คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 211-220 จากทั้งหมด 232 รายการ

ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม หมายถึงการทำกิจกรรมของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศซึ่งต่างมีผลต่อกัน มนุษย์จะคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ขณะที่ธรรมชาติจะกำหนดวิธีการที่มนุษย์จะปรับตัวอยู่กับสภาพแวดล้อม ประเด็นสำคัญคือความหมายที่มนุษย์ให้กับธรรมชาติดำรงอยู่ในโลกทัศน์ทางวัฒนธรรม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, นิเวศวัฒนธรรม, ธรรมชาติ, ภูมิทัศน์, มนุษย์, ชีววัฒนธรรม

การทำความเข้าใจชีวิตของผู้ที่ขายบริการทางเพศ จำเป็นต้องศึกษาบริบทที่เกิดขึ้นในสังคมและวัฒนธรรมที่คนเหล่านั้นเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ ทำให้รูปแบบ ความหมายและลักษณะของการขายบริการทางเพศมีความแตกต่างกัน การนำมุมมองแบบตะวันตกไปอธิบายการขายบริการทางเพศอาจไม่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการขายบริการทางเพศ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: โสเภณี, การขายบริการทางเพศ, เพศวิถี

ทัศนพิสัยนิยมคือการทำความเข้าใจว่าความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของมนุษย์ ที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสังคมผ่านการเรียนรู้ การอบรมสั่งสอนและประสบการณ์ที่คนแต่ละถูกขัดเกลามาไม่เหมือนกัน ส่งผลให้คนแต่ละคนอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมุมมองของตัวเองเป็นสำคัญ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ทัศนคติ, ความคิด, ความเชื่อ, โลกทัศน์, ุมุมมอง

หากย้อนกลับไปดูความหมายของ entrepreneur จะพบว่าเป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งปรากฏครั้งแรกในพจนานุกรม Dictionnaire de la langue français ในปี ค.ศ. 1437 ซึ่งเป็นคำนามที่ความหมายพื้นฐานที่สุดบ่ง ชี้ถึง “บุคคลผู้กระตือรือล้นและบรรลุเป้าหมายบางอย่าง” (a person who is active and achieves somethings” ส่วนคำกริยา entreprendre นั้นหมายถึง “การทำหน้าที่บางอย่าง” (to undertake something)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: ผู้ประกอบการ, ทุนนิยม, ธุรกิจ, เศรษฐกิจ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่ประเทศในยุโรปมีการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเพศ หรือ เพศศาสตร์ (Sexology) ทำให้เกิดการใช้ความรู้เพศสรีระและชีววิทยามาเป็นตัวพิสูจน์ความถูกผิดของเพศสภาพและเพศวิถี ส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศในดินแดนต่างๆที่ชาวตะวันตกเข้าไปปกครองในช่วงอาณานิคมถูกตีความด้วยทฤษฎี “เบี่ยงเบนทางเพศ” เป็นการตอกย้ำความเสื่อมถอยและเผ่าพันธุ์ที่ต่ำต้อยของผู้ที่ผิดปกติทางเพศ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: เพศภาวะ, เพศวิถี, พฤติกรรมข้ามเพศ, คนรักเพศเดียวกัน

นักมานุษยวิทยาตระหนักว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีความหวังและมีความปรารถนาที่จะทำสิ่งต่างๆ ทำให้ปัจจุบัน มีการศึกษาเรื่องราวเชิงบวกที่ปรากฏอยู่ในผู้สูงอายุ และเพื่อมิให้เป็นการตอกย้ำสภาวะชายขอบหรือสภาพร่างกายที่ร่วงโรย นักมานุษยวิทยาจึงสนใจเรื่องการใส่ใจดูแล ความห่วงใย และความหวังที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ผู้สูงอายุ ชราภาพ สุขภาพ การดูแล

การทำกุรบาน (Qurban) หรืออุฎฮียะ (udhiyah) คือพิธีกรรมการเชือดสัตว์พลีทานของศาสนาอิสลาม (Islamic ritual sacrifice) เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระเจ้า โดยจะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงวันอีดิ้ลอัฎฮา (และถัดจากนั้นอีกสามวัน) ซึ่งเป็นวันที่ผู้แสวงบุญทั่วโลกได้เดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะ โดยการทำกุรบานถือเป็นสิ่งที่เน้นหนักเน้นให้มุสลิมทั่วโลกพึงกระทำหากมีความสามารถ ซึ่งสัตว์ที่จะใช้ในการทำกุรบานต้องเป็นปศุสัตว์ อันได้แก่ อูฐ วัว แพะ และแกะ และต้องเป็นสัตว์ตัวที่มีอายุถึงเกณฑ์

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: สัมพันธ์ วารี

หัวเรื่องอิสระ: พิธีกรรม ความเชื่อ อิสลาม การเชือดสัตว์

การใช้กัญชาคือภาพสะท้อนสังคมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เนื่องจากพืชชนิดนี้ถูกสร้างความหมายต่อประสบการณ์ของมนุษย์จากด้านลบไปจนถึงด้านคุณประโยชน์ กัญชาจึงมีภาพย้อนแย้งในตัวเอง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ฝิ่น, กัญชา, ยาสูบ, สุขภาพ, วัฒนธรรม, การแพทย์, พืช, สมุนไพร

คุณลักษณะของการเป็นพลเมืองโลกวางอยู่บนความรู้สึกเห็นใจ เข้าใจ อดทนอดกลั้นและเคารพความต่างทางวัฒนธรรม เป้าหมายของการเป็นพลเมืองโลกจึงเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงและเข้าถึงวัฒนธรรมของคนอื่นซึ่งอาศัยการสนทนาอย่างเป็นมิตร

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การเป็นพลเมืองโลก, เมือง, การยอมรับความต่างทางวัฒนธรรม

การพัวพันและความสัมพันธ์ที่ไม่หยุดนิ่งตายตัวของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แสดงให้ว่าความเป็นมนุษย์ ทั้งตัวตน และร่างกายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นผ่านการยึดโยงกับสิ่งมีชีวิตอื่น การเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับชีวิตอื่น (mutual dependence) ด้วยเหตุนี้ การศึกษาปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชนหลากสายพันธุ์ในประเด็นที่ว่าด้วยการใส่ใจดูแล คