กลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยเบิ้ง

  • ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยเบิ้ง
  • ชื่อเรียกตนเอง : ไทยเบิ้ง, ไทยเดิ้ง
  • ชื่อที่ผู้อื่นเรียก : ไทยเบิ้ง, ไทยเดิ้ง, ไทโคราช
  • ภาษาที่ใช้พูดและเขียน :
  • มิติทางประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ :

    ชื่อเรียกตนเอง  “ไทเบิ้ง” “ไทเดิ้ง”

              ไทเบิ้ง เป็นชื่อที่เรียกตัวเองจริง มีการสันนิษฐานว่าคำว่า ‘เบิ้ง’ ตรงกับคำว่า ‘บ้าง’ ในภาษาไทยกลาง ไทเบิ้ง จึงมีความหมายว่า เป็นไทยอยู่บ้าง คือส่วนหนึ่งเป็นไทย ส่วนหนึ่งเป็นเผ่าอื่น เช่น อาจจะเป็นลาว เขมร ยวน เป็นต้น ไทเบิ้ง เป็นชื่อที่ใช้เรียกตัวเองจริง และคนกลุ่มนี้มักจะใช้คำว่า ‘เบิ้ง’ ปะปนกันในการพูด เช่น ขอไปเบิ้ง (ขอไปบ้าง) เป็นต้น  ส่วน ไทเดิ้ง เป็นชื่อเรียกตัวเองเช่นเดียวกัน ซึ่งคำว่า ‘เดิ้ง’ เป็นภาษาโคราช ที่มีความหมายว่า ‘ด้วย’ และมักปะปนกันในการพูด  (ไทเบิ้ง, ม.ป.ป: ออนไลน์)

     

    ชื่อที่ผู้อื่นเรียก   “ไทยเบิ้ง” “ไทยเดิ้ง” หรือ “ไทยโคราช”

              ไทยเบิ้ง ไทยเดิ้ง หรือไทยโคราช เป็นการเรียกชนพื้นถิ่นกลุ่มหนึ่งที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ในเขตอำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล อำเภอโคกสำโรงและอำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี และยังตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายในจังหวัดอื่น ๆ เช่น อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชัยภูมิ

              ในทางวิชาการมีการพูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้งและไทยเดิ้ง ที่มีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดลพบุรีมานานกว่าสองทศวรรษแล้ว พื้นที่ของกลุ่มไทยเบิ้งอยู่ในเขตรอยต่อของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีเส้นทางติดต่อระหว่างภูมิภาคทั้งสอง ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่แถบนี้มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนตน เป็นลักษณะวัฒนธรรมผสมผสานระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง เพราะเป็นชุมชนที่มีปฏิสัมพันธ์กับทั้งสองภูมิภาค

              ไทเบิ้ง ไทเดิ้ง ไทยโคราช เป็นคำที่ชาวไทยลาว หรือเผ่าพันธุ์อื่นที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานเรียกชาวไทโคราช ธวัช ปุนโณทก ระบุในงานศึกษา เรื่องกลุ่มชั้นในภาคอีสานว่า “ชาวอีสานจะเรียกชาวโคราช” ว่า “ไทบ้าง ไทโคราชบ้าง ไทเบิ้ง หรือ ไทเดิ้ง บ้าง” ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นตรงกับงานศึกษาของสรเชตวรคามวิชัย เมื่อ พ.ศ. 2539 ว่า ชาวอีสาน กลุ่มต่าง ๆ เช่น ลาว เขมร จะเรียกชาวไทยโคราชว่า ไทยเบิ้ง หรือไทยเดิ้ง ไม่ทราบคำเรียกนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกอยู่ และจากการพูดคุยกับวีระพงศ์ มีสถาน นักวิจัยของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ระบุไว้ตรงกันว่า คนลาวชัยภูมิจะเรียกคนไทยโคราชว่า ไทยเบิ้ง กลุ่มชาวไทยในชัยภูมิจะยอมรับและหันมาเมื่อมีใครทักว่าเป็น ไทยเบิ้ง แสดงว่ามีการรับรู้ว่าตนเองเป็นกลุ่มไทย(เบิ้ง) ไม่ใช่ลาว (ไทโคราช, 2563: ออนไลน์)

  • เอกสารอ้างอิง :

    ปีงบประมาณ 2564 อัพโหลดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 

    เอกสารอ้างอิง

              ภูธร ภูมะธน. (2541). มรดกวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ลุ่มแม่น้ำป่าสัก ในเขตที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสัก. ลพบุรี: สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

              ชนิกา วัฒนะคีรี. (2537). จากสังคมชาวนาสู่สังคมอุตสาหกรรม : การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนไทยเบิ้ง บ้านดีลัง จังหวัดลพบุรี. ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

               ปฏิภาณ ผลสันต์. (2557). การรื้อฟื้นและแสดงออกในด้านอัตลักษณ์ กรณีศึกษา ชุมชนชาวไทยเบิ้ง ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

              เอกรินทร์ พึ่งประชา. (ม.ป.ป.). ไทเบิ้ง. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 จาก http://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/39.

              วิกิพีเดีย. (2563). ไทโคราช. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ไทโคราช.

              สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. (ม.ป.ป.). ไทยเบิ้ง. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 จาก http://library.tru.ac.th/index.php/inlop/lpcul/331-lpcul24.html.

