คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 51-60 จากทั้งหมด 232 รายการ

ความอาฆาตบาดหมางและการเป็นศัตรูกันระหว่างพี่น้องและเครือญาติ (Feuding) ต่างจากความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่การสู้รบและสงคราม  คีธ เอฟ ออตเตอร์บีน และ ชาร์ล็อตต์ สวอนสัน อธิบายว่าความเป็นศัตรูระหว่างคนร่วมสายเลือดว่าคือการปองร้าย แก้แค้น และฆ่าคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้อง  ลีโอพอลด์ พอสพิซิล กล่าวว่าการเป็นศัตรูของคนร่วมสายเลือดมี 3 ลักษณะ คือ การฆ่ากันเอง การใช้อำนาจบีบบังคับ และการแก้แค้น    คริสโตเฟอร์ โบเอ็ม(1984)  อธิบายว่าความบาดหมางระหว่างญาติพี่น้อง จะมีการฆ่าเพื่อแก้แค้น หรือล้างแค้นเพื่อชดเชย หรือทดแทนสิ่งที่เคยถูกกระทำไว้ในลักษณะเดียวกัน  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การเป็นศัตรูระหว่างพี่น้อง

งานภาคสนาม (Fieldwork)  หมายถึง การเข้าไปอยู่กิน สนทนา พูดคุย เข้าร่วมกิจกรรม สังเกตชีวิตของชาวบ้าน เรียนรู้ภาษาของชาวบ้าน โดยเข้าไปอยู่อาศัยเป็นเวนายาวนานเพื่อที่จะทำความเข้าใจว่าชาวบ้านคิดอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร ซึ่งความเข้าใจเหล่านี้ใช้วิธีคิดแบบชาวบ้านเป็นรากฐาน และข้อมูลที่ได้มาก็จะนำไปสู่ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่ถูกศึกษา ทั้งนี้ งานภาคสนามของนักมานุษยวิทยาอาจเป็นหมู่บ้านเล็กๆในชนบท พื้นที่ในชุมชนเมือง ในสถาบัน องค์กร หน่วยงาน ชมรม หรือแม้แต่ชุมชนเสมือนจริงในอินเตอร์เน็ต

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: งานภาคสนาม

คติชาวบ้าน (Folklore) หมายถึง แบบแผนการแสดงออกทางความคิดความเชื่อของชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ เช่น ดนตรี ตำนาน ความเชื่อ สุภาษิต คำพังเพย คติพจน์ นิทาน เรื่องเล่า เป้นต้น คำว่า Folklore เริ่มใช้ในปี ค.ศ.1846    โดย วิลเลียม โธมัส  หมายถึง นิยายของชาวบ้าน  โดยทั่วไปคติชาวบ้านจะใช้การแสดงออกทางภาษาซึ่งแฝงด้วยความเชื่อทางศาสนา มีการเล่าแบบปากต่อปากจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: คติชาวบ้าน

การผลิต การเตรียม การปรุง และการกินอาหารเป็นกิจกรรมที่สำคัญของมนุษย์ การศึกษาทางมานุษยวิทยาในเรื่องนี้ต้องการทำความเข้าใจว่ามนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมมีกระบวนการผลิตอาหารอย่างไร ให้คุณค่าต่ออาหารอย่างไร และมีแบบแผนการกินอาหารแตกต่างกันอย่างไร รวมทั้งสนใจอาหารในบริบทต่างๆเช่น อาหารในพิธีกรรม ในความสัมพันธ์ทางสังคม อาหารกับชนชั้นและสถานะ อาหารในวัฒนธรรมบริโภค อาหารในฐานะเป็นสินค้า สุนทรียะ และสัญลักษณ์ อาหารกับการดูแลสุขภาพ เป็นต้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: อาหารและการกิน

ทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functionalism) ต้องการอธิบายว่าสังคมประกอบด้วยส่วนต่างๆที่มีหน้าที่เฉพาะและพึ่งพาอาศัยเหมือนกับอวัยวะต่างๆในร่างกายที่ช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่ด้วย กล่าวคือหน่วยต่างๆในสังคมจะถูกมองเหมือนเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่จรรโลงให้สังคมดำรงอยู่ได้ ถ้าหน่วยต่างๆในสังคมไม่ทำงานก็จะส่งผลให้สังคมล่มสลาย ในทางมานุษยวิทยา ทฤษฎีหน้าที่นิยมเป็นสกุลความคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยนักมานุษยวิทยาที่สำคัญสองคน คือ โบรนิสโลว์ มาลีนอฟสกี้ ซึ่งมองสถาบันสังคมจะทำหน้าที่ช่วยให้บุคคลดำรงชีพอยู่ได้อย่างมีความสุขทั้งในเชิงเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สถาบัน ส่วน  เรดคลิฟฟ์-บราวน์ อธิบายว่าสังคมคือระบบความสัมพันธ์ที่หน่วยต่างๆจะสร้างกฎเกณฑ์เพื่อจรรโลงให้สังคมอยู่ได้ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ทฤษฎีหน้าที่นิยม

คำว่า “วิวัฒนาการ” หมายถึงการเปลี่ยนรูปแบบ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างซึ่งยังคงมีบางส่วนที่เหมือนเดิม  แนวคิดวิวัฒนาการจะเกี่ยวข้องกับชีววิทยา แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์สาขาอื่นๆที่ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา  ทฤษฎีมาร์กซิสต์ที่เกี่ยวกับวัตถุนิยมแห่งความจริง และ ยุคแสวงหาความรู้แจ้งที่ต้องการสร้างประวัติศาสตร์สากลล้วนอาศัยทฤษฎีวิวัฒนาการมาอธิบาย  อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่มีทฤษฎีครั้งแรกมาจากแนวคิดวิวัฒนาการในคริสต์ศตวรรษที่ 19

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: วิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

เกมส์ หมายถึงกิจกรรมเกี่ยวกับการแข่งขันที่ผู้เล่นต้องตกลงและใช้กฎเดียวกัน เพื่อทำให้เกมส์ดำเนินไปได้ และสามารถชี้ได้ว่าใครจะเป็นผู้แพ้หรือชนะ   เกมส์มักจะเป็นการเล่นเพื่อความสนุกสนาน แต่เกมส์บางประเภทก็มุ่งเพื่อการแข่งขัน  ในทำนองเดียวกัน การต่อสู้ของนักรบในสมัยโรมัน มีลักษณะเป็นการละเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชม แต่นักต่อสู้ต้องแสดงความกล้าหาญ อดทนสูง และไม่มีอารมณ์สนุกสนานเหมือนผู้ชม  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: เกมส์

แก๊งค์ คือกลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีการสร้างความสัมพันธ์ สร้างกฎเกณฑ์และมีหัวหน้ากลุ่ม โดยเข้าไปควบคุมเขตแดนและพื้นที่บางอย่าง สมาชิกในแก๊งค์จะมีการทำกิจกรรมร่วมกัน ส่วนมากกลุ่มแก๊งค์จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นชายที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง มาจากชนชั้นล่างและมีลักษณะต่อต้านสังคม หรือดำรงชีวิตอยู่นอกเกณฑ์ระเบียบทางสังคม  แก๊งค์จะมีหน้าที่หลายอย่าง ได้แก่ เป็นกลุ่มของเพื่อนที่มาร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ให้คำปรึกษา เล่นกีฬา พักผ่อน จีบสาว หรือแข่งรถ แต่แก๊งค์ก็จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง และทำตัวมีปัญหาซึ่งจะถูกจับตามองจากผู้ปกครองบ้านเมือง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: แก๊งค์

Gender หมายถึง เพศภาวะหรือเพศสภาพ บ่งบอกสถานะและบทบาททางเพศของบุคคล ซึ่งมีมิติทางกายภาพ สรีระ อารมณ์ พฤติกรรม สังคม และวัฒนธรรมประกอบอยู่   นักมานุษยวิทยาเริ่มถกเถียงเรื่องเพศภาวะของมนุษย์ในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่นักสตรีนิยมเริ่มตั้งคำถามและทบทวนความคิดเรื่องเพศภาวะของหญิงและชาย ซึ่งมีความไม่เท่าเทียมกัน  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: เพศภาวะ

การเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศด้วยการตัดหรือผ่าเป็นเรื่องปกติในหลายวัฒนธรรม  ในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล  เฮโรโดตัสเชื่อว่าผู้ชายกลุ่มแรกที่ขลิบอวัยวะเพศคือชาวอียิปต์และเอธิโอเปียน  การตัดแต่งอวัยวะเพศชนิดอื่นๆก็น่าจะเกิดในช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีที่แน่ชัดเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนี้    สังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ที่หลงเหลือในปัจจุบันไม่มีการตัดแต่งอวัยวะเพศ ยกเว้นชนเผ่าบางเผ่าในออสเตรเลีย  ตัวอย่างมัมมี่สมัยอียิปต์มักจะมีอวัยวะเพศที่ผิดปกติ และเป็นที่รู้กันว่าผู้ชายชาวอียิปต์มักขลิบอวัยวะเพศของตน  ในหลุมศพของอียิปต์ยุคโบราณก็พบหลักฐานการผ่าตัด ในคัมภีร์ไบเบิลมีการกล่าวถึงการขลิบอวัยวะเพศของทารกชาย เพื่อเป็นเครื่องหมายพันธะสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอะบราฮัม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การตัดแต่งอวัยวะเพศ