ชุมชนชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (บ้านปูแป้ ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก)

  • ชุมชนชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (บ้านปูแป้ ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก)
  • ชื่อเรียกตนเอง : ปกาเกอะญอ, สะกอ
  • ชื่อที่ผู้อื่นเรียก : ยาง, ยางขาว, กะเหรี่ยง, เกรี่ยง
  • ภาษาที่ใช้พูดและเขียน : ชาวกะเหรี่ยง (Karen) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาพูดจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino-tibetan) ภาษาธิเบต - พม่า (Tibeto-Burman) ในกลุ่มภาษา Karenic (กะเหรี่ยง)
  • มิติทางประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ :
  • เอกสารอ้างอิง :

    เอกสารอ้างอิง

    จักรี โพธิมณี. (2562). การสำรวจและศึกษาพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กรณีศึกษา ชุมชนในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

    เรื่องที่เกี่ยวข้อง

    ภาษาไทย

    • กองกิจการนิคมสร้างตนเองและพัฒนาชาวเขา กลุ่มพัฒนาชาวเขา กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ทําเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงครอบคลุมพื้นที่ 20 จังหวัดของประเทศไทย ประจําปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
    • กะเหรี่ยง. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม). หน้า 2107-2120.
    • กิติคุณ ใจวงษ์. (2553). “ศึกษาการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
    • ขวัญชีวัน บัวแดง. (2554). รายงานการวิจัย การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
    • ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. (2547). “ทบทวนแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์ข้ามยุคสมัยกับการศึกษา ในสังคมไทย” ใน ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
    • ฐิรวุฒิ เสนาคํา. (2547). “แนวคิดคนพลัดถิ่นกับการศึกษาชาติพันธุ์.” ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์.(หน้า 191-286). ใน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).(บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
    • นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, บรรณาธิการ. (2557). ชาติพันธุ์กับเสรีนิยมใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
    • นิติ ภวัครพันธุ์. (2558). ชวนถกชาติและชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์สยามปริทรรศน์.
    • บัณฑิต ไกรวิจิตร. (2559). “การเผชิญภาพแทนของกะเหร่ียงโผล่วในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร.” ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยากร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2535). องค์ความรู้นิเวศน์วิทยาของชุมชนเกษตรกรรมในเขตป่า: ศึกษากรณีกะเหรี่ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2550). “ความอิหลักอิเหลื่อของมโนทัศน์ชาติพันธุ์ (The Predicament of Ethnicity)” ใน วารสารสังคมศาสตร์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1.
    • ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีรวัฒน์ จันทึก. (2559). “รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง” Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน). หน้า 240-268.
    • พระปลัดสุชาติ สุวฑฺตโก. (2553). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
    • พระราชกฤษฎีกากําหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษีและป่าเขาบ่อแร่ ในท้องที่ตําบลชะแล ตําบลท่าขนุน ตําบลหินดาด ตําบลลิ่นถิ่น อําเภอทองผาภูมิ ตําบลเขาโจด ตําบลนาสวน ตําบลด่านแม่แฉลบ ตําบลหนองเป็ดตําบลท่ากระดาน อําเภอศรีสวัสดิ์ และตําบลไทรโยค อําเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2524 ฉบับพิเศษ 23 ธันวาคม พ.ศ.2524. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, 2524,หน้า 16 – 19.
    • พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอําเภอ กิ่งอําเภอ และตําบลบางแห่ง พุทธศักราช 2482. เล่ม 56.
    • พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 - บ้านโป่ง - กาญจนบุรี - ลาดหญ้า - ไทรโยค - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี - เจดีย์สามองค์ ตอนลาด หญ้า - ไทรโยค - ทองผาภูมิ ในท้องที่อําเภอเมืองกาญจนบุรี อําเภอไทรโยค และอําเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2524 เล่ม98 146 ก ฉบับพิเศษ หน้า 19- 21.
    • พลยุทธ ศุขสมิติ และวิวัฒน์ โตธิรกุล. (2550). รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม บริเวณหมู่เหมืองแร่สังกะสีดอยผาแดง ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (ครั้งที่ 3) (ส่วนที่ 1: คุณภาพน้ำและดินตะกอนธารน้ำ). เชียงใหม่ : สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 3 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.
    • ศิริรัตน์ ชูพันธ์ อรรถพลพิพัฒน์. (2556). “การแปรของเสียงพยัญชนะท้ายในภาษากะเหรี่ยงสะกอและภาษามลายูถิ่นปัตตานี: การเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่อันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษา.” ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • สมชาย หอมลออ และพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ (บรรณาธิการ). (2561). ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิผสานวัฒนธรรม.
    • สุทิน สนองผัน. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ สังคมในชุมชนกะเหรี่ยงในเขตชายแดนไทยและพม่า ระหว่าง พ.ศ. 2490-2543. ราชบุรี: สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
    • สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). ชาติพันธุ์สัมพันธ์: แนวคิดพื้นฐานทางมานุษยวิทยา ในการศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ ประชาชาติ และการจัดองค์กรความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เมืองโบราณ.
    • อภิญญา จงพัฒนากร และคณะ. (2560) “รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ข้าวไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์” ใน วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2560

