กลุ่มชาติพันธุ์

|
| | | ฆ | | | | | | ฌ | | ฎ | ฎ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | | | | | ธ | | | | | ฝ | | ฟ | | | | | | | ศ | ษ | | | ฬ | | | ทั้งหมด
แสดง 1-9 จากทั้งหมด 10 รายการ

ก่อ(อึมปี้)

 
(ก่อเมืองแพร่, อึมปี้, ก่อ)
ก่อ(อึมปี้) เป็นคำที่กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดแพร่และน่านใช้เรียกตัวเอง เพื่อที่จะให้เข้าใจความแตกต่างของคำทั้งสาม คงต้องสืบย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ถูกกวาดต้อนจากสิบสองปันนาในมณฑลยูนนานของประเทศจึน ในยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" เรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ...

ซะโอจ, ชอง

 
(อูด, ชุอุ้ง, ซะอูด)
ชาวซะโอจอาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งนา ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นชุมชนเดียวในประเทศไทย มีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันภาษาพูดของชนกลุ่มนี้ใกล้สูญหายและกำลังลดจำนวนลง เหลือประมาณ 40-50 คน ที่ยังพูดภาษาของตัวเองได้ ...

มอแกลน, ชาวบก

 
(มอแกลน, มอแกลนบก, ออลังตามับ, ชาวเล, โอรังลาโวท, ชาวน้ำ, ไทยใหม่, โอรังบาไร)
มอแกลน กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลที่อาศัยอยู่ในหลายหมู่บ้านของจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายกลุ่มเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและจิตวิญญาณ จึงมีความพยายามผลักดันให้เกิดพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไขในระยะยาว...

มานิ

 
(โอรังอัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า)
มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีดำรงชีพแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ กลุ่มสุดท้ายในประเทศไทย เคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดครอบคลุมพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง  ปัจจุบันพบว่ามีบางกลุ่มมีถิ่นที่อยู่ถาวรเนื่องจากเงื่อไขทางสังคมและทรัพยากร ...

เมี่ยน, อิ้วเมี่ยน

 
(เย้า, เมี่ยน)
ชาวอิ้วเมี่ยน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตภูเขาสูงทางตอนกลางของประเทศจีน เมื่อประสบภัยทางการเมืองและความจำเป็นทางเศรษฐกิจจึงอพยพกระจายไปยังตอนใต้ของประเทศจีน และบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม ลาว และไทย ในขณะที่บางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกในช่วงหลังสงครามอินโดจีน ...

อ่อเญอ, อ่อเญอก๊อคือ, อาเค๊อะ

 
(อาเค๊อะ, อาเข่อ, อาเค้ออาข่า)
แม้คนกลุ่มนี้จะเรียกตนเองว่า อ่อเญอ หรือ อ่อเญอก๊อคือ แต่เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกโดยใช้ภาษาอื่น ใช้คำว่า "อาเค๊อะ" เรียกกลุ่มของตนอย่างเป็นทางการ เป็นที่รู้จักของเด็กรุ่นหลังในชุมชนและคนภายนอก โดยข้อมูลชุดนี้เป็นข้อมูลจากงานภาคสนามในหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ...

ออแรนายู, ออแฆนายู, มลายูมุสลิม

 
(มุสลิม, อิสลาม, มาเลย์มุสลิม, ไทยมุสลิม, มาเลย์, แขก, มลายูถิ่นไทย)
คนมลายูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยะลา ปัตตานี นราธิวาส ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและในช่วงชีวิตเกี่ยวเนื่องกับหลักการในศาสนาอิสลาม ผสมผสานกับประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น จึงทำให้คนมลายูมีวิถีปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่...

อ่าข่า

 
(อีก้อ, ข่าก้อ, ก้อ, โอนิ-ฮานิ)
อ่าข่าในประเทศไทย อาศัยกระจายตัวอยู่ใน 7 จังหวัดทางภาคเหนือ ประกอบด้วยกลุ่ม อู่โล้, ลอมี้, อู่เบียะ, อ๊ะจ๊อ, หน่าคะ, อู่พี และอะเคอ ชาวอ่าข่ากลุ่มแรกเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณดอยตุงและบ้านดอยแสนใจ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ...

อุก๋อง, โอก๋อง, ละว้า

 
(โอก๋อง, ละว้า)
ชาว "โอก๋อง" เรียกตนเองว่า "ละว้า" ตามที่บุคคลภายนอกและทางราชการเรียกขานมาเป็นเวลายาวนานกว่า 200 ปี ต่อมาเมื่อมีการจัดทำสารานุกรมก๊อง (อุก๊อง) ทำให้ชื่อเรียกดังกล่าวเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้สันนิษฐานว่าชาวโอก๋องอาจเคยอาศัยอยู่บริเวณเขตแดนไทย-พม่า และอาจอพยพเข้ามาพร้อมกับสงครามที่เกิดขึ้น ...