ชุมชนชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (บ้านพะเด๊ะ ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก)

  • ชุมชนชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (บ้านพะเด๊ะ ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก)
  • ชื่อเรียกตนเอง : ปกาเกอะญอ, ปากะญอ, สะกอ
  • ชื่อที่ผู้อื่นเรียก : ยาง, ยางขาว, กะเหรี่ยง, เกรี่ยง
  • ภาษาที่ใช้พูดและเขียน : ชาวกะเหรี่ยง (Karen) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาพูดจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต (Sino-tibetan) ภาษาธิเบต - พม่า (Tibeto-Burman) ในกลุ่มภาษา Karenic (กะเหรี่ยง)
  • มิติทางประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ :
  • เอกสารอ้างอิง :

    เอกสารอ้างอิง

    จักรี โพธิมณี. (2562). การสำรวจและศึกษาพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กรณีศึกษา ชุมชนในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

    เรื่องที่เกี่ยวข้อง

    ภาษาไทย

    • กองกิจการนิคมสร้างตนเองและพัฒนาชาวเขา กลุ่มพัฒนาชาวเขา กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ทําเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงครอบคลุมพื้นที่ 20 จังหวัดของประเทศไทย ประจําปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
    • กะเหรี่ยง. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม). หน้า 2107-2120.
    • กิติคุณ ใจวงษ์. (2553). “ศึกษาการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
    • ขวัญชีวัน บัวแดง. (2554). รายงานการวิจัย การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
    • ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. (2547). “ทบทวนแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์ข้ามยุคสมัยกับการศึกษา ในสังคมไทย” ใน ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
    • ฐิรวุฒิ เสนาคํา. (2547). “แนวคิดคนพลัดถิ่นกับการศึกษาชาติพันธุ์.” ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์.(หน้า 191-286). ใน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).(บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
    • นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, บรรณาธิการ. (2557). ชาติพันธุ์กับเสรีนิยมใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
    • นิติ ภวัครพันธุ์. (2558). ชวนถกชาติและชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์สยามปริทรรศน์.
    • บัณฑิต ไกรวิจิตร. (2559). “การเผชิญภาพแทนของกะเหร่ียงโผล่วในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร.” ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยากร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2535). องค์ความรู้นิเวศน์วิทยาของชุมชนเกษตรกรรมในเขตป่า: ศึกษากรณีกะเหรี่ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2550). “ความอิหลักอิเหลื่อของมโนทัศน์ชาติพันธุ์ (The Predicament of Ethnicity)” ใน วารสารสังคมศาสตร์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1.
    • ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีรวัฒน์ จันทึก. (2559). “รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง” Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน). หน้า 240-268.
    • พระปลัดสุชาติ สุวฑฺตโก. (2553). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
    • พระราชกฤษฎีกากําหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษีและป่าเขาบ่อแร่ ในท้องที่ตําบลชะแล ตําบลท่าขนุน ตําบลหินดาด ตําบลลิ่นถิ่น อําเภอทองผาภูมิ ตําบลเขาโจด ตําบลนาสวน ตําบลด่านแม่แฉลบ ตําบลหนองเป็ดตําบลท่ากระดาน อําเภอศรีสวัสดิ์ และตําบลไทรโยค อําเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2524 ฉบับพิเศษ 23 ธันวาคม พ.ศ.2524. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, 2524,หน้า 16 – 19.
    • พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอําเภอ กิ่งอําเภอ และตําบลบางแห่ง พุทธศักราช 2482. เล่ม 56.
    • พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 - บ้านโป่ง - กาญจนบุรี - ลาดหญ้า - ไทรโยค - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี - เจดีย์สามองค์ ตอนลาด หญ้า - ไทรโยค - ทองผาภูมิ ในท้องที่อําเภอเมืองกาญจนบุรี อําเภอไทรโยค และอําเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2524 เล่ม98 146 ก ฉบับพิเศษ หน้า 19- 21.
    • พลยุทธ ศุขสมิติ และวิวัฒน์ โตธิรกุล. (2550). รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม บริเวณหมู่เหมืองแร่สังกะสีดอยผาแดง ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (ครั้งที่ 3) (ส่วนที่ 1: คุณภาพน้ำและดินตะกอนธารน้ำ). เชียงใหม่ : สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 3 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.
    • ศิริรัตน์ ชูพันธ์ อรรถพลพิพัฒน์. (2556). “การแปรของเสียงพยัญชนะท้ายในภาษากะเหรี่ยงสะกอและภาษามลายูถิ่นปัตตานี: การเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่อันเนื่องมาจากการสัมผัสภาษา.” ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • สมชาย หอมลออ และพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ (บรรณาธิการ). (2561). ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิผสานวัฒนธรรม.
    • สุทิน สนองผัน. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ สังคมในชุมชนกะเหรี่ยงในเขตชายแดนไทยและพม่า ระหว่าง พ.ศ. 2490-2543. ราชบุรี: สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
    • สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). ชาติพันธุ์สัมพันธ์: แนวคิดพื้นฐานทางมานุษยวิทยา ในการศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ ประชาชาติ และการจัดองค์กรความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เมืองโบราณ.
    • อภิญญา จงพัฒนากร และคณะ. (2560) “รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ข้าวไร่ของกลุ่มชาติพันธุ์” ใน วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2560

    ภาษาอังกฤษ

    • Barth, Fedrik (1969). Ethnic Groups and Boundary: the Social Organization of Culture Difference.
    • Buadaeng, Kwanchewan. (2008). “Religious Conversion and Ethnic Identity: The Karen and the Akha in Northern Thailand”. In Don Mccaskill, Prasit Leepreecha and He Shaoying (eds.), Living in a Globalized World: Ethnic Minorities in the Greater Mekong Subregion, pp. 59-88. Edited by. Chiang Mai: Mekong Press.
    • Buadaeng, Kwanchewan. (2007). “Ethnic Identities of the Karen Peoples in Burma and Thailand”. In James L. Peacock, Thornton, Patricia M. and Inman, Patrick. B. (eds.), Identity Matters: Ethnic and Sectarian Conflict, pp.73-97. New York, Oxford: Berghahn Books.
    • Keyes, Charles F. (1966). “Ethnic identity and loyalty of villagers in northeastern Thailand.”
    • Asian Survey, V.VI, No.7, July. (1979). “The Karen in Thai History and the History of the Karen in Thailand.” In Charles F. Keyes, ed., Ethnic Adaptation and Identity. (pp. 119-154) Philadelphia: Institute for the study of Human Issues.
    • Keyes, Charles F. 1979. Ethnic Adaptation and Identity: The Karen on the Thai Frontier with Burma. Philadelphia: Institute for the Studies of Human Issues.
    • Rajah, Ananda. (2008). Remaining Karen: A study of cultural reproduction and the maintenance of identity. Canberra: ANU E.Press.

    สัมภาษณ์

    • ประยุทธ์ อ่อนทุวงศ์. หมู่ที่ 4 พะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (14 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
    • ปรานี อ่อนทุวงศ์. หมู่ที่ 4 พะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (14 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
    • สุรพล ต๊ะกู่. หมู่ที่ 4 พะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (18 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์
    • อนุสรณ์ ทวีชัยไพศาล. หมู่ที่ 4 พะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (15 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์

     

แสดง 1-1 จากทั้งหมด 1 รายการ
จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร ละติจูด ลองติจูด
ตาก แม่สอด พระธาตุผาแดง บ้านพะเด๊ะ91516.67630698.628529

  • บทนำ :

              ชาวกะเหรี่ยงเป็นประชากรชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ของจังหวัดตาก ซึ่งเป็นจังหวัดมีเนื้อที่ตั้งอยู่บนทิวเขาถนนธงชัย ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง พื้นที่ราบจำนวนน้อย มีชุมชนชาติพันธุ์อาศัยกระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ จักรี โพธิมณี (2562, น.5) อธิบายว่า จากข้อมูลการสำรวจเชิงประชากรชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พบว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (as an ethnic category)  เป็นกลุ่มที่การกระจายตัวของชุมชนมากที่สุด ที่ได้รับการสำรวจจากทางราชการ มีจำนวนกว่า 150,000 คน มีชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (ทั้งชาวปากะญอ/ปะกาเกอะญอ และโผล่ว/โปว์) จำนวน 420 กลุ่มบ้าน/ชุมชน มีครัวเรือนของชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดตาก ประมาณ 28,943 หลังคาเรือน เฉพาะอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอาศัยอยู่ใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่กุ ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลมหาวัน ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลพะวอ และตำบลท่าสายลวด ในจำนวนนี้ตำบลพะวอมีกลุ่มบ้าน/ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมากที่สุด ส่วนตำบลท่าสายลวด สันนิษฐานว่า ชาวกะเหรี่ยงที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานจำนวนมากเป็นผู้พลัดถิ่นจากภัยสงครามความไม่สงบในพม่าเมื่อไม่กี่ทศวรรษก่อนหน้านี้ แล้วจึงเข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวรบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมย ประเทศไทย อย่างไรก็ตามชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงนั้นอาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเมยชายแดนไทย-เมียนมา หลายครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันชุมชนกะเหรี่ยงอื่น ๆ ในอำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดตาก (จักรี โพธิมณี 2562, น.4)

               

  • ประวัติ/ที่มาของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านพะเด๊ะ ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก) :

              ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านพะเด๊ะ ตั้งอยู่เชิงเขาดอยผาแดง ห่างจากถนนทางหลวงหมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง ทางด้านทิศตะวันตกของชุมชน ระยะทางประมาณ 2.5–3 กิโลเมตร ห่างจากโครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอด ในรัศมี 3.5 กิโลเมตร ชุมชนตั้งอยู่ห่างจากเหมืองผาแดงและน้ำตกผาแดงในรัศมีประมาณ 4 กิโลเมตร (จักรี โพธิมณี 2562, น. 25)

              ชุมชนพะเด๊ะ ตั้งอยู่ห่างจากชุมชนถ้ำเสื้อ ซึ่งเป็นชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อยู่ใกล้แหล่งสัมปทานแร่สังกะสีเหมืองผาแดงที่สุด ด้วยระยะทางรถยนต์ประมาณ 10 กิโลเมตร และตั้งอยู่ห่างจากชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงขุนห้วยแม่สอด ระยะทางรถยนต์ประมาณ 12 กิโลเมตร (จักรี โพธิมณี 2562, น.25)

              ชุมชนพะเด๊ะตั้งอยู่บนทำเลที่เหมาะแก่การทำข้าวไร่และเกษตรกรรมอื่น ๆ  ด้านทิศใต้ของมีคลองแม่ตาว ไหลผ่านทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีคลองแม่สอดและทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีคลองแม่ตาวแง่ซ้ายไหลผ่าน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่สำคัญของชุมชนพะเด๊ะและครัวเรือนในละแวกนั้น (จักรี โพธิมณี 2562, น.25)

     

    แสดงการกระจายตัวของบ้านเรือนในชุมชนพะเด๊ะ

    (ที่มา: จักรี โพธิมณี 2562, น.26)

     

              จากภาพที่ 1 บริเวณหมุดแสดงตำแหน่งสีแดง คือ จุดอ้างอิงศูนย์กลางของชุมชนพะเด๊ะ คือ "โคะ" ดั้งเดิมของกลุ่มบ้าน ตั้งอยู่บนเนินสูงกลางชุมชน บ้านเรือนในระยะแรกตั้งกระจายอยู่รอบโคะ ปัจจุบันมีการขยายตัวของครัวเรือนออกไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณวัดนักบุญเปโตร ซึ่งเป็นวัดในคริสตศาสนา (คาธอลิก) และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อที่สำหรับการทำเกษตรกรรมของคนในชุมชนและชุมชนมีเนื้อที่ป่าสงวนแห่งชาติ ชื่อว่า ป่าชุมชนพะเด๊ะ จำนวน 860 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวา ทั้งนี้มีการขึ้นทะเบียนป่าชุมชนครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษาคม ปี 2560 และมีระยะเวลาสิ้นสุดปี 2570 (กรมป่าไม้, 2562 อ้างถึงใน จักรี โพธิมณี, 2562, น.26)