    ภาษาอังกฤษ

    • Barth, Fedrik (1969). Ethnic Groups and Boundary: the Social Organization of Culture Difference.
    • Buadaeng, Kwanchewan. (2008). “Religious Conversion and Ethnic Identity: The Karen and the Akha in Northern Thailand”. In Don Mccaskill, Prasit Leepreecha and He Shaoying (eds.), Living in a Globalized World: Ethnic Minorities in the Greater Mekong Subregion, pp. 59-88. Edited by. Chiang Mai: Mekong Press.
    • Buadaeng, Kwanchewan. (2007). “Ethnic Identities of the Karen Peoples in Burma and Thailand”. In James L. Peacock, Thornton, Patricia M. and Inman, Patrick. B. (eds.), Identity Matters: Ethnic and Sectarian Conflict, pp.73-97. New York, Oxford: Berghahn Books.
    • Keyes, Charles F. (1966). “Ethnic identity and loyalty of villagers in northeastern Thailand.”
    • Asian Survey, V.VI, No.7, July. (1979). “The Karen in Thai History and the History of the Karen in Thailand.” In Charles F. Keyes, ed., Ethnic Adaptation and Identity. (pp. 119-154) Philadelphia: Institute for the study of Human Issues.
    • Keyes, Charles F. 1979. Ethnic Adaptation and Identity: The Karen on the Thai Frontier with Burma. Philadelphia: Institute for the Studies of Human Issues.
    • Rajah, Ananda. (2008). Remaining Karen: A study of cultural reproduction and the maintenance of identity. Canberra: ANU E.Press.

    สัมภาษณ์

    • ประยุทธ์ อ่อนทุวงศ์. หมู่ที่ 4 พะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (14 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
    • ปรานี อ่อนทุวงศ์. หมู่ที่ 4 พะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (14 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
    • สุรพล ต๊ะกู่. หมู่ที่ 4 พะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (18 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
    • อนุสรณ์ ทวีชัยไพศาล. หมู่ที่ 4 พะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (15 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์

     

แสดง 1-1 จากทั้งหมด 1 รายการ
จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร ละติจูด ลองติจูด
ตาก แม่สอด พะวอ บ้านปูแป้85516.8386198.778486

  • บทนำ :

               ชาวกะเหรี่ยงเป็นประชากรชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ของจังหวัดตาก ซึ่งเป็นจังหวัดมีเนื้อที่ตั้งอยู่บนทิวเขาถนนธงชัย ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง พื้นที่ราบจำนวนน้อย มีชุมชนชาติพันธุ์อาศัยกระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ จักรี โพธิมณี (2562, น.5) อธิบายว่า จากข้อมูลการสำรวจเชิงประชากรชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (as an ethnic category) เป็นกลุ่มที่การกระจายตัวของชุมชนมากที่สุด ที่ได้รับการสำรวจจากทางราชการ มีจำนวนกว่า 150,000 คน มีชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (ทั้งชาวปากะญอ/ปะกาเกอะญอ และโผล่ว/โปว์) จำนวน 420 กลุ่มบ้าน/ชุมชน มีครัวเรือนของ ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดตาก ประมาณ 28,943 หลังคาเรือน เฉพาะอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอาศัยอยู่ใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่กุ ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลมหาวัน ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลพะวอและตำบลท่าสายลวด ในจำนวนนี้ ตำบลพะวอมีกลุ่มบ้าน/ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมากที่สุด ส่วนตำบลท่าสายลวด สันนิษฐานว่า ชาวกะเหรี่ยงที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานจำนวนมากเป็นผู้พลัดถิ่นจากภัยสงครามความไม่สงบในพม่าเมื่อไม่กี่ทศวรรษก่อนหน้านี้ แล้วจึงเข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวรบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมย ประเทศไทย อย่างไรก็ตามชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนั้นอาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเมย ชายแดนไทย-เมียนมา หลายครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันชุมชนกะเหรี่ยงอื่น ๆ ในอำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผางและอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดตาก (จักรี โพธิมณี 2562, น.4)

               ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านปูแป้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ 260 เมตร ห่างจากถนนทางหลวงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายกลางสะพานมิตรภาพที่แม่สอด (เขตแดนไทย/พม่า) -มุกดาหาร หรือทางหลวงเอเชียสายหนึ่ง ระยะทางประมาณ 13.6 กิโลเมตร ห่างจากศาลเจ้าขุนพะวอประมาณ 16.6 กิโลเมตร (จักรี โพธิมณี 2562, น.73)

               ชุมชนปูแป้ ตั้งอยู่ห่างจากชุมชนปางส่างคำซึ่งเป็นกลุ่มบ้านของชาวกะเหรี่ยง บนเขาพะวอบริเวณดอยภูคา เพียง 10 กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางผ่านภูเขาและเส้นทางทุรกันดารด้วยรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ ประมาณ 60 นาที (จักรี โพธิมณี 2562, น.73) ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นกลุ่มกะเหรี่ยงสะกอ หรือมักจะเรียกตัวเองว่า "ปกาเกอะญอ" หรือ "ปากะญอ" แล้วแต่ความถนัดของการออกเสียงของผู้พูด

               บ้านปูแป้ “ปูแป้” เป็นชื่อเรียกชุมชนปากะญอแห่งนี้ตั้งแต่แรกตั้งกลุ่มบ้านคนในชุมชนสันนิษฐานว่า ชื่อนี้เป็นชื่อเรียกนกชนิดตามเสียงร้องของมัน นกชนิดนี้เคยพบจำนวนมากในชุมชน ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมของกลุ่มชุมชนที่เกิดขึ้นในตำบลพะวอ  

               แม้ว่าชาวกะเหรี่ยงบ้านปูแป้จะตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณพื้นราบ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ทำกินมีลักษณะเป็นเนินเขา สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย มีลำห้วยสำคัญคือ ลำห้วยแม่ละเมา ทางด้านทิศเหนือของชุมชนห้วยผาแดงและห้วยปูแป้ไหลผ่านหมู่บ้านเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนในการเกษตรกรรม

     

    แสดงการกระจายตัวของบ้านเรือนในชุมชนปูแป้

    (ที่มา: จักรี โพธิมณี 2562, น.74)

     

               แสดงการกระจายตัวของครัวเรือนในชุมชนปูแป้ โดยมีพื้นที่ทำกินอยู่รอบหมู่บ้าน ชุมชนปูแป้เป็นจุดสำคัญในการติดต่อสื่อสาร ไปมาหาสู่กันระหว่างชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อยู่บนภูเขาขึ้นไปทางด้านเหนือของหมู่บ้าน ซึ่งได้แก่ กลุ่มบ้านกะเหรี่ยงในหมู่ 4 และหมู่ 5 ของตำบล เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของหมู่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทุรกันดาร ถนนมีลักษณะเป็นลูกรัง ไม่มีน้ำประปาและไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ เดินทางลำบากในหน้าฝน จักรี โพธิมณี, 2562, น.75)

     

  • ประวัติ/ที่มาของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านปูแป้ ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก) :