ชุดข้อมูล : แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย

แสดง 1-1 จากทั้งหมด 1 รายการ
จังหวัดที่กระจายตัวตั้งถิ่นฐาน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร
นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ลพบุรี เป็นต้น650000
ที่มา:

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


  • บทนำ :

              ไทยเบิ้ง ไทยเดิ้ง หรือไทยโคราช เป็นกลุ่มชนท้องถิ่นหนึ่งที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก และยังตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา ชาวไทยเบิ้งนั้นถูกนิยามว่าเป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกับชาวไทยโคราช เพราะมีวัฒนธรรมและสำเนียงภาษาบางอย่างคล้ายกัน เนื่องจากมีความใกล้เคียงกันในด้านภูมิศาสตร์คือ กลุ่มชาวไทยเบิ้งมักจะอาศัยอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความ

  • ประวัติ/ที่มาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง :

              การตั้งถิ่นฐานแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักของชาวไทยเบิ้ง มีการขุดค้นพบทางโบราณคดีในพื้นที่กลุ่มชัยบาดาล กลุ่มมะนาวหวาน และกลุ่มหนองบัว โดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539-2540 รวม 18 แห่ง และพบว่ามีการตั้งถิ่นฐานเก่าสุดตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำลพบุรีมีอายุราว 3,000-3,500 ปีก่อนเป็นต้นมา ได้ค้นพบ ภาชนะดินเผา ภาชนะสำริด ขวานหินขัด ขี้แร่ และเครื่องประดับร่างกาย เป็นต้น (ไทยเบิ้ง, ม.ป.ป: ออนไลน์)

              ในรายงานการศึกษาเรื่อง มรดกวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ลุ่มน้ำป่าสัก ในเขตที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสัก ของ ภูธร ภูมะธน ได้กล่าวถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มวัฒนธรรมที่น่าจะเป็นบรรพบุรุษชาวไทยเบิ้งในลุ่มน้ำป่าสัก โดยใช้หลักฐานอ้างอิงของกลุ่มชุมชนไทยเบิ้งในช่วงเวลานั้น เช่น มีหลักฐานสำคัญหลายชิ้นที่อยู่ในวัดนี้ ได้แก่ ซากหินทราย ฐานโยนี บัวกลีบหนุน หินศิลาแลงลักษณะเป็นชิ้นส่วนของหินทรายรูปรอยแกะสลัก และชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมแบบองค์ปรางค์มีอายุร่วมสมัยกับพระปรางค์สามยอดอยู่ที่วัดโคกสำราญ หรือวัดใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านโคกสลุง นอกจากนี้ยังมีศิลปกรรมเก่าแก่ที่พบในพื้นที่หมู่บ้านชาวไทยเบิ้งในแถบลุ่มน้ำป่าสัก สามารถระบุได้ว่าเป็นศิลปกรรมไทยแบบอยุธยา เช่น พบบานพับประตูไม้แกะสลักรูปทวารบาล ที่วัดสิงหาราม และจากการขุดแต่งรอบพระอุโบสถเก่าของวัดจันทาราม ได้ค้นพบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์จำนวนมาก ซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบอยุธยา (ภูธร ภูมะธน, 2541: 291-295)

              ส่วนในงานศึกษา เรื่อง จากสังคมชาวนาสู่สังคมอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนไทยเบิ้ง บ้านดีลัง จังหวัดลพบุรี ของ ชนิกา วัฒนะคีรี ได้มีการกล่าวถึงการอพยพตั้งถิ่นฐานของชาวไทยเบิ้งว่า อพยพมาจากเวียงจันทน์ และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การอพยพกวาดต้อนผู้คนจากเวียงจันทน์มาสู่บริเวณภาคกลางและภาคอีสานของไทยใน 2 ช่วง คือ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงกอบกู้เอกราชปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ และได้ตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ.2321 ลาวคิดกบฏ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปรบหัวเมืองต่างๆ ได้แก่ เวียงจันทน์ เมืองสีสัตนาคนหุต และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งสงครามในครั้งนั้นได้ทำให้มีการอพยพกวาดต้อนชาวบ้านจากทั้ง 3 หัวเมืองมาเป็นจำนวนมาก และโปรดให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองต่าง ๆ ในภาคกลางและภาคอีสาน เมืองลพบุรีในตอนนั้นเป็นเมืองที่มีพลเมืองน้อยจนเกือบมีสภาพเป็นเมืองร้าง จึงเป็นโอกาสทำให้มีผู้คนอพยพมาเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ปัจจุบันชาวลพบุรีพูดสำเนียงแตกต่างกัน อีกช่วงหนึ่งคือ ช่วงที่ไทยทำสงครามกับลาวหลายครั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 ในช่วงปี พ.ศ.2367 - 2392 มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเวียงจันทร์ในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ได้มีการกวาดต้อนชาวลาวจากเวียงจันทน์มาไว้ที่เมืองลพบุรีเพื่อทดแทนชาวบ้านที่ถูกกวาดต้อนไปจนเกือบเป็นเมืองร้างครั้งเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ 2 (ชนิกา วัฒนะคีรี, 2537 : 20)

              ชุมชนชาวไทยเบิ้งมีการตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก กระจัดกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี : อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดสระบุรี  : อำเภอวังม่วง จังหวัดเพชรบูรณ์ : อำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดบุรีรัมย์ : อำเภอนางรอง อำเภอเมือง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดชัยภูมิ : อำเภอจัตุรัส อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดนครราชสีมา : ทุกอำเภอ ยกเว้น อำเภอหนองบัวใหญ่ อำเภอสูงเนิน (ไทยเบิ้ง, ม.ป.ป: ออนไลน์)

Access Point
No results found.

ชาวไทเบิ้งบ้านโคกสลุง ต.โคกสลุง อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ชุมชนตั้งอยู่ริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ผู้คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงพื้นบ้าน มีงานจักสานไม้ไผ่เป็นงานอดิเรกและเป็นรายได้เสริม ในชุมชนยังคงมีผู้เฒ่าผู้แก่ทอผ้าขาวม้าอยู่ ส่วนของอาหารนั้น "พริกกับเกลือ" ถือเป็นผงโรยข้าวอันโดดเด่นและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน