ชุมชนชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก)

  • ชุมชนชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก)
  • ชื่อเรียกตนเอง : กะเหรี่ยง, ปกากะญอ-โปว์, สะกอ
  • ชื่อที่ผู้อื่นเรียก : กะเหรี่ยง, ยาง
  • ภาษาที่ใช้พูดและเขียน : ตระกูลภาษาตามการจำแนกตามหลักภาษาศาสตร์ กะเหรี่ยงโปว์ (Pwo Karenic) กับ สะกอ (Sgaw Karenic) จัดอยู่ใน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan linguistic) ภาษาทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) ในกลุ่มภาษา Karenic
  • มิติทางประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ :
  • เอกสารอ้างอิง :

    เอกสารอ้างอิ

    พิเชฐ สายพันธ์. (2562). พลวัตชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงฝั่งตะวันตกของประเทศไทยในเขตตอนบนจังหวัดตากและจังหวัดกำแพงเพชร. ชุดโครงการศึกษาวิจัยพลวัตของชุมชนชาติพันธุ์เพื่อการสร้างแผนที่วัฒนธรรมมีชีวิต ปีที่ 1 (พ.ศ.2562). กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

    เอกสารที่เกี่ยวข้อง 

    ภาษาไทย

    • กริ่มกมล มหัทธนวิศัลย์. (2543). การจัดการความขัดแย้งในป่าชุมชนของชาวปกาเกอญอในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • กัลยา หอมเกตุ. (2548). อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์กะเหรี่ยงท่ามกลางวิถีชีวิตแบบใหม่: กรณีศึกษาบ้าน ห้วยสัตว์ใหญ่ หมู่ที่ 6 ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. นครศรีธรรมราช: สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
    • กิฏาพล ภัทรธรรมา. (2558). การศึกษาเรื่องข้อห้ามของชาวปกาเกอะญอในช่วงวัยที่ต่างกัน: กรณีศึกษาบ้านกุยต๊ะ หมู่ 5 ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • เกียรติศักดิ์ แสงสว่าง. (2550). ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนปกาเกอะญอ บ้านแม่กองคา หมู่ที่ 10 ต.แม่ยวม อ.แม่เสรียง จ.แม่ฮ่องสอน. ปทุมธานี: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ขวัญชีวัน บัวแดง. (2541). การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง: กรณีศึกษาหมู่บ้าน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่: รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • ขวัญชีวัน บัวแดง. (2546). โครงการวิจัย ศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์: ศึกษากรณีกลุ่มชนกะเหรี่ยงในประเทศไทยและประเทศพม่า : ต้นฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย.
    • ขวัญชีวัน บัวแดง. (2547). ศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์: ศึกษากรณีกลุ่มชนกะเหรี่ยงในประเทศไทยและประเทศพม่า. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • ขวัญชีวัน บัวแดง. (2551). พื้นที่พรมแดนแม่น้ำเมยกับความสัมพันธ์ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง-คนเมือง. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • ขวัญชีวัน บัวแดง. (2560). เครือข่ายพุทธศาสนาของชาวกะเหรี่ยงข้ามแดนไทย-เมียนมาร์. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • ขวัญชีวัน ศรีสวัสดิ์. (2532). ขบวนการครูบาขาวปีกับกะเหรี่ยงโปว์ในภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
    • คารน ศรีคาไทย. (2534). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชาวกะเหรี่ยง ในกิจกรรมของศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา จังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
    • จรัสพร ธงสินธุศักดิ์. (2560). กระบวนการผลิตของ "กลุ่มอนุรักษ์" กับการสร้างการยอมรับในอัตลักษณ์ความเป็นกะเหรี่ยง: กรณีศึกษา บ้านกุยเลอตอ จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • จรีเมธ อังกสิทธิ์. (2538). ผลของการส่งเสริมระบบการปลูกพืชเชิงอนุรักษ์ดินและนาบนที่สูงที่มีต่อ ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมบนที่สูง. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • จรูญศักดิ์ จารุธีรนาท. (2542). เทคโนโลยีการก่อสร้างเรือน พื้นถิ่นของชาวกะเหรี่ยงสะกอ หมู่บ้านทุ่ง แกเหนือ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • จารัส กันทะวงษ์. (2531). ศึกษาเปรียบเทียบการเผยแพร่ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ในกลุ่มชาวเขา: ศึกษาเฉพาะกรณีชาวกะเหรี่ยงบ้านผาเต๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
    • จารุณ ระวีคา. (2541). การดำเนินงานของกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรชาวไทยพื้นราบและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • จารุวรรณ อุทาปา. (2558). ดนตรีข้ามพรมแดน : การทำงานวัฒนธรรมของนักดนตรีกะเหรี่ยงในอาณาบริเวณชายแดนไทย-พม่า. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • จารูญ ยาสมุทร. (2530). การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในภาคเหนือของไทย. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • จินตนา กาญจนถวัลย์. (2535). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนกะเหรี่ยง: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีบ้านไร่ป้า อำเภอทองผาภูมิ กับบ้านสะเนพ่อง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • จินตนา สังวร. (2531). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการศึกษานอกโรงเรียนของชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
    • จิระ ปรังเขียว. (2519). รายงานการศึกษาทางสังคมและเศรษฐกิจเบื้องต้นบ้านห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยชาวเขา.
    • จิระศักดิ์ มาสันเทียะ. (2543). บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนตะวันตกในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงตามแนวชายแดนไทย-พม่า. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • จุมพล เพิ่มแสงสุวรรณ. (2541). การวิเคราะห์เรือนกะเหรี่ยงสะกอ บ้านแม่ยางส้าน บนตำบลท่าผาอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • เจริญสุข จิระศักดิ์วิทยา. (2543). การศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรื่องเรือนกะเหรี่ยงโปว์ หมู่บ้านห้วยน้ำหนัก ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาสถาปัตยกรรไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ชนะพันธ์ รวีโชติภัคนันท์. (2554). วิถีชีวิตชาวกะเหรียง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ขอนแก่น : การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
    • ชมพูนุท โพธิ์ทองคา. (2541). การตั้งชื่อของชาวกะเหรี่ยงโปตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
    • ชลกาญจน์ ฮาซันนารี. (2538). การศึกษาสภาพการดำรงชีวิตของชาวเผ่ากะเหรี่ยง: กรณีศึกษาบ้านคำหวัน ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ชวลิต ธนาคา. (2527). โครงสร้างทางสังคมของชนเผ่ากะเหรี่ยงกรณีศึกษาหมู่บ้านตีนธาตุ ตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง. (2554). วิถีคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา บ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
    • ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ. (2536). เรือนกะเหรี่ยงสะกอบ้านแม่ลิด ต.แม่เหาะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ชาญวิทย์ สรรพศิริ. (2537). เรือนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หมู่บ้าน เสน่ห์พ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ชาญวิทย์ สุขพร. (2543). รายงานวิจัยเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านเสน่พ่อง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ณรงค์ ใจหาญ. (2541). สภาพความเป็นอยู่และปัญหาของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
    • ณัฐพงศ์ แสงรักษาวงศ์. (2547). ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดาเนินชีวิตของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง : กรณีศึกษากะเหรี่ยงหมู่บ้านสบอมแฮด หมู่ที่ 18 ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น กลุ่มวิชาล้านนาคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