              แต่เดิมเมื่อแรกตั้งหมู่บ้านประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา ผู้นำคนแรกชื่อว่า ซอกแก นั่นคือ พ่อของผู้ใหญ่มะลิ ชาญวนาเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ รวมกลุ่มครัวเรือนขึ้นมาบริเวณนี้ คนในชุมชนยังไม่มีนามสกุลใช้ สภาพทั่วไปยังไม่มีไฟฟ้าใช้ตะเกียงในการส่องสว่าง จักรยานเพียงหนึ่งคัน วิทยุชุมชนหนึ่งเครื่องนั้นเป็นสิ่งทันสมัยที่สุด เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว แต่ละบ้านตั้งอยู่ห่างกัน เมื่อถึงเวลาเย็นจะมารวมตัวกันที่บ้านหลังหนึ่งซึ่งมีเครื่องวิทยุ เพื่อรอฟังการจัดรายการเพลงปากะญอจากจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อประมาณปี 2520 จึงมีสาขาของศูนย์พัฒนาชาวเขาขณะนั้นเข้ามาในหมู่บ้าน มีครูเชื้อสายปากะญอเป็นคนสอนหนังสือภาษาไทยให้แก่เด็กในหมู่บ้าน ช่วงประมาณปี 2523 จึงเริ่มมีไฟฟ้าใช้ตามมาด้วยโครงการพัฒนาอื่น ๆ (จักรี โพธิมณี 2562, น.78)

              ในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาชาวเขา ที่บ้านปูแป้ในครั้งนั้น สมบัติ ศักดิ์ชัยสิทธิ์ (2561, สัมภาษณ์ อ้างถึงใน จักรี โพธิมณี 2562, น.78-79) อายุ 51 ปี ได้เล่าประสบการณ์ ของการได้เข้าไปเรียนหนังสือภาษาไทยตอนนั้นว่า

    "ตอนนั้นผมยังเด็กอยู่ เท่าที่จำได้ ตื่นเต้นตอนเขาให้ไปเรียน ตอนแรกก็ไม่ตั้งใจเรียนหรอก เพราะเด็กเนอะตอนนั้น อยากไปเล่น อยากไปไร่กับพ่อกับแม่มากกว่า เพื่อนไปเราก็ตามไป ... ใช้อาคารที่เป็นโบส์ถคลิสต์ปัจจุบันนี้ เท่าที่จำได้ เด็กเรียนไม่เยอะ มีครูอยู่ 3 คน เอ...จำชื่อครูไม่ได้แล้ว เรียนสอนอยู่หลายปี 4 5 ปี ... ไปเพราะได้เจอเพื่อน กับมีของกิน ขนม แต่พอมานั่งนึกย้อนแล้ว ก็ได้อ่านออกเขียนได้ก็เพราะศูนย์ฯนั่นแหล่ะ พอศูนย์ยุบไป เด็ก ๆ ก็เข้าโรงเรียนแทน...”

     

    สถานที่/หลักฐาน/เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชุมชน

               เช่นเดียวกับชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายชุมชนในอำเภอแม่สอด "โคะ" หรือ เจดีย์ทรายถือว่าเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของชุมชน อันเป็นหมุดหรือหลักสำคัญของการเลือกทำเลในกาตตั้งชุมชนเป็นหลักฐานของชุมชนที่มีอายุเก่าแก่ ชาวกะเหรี่ยงเมื่อตั้งหมู่บ้านจะมีโคะทรายบริเวณสำคัญของหมู่บ้าน เช่น เนินสูงกลางหมู่บ้าน หรือ ใกล้ต้นไม้ใหญ่ (ต้นโพธิ์) เชื่อกันว่า “มีความศักดิ์สิทธิ์ ดูแลหมู่บ้าน เป็นเหมือนเทพ” อนุสรณ์ ทวีชัยไพศาล, สัมภาษณ์, 2561 อ้างถึงใน จักรี โพธิมณี, 2562, น.86)

     

    "โค๊ะ" หรือเจดีย์ทราย ของบ้านปูแป้ ตั้งอยู่ในเขตของวัดบ้านปูแป้

    (ที่มา: จักรี โพธิมณี 2562, น.91)

     

  • วิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านปูแป้ ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก) :

                การประกอบอาชีพของคนในชุมชนคือเกษตรกรรมแทบทุกครัวเรือน ในเรื่องของการทำเกษตรกรรมนั้นในชุมชนมีการเปลี่ยนพื้นที่ไร่หมุนเวียนแต่เดิมมาเป็นไร่ที่มีหลักแหล่งแน่ชัด อันเนื่องมาจากการเข้ามาประกาศเขตพื้นที่อุทยานของหน่วยงานภาครัฐ และการไม่ให้คนในชุมชนประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนซึ่งรัฐมองว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำาลายป่า โดยการเพาะปลูกของชาวบ้านนั้นจะเป็นการปลูกข้าวโพดเพื่อการจำาหน่าย เป็นสินค้าเงินสดที่มีความสำคัญในการดำรงชีพในปัจจุบันเนื่องด้วยการส่งลูกหลานไปเรียนยังพื้นที่นอกชุมชนและความต้องการสินค้าอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิต เป็นเหตุให้เกิดความต้องการเงินสดและการปลูกข้าวสำหรับไว้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งการปลูกพืชผักต่าง ๆ ไว้บริโภค ซึ่งเป็นอาหารที่ต้องมีในทุกมื้ออาหาร ที่มาคู่กับน้ำพริกที่ขาดไม่ได้ในวิถีการกินของชาวปากะญอ ในชุมชนยังคงมีรูปแบบการแลกเปลี่ยนแบบเอามื้อเอาวันอยู่ ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการใช้ในงานปลูกข้าวโพดเป็นพืชที่ปลูกเพื่อการจำหน่าย มีการใช้แรงงานจำหน่ายมากในการปลูก นอกจากนี้ด้วยพื้นที่เกษตรกรรมที่ขายออกไปแต่แรงงานในครอบครัวมีจำนวนไม่มาก ลูกหลานจำนวนหนึ่งออกไปทำงานรับจ้างและเรียนหนังสือนอกชุมชน ทำให้เกิดการจ้างงานแรงงานชาวเมียนมาทั้งเสื้อชายปกาเกอะญอและพม่าเข้ามาทำงานในไร่ในชุมชน (จักรี โพธิมณี, 2562, น.90)

               การปลูกข้าวไร่หรือทำนาของคนในชุมชนจะปลูกสำหรับบริโภคเป็นหลักจะมีการใช้แรงงานในครัวเรือน เมื่อก่อนนั้นการบุกเบิกพื้นที่ใหม่จะสังเกตจากต้นไม้ที่อุดมสมบูรณ์ อย่างดูจากต้นไผ่ เป็นต้น ภายหลังต้องทำเกษตรกรรมในพื้นที่เดิมเป็นเหตุให้มีความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในการบำรุงดิน (จักรี โพธิมณี, 2562, น.90)

     

  • การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านปูแป้ ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก) :

               การแต่งกายนั้น จะพบว่ามีการแต่งกายในชุดพื้นเมืองในกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่วนใหญ่ในชุมชนนั้นจะมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสมัยใหม่ และมีคนจากนอกชุมชนเข้ามาจำหน่ายเสื้อผ้าต่าง ๆ ในช่วงเย็นวันเสาร์และเช้าวันอาทิตย์ในการประกอบพิธีที่โบสถ์ของชาวคริสต์ ชุดพื้นเมืองในเรื่องของสีนั้นจะมีความแตกต่างกันระหว่างผู้หญิงที่แต่งงานและยังเป็นโสด โดยสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วนั้นจะมีการสวมใส่เสื้อสีดำและแดง ในขณะที่หญิงโสดจะแต่งด้วยเสื้อสีขาว จักรี โพธิมณี, 2562, น.70)

     

  • บ้านของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านปูแป้ ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก) :

              การก่อตั้งชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านปูแป้ นั้น จากคำบอกเล่าของนางลออ สว่างดี (2561, สัมภาษณ์ อ้างถึงใน จักรี โพธิมณี, 2562, น.77-78) ได้เล่าว่า

              "ในสมัยก่อนนี้ ก็ใช้ไม้ไผ่ ปลูกเรือนกันเอง การปลูเรือนมันก็เป็นภูมิปัญยาของรุ่นปู่รุ่นย่าเนอะ ไปเข้าป่า ตัดไม้ไผ่มา ตัดไม้ต้นใหญ่หน่อยทำเสาบ้าน เอาไม้ไผ่ทำเป็นฝาบ้าน ... เดี่ยวนี้ไม่มีป่าแล้ว เป็นไร่นาไปหมด ตัดไม้ทำบ้านไม่ได้ได้แล้ว เพราะไม้ไม่มี แต่ก็พอมีบ้านที่ทำจากไม้ไผ่อยู่บ้าง เขาไปเอาไม้มาจากนู่น... ทางอุ้มผาง ไม่ก็ซื้อ .... บ้านเดี๋ยวนี้ก็เป็นไม้แผ่น เป็นปูนไปหมดแล้ว ทนกว่า ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ... ภูมิปัญญาเก่า ๆ ก็หายไป”