“ใครเป็นเจ้าของวัฒนธรรมพื้นเมือง?”

โดย ไมเคิล เอฟ บราวน์
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
โปรดเข้าถึงเว็บไซต์ของไมเคิล เอฟ บราวน์ที่
http://web.williams.edu/go/native/
แปลโดย อธิป จิตตฤกษ์

งานชิ้นนี้ของไมเคิล เอฟ บราวน์ (Michael F. Brown) (เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาและลาตินอเมริกันศึกษาที่วิทยาลัยวิลเลียมส์ สหรัฐอเมริกา เขามีความเชี่ยวชาญด้านมานุษยวิทยาการแพทย์และคนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือและใต้) คือบทนำของหนังสือ Who owns native culture ? (Harvard University Press, 2003) ของเขา มันมุ่งพิจารณาพัฒนาการที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ในประเด็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับชนพื้นเมืองทั่วโลก และมันก็เน้นไปที่จริยธรรมและแนวทางปฏิบัติของการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม

งานเปิดมาด้วยการอธิบายภูมิทัศน์ที่รายล้อม “เส้นทางโมฮอว์ค” (Mohawk Trail) ซึ่งเป็นถนนที่อ้างว่าเป็นเส้นทางที่ชาวโมฮอว์คและชาวอเมริกันอินเดียนอื่นๆ ใช้เดินทางไปมาราะหว่างแถบแมสซาชูเสตส์กลางและหุบเขาฮัดสันในนิวยอร์ค เส้นทางนี้เต็มไปด้วยร้านค้าจากยุค “การท่องเที่ยวทางยานยนต์” อันเป็นยุคก่อน มันเต็มไปด้วยการเอาจารีตทางวัฒนธรรมแบบเหมารวมจากหลายช่วงเวลามาบางปะปนกัน ตั้งแต่รองเท้าหนังกวาง เข็มขัดลูกปัด ตุ๊กตาเจ้าหญิงอินเดียน “เต็นท์ที่ระบายสีมาหยาบๆ” เสาแกะสลักโทเทม ควายไบสัน และรูปปั้นบรรดาหัวหน้าอินเดียน งานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการฟื้นฟูทางวัฒนธรรมที่ขยายตัวขึ้นซึ่งนำโดยผู้นำชุมชนที่หลากหลายและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิชนพื้นเมือง การฟื้นฟูนี้พยายามจะระบุมรดกวัฒนธรรมใหม่ในฐานะทรัพย์สินที่แยกออกจากกลุ่มคนไม่ได้พร้อมประนามการใช้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในเชิงพาณิชญ์โดยไม่ได้รับอนุญาตในฐานะที่มันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ (public domain) ข้อถกเถียงเพื่อปกป้องความรู้ของคนพื้นเมืองและทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนพื้นเมืองนั้นวนเวียนอยู่กังองค์ประกอบของมรดกวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่นศาสนา คติชน ศิลปะ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ความรู้เกี่ยวกับพืช หรือกระทั่งภูมิประเทศที่คนในชุมชนถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ไมเคิล เอฟ บราวน์ยืนยันว่าการรณค์เพื่อฟื้นฟูและปกปักรักษาอัตลักษณ์พื้นเมืองนั้นเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลอดปี 2002 ตั้งแต่ที่สาธารณะชนประนามสิทธิบัตรสองบริษัทที่สำนักงานสิทธิ์บัตรอเมริกันออกมาให้แก่ของบริษัทอเมริกันซึ่งค้าขายสารสกัดจากพืชแถบแดนดีสที่ชาวนาแอนดีสปลูก ไปจึงถึงการสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยรัฐบาลอินเดียเพื่อจะเป็นการบันทึกแนวทางการแพทย์อินเดียตามจารีต และเป็นการป้องกันนักวิจัยจากโลกที่พัฒนาแล้วในการฉกฉวยวิธีการเหล่านี้ไปจดสิทธิบัตรและเป็นการใช้ความรู้ทางการแพทย์พื้นเมืองของอินเดียไปโดยไม่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าตอบแทนใดๆ ไมเคิล เอฟ บราวน์รำลึกว่าความพยายามปกป้องสิทธิของคนพื้นเมืองตั้งรวมไปถึงการปกป้อง “ความคิดที่ว่ามรกดทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้นั้นนับว่าเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่ต้องนำกลับไปคืนถิ่นกำเนิดของมัน” มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 แล้ว วาทศิลป์ที่เป็นแกนกลางของขบวงการเหล่านี้นั้นก็ได้แก่การพูดถึง “การฉกฉวยทางวัฒนธรรม” หรือ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม” ที่เกิดจากการที่สังคมตะวันตกฉกฉวยใช้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างไม่มีความเคารพ

ไมเคิล เอฟ บราวน์ชี้ให้เห็นว่าคนพื้นเมืองนั้นมักจะไม่ได้รับค่าตอบแทนเมื่อความรู้ของพวกเขาถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ และมันก็เกิดความกลัวว่าความรู้ความเข้าใจเหล่านี้อันเป็นรากของจารีตทางวัฒนธรรมของพวกเขาจะถูกคนอื่นๆ ควบคุม ส่งผลให้คนพื้นเมืองไม่ได้เป็นนายของอัตลักษณ์ตนเองอีกต่อไป “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสถานการที่วัฒนธรรมนั้นเป็นสินค้า (…) ความพยายามของตลาดในการหาอะไรอย่างไม่หยุดหย่อนได้เปลี่ยนให้เรื่องราวพื้นบ้าน ศิลปะที่แปลกตา ดนตรีที่ไม่คุ้นหูทั้งหลายหลายเป็นทรัพยากรเชิงพาณิชย์ที่บรรดาบริษัทต่างๆ ใช้ได้โดยอิสระ” วิวัฒนาการอันต่อเนื่องของสื่ออิเล็กทรอนิกมันกระจายข้อมูลออกไปและทำให้ใครก็เข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย ภาวะนี้ทำให้องค์ประกอบทางวัฒนธรรมอยู่ในความเสี่ยงในการถูกผลิตซ้ำอย่างไร้การควบคุม (เช่นดนตรีและศิลปะภาพ) ซึ่งทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกแยกออกจากบริบททางประวัติศาสตร์ของมันและขาดซึ่งความเป็นของแท้ “ผู้สนับสนุนสิทธิของชนพื้นเมืองจำนวนมากต้องการจะให้มีกฎหมายคุ้มครองความบริสุทธิ์ของวัฒนธรรมพื้นเมือง และให้กฏหมายปฏิบัติกับมรดกวัฒนธรรมในฐานะของทรัพยากรที่แยกออกจากกลุ่มคนไม่ได้” อย่างไรก็ดี ข้อบังคับทางกฏหมายนี้ก็ยังอาจทำให้นักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับมรกดทางวัฒนธรรมต้องประนีประนอม “ผู้ที่ขนย้ายข้อมูลทางวัฒนธรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นนักประวัติศาสตร์ นักคติชนวิทยา นักมานุษยวิทยา ภัณฑารักษ์ และนักจดหมายเหตุก็ล้วนกำลังเรียนรู้ที่จะอยู่กับข้อจำกัดในการเข้าถึงบันทึกทางวัฒนธรรมที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระ”

ความพยายามที่จะปกป้องมรดกวัฒนธรรมพื้นเมืองจากการใช้ในเชิงพาณิชย์และไม่ใช่ในเชิงพานิชย์จากคนนอกมันทำให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนที่จำเป็นต้องมีการพูดคุยกันในวงกว้างเกี่ยวกับความสำคัญของ “ปัญญาร่วม” (Intellectual Commons) ของบรรดารัฐประชาธิปไตย ไมเคิล เอฟ บราวน์เสนอว่าการแพร่กระจายของทรัพยากรทางวัฒนธรรมบางอย่างในอาณาบริเวณของทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะนั้นไม่จำเป็นจะต้องทำให้เกิดผลลบกับชุมชนต้นกำเนิดที่มรดกทางวัฒนธรรมถูกฉกฉวยไปใช้เสมอไป แม้ว่าเขาจะชี้ว่า “บรรดาผู้นำชนพื้นเมืองแย้งอย่างรุนแรงว่า (…) ทั้งความคิดต่างๆ และพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา (…) ไม่สามารถจะนำไปเผยแพร่ได้โดยที่ชุมชนจะไม่เสียหาย” แต่เขาก็ยังชี้ว่ามันมีแนวโน้มที่มีปัญหาในหมู่ผู้สนับสนุนสิทธิชนพื้นเมืองในการจะสนับสนุนการทำทรัพย์สินทางวัฒนธรรมให้กลายเป็นทรัพย์สินเอกชนในนามของการปกป้องวัฒนธรรม ซึ่งมันอาจนำไปสู่การจำกัดการแลกเปลี่ยนความคิดโดยเสรีได้ ดังนั้นเขาจึงเน้นว่าเราต้องหากลยุทธ์ทางเลือกอื่น “มันสมเหตุสมผลหรือไม่ที่กลุ่มชาติพันธุ์จะนิยามวิถีปฏิบัติทางวัฒนธรรมของตนว่าเป็นทรัพย์สินที่คนอื่นไม่สามารถจะศึกษา เลียนแบบ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ได้รับอนุญาต รัฐประชาธิปไตยจะปกป้องวัฒนธรรมชนพื้นเมืองได้แค่ไหนโดยไม่ละเมิดสิทธิ์ของสาธารณชนทั่วไป” หลังจากพิจารณาประเด็นต่างๆ ที่รายล้อมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ไมเคิล เอฟ บราวน์ก็ยืนยันว่าความพยายามในการสนับสนุนทรัพยสินทางวัฒนธรรมร่วมรูปแบบใหม่นั้นมาพร้อมกับความเสี่ยงมหาศาล และที่สำคัญคือความเสี่ยงที่จะทำให้แนวทางการจัดการวัฒนธรรม “มีความเป็นราชการ” “ถ้าเราเปลี่ยนวัฒนธรรมไปให้เป็นทรัพย์สิน การใช้วัฒนธรรมจะถูกจำกัดและกำกับภายใต้กฎหมาย อันเป็นกลไกของรัฐในการสร้างระเบียบให้กับโลกอันไร้ระเบียบอันนี้ มันจะทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นเรื่องของการฟ้องร้อง การออกกฎหมาย และการควบคุมโดยระบบราชการในรูปแบบอื่นๆ”

เมื่อมีการยกประเด็นทางศีลธรรมและกฎหมายที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากแนวทางการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมต่างๆ อันเป็นอริกันขึ้นมาแล้ว ในที่สุดงานชิ้นนี้ก็ยกความจำเป็นในการหาความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของชนพื้นเมืองและสิ่งที่เสรีประชาธิปไตยเรียกร้อง งานชิ้นนี้เสนอว่าความคิดเรื่องศักดิ์ศรีเป็นประเด็นที่เป็นแกนกลางในความพยายามที่จะปกป้องความเป็นส่วนตัวทางวัฒนธรรม “ปมของปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่มุมมองเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ไม่สามารถไปด้วยกันได้ (แม้ว่ามันจะมีอยู่จริง) แต่มันเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีต่างหาก (…) เราไม่ควรจะถามว่า “ใครเป็นเจ้าของวัฒนธรรมพื้นเมือง” แต่เราควรจะถามว่า “เราจะสนับสนุนการปฏิบัติกับวัฒนธรรมพื้นเมืองและการแสดงออกทางตัวตนแบบพื้นเมืองด้วยความเคารพอย่างไรภายในสังคมวงกว้าง?”

Comments are closed.