ชาวเขา ชาวตะวันตกที่เข้ามาในสยามก็มีมุมมองต่อภาพลักษณ์ของชาวเขาที่แตกต่างกันไป กลุ่มทหาร ตำรวจ มักมองในมุมมองของความมั่นคง กลุ่มพระสงฆ์ให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ศาสนาเพื่อป้องกันภัยจากคอมมิวนิสต์ แต่อีกด้านหนึ่งก็มีการสร้างภาพลักษณ์ความสวยงามให้กับ ชาวเขา เพื่อหาผลประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (หน้า ง / 312 - 318) |
|
Focus |
ศึกษาพัฒนาการและกระบวนการเปลี่ยนแปลงการสร้างภาพลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเขา ในบริบททางประวัติศาสตร์ (หน้า ง , 3) |
|
Ethnic Group in the Focus |
ผู้เขียนไม่ได้เจาะจงศึกษากลุ่ม ชาวเขา ชาติพันธุ์ใดเป็นหลัก แต่คำว่า ชาวเขา ในงานชิ้นนี้ตามทัศนะของผู้เขียนเป็นคำพิเศษมีความหมายครอบคลุมกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่ถูกเรียกว่า ชาวเขา ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายไม่แน่นอนตามบริบทของประวัติศาสตร์ ดังนั้นการเลือกกลุ่มชาติพันธุ์ที่จะศึกษาของผู้เขียนจึงแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา (หน้า 4) |
|
Language and Linguistic Affiliations |
ตามงานเขียนของพระประชากิจกรจักรในบทความ ว่าด้วยประเภทคนป่าฤาข่าฝ่ายเหนือ ได้จำแนกกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้เกณฑ์ภาษาศาสตร์เป็นหลัก โดยแบ่งได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกคือภาษาลาว ไทย(ลื้อ เขิน เงี้ยว ไทยและลาว) และกลุ่มภาษาที่ไม่ใช่ลาวไทย (ละวะ ยาง กะเหรี่ยง ข่ากลุ่มต่างๆ แม้ว หยัง ก้อ กุ้ย หนอแหน ลั้นแจ๋น เย้าหยิน มูเซอ และผีป่า) เรียกว่า คนป่า (หน้า 31) |
|
Study Period (Data Collection) |
ผู้เขียนศึกษาข้อมูล 2 ช่วงเวลาหลัก ช่วงแรกสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ทศวรรษ 2420 2470) ช่วงเวลาที่ 2 คือสมัยระหว่าง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ทศวรรษ 2480 2520) (หน้า 4 5) |
|
History of the Group and Community |
คำว่า ชาวเขา เกิดขึ้นในสังคมไทยประมาณ 100 กว่าปีภายใต้บริบทการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ (หน้า 20 , 26) และหลังพ.ศ.2502 สถาบันวิจัยชาวเขากำหนดกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็น ชาวเขา ประกอบด้วย 9 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ กะเหรี่ยง ลัวะ ถิ่น ขมุ (หน้า 26) เมื่อมองความหมายของชาวเขาในมุมมองทางประวัติศาสตร์ผู้เขียนได้จำแนกออกเป็น 2 ช่วงเวลาหลักคือ สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2420 2470) ชนชั้นนำสยามยังไม่ใช้คำว่า ชาวเขา เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ แต่ใช้คำเรียกคนกลุ่มนี้รวมๆ ว่า ชาวป่า / คนป่า มีภาพลักษณ์ของความล้าหลัง ป่าเถื่อน นับถือผี ทำลายป่าไม้ (หน้า 1 2) และมีความหมายแทนกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตภูเขาสูงทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย (หน้า 28 29) ตามงานเขียนของพระยาประชากิจกรจักรในบทความ ว่าด้วยประเภทคนป่าฤาข่าฝ่ายเหนือ ระบุว่า คนป่า มีทั้งหมด 21 กลุ่ม บางกลุ่มถือได้ว่าเป็น ชาวเขา ในปัจจุบัน เช่น กะเหรี่ยง ลัวะ แม้ว พระยาประชากิจกรจักรได้สร้าง คู่ตรงข้ามระหว่างความเจริญกับความไม่เจริญ เปรียบเทียบ ป่า ให้ตรงข้ามกับ เมือง (หน้า 117) นอกจากนี้ยังมีงานเขียนของขุนธราภาคพาทีที่ให้ความหมายของ คนป่า ในเชิงลบอย่างมาก คือ ห่างไกลความเจริญ โง่ ไม่ต่างจากสัตว์ นอกจากนี้ยังมีบทความของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเรื่อง ชาวป่า ระบุว่าเป็นกลุ่มชนที่ อยู่อาศัยตามแนวชายแดนของสยาม ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตป่าและภูเขาห่างไกลความเจริญ เร่ร่อน ยากต่อการควบคุม ดังนั้นในสมัยนี้ (รัชกาลที่ 5) คำว่า ชาวเขา ยังไม่มี มีแต่คำว่า ชาวป่า / คนป่า (หน้า 31 - 34) สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การจำแนกว่ากลุ่มไหนคือ ชาวเขา เปลี่ยนผ่านจากชนชั้นนำสยามมาสู่ประชาชนสังคมไทยเริ่มรับรู้เรื่องราวของ ชาวเขา มากขึ้น จากการอพยพของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จากนอกประเทศข้ามมายัง ฝั่งประเทศไทย เกิดการตื่นตัวที่จะจำแนกจัดระเบียบกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น งานเขียน 30 ชาติในเชียงราย ของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ช่วยทำความเข้าใจ ชาวเขา ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์ของ ชาวเขา ยังคงถูกมองว่าเป็น กลุ่มคนล้าหลังมีสภาพไม่ต่างจากสัตว์ (หน้า 55 - 58) กลุ่มชาติตะวันตกที่มีบทบาทต่อการสร้างภาพลักษณ์ ชาวป่า / ชาวเขา ในสมัยรัชกาลที่ 5 คืออังกฤษและฝรั่งเศส (หน้า 79) เฮอร์เบิร์ท วอร์ริงตัน สมิธ ชาวอังกฤษเรียก คนป่า ว่า Hill tribes และ Hill people เป็นกลุ่มคนที่มี วิถีชีวิต ร่อนเร่ ไม่มีหลักแหล่งแน่นอน (หน้า 95) ขณะที่เคอร์ทีส มิชชันนารีอเมริกันใช้คำว่า ชาวเขา เรียกกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม ส่วนนักสำรวจชาวฝรั่งเศสใช้คำว่า Sauvages (โซวาจส์) หรือ คนป่า / ชาวป่า เป็นหลัก หรือเป็นกลุ่มคนที่ล้าหลังทางวัฒนธรรม อยู่ขั้นต่ำสุดของสายวิวัฒนาการทางสังคม ปราศจากชาติ ปราศจากประวัติศาสตร์ เป็นอนารยชน (หน้า 87 , 89) การสร้างกลุ่มชาติพันธุ์ใดให้เป็น ชาวป่า หรือ ชาวเขา ของชาวตะวันตกอยู่บนฐานแนวคิดวิวัฒนาการทางสังคมและชีวภาพ สร้างคู่ตรงข้ามให้เกิดขึ้นว่าชาวตะวันตกผิวขาวเป็นพวกสูงส่ง อยู่บนขั้นสูงสุดของสายวิวัฒนาการ (หน้า 93 94) ชนชั้นนำสยามมักนิยมวัฒนธรรมความรู้จากชาวอังกฤษจึงรับเอาคำว่า Hilltribes หรือ Hill People เป็นภาษาไทยว่า ชาวเขา ซึ่งปรากฏครั้งแรกในพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ 2 เรื่องคือ พระราชพงศาวดารพม่า (พ.ศ.2455) และ พงศาวดารไทยใหญ่ (พ.ศ.2456) ซึ่งอ้างอิงข้อมูลหนังสือจากชาวอังกฤษ หลังจากนั้นในปลายทศวรรษ 2460 คำว่า ชาวเขา มีการใช้อย่างแพร่หลาย (หน้า 35 41) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพลักษณ์ของ ชาวเขา ถูกสร้างขึ้นหลายมิติเพื่อสนองเป้าหมายทางการเมือง นอกจากภาพลักษณ์ของความป่าเถื่อนแล้ว ชาวเขา ยังถูกมองว่าเป็นผู้ทำลายความมั่นคงของชาติ ปลูกฝิ่น ทำลายธรรมชาติ เป็นตัวตลก (หน้า 1 2 , 183) ตั้งแต่ทศวรรษ 2500 มีงานเขียน ที่เสนอภาพว่า ชาวเขา เป็นตัวปัญหาของชาติในหลายๆ ด้าน (หน้า 14) ความรู้สึก ชาตินิยม ทำให้ ชาวเขา ถูกมองเป็น คนอื่น ของประเทศไทยและสังคมไทย (หน้า 185) ด้วยสถานการณ์คอมมิวนิสต์เริ่มแพร่กระจายในกลุ่มชาวเขา ปีพ.ศ.2502 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้จัดตั้ง คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา ภายใต้การดูแลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อกำกับดูแลชาวเขาอย่างใกล้ชิด ทำให้คำว่า ชาวเขา เป็นคำเรียกกลุ่มชนบนภูเขาอย่างเป็นทางการ มีอยู่ 9 กลุ่มหลักคือ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ กะเหรี่ยง ลัวะ ถิ่น และขมุ (หน้า 44 , 190 - 191) มติครม.วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2519 กำหนดความหมายของ ชาวเขา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในประเทศไทยมาก่อน พ.ศ.2518 และ พ.ศ.2519 ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาหลังจากนั้น (แม้จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับ ชาวเขา ก็ตาม) จะถูกเรียกว่า ผู้อพยพ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศลาว (พ.ศ.2518) และประเทศพม่า (พ.ศ.2519) นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้คำว่า ชาวไทยภูเขา เรียก ชาวเขา เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นหมู่พวก (หน้า 52 53) ผู้วิจัยสรุปว่าการนิยามคำว่า ชาวเขา มีความหมายอยู่ 3 ประเภท คือเป็นการจำแนกตามที่อยู่อาศัย สองเป็น กลุ่มชนที่มีระดับสังคมในเผ่า และสุดท้ายเป็นการแบ่งจากจุดมุ่งหมายทางการเมืองเพื่อควบคุมกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐมองว่าเป็นคนอื่น (หน้า 55) |
|
Settlement Pattern |
ภาครัฐระแวงชาวเขาว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นคอมมิวนิสต์ จึงพยายามควบคุมชาวเขาด้วยวิธีหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ การอพยพชาวเขามายังพื้นที่ที่รัฐจัดไว้ให้ เรียกว่า นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา มีการจัดตั้งที่ดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ (พ.ศ.2503) ดอยมูเซอ จ.ตาก (พ.ศ.2503) ดอยแสนใจ จ.เชียงราย (พ.ศ.2505) ที่รอยต่อ จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย มีการจัดตั้ง ศูนย์อพยพชาวเขา ในพื้นที่การเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสต์เพื่อให้ ชาวเขาหนีภัยคอมมิวนิสต์และไม่ประสงค์กลับไปอยู่บนภูเขาอีก และให้ ชาวเขา รับความเจริญจากด้านนอกได้ เร็ว (หน้า 211 212 , 245) ให้มีการตั้งหลักแหล่งถาวร ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอยไปเรื่อยๆ (หน้า 277) |
|
Economy |
ชาวเขา ถูกมองในฐานะของผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ภาพลักษณ์นี้เริ่มต้นสมัยรัชกาลที่ 5 และรุนแรงมากขึ้นสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวเขาถูกไล่ออกจากป่า ความเข้าใจผิดนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดในวิถีเกษตรกรรมของ ชาวเขา ที่ต้องย้ายแปลงเพาะปลูกไปเรื่อยๆ จนวิถีการเพาะปลูกเช่นนี้ถูกมองว่าเป็นการ ทำไร่เลื่อนลอย ชาวเขา พึ่งพิงระบบการทำไร่หมุนเวียนที่ให้ชุมชนพอยังชีพได้ การเผชิญกับปัญหาดินเสื่อมสภาพทำให้ชาวเขาต้องย้ายไร่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ และก่อนที่จะลงมือปลูกต้นไม้อื่นๆ ก็จะถูกเผาไปด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้คนภายนอกมอง ชาวเขา เป็นผู้ทำลายป่าไม้ ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพลักษณ์การเป็นผู้ทำลายป่าของชาวเขา กินความไปถึงการจงใจทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ ทำให้เกิดน้ำท่วมตามมาทั้งในภาคเหนือและภาคกลาง (หน้า 261 - 264) ชาวตะวันตกบางคนมองระบบการทำเกษตรของชาวเขาว่าเป็นแบบ jooming คือตัดไม้ ถางป่า และเพาะปลูกโดยใส่ขี้เถ้าเพิ่มปุ๋ยให้ดิน ส่งผลเสียมากกว่าผลดี เป็นการทำลายป่าไม้ ใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า (หน้า 175 179) ภาพลักษณ์ของ ชาวเขา ในฐานะผู้ทำลายป่า เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งมองการตัดไม้ทำลายป่าของ ชาวเขา ว่าเป็น เหตุร้าย นำมาสู่การใช้กำลังปราบปรามด้วยความรุนแรงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ นอกจากนี้คนภาครัฐยังมองว่าการทำเกษตรกรรมของ ชาวเขา เป็นการเกษตรแบบไร้ประโยชน์ ชาวเขา จึงถูกมองว่าเป็น คนไร้ประโยชน์ ในที่สุด พล.อ.ประภาส จารุเสถียร ประธานคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขาชี้ว่า วิธีการ ทำไร่เลื่อนลอย ของ ชาวเขา ส่งผลกระทบต่อ ประชาชนคนไทย เกิดอคติทางชาติพันธุ์ถึงขนาดที่รองอธิบดีกรมป่าไม้ได้เสนอการแก้ปัญหาทำลายป่าของชาวเขาว่าต้อง บังคับให้ทำหมันไม่แพร่พันธุ์อีกต่อไป หลังทศวรรษ 2500 รัฐพยายามพัฒนาระบบเศรษฐกิจของ ชาวเขา มาสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้าอย่างเต็มรูปแบบ เพราะรัฐมองว่าระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมของ ชาวเขา เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ให้ ชาวเขา เลิกปลูกฝิ่น ตัดไม้ทำลายป่า มีการจัดตั้งโครงการหลายโครงการที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของชาวเขา ทั้งส่งเสริมปลูกพืชเงินสดหมุนเวียนตลอดปี ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ยืนต้น เป็นต้น (หน้า 245 248) ภาพลักษณ์ของชาวเขากับฝิ่น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกมองจากชาวตะวันตกว่าเป็นปัญหาของการใช้ดินที่ไม่คุ้มค่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเขา เกือบทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีภาพลักษณ์คู่กับฝิ่นและยาเสพติดประเภทอื่นๆ ด้วยเสมอ มีหลักฐานว่า ชาวเขา เริ่มปลูกฝิ่นมาตั้งแต่พ.ศ.2455 ในพื้นที่เชียงราย น่าน เด่นชัย โดยเชียงรายมีมากที่สุดถึง 1,000 ไร่ โดยฝิ่นที่ชาวม้งปลูกเรียกว่า ฝิ่นลิ้นกระบือ เป็นฝิ่นคุณภาพต่ำ รสชาติไม่ดี ไม่เป็นที่นิยมของคนสูบ หนังสือ ประวัติสังเขปชนชาติ แม้ว เย้า มูเซอร์ (พ.ศ.2468) ระบุว่ากลุ่มชาติพันธุ์ที่ลักลอบปลูกฝิ่นมี 2 กลุ่มคือ แม้ว และ เย้า ขณะที่หนังสือ ภูมิศาสตร์ประเทศสยาม (พ.ศ.2468) ระบุว่ามีเพียงชาวม้งและชาวเมี่ยนเท่านั้นที่ปลูกฝิ่น (หน้า 179 182) ผู้วิจัยระบุว่าข่าว ชาวเขา กับยาเสพติดเริ่มมีปริมาณสูงตั้งแต่พ.ศ.2502 ทำให้ ชาวเขา โดยเฉพาะชาวม้งถูกมองว่าเป็นกลุ่มชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไทย ใช้ฝิ่นเพื่อความงมงายเพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ รัฐได้สร้างฝิ่นกับ ชาวเขา ให้เป็นเรื่องผิดปกติในสังคม ทั้งๆ ที่แต่เดิม ชาวเขา มองเรื่องการปลูกฝิ่นเป็นเรื่องปกติ (หน้า 283 287) |
|
Political Organization |
ภาพลักษณ์ของ ชาวเขา ถูกมองว่ามีส่วนร่วมเคลื่อนไหวกับคอมมิวนิสต์เป็น ศัตรูของชาติ ที่รัฐต้องจัดการ นับจากทศวรรษ 2500 ข่าวความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวเขา ในการมีส่วนร่วมกับคอมมิวนิสต์ เริ่มปรากฏให้เห็นในหนังสือพิมพ์ มีการแพร่กระจายเสียงของวิทยุของคอมมิวนิสต์เป็นภาษาชาวเขา ขณะที่รัฐเองก็ตอบโต้โดยการตั้งสถานีวิทยุขึ้นมาเผยแพร่ข่าวสารเป็นภาษาชาวเขาเช่นเดียวกัน ตลอดทศวรรษ 2500 รัฐพยายามหาวิธีจัดการปัญหา คอมมิวนิสต์ กับชาวเขามาโดยตลอด หลัง วันเสียงปืนแตก พ.ศ. 2508 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ร่วมปฏิบัติงานกับ ชาวเขา อย่างจริงจัง มีการตั้งฐานที่มั่น 9 แห่งในปีพ.ศ. 2511 รัฐพยายามตอบโต้คอมมิวนิสต์ด้วยการฝึก ชาวเขา ให้เป็นทหารและลูกเสือ ด้วยมองว่าชาวเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรบ โดยเฉพาะชาวม้งที่ถูกเพ่งเล็งจากรัฐมากเป็นพิเศษ เพราะความเชี่ยวชาญในการรบและการเคลื่อนไหวของชาว ม้งจากประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศลาว) หนังสือพิมพ์มีบทบาทในการสร้างภาพลักษณ์ของม้งในฐานะคอมมิวนิสต์ มีการตั้งฉายาให้ม้งว่าเป็น แม้วแดง (หน้า 188 207) ในตอนแรกๆ ชาวเขา ก็มีภาพลักษณ์ที่ถูกเหมารวมว่าเป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย แต่ในปีพ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้ง โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา หลังจากเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน ชาวเขา และพบว่าต้องมีชีวิตที่ลำบาก และแตกมาเป็น โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ในปีพ.ศ.2514 เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแทนการปลูกฝิ่น เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้ชาวเขาจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พระองค์ยังพระราชทานความช่วยเหลือด้านการศึกษาด้วยการก่อตั้งโรงเรียนถึง 160 แห่ง เป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ของชาวเขาว่าเป็นผู้น่าสงสาร ด้อยโอกาสทางการศึกษาและสังคม เป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันก็ทำให้ ชาวเขา ถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย (หน้า 232 241) |
|
Belief System |
การนับถือผีของ ชาวเขา ถูกนำมาเป็นเกณฑ์วัดความเจริญก้าวหน้าของสังคมว่าก้าวหน้าหรือล้าหลัง จากอิทธิพลของคณะมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่มองว่าความเชื่อที่ต่างไปจากตน ความเชื่อในภูตผีวิญญาณมีความเจริญน้อยกว่าคริสต์ศาสนา เช่นความเห็นของมิชชันนารีอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ทางภาคเหนือของไทยมองการนับถือผีของชาว ลาวว่า คนลาวเป็นทาสของภูตผีนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสู่วาระสุดท้ายของชีวิต และเช่นเดียวกับชาวมูเซอร์ที่ตก เป็นทาสของผีเช่นกัน แม้แต่ขุนนางชาวตะวันตกในรัฐบาลสยามก็มองว่าการนับถือผีของชาวเขาเป็นเรื่องงมงาย เช่น เฮอร์เบิร์ท วอริงตัน สมิธ ที่ระบุว่าความเชื่อของกะเหรี่ยงเป็น การเชื่อคนง่ายและเชื่อถือโชคลางอย่างรุนแรง และมองชาวมูเซอร์ว่าเป็นพวก ไม่มีความคิดทางศาสนา นอกจากความกลัวภูตผีอย่างร้ายกาจ เช่นเดียวกับความคิดของกลุ่มราชการที่มองว่าชน กลุ่ม แม้ว และ เย้า เป็นพวกไม่มีศาสนา (หน้า 163 171) ช่วงก่อนทศวรรษ 2500 ความเชื่อการนับถือผีของ ชาวเขา ไม่ถูกมองเป็นเรื่องร้ายแรง ผู้คนในสังคมมองแค่ว่าเป็นเพียงไสยศาสตร์ที่งมงาย ไม่สามารถอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ได้ และตั้งแต่ทศวรรษ 2500 สังคมไทยมองความเชื่อการนับถือผีของ ชาวเขา เป็นจุดอ่อนที่อาจทำให้เข้าร่วมกับคอมมิวนิสต์ได้โดยง่าย ทำให้รัฐมองการนับถือผีเป็นศัตรูต่อความมั่นคงอย่างหนึ่ง และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในสถาบันหลักของชาติอย่างชาติ ศาสน์ กษัตริย์ การนับถือผีของ ชาวเขา จึงถูกมองเป็นเรื่องศัตรูของศาสนาไปด้วย จึงเกิด โครงการพระธรรมจาริก เข้าไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แก่ชาวเขาด้วยจำนวนพระสงค์ที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีนับแต่พ.ศ.2508 2516 รวมพระสงฆ์มากกว่า 525 รูป และเกิดบทสรุปจากโครงการนี้ว่าทำให้ ชาวเขา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากขึ้น อย่างไรก็ตามความพยายามของรัฐก็ไม่สัมฤทธิ์ผลมาก เพราะการยอมรับศาสนาพุทธของ ชาวเขา เป็นการยอมรับว่าพระสงฆ์เป็นคล้ายๆ หมอผีหรือพวกทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพียงเท่านั้น (หน้า 222 232) |
|
Education and Socialization |
การมีหนังสือและการรู้หนังสือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่ชนชั้นนำสยามใช้วัดระดับความเจริญ ซึ่ง คนป่า มักเป็นพวกที่ไม่มีหนังสือเป็นของตัวเอง แต่หยิบยืมมาจากจีน (หน้า 121) ชาวเขา ถูกกล่อมเกลาจากรัฐให้มีสำนึกของความเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติไทยผ่านแบบเรียน หล่อหลอมให้เกิดจินตนาการของความเป็นรัฐชาติเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการปลูกฝังความคิดทางการเมืองแบบประชาธิปไตยผ่านแบบเรียนตั้งแต่เยาว์วัยอีกด้วย (หน้า 221 222) ความเชื่อเรื่องผีของ ชาวเขา ถูกรัฐมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงนับตั้งแต่ทศวรรษ 2500 จึงเกิดความพยายามกล่อมเกลาด้วยการนำศาสนาพุทธเข้าไปเผยแพร่ด้วย โครงการคณะพระธรรมจาริก มีการอบรมกล่อมเกลาจิตใจชาวเขาผ่านสถานศึกษาและวัด มีการส่งเด็กชาวเขามาบวชเป็นเณรที่วัดในเชียงใหม่และกรุงเทพฯ ทุกปี จำนวนหลายคน (หน้า 226 232) นอกจากนี้ยังมีความพยายามปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ ชาวเขา ถูกมองว่าเป็นตัวการทำลายป่าไม้ผ่านแบบเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ชี้แนะว่าพืชแบบไหนที่ ชาวเขา ควรจะปลูก (หน้า 276 277) |
|
Health and Medicine |
ช่วงทศวรรษ 2490 คนไทยหลายคนที่เดินทางไปหมู่บ้านชาวเขามักมองว่า ชาวเขา สกปรกอยู่เสมอ เช่นมองว่า ชาวก้อชำระล้างร่างกายเพียงปีละ 2 3 ครั้ง , ใช้เสื้อผ้าชุดเดียวตลอดทั้งวัน , เหม็นสาบเหลือที่จะทนเข้าใกล้ (หน้า 250 253) รัฐกังวลว่าปัญหาเรื่องความสกปรก การด้อยสุขภาพอนามัยของ ชาวเขา อาจถูกชักนำจากคอมมิวนิสต์ให้เข้าร่วมขบวนการ เพราะมีการข่าวว่าคอมมิวนิสต์ได้ชักชวนม้งเข้าร่วมขบวนการโดยสัญญาว่าจะให้อาหารและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (หน้า 241) ปีพ.ศ.2515 รัฐได้มอบหมายให้คณะครุศาสตร์จัดพิมพ์แบบเรียนสุขศึกษาสำหรับชาวเขา เพื่อพัฒนาสุขภาพอนามัยให้ดีขึ้น ควบคู่กับบริการด้านสุขภาพ พยาบาลรักษาโรคภัยไข้เจ็บ (หน้า 254 255) |
|
Art and Crafts (including Clothing Costume) |
ชาวตะวันตกมองการแต่งกายของ ชาวป่า ชาวเขา ว่าเป็นกลุ่มชนที่ล้าหลัง โดยเฉพาะการใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้น การถอดเสื้อและดึงขากางเกงขึ้นเมื่อต้องทำงานท่ามกลางป่า ชาวตะวันตกแสดงทัศนะต่อการแต่งกายของชาวเขาว่า แลดูเป็นสัตว์โลกที่ป่าเถื่อนที่สุดเท่าที่เคยเห็น (หน้า 101 102) ชนชั้นนำสยามอย่างพระยาประชากิจกรจักรใช้เครื่องแต่งกายชี้วัดระดับความเจริญ การนุ่งผ้าน้อยชิ้นเป็นภาพลักษณ์ตัวแทนของ คนป่า เช่น กรณีของขมุที่เป็นป่าแท้ย่อมไม่นุ่งห่มผ้าเหมือนอย่างชาวบ้านชาวเมือง (หน้า 117) ความล้าสมัย ความสกปรกของ ชาวเขา ถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมบันเทิง ให้ผู้ชมตลกขบขัน ทศวรรษ 2510 มีนิยายเกี่ยวกับ ชาวเขา เรื่อง แก้วกลางดง และ ใต้ฟ้าสีคราม มีเนื้อหามอง ชาวเขา เป็นคนแปลกประหลาด เป็นตัวตลกในสังคม (หน้า 256 259) |
|
Folklore |
มีงานเขียนที่กล่าวถึงกลุ่มคนชาติพันธุ์หลายเล่ม บทความชิ้นแรกที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของงานเขียนประเภทชาติพันธุ์วรรณาของสยามคือบทความเรื่อง ว่าด้วยประเภทคนป่าฤาข่าฝ่ายเหนือ ของพระยาประชากิจกรจักร เมื่อปีพ.ศ.2428 เป็นบทความชิ้นแรกที่ชนชั้นนำสยามเขียนถึง คนป่า นอกจากนี้ โคลงนิราศสุพรรณ และเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ก็ถือเป็นงานเขียนที่จำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตสยามไว้มากที่สุด (หน้า 30 31) |
|
Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation) |
คนในสังคมมักมอง ชาวเขา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมบางประการร่วมกัน แต่คำว่า ชาวเขา มักเป็นเพียงคำเรียกเพื่อจัดกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายและอาศัยอยู่บนภูเขา ที่มาของชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักมาจาก 2 ลักษณะคือ 1.กลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ ตั้งชื่อเรียกตัวเองเช่นชาวม้งเรียกตัวเองว่า ม้ง และ 2.กลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ปฏิสัมพันธ์ด้วยตั้งชื่อให้ใหม่เช่น ชาวมลาบรี เดิมถูกเรียกว่า ผีตองเหลือง ซึ่งเป็นความหมายในเชิงดูถูก (หน้า 20) แม้ว คนภายนอกเรียก ม้ง มีความหมายว่าเป็นคนป่าเถื่อน คนจีนเรียก เมี่ยน ว่า เย้า แปลว่า ข้าทาส หรือ อาข่า ถูกคนภายนอกเรียกว่า อีก้อ เป็นต้น (หน้า 26 - 27) อย่างไรก็ตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกกลุ่มคนภายนอกดูถูกก็จะนิยามและตั้งชื่อเรียกของตนใหม่โดยมีความหมายของคำว่า คน (หน้า 22) และแนวโน้มการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก็มีฐานคิดของการเคารพสิทธิของความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น เช่นใช้คำว่า กลุ่มชาติพันธุ์ แทนที่การเรียกว่า ชนกลุ่มน้อย ชนเผ่า ชาวเขา (หน้า 23) นอกจากนี้คนในสังคมไทยยังเรียก ชาวเขา ด้วยคำต่างๆ อีก เช่น สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้คำว่า ชาติ และ คนต่างชาติต่างภาษา สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่า ชาวไทยภูเขา , บุคคลบนพื้นที่สูง , ชนกลุ่มน้อย , ชุมชนบนพื้นที่สูง เป็นต้น (หน้า 55 68) ชาวตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างภาพ ชาวป่า ชาวเขา ให้เป็นกลุ่มชนที่ดุร้ายป่าเถื่อน อย่างไรก็ตามความเกลียดชังระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นก็มีส่วนเสริมภาพลักษณ์นั้น เช่นที่ชาวลาวมองชาวข่าว่าเป็นพวกที่ดุร้ายป่าเถื่อน (หน้า 100 101) |
|
Social Cultural and Identity Change |
ชาวเขา ถูกนำมาสร้างภาพลักษณ์ให้กับการท่องเที่ยว ถูกนำมาเป็นจุดขายเรื่องความสวยงาม ความแปลกประหลาดของหน้าตา การท่องเที่ยวลดทอน ชาวเขา เหลือเพียงแค่สินค้า วิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรมถูกเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับฤดูกาลการท่องเที่ยว มีการเลิกใส่ชุดประจำเผ่า แปลงบ้านมาเป็นแบบคนเมือง เลิกผลิตงานหัตถกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยวยังหมู่บ้านต่างๆ ของ ชาวเขา มีมาตั้งแต่พ.ศ.2479 ในทศวรรษ 2490 เริ่มมีสิ่งพิมพ์หลายฉบับที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเกิดขึ้นมา อนุสารอ.ส.ท.ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ให้ความสนใจการนำเสนอ ชาวเขา มากขึ้น ถึงขนาดมีการนำภาพ ชาวเขา มาลงหน้าปก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็มีการเสนอภาพวิถีชีวิตของ ชาวเขา ว่าเป็นผู้สร้างปัญหาให้รัฐสอดแทรกในเนื้อหาอยู่บ้าง (หน้า 289 301) นอกจากนี้ภาพลักษณ์ ชาวเขา กับวัฒนธรรมทางเพศแบบเสรีก็ถูกนำเสนอควบคู่กัน คนพื้นราบมองว่า ชาวเขา เป็นพวก ฟรีเซ็กซ์...ไม่หวงเนื้อหวงตัว กระตุ้นนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งพยายามเดินทางไปพิสูจน์นับตั้งแต่ทศวรรษ 2490 โดยเฉพาะ อาข่า ที่ถูกมองว่ามีวัฒนธรรมทางเพศเสรี ผ่านเรื่องเล่า ลานกอดสาว และ มิดะ ถูกนำเสนอด้วยภาพลักษณ์ของความสำส่อน ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ชาวอาข่าเป็นอย่างมาก (หน้า 301 311) |
|
Map/Illustration |
ผู้เขียนได้ใช้ตารางและภาพ เพื่อช่วยอธิบายภาพลักษณ์เกี่ยวกับ ชาวเขา ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ตารางที่ 3 หน้า 295 ที่แสดงจำนวนของบทความที่เขียนถึง ชาวเขา ในอนุสาร อ.ส.ท. ในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2504 2530) ภาพแสดงเครื่องประดับและหุ่นจำลองของชาวเขาของชาวเขาเผ่าต่างๆ (หน้า 210) |
|
|