              ตามคำบอกเล่าของคนในชุมชน กล่าวว่า แม่ของพะเด๊ะ ผู้นำคนแรกของกลุ่มบ้านเมีเชื้อสายกะเหรี่ยง ส่วนพ่อมีเชื้อสายมอญแต่ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วพะเด๊ะเดินทางมาจากไหน ผู้นำหมู่บ้านของคนที่นี่ในสมัยก่อนเป็นทั้งผู้นำกลุ่มและผู้นำทางจิตวิญญาณ จากคำบอกเล่าสันนิษฐานว่า บ้านพะเด๊ะตั้งขึ้นเมื่อปี 2434 บริเวณชายเขาผาแดง หรือ ดอยผาแดง คนในชุมชนพะเด๊ะเรียก บริเวณผาแดงนี้ว่า "เลหว่อ"  กลุ่มครัวเรือนของชาวกะเหรี่ยงกลุ่มแรกว่าได้ย้ายขึ้นมาจากบริเวณที่เป็นเมืองแม่สอดในปัจจุบัน เพื่อหลีกหนีผู้คนมากหน้าหลายตาและเสาะหาที่ดินทำกินใหม่ มีผู้นำกลุ่มบ้านสืบต่อกันมาอีก 3 คน ก่อนที่ทางการจะเริ่มปรับปรุงระบบการปกครองในอำเภอแม่สอดราวปี พ.ศ. 2505 โดยมีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเข้ามาดูแลขึ้นอยู่กับพื้นที่ตำบลแม่ตาว ปัจจุบันการเดินทางระหว่างชุมชนพะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง ไปยังเทศบาลนครแม่สอดนั้นสะดวกสบาย ใช้เวลาเดินทางโดยพาหนะโดยประมาณ 20 นาที (จักรี โพธิมณี 2562, น.28)

              ชุมชนพะเด๊ะ เป็นชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับการพัฒนาด้านการศึกษามากว่า 60 ปี ในชุมชนมีโรงเรียนบ้านพะเด๊ะที่สอนถึง ม.3 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีนักเรียนจากบ้านถ้ำเสือ บ้านขุนห้วยแม่สอด ซึ่งเป็นชุมชนปะกาเกอะญอและชุมชนอื่น ๆ เดินทางมาเรียนที่โรงเรียนบ้านพะเด๊ะ ขึ้นอยู่กับสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เขต 2 จังหวัดตาก โรงเรียนแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2502 อาคารชั่วคาวหลังแรก 1 หลังถูกสร้าง ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในหมู่บ้าน ต่อมาเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์บ้านพะเด๊ะ) ในขณะนั้นมีนักเรียนเข้าเรียนประมาณ 30 คน มีนายจรัญ ยศแก้ว เป็นครูใหญ่คนแรก นายธนู แสนคำ เป็นครูใหญ่คนที่ 2 นายประสงค์  คฤหมาน  เป็นครูใหญ่คนที่ 3  การเรียนการสอนในช่วงแรก ๆ มีครูเพียงคนเดียว เป็นคนไทยในตำบลเดียวกัน แต่ต้องเดินทางมาสอนในชุมชน สมัยก่อนไม่ได้สอนหนังสือตามหลักสูตรแกนกลาง เน้นให้อ่านออกเขียนได้ นั่นคือ เน้นการสอนวิชาภาษาไทย (จักรี โพธิมณี 2562, น.28)

              โรงเรียนบ้านพะเด๊ะได้รับการสนับสนุนโดยชุมชนทั้งด้านความร่วมมือและการบริจาคที่ดินส่วนตัว รวมไปถึงการได้รับความช่วยเหลือจากนิสิตนักศึกษาที่เข้ามาทำค่ายอาสาฯ บริษัทเอกชนในพื้นที่ เช่น บริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาพัฒนาโรงเรียนบ้านพะเด๊ะ นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านพะเด๊ะยังได้พัฒนาโรงเรียนตามแนวโครงการพระราชดำริ โดยตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมและติดตามงานโรงเรียนในโครงการฯ อยู่หลายครั้ง นอกจากนี้คณะครูและชาวบ้านในชุมชนยังมีโอกาสได้รับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ อยู่เป็นประจำ เนื่องจากพระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินมายังเหมืองผาแดง ตำบลพระธาตุผาแดงเพื่อติดตามโครงการในพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง (จักรี โพธิมณี 2562, น.28)

              ในหมู่บ้านพะเด๊ะ "โคะ" หรือ เจดีย์ทรายถือว่าเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนอีกด้วย เนื่องจากเป็นหมุดหมายของการเลือกทำเลที่ในอดีตเป็นหลักฐานของชุมชนที่มีอายุเก่าแก่ ชาวกะเหรี่ยงเมื่อตั้งหมู่บ้านจะมีโคะทรายบริเวณสำคัญของหมู่บ้าน เช่น เนินสูงกลางหมู่บ้าน หรือ ใกล้ต้นไม้ใหญ่ (ต้นโพธิ์) เชื่อกันว่า "มีความศักดิ์สิทธิ์ ดูแลหมู่บ้าน เป็นเหมือนเทพ", สัมภาษณ์, 23 มกราคม 2561 อ้างถึงใน จักรี โพธิมณี, 2562, น.29)