    • ณัฐพล บุญอุทิศ. (2543). รายงานวิจัยเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง ตำบลโร่โว่ อำเภอสังขละบุรี กาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ดวงกลม วรรธโนทัย. (2539). บทบาทผู้นำและการผสมผสานทางวัฒนธรรม : ศึกษากรณีชุมชนกะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ สค.ม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • ตวงสิทธิ์ ตงศิริ. (2555). การเกื้อกูลที่ดินทำกินเพื่อความอยู่รอดของชาวกะเหรี่ยง: กรณีศึกษา บ้านเวียคะดี หมู่ที่ 5 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ตุลวัตร พานิชเจริญ. (2525). สภาพวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หมู่บ้านห้วยนา ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร.
    • ตุลวัตร พานิชเจริญ. (2536). การกล่อมเกลาทางสังคมในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • ทิพวรรณ คามา. (2546). การดำรงอยู่ของความเชื่อเรื่องผีของกะเหรี่ยงคริสต์. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • เทวี สวรรยาธิปัติ. (2525). แบบแผนชีวิตชุมชนที่มีผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีกะเหรี่ยงที่กิ่ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • ธชาพร เลาวพงษ์. (2555). การจัดการนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตปกาเกอะญอบ้านแม่แดดน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลแม่แดด อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. ปทุมธานี: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ธนวิทย์ ฉุนฉ่า. (2544). รายงานวิจัยเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านบ้านน้ำตก อำเภอคลองสาน จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ธันวดี ดอนวิเศษ. (2545). การเปลี่ยนแปลงระบบการทาเกษตรและผลกระทบที่มีต่อการดำรงชีวิตของชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านแม่ลอง. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ธีภัทร ล.ทองคา. (2558). หัตถานารีอาเซียน ผ้าทอมือของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวและกะเหรี่ยงโป อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี บูรณาการความรู้ด้านภูษา ภาษา และการอพยพย้ายถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • ธีรวรรณ สมะพันธุ. (2520). เรือนกะเหรี่ยงโปว์ หมู่บ้านแม่จ๊าง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • นัฏกานต์ ชัยพิพัฒน์. (2546). เรือนกะเหรี่ยงบ้านกะโนและบ้านนางิ้ว ว ต.แม่อูคอ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • นัทธมน หงษ์สินี. (2558). หมู่บ้านต้นแบบชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านทีตะเฉ เพื่อการฟื้นฟูและยกระดับชีวิต หลังเหตุการณ์ไฟไหม้ ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • นันทวัน อินทร์จันทร์. (2545). การศึกษารูปแบบเครื่องแต่งกายกะเหรี่ยงโปและกะเหรี่ยงสะกอ ในเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่ : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • นิตยา วัยโรจนวงศ์ และ ปราณี กายรุณสุทธิ. (2525). คาเครือญาติในภาษากะเหรี่ยงโปว์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย.
    • นิติพร ลาดปาละ. (2550). อาชีพทอผ้า กรณีศึกษา กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงสะกอของหมู่บ้านพะมอลอ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • นิทราพร ลัดดากรพันธุ์. (2553). ชีวิตและการทาพันธกิจของคริสจักรท้องถิ่นในเขตพื้นที่สูง ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงภาคเหนือ สังกัดคริสจักรภาคที่ 10 แห่งสภาคริสจักรในประเทศไทย : รายงานวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยพายัพ.
    • นิ่มวัฒน์., ธ. (2546). เรือนกะเหรี่ยงโปว์บ้านเจ้าวัด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • นิวัฒน์ ฉิมพาลี. (2545). รายงานวิจัยผลกระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมต่อสภาพแวดล้อมและชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตก : กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยงในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • บัณฑิต ไกรวิจิตร. (2559). การเผชิญกับภาพแทนของกะเหรี่ยงโผล่ว ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2506). ชาวเขาในไทย: เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีแปลกๆ ของชาวเขาในไทยโดยละเอียดพิสดาร. พระนคร: โอเดียนสโตร์.
    • บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2526). ชาวเขาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
    • บุญญิศา บุญเกียรติบุตร. (2549). กระบวนการอนุรักษ์วัฒนธรรมกะเหรี่ยง : ศึกษากรณีพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • บุญเพิ่ม ฤทัยกริ่ม. (2545). การปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวปกาเกอะญอที่เข้ามาทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่: รายงานวิจัยย่อยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • ประนอม สีสะทาน. (2552). กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าของปกฺากะญอ สะกอ: กรณีศึกษาบ้านแม่ระอาใน หมู่ที่ 9 ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. ปทุมธานี: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ประภาวดี สุทธิจิตผ่องใส. (2549). การศึกษารูปแบบและลวดลายผ้าของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านป่าปุ๊ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
    • ประเสริฐ โพคะ. (2554). วิถีการผลิตในระบบวนเกษตรและการจัดการป่าชุมชนกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนกะเหรี่ยงในภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่: มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ มพน. และชุมชนห้วยหินลาด.
    • ปรียาพร บุษบา. (2555). การออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านบึงเหนือ ตำบลบ้านคา จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
    • ปัทมา วิชิตจรูญ. (2539). รายงานเรื่อง เรือนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง บ้านกล้วย หมู่ที่ 1 ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ปาณิศา ปวงดี. (2555). การศึกษาการแต่งกายของผู้หญิงชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านค้างใจหมู่ที่ 7 ตำบลแม่เกิ๋ง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
    • ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (2535). องค์ความรู้นิเวศน์วิทยาของชุมชนเกษตรกรรมในเขตป่า: ศึกษากรณีกะเหรี่ยงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • พระปลัดสุชาติ สุวฑฺตโก. (2553). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
    • เพ็ญพรรณ อินทปันตี. (2554). สิทธิชุมชนในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ: ศึกษากรณีชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • เพียงจิต เทียนย้อย. (2535). การเปลี่ยนศาสนาของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง สะกอ ในหมู่บ้านภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • ภาวนีย์ บุญวรรณ. (2544). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อพระพุทธศาสนาและฤาษีของชาวกะเหรี่ยงทุ่งใหญ่นเรศวร : กรณีศึกษา หมู่บ้านสะเน่พ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
    • ภูวดล แซ่จ๋าว. (2545). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชนเผ่ากะเหรี่ยงสกอร์ บ้านขุนตื่นน้อย หมู่ 6 ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ กับชนเผ่าลีซุ บ้านปางสาง หมู่ 17 ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ภูวดล แซ่จ๋าว. (2554). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ของชนเผ่ากะเหรี่ยงสกอร์ บ้านขุนตื่นน้อย หมู่ 6 ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ กับชนเผ่าลีซูบ้านปางสา หมู่ 17 ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย. ปทุมธานี: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • มาลี ศรีศฤงคาร. (2530). การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยงานหัตถกรรมชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง: ศึกษากรณีทอผ้า ณ หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • มาลี สิทธิเกรียงไกร ; บรรณาธิการ. (2554). แนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • เมืองพล เมฆเมืองทอง. (2518). กะเหรี่ยงที่บ้านเลโคะ ต.แม่ยาม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • ยอดชาย ไวเนตร. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาที่ทำกินของชาวเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำพูน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
    • วชิรพันธ์ จงวัฒนา. (2555). บทบาทของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี ภัยแห่งสหประชาชาติต่อการช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยงผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบในเขตตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • วรกานต์ สิงหเดช. (2541). รายงานการวิเคราะห์เรือนกะเหรี่ยงเผ่า "สะกอ" บ้านแม่ยางส้านล่าง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • วรุฒม์ ศิริกิม. (2546). กระบวนการอยู่ร่วมกับป่าของชุมชนกะเหรี่ยง : ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่บ้านป่าแป๋ ตำบลป่าพูล อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
    • วันดี สันติวุฒิเมธี. (2538). ชีวิตครอบครัวชาวกะเหรี่ยง สะกอ : กรณีศึกษาชาวบ้านซอโอ ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • วัลย์ลิกา สรรเสริญชูโชติ. (2545). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตและระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในมิติหญิงชายของชุมชนกะเหรี่ยง : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • วาสนา สุทธิพิทักษ์วงศ์. (2547). วิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอญอ สะกอ: กรณีศึกษาชาวบ้านยางห้วยแสมกองคอง หมู่ที่ 4 ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. ปทุมธานี: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • วิชัย โป๊ะคา. (2555). ผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์ในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ : กรณีศึกษาบ้านผ้าทอบ้านเด่นกระต่าย บ้านผาปูน และบ้านยางเปา. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • วิไลพร ชะมะผลิน. (2522). บทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของสตรีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง สะกอ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยชาวเขา กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์
    • ศริญญา นาคราช. (มปป.). ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงกับการทอผ้า. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • ศรินทิพย์ ยามพิชัย. (2557). แนวทางการพัฒนาชุมชนกะเหรี่ยงลินช้าง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. พะเยา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
    • ศักดิ์สิทธิ์ การะเกต. (2544). รายงานวิจัยเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านโละโคะ ตำบลโกสัมพี กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ศิกษก บรรลือฤทธิ์. (2559). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของที่อยู่อาศัยชาวกะเหรี่ยง: กรณีศึกษาหมู่บ้านทุ่งมะเซอย่อ ต.บ้องตี อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
    • ศิริวรรณ เจือแก้ว. (2544). รายงานเรือนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หมู่บ้านเพชรจะขอ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • ศิษฎา แท่นนิล., ศ. (2546). รายงานเรื่องเรือนกะเหรี่ยงบ้านพะยอย และบ้านหัวแม่สุริน ต.แม่อูคอ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • สกุลกร ยาไทย. (2559). เศรษฐกิจการเมืองของความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมจากต่างประเทศในบริบทความขัดแย้งทางชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กรณีศึกษา ค่ายอพยพนุโพ จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • สมเกียรติ ทองมี. (2540). การเปรียบเทียบทัศนคติของชาวเขาเผ่าม้งกับเผ่ากะเหรี่ยงต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในตำบลแม่แดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • สมรักษ์ ชัยสิงหกานนท์, สรินยา คาเมือง และ อธิตา สุนทโรทก. (2550). วัฒนธรรม ความตายกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ : มอญ-โซ่ง-กะเหรี่ยง-ม้ง-เย้า. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
    • สรพงษ์ วิชัยดิษฐ. (2547). กระบวนการก่อรูปอัตลักษณ์ของผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง : ศึกษากรณีกะเหรี่ยงในพื้นที่พักพิงชั่วคราว บ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ (มน.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • สราวุฒิ วรพงษ์. (2555). กระบวนการบริหารการพัฒนาที่ยั่งยืนสาหรับชุมชนกะเหรี่ยงบนพื้นที่สูงของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
    • สายัณฆ์ กลางถิ่น. (2537). ลักษณะผู้นำท้องถิ่นด้านการเกษตร ตามการรับรู้ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่: บัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้.
    • สิปปะ ด้วงผึ้ง. (2544). รายงานเรื่อง เรือนเครื่องผูกหมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลาน พัฒนาอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2536). กะเหรี่ยงโป บ้านห้วยฮ่อมนอก ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
    • สุทธารี ลิ่มโอภาสมณี. (2517). สภาวะเศรษฐกิจสังคมและการพัฒนาหมู่บ้านสาธิตแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • สุภลักษณ์ โทณลักษณ์. (2542). การนับถือผีบรรพบุรุษของชาวกะเหรี่ยงโปว์: บทบาท ความสำคัญ และการเปลี่ยนแปลง กรณีศึกษาที่หมู่บ้านดงเสลาเก่า ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • สุภารัช พงษ์กุล. (2546). การจัดการทรัพยากรและการผลิตทางการเกษตรเพื่อยังชีพของชุมชนกะเหรี่ยง : กรณีศึกษา หมู่บ้านแม่แดดน้อย ตำบลแม่แดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
    • สุภาวดี คุ้มแว่น(2544). บทบาทในครอบครัวของผู้หญิงกะเหรี่ยง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    • สุรินทร์ เหลือลมัย. (2540). งานวิจัยเรื่องความเชื่อทางศาสนาของชาวกะเหรี่ยง : กรณีศึกษาวันปีใหม่กะเหรี่ยงที่วัดแจ้งเจริญ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.
    • สุรีพร ชินวงศ์. (2542). ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจและความเชื่อของกะเหรี่ยงเผ่าโป บ้านตุงติง ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • สุวัฒชัย ไทรสังขชวลิต. (2552). การศึกษาและฟื้นฟูภูมิปัญญา "ลือกาเวาะ" เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของคนกะเหรี่ยงบ้านสะเนพ่อง ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี : รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
    • สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์. (2545). การจัดการศึกษาเพื่อฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนปวาเก่อญอหมู่บ้านใหม่พัฒนา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
    • อดิสรณ์ กองเพิ่มพูล. (2543). ทัศนคติของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    • อรชร มณีสงฆ์. (2550). การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหัตถกรรมท้องถิ่นและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวง : กรณีศึกษาผ้าทอชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บาทห้วยห้อม. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง องค์การมหาชน.
    • อัครพันธุ์ พันธุ์สัมฤทธิ์. (2541). รายงานเรื่อง เรือนพื้นถิ่นของชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านห้วยสัตว์เล็ก ต.ป่าเต็ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • อานนท์ เรืองกาญจนวิทย์. (2541). รายงานเรื่อง เรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยงโปว์ หมู่บ้านท่ามะขาม ต. ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
    • อารีย์ พานทอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของปกาเกอะญอ บ้านวัดจันทร์ หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์ ศน.ม. สาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    • อุดม เจริญนิยมไพร และคณะ. (2549). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนตามจารีตประเพณีของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย: กรณีศึกษาชุมชนม้งและกะเหรี่ยง. เชียงใหม่: โครงการพัฒนาแผนที่และการจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย ร่วมกับ โครงการเพื่อคนกับป่า.

    ภาษาอังกฤษ

    • Ananda Rajah. 1990. “Ethnicity, Nationalism, and the Nation-State: The Karen”. In Ethnic Groups across National Boundaries in Mainland Southeast Asia. Gehan Wijeyewadene (ed.), Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.
    • Buadaeng, K. 2003. Buddhism, Christianity and the ancestorsreligion and pragmatism in a Skaw Karen community of North Thailand. Chinag Mai: Social Research Institute Chiang Mai University.
    • Hamilton, J. W. 1965. Ban Hong : social structure and economy of a Pwo Karen village in Northern Thailand. Ann Arbor, Mich. : University Microfilms International.
    • Hamilton, J. w. 1976. Pwo Karen : at the edge of mountain and plain. St. Paul: West Pub. Co.
    • Keyes, Charles F. 1977. The Golden Peninsular. New York: McMillan Publishing.
    • Keyes, Charles F. 1979. Ethnic Adaptation and Identity: The Karen on the Thai Frontier with Burma. Philadelphia: Institute for the Studies of Human Issues.
    • Kunstadter, Peter. 1969. “Hill and Valley Populations in Northwest Thailand”. In Tribesmens and Peasants in North Thailand. P. Hinton (ed.), Chiang Mai: Tribal Research.
    • Mischung, R. 1980. Religion in a Cgau Sgaw Karen villiage of Western upland Chiang Mai Province, Northwest Thailand. Bangkok : National Research Council of Thailand, Bangkok.
    • Mohoney J., Rueschemeyer D. (eds.) 2003. Comparative Historical Analysis in the Social Sciences. Cambridge: Cambridge University Press.
    • Srisawat., K. 1988. The Karen and the Khruba Khao Pi movement: a historical study of the response to the transformation in Northern Thailand. Manila : Ateneo de Manila University.

     

แสดง 1-1 จากทั้งหมด 1 รายการ
จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร ละติจูด ลองติจูด
ตาก แม่ระมาด แม่ตื่น บ้านเลอตอ17.2386998.42569

  • บทนำ :

              กะเหรี่ยงสะกอ ชุมชนบ้านเลอตอ อาศัยอยู่ในพื้นที่ของตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลตัวเมือง สภาพปัญหาทั่วไปของพื้นที่นี้จึงอยู่ในระหว่างการส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ปัญหาการมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจำกัด ปัญหาแหล่งน้ำที่ไม่เพียงพอต่อพื้นที่ทำการเกษตร ชาวกะเหรี่ยงเดิมดำรงชีพด้วยการปลูกฝิ่นและทำไร่หมุนเวียนเป็นหลัก หลังจากการสร้างศูนย์โครงการหลวงเลอตอราว 10 ปีมาแล้ว และข้อจำกัดที่เกิดจากการประกาศพื้นที่เขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จึงหันมาเพาะปลูกพืชไร่อื่น ๆ และไม้ยืนต้นแทนการปลูกฝิ่นและการทำไร่หมุนเวียนที่ใช้พื้นที่มาก แต่ผลผลิตของพืชไร่เหล่านี้ยังได้ไม่เต็มที่นัก การเข้ามามีบทบาทของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมู่บ้านเลอตอใน มีผลสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือประสานงานในภาคส่วนราชการหลายส่วนมากยิ่งขึ้นต่อการเข้ามาพัฒนาปรับปรุงในพื้นที่ของตำบลแม่ตื่น

              กะเหรี่ยงชุมชนบ้านเลอตอ พูดภาษากะเหรี่ยงสะกอ การเข้ามาตั้งของโรงเรียนทำให้เยาวชนชาวกะเหรี่ยงเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้มากขึ้นแต่พูดภาษากะเหรี่ยงสะกอน้อยลง ลักษณะบ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงปัจจุบันเป็นเรือนใต้ถุนสูงมีชานบ้าน สร้างขึ้นจากวัสดุถาวรและมั่นคง ฝาเรือนทำจากไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องหรือสังกะสี มีหัตถกรรมการทอเสื้อผ้าแบบกะเหรี่ยงดั้งเดิมใช้เอง กะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกะเหรี่ยงกลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องจากอำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ไปจนถึงอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

              ในด้านวัฒนธรรมประเพณี ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่นี้ยังรักษาความเชื่อในการนับถือผีหรือจิตวิญญาณธรรมชาติและผีบรรพชน มีศูนย์กลางความเชื่ออยู่ที่ศาลปู่เลอตอ ซึ่งเชื่อว่าเป็นตัวแทนของผีเจ้าป่าเจ้าเขา ศาลมีลักษณะเป็นศาลาขนาดเล็กตั้งอยู่ในตำแหน่งกลางหมู่บ้าน แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ มีผู้นำการประกอบพิธีเป็นผู้อาวุโสของชุมชน การประกอบพิธีสำคัญเกี่ยวกับการดำรงชีวิต เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ ยังคงจัดพิธีแบบประเพณีดั้งเดิมควบคู่ไปกับการนับถือพุทธศาสนาแบบล้านนาสายครูบาศรีวิชัยและมีการเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาพร้อมกับมีการตั้งโบสถ์คริสต์ในชุมชนด้วย

     

  • วิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               อาชีพดั้งเดิมของกะเหรี่ยงชุมชนบ้านเลอตอ คือ การเกษตรกรรมทำไร่หมุนเวียน ภายหลังในระยะประมาณสิบปีที่ผ่านมาได้มีการปลูกพืชผักและพืชยืนต้น เช่น กาแฟ โดยการเข้ามาแนะนำส่งเสริมจากโครงการหลวง ทำให้ชาวบ้านบางครอบครัวเริ่มมีรายได้จากอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำไร่หมุนเวียน (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.114) โครงการหลวงมาตั้งศูนย์ในพื้นที่หมู่บ้านเลอตอ เพื่อพยายามส่งเสริมการเกษตรเพาะปลูกพืชเสริมจากไร่หมุนเวียนในฤดูกาลหลักภายในพื้นที่ตำบลนี้ แต่ก็ยังเป็นช่วงของการเริ่มต้นโครงการที่ยังไม่ได้เห็นผลของการส่งเสริมอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย การเข้ามามีบทบาทของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมู่บ้านเลอตอในไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผลสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือประสานงานในภาคส่วนราชการหลายส่วนมากยิ่งขึ้นต่อการเข้ามาพัฒนาปรับปรุงในพื้นที่ของตำบลแม่ตื่น (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.141-142) 

               ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ ได้เริ่มเข้ามาพัฒนาพื้นที่ในบริเวณนี้อย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยสังกัดกับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ คนงานประจำเป็นชาวกะเหรี่ยงที่มาจากอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และมีชาวบ้านเลอตอที่ได้รับผ่านการสมัครคัดเลือกเข้ามาร่วมโครงการ มาช่วยงานประมาณ 10 ครอบครัว นอกจากนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ 2 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สารตกค้างอายุ 26 ปี ซึ่งดูแลในเรื่องเทคนิคทางการเกษตร จบการศึกษาจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ดูแลบัญชีการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 คน ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่อำเภอแม่ระมาดที่เพิ่งจบการศึกษาจากเชียงใหม่เช่นเดียวกัน และหัวหน้าโครงการฯ เลอตอ ในอดีตเมื่อเริ่มก่อตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการหลวงได้เป็นผู้ขึ้นมาช่วยกำกับวางแนวทางการทำงาน ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นพลเอกกัมปนาท รุดดิษฐ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลพืชที่เตรียมทดลองส่งเสริมในพื้นที่ ได้แก่ เสาวรส เนื่องจากมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวไม่นาน หลังจากปลูกประมาณ 6 เดือน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ ราคาของเสาวรสอยู่ที่กิโลกรัมละ 20-60 บาท ในส่วนของผักที่นิยมส่งเสริมให้ปลูกได้แก่ ผักเบบี้ฮ่องเต้ ผักกวางตุ้ง คะน้าฮ่องกง กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี ฟักทองญี่ปุ่น ทางโครงการหลวงฯ จะรับผลผลิตเหล่านี้ไปช่วยจำหน่าย ส่วนใหญ่พืชที่ส่งเสริมมักจะเป็นพืชที่ให้ผลมากกว่าพืชใบและยังมีพืชยืนต้น เช่น กาแฟ จันเทศ ไผ่ เนื่องจากยังมีปัญหาในเรื่องเส้นทางการขนส่งที่ยังไม่สะดวกและมีระยะไกลทำให้พืชใบได้รับความเสียหายเร็วและง่ายกว่า หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงในละแวกนี้ที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงเลอตอ ได้แก่ แถบตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด ซึ่งมักจะนิยมให้ปลูกพืชยืนต้นในกลุ่มกาแฟ ไผ่ จันเทศ ส่วนในเขตอำเภอท่าสองยางที่อยู่ใกล้กับเส้นทางขนส่งคมนาคมจะส่งเสริมการปลูกผักต่าง ๆ เช่น ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี ในหมู่บ้านแม่ลาคีและบ้านกาหม่าผาโด้ ส่วนที่บ้านจอคีส่งเสริมปลูกผักและฟักทองญี่ปุ่น จากการเข้ามาพัฒนาพื้นที่ในบริเวณนี้ของโครงการหลวง และได้มีการเข้ามาสร้างศูนย์โครงการหลวงเลอตอขึ้นมาอย่างถาวรเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ใหญ่บ้านรายงานว่า การเข้ามาของโครงการหลวงเริ่มมาราวสิบปีแล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้แถบบริเวณตำบลแม่ตื่นยังมีเรื่องของการปลูกฝิ่นและทำไร่หมุนเวียนเป็นหลัก จากนั้นจึงได้เริ่มปลูกกาแฟกันเมื่อปี พ.ศ. 2551 ต่อมามีการปลูกผักกาด ผักคะน้า มากขึ้นโดยจะมีพ่อค้าชาวมูเซอ ม้ง ขับรถมารับผลผลิต ส่วนต้นเสาวรสที่ได้รับการส่งเสริมยังไม่ได้ผลดีนักโดยเฉพาะในฤดูฝน 141 หลังจากพื้นที่บริเวณนี้ได้รับการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ทำให้การขออนุญาตในเรื่องการทำถนนเข้าหมู่บ้านรวมถึงการใช้พื้นที่ทำกินรอบหมู่บ้านมีข้อจำกัด แตกต่างจากที่เคยใช้ที่ดินเพื่อทำไร่หมุนเวียนได้เช่นในอดีต (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.140-141)

     

  • ครอบครัวและระบบเครือญาติของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               โครงสร้างครอบครัวและระบบเครือญาติของชาวกะเหรี่ยงบ้านเลอตอมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ บ้านห้วยขนุน บ้านห้วยโป่ง ในตำบลเดียวกัน เนื่องจากตำบลแม่ตื่นเป็นตำบลที่มีพื้นที่ติดกับเขตอำเภออมก๋อยของจังหวัดเชียงใหม่ทำให้มีเครือญาติที่เกี่ยวข้องกันกับชาวกะเหรี่ยงในเขตอำเภออมก๋อยด้วย เช่น กรณีของแม่ของผู้ใหญ่บ้านก็มีพื้นเพดั้งเดิมมาจากอำเภออมก๋อย (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.113)

               การสืบสายตระกูลของชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านเลอตอสืบตามสายตระกูลของแม่และภรรยาเป็นหลัก เดิมผู้ใหญ่บ้านเลอตอมาจากหมู่บ้านห้วยแห้ง ย้ายมาอยู่ที่บ้านเลอตอเนื่องจากแต่งงานจึงทำให้ต้องย้ายมาอยู่กับฝ่ายหญิงที่หมู่บ้านเลอตอ (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.112)

     

  • การแต่งงานของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

              การแต่งงานของชาวกะเหรี่ยงบ้านเลอตอ จะเริ่มตั้งแต่ฝ่ายหญิงต้องไปขอฝ่ายชาย จากนั้นงานแต่งงานจะจัดที่ขึ้นที่บ้านของฝ่ายหญิง ในพิธีแต่งงานเจ้าสาวจะใส่ชุดกะเหรี่ยงสีขาว ช่วงเวลาเช้าเป็นพิธีดื่มเหล้า มีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย ได้แก่ พ่อ แม่ ลุง เจ้าบ่าวเจ้าสาวร่วมกันรินเหล้าให้กับฝ่ายพ่อตาแม่ยายอย่างน้อย 3 ขวด หลังจากการกินเหล้าให้ญาติผู้ใหญ่เสร็จแล้วก็เป็นการกินข้าว จากนั้นเวลาค่ำประมาณสองทุ่มจะมีพิธีมัดมือและเข้าห้องหอ เจ้าบ่าวกับเจ้าสาวจะอยู่ด้วยกันในบ้าน 2 วัน เมื่อถึงวันที่ 3 จะพากันเข้าป่าเพื่อออกไปหากินกันในป่าโดยจะมีผู้ติดตามไปด้วย ที่บ้านเลอตอนิยมให้ผู้ติดตามที่จะเป็นคู่บ่าวสาวรายต่อไปเป็นผู้ร่วมเดินทางเข้าป่าไปกับคู่ที่แต่งงาน หลังจากกลับมาจากพิธีเข้าป่าแล้วก็จะเป็นการไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่เจ้าสาว (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.115)

     

  • การแต่งกายของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

              ปัจจุบันชาวบ้านผู้หญิงบางคนยังมีการทอผ้าตามแบบประเพณีเพื่อทำเครื่องแต่งกายเสื้อผ้ากะเหรี่ยงใช้เอง (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.114)

  • การตายและการทำศพของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               เมื่อมีคนตายในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านเลอตอ จะมีการนำศพไปฝังไว้ที่ป่าช้านอกหมู่บ้าน ในพิธีศพจะมีการร้องเพลงในเพลงนั้นจะร้องเกี่ยวกับคนตาย ซึ่งเพลงดังกล่าวหากไม่มีคนตายจะห้ามร้องโดยเด็ดขาด ในงานศพคนร่วมงานที่เป็นคนหนุ่มสาวจำนวนมาก 50-60 คนจะร่วมกันร้องเพลงรอบศพนั้น การแต่งกายในงานศพไม่มีการบังคับสีที่จะใส่ไปร่วมงานศพ (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.115)

     

  • ประเพณีเลี้ยงผีของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               ชาวกะเหรี่ยงชุมชนบ้านเลอตอมีพิธีเลี้ยงผีเพื่อการรักษาซึ่งทำกันในครอบครัว ส่วนใหญ่จะทำกันในช่วงเวลาเย็น อาหารที่ผ่านการทำพิธีเลี้ยงผีเสร็จแล้วจะนำไปไว้บนหัวที่นอน เมื่อทำพิธีเสร็จมีข้อห้ามไม่ให้คนในออกจากบ้านและไม่ให้คนนอกเหนือจากสมาชิกในบ้าน (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.115)

     

  • ประเพณีอื่น ๆ ของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               พิธีมัดมือหรือผูกข้อมือ เป็นพิธีที่ชาวกะเหรี่ยงชุมชนบ้านเลอตอทำประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมเป็นรอบแรกของปีและในช่วงหลังจากเดือนพฤษภาคมเป็นรอบที่สองของปี ในการทำพิธีมัดมือจะเป็นบทบาทของผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้อาวุโสในหมู่บ้านเป็นผู้ทำการมัดมือให้พร ด้ายที่มัดมือก็จะผูกไว้ที่ข้อมืออย่างน้อยเป็นเวลา 3 วัน จึงจะถอดด้ายออก (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น. 114)

     

  • ศาสนาและความเชื่อของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               ศาสนาและความเชื่อพุทธศาสนา เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อพลวัตทางความเชื่อศาสนา ตลอดจนพลวัตทางสังคมของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่บริเวณนี้เป็นอย่างมาก สำหรับหมู่บ้านเลอตอ ศาสนาพุทธ มีสำนักสงฆ์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนเป็นอาคารชั้นเดียวผนังโปร่งรอบด้านทำหน้าที่เป็นทั้งวิหารและศาลาไปในคราวเดียวกัน ด้านหลังวิหาร/ศาลาเป็นพระเจดีย์สีทอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงซ้อนกันสองชั้น ตัวเจดีย์เป็นทรงลังกาแปดเหลี่ยมเหนือฐานแปดเหลี่ยมที่ตั้งอยู่บนฐานสูงสี่เหลี่ยมอีกทีหนึ่ง รูปทรงทั่วไปของเจดีย์คล้ายกับเจดีย์ทางล้านนา สำนักสงฆ์แห่งนี้มีพระสงฆ์ที่เป็นสายพระป่าลูกศิษย์หลวงตามหาบัวจากจังหวัดอุดรธานี เดินทางมาจำวัดอยู่เป็นประจำ และมีโครงการที่จะย้ายบริเวณที่ตั้งวัดออกไปอยู่นอกเขตหมู่บ้าน เนื่องจากพระสงฆ์รูปดังกล่าวเห็นว่าตัววัดตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน (บนเนินสูงตรงข้ามกับบ้านผู้ใหญ่บ้าน) ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเป็นวัดแบบวัดสายพระป่า (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.116)

              ความเชื่อเรื่องผี เดิมทีก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาตามบริบทของสังคมไทย หมู่บ้านเลอตอที่มีการนับถือพุทธศาสนาก็ยังมีการถือผีร่วมอยู่ด้วย เช่น การนับถือผีธรรมชาติผีเจ้าป่าเจ้าเขา มีการตั้งศาลปู่เลอตอที่กลางหมู่บ้านเพื่อแสดงถึงการเคารพนับถือผีเจ้าป่าเจ้าเขา ในเวลาที่เจ็บป่วยไม่สบายจะมีการเลี้ยงผีเพื่อรักษาโรค โดยเริ่มจากการทำพิธีเลี้ยงผีปู่ย่าตายาย (ผีบรรพชน) ด้วยการใช้ไก่ต้มและข้าวหนึ่งหม้อ บางครั้งมีการเลี้ยงหมูเพิ่มเข้ามา พิธีเลี้ยงผีเพื่อการรักษาส่วนใหญ่จะทำกันในช่วงเวลาเย็น อาหารที่ผ่านการทำพิธีเลี้ยงผีเสร็จแล้วจะนำไปไว้บนหัวที่นอน เมื่อทำพิธีเสร็จมีข้อห้ามไม่ให้คนในออกจากบ้านและไม่ให้คนนอกเหนือจากสมาชิกในครอบครัวเข้าบ้านด้วย (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.115)

     

  • ข้อห้าม ข้อปฏิบัติของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               ชาวกะเหรี่ยงที่บ้านเลอตอ ส่วนมากจะเป็นข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีกรรม ข้อห้ามไม่ให้คนในออกจากบ้านและไม่ให้คนนอกเหนือจากสมาชิกในครอบครัวเข้าบ้านด้วยระหว่างในช่วงหลังทำพิธีเลี้ยงผี

     

  • ผู้นำพิธี/ผู้ประกอบพิธีของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

              เนื่องจากชาวกะเหรี่ยงชุมชนบ้านเลอตอไม่มีผู้นำในการประกอบพิธีกรรมโดยเฉพาะ ผู้อาวุโสในชุมชนจึงมีบทบาทในการทำหน้าที่เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชน

     

  • พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               ศาลปู่เลอตอ ศูนย์รวมจิตใจของหมู่บ้านเลอตออยู่ที่ ศาลปู่เลอตอ ศาลมีลักษณะเป็นศาลาขนาดเล็กตั้งอยู่ในตำแหน่งกลางหมู่บ้าน แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ เชื่อว่าเป็นตัวแทนของผีเจ้าป่าเจ้าเขา ชาวบ้านจึงได้เชิญผีดังกล่าวให้มาอยู่ในศาลเป็นที่เป็นทางเพื่อไม่ให้ออกไปรบกวนคนอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน เพราะเคยมีเรื่องเล่ากันมาว่าเมื่อครั้งที่ยังไม่ได้ตั้งศาลและเชิญผีเจ้าป่าเจ้าเขาเข้ามาอยู่ในศาล ชาวบ้านจะได้ยินเสียงวิ่งไปวิ่งมาบนเรือนอยู่เป็นประจำ ภายหลังมาได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ได้แนะนำให้ตั้งศาลเพื่อให้ผีเจ้าป่าเจ้าเขาอยู่เป็นที่เป็นทาง (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.115)

     

    ศาลปู่เลอตอ บ้านเลอตอ ม.13 ต.แม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก

    ภาพถ่ายโดย วสันต์ อิทธิอภิบวร 3 กุมภาพันธ์ 2562

    (ที่มา: พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.116)

     

  • สถานการณ์ปัจจุบันของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               สถานการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนเกิดจากการเข้ามาพัฒนาพื้นที่ในบริเวณนี้ของโครงการหลวง และได้มีการเข้ามาสร้างศูนย์โครงการหลวงเลอตอขึ้นมาอย่างถาวรเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ใหญ่บ้านรายงานว่า การเข้ามาของโครงการหลวงเริ่มมาราวสิบปีแล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้แถบบริเวณตำบลแม่ตื่นยังมีเรื่องของการปลูกฝิ่นและทำไร่หมุนเวียนเป็นหลัก จากนั้นจึงได้เริ่มปลูกกาแฟกันเมื่อปี พ.ศ. 2551 ต่อมามีการปลูกผักกาด ผักคะน้ามากขึ้นโดยจะมีพ่อค้าชาวมูเซอ ม้ง ขับรถมารับผลผลิต ส่วนต้นเสาวรสที่ได้รับการส่งเสริมยังไม่ได้ผลดีนักโดยเฉพาะในฤดูฝน (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.115-116)

               หลังจากพื้นที่บริเวณนี้ได้รับการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ทำให้การขออนุญาตในเรื่องการทำถนนเข้าหมู่บ้าน รวมถึงการใช้พื้นที่ทำกินรอบหมู่บ้านมีข้อจำกัดแตกต่างจากที่เคยใช้ที่ดินเพื่อทำไร่หมุนเวียนได้เช่นในอดีต อีกทั้งมีการจัดตั้งโครงการในโรงเรียน ตชด. ที่หมู่บ้านเลอตอ มีการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาไทย ทำให้เด็กรุ่นใหม่เริ่มพูดภาษากะเหรี่ยงได้น้อยลง

               ผลที่เกิดจากนโยบายและการพัฒนา ในภาพรวมของชาวกะเหรี่ยงในตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลตัวเมืองจังหวัดตากมากที่สุด เส้นทางคมนาคมเข้าสู่หมู่บ้านหลายแห่งยังลำบาก เป็นทางดินและทางตัดเข้าไปในป่า มีบางส่วนเท่านั้นที่เป็นทางราดคอนกรีต ซึ่งส่วนหนึ่งยังอยู่ในระหว่างโครงการพัฒนาเส้นทางขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังมีงบประมาณจำกัด การเข้าถึงของสาธารณูปโภคเช่น ระบบน้ำประปายังคงใช้น้ำประปาภูเขา และต้องอาศัยการก่อสร้างแท็งค์เก็บกักพักน้ำของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งหลายหมู่บ้านก็อยู่ในระหว่างการพัฒนาและเดินสายท่อประปาภูเขา ดังนั้นน้ำที่ใช้ส่วนใหญ่จึงเป็นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเท่าที่จำเป็น ส่วนน้ำที่ใช้ในการเกษตรกรรมยังคงอาศัยน้ำจากธรรมชาติเป็นหลัก ได้แก่ น้ำฝนและน้ำจากลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ตำบลแม่ตื่น ไม่มีลำน้ำขนาดใหญ่ ยกเว้นลำน้ำแม่ตื่นสายเดียวที่มีขนาดใหญ่กว่าลำห้วยที่ไหลผ่านในแต่ละหมู่บ้าน จึงทำให้พื้นที่ทำการเกษตรมีข้อจำกัดและยังไม่สามารถทำการเกษตรนอกฤดูกาลได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าจะมีโครงการหลวงมาตั้งศูนย์ในพื้นที่หมู่บ้านเลอตอ เพื่อพยายามส่งเสริมการเกษตรเพาะปลูกพืชเสริมจากไร่หมุนเวียนในฤดูกาลหลักภายในพื้นที่ตำบลนี้ แต่ก็ยังเป็นช่วงของการเริ่มต้นโครงการที่ยังไม่ได้เห็นผลของการส่งเสริมอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย สภาพปัญหาทั่วไปของพื้นที่นี้จึงอยู่ในระหว่างการส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางคมนาคม ถนน ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการส่งเสริมอาชีพเสริมในการทำการเกษตร การเข้ามามีบทบาทของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมู่บ้านเลอตอในไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผลสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือประสานงานในภาคส่วนราชการหลายส่วนมากยิ่งขึ้นต่อการเข้ามาพัฒนาปรับปรุงในพื้นที่ของตำบลแม่ตื่น (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.141-142)

              ผลกระทบในด้านวัฒนธรรมและประเพณี ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่นี้ยังรักษาความเชื่อในการนับถือผี โดยเฉพาะในกรณีผีธรรมชาติ เช่น ผีเจ้าป่าเจ้าเขา และผีบรรพชน ควบคู่ไปกับการนับถือพุทธศาสนา ดังปรากฏว่ามีการสร้างวัดและเจดีย์ในชุมชนกะเหรี่ยงหลายแห่งในตำบลนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่พุทธศาสนาจากล้านนาสายครูบาศรีวิชัย โดยลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัยที่มีบทบาทสำคัญในการนำพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในบริเวณตำบลนี้คือครูบาชัยวงศา แห่งวัดพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ทำให้ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่นี้มีความสัมพันธ์กับเครือข่ายพุทธศาสนาสายครูบาชัยวงศาอย่างเหนียวแน่นมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในระยะหลังได้มีพระสงฆ์สายพระป่าลูกศิษย์หลวงตามหาบัวจากจังหวัดอุดรธานี ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในพื้นที่นี้อีกสายหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่ามีการเข้ามาบูรณะวัดที่หมู่บ้านเลอตอและมีโครงการที่จะพัฒนาวัดเดิมที่หมู่บ้านเลอตอให้กลายเป็นวัดสายพระป่าในพื้นที่นี้ในอนาคต การนับถือคริสตศาสนาในเขตตำบลแม่ตื่นยังมีจำนวนไม่มาก พบที่ตั้งโบสถ์ของศาสนาคริสต์ในหมู่บ้านบางแห่ง เช่น บ้านห้วยมะพร้าวซึ่งระบุชื่อโบสถ์ว่าโบสถ์ห้วยน้ำหอม เป็นต้น (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น.142)

     

  • การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายในปัจจุบันของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (บ้านเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก) :

               เครือข่ายความสัมพันธ์พื้นฐานทางเครือญาติของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่นี้ เป็นกลุ่มที่มีประวัติอาศัยอยู่ในบริเวณแห่งนี้มานานหลายชั่วคน อาจจะนับอายุได้เป็นร้อยปี และมีเครือญาติที่เกี่ยวข้องกับกะเหรี่ยงในบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ ในพื้นที่แม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง ในพื้นที่อำเภอแม่ระมาดและในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ทำให้เห็นความสัมพันธ์พื้นฐานของการตั้งถิ่นฐานทั่วไปและระบบเครือญาติในกลุ่มที่เรียกว่ากะเหรี่ยงสะกอในบริเวณของพื้นที่สามอำเภอดังกล่าวว่ามีความเกี่ยวข้องกัน (พิเชฐ สายพันธ์, 2562, น. 142)

     

Access Point
No results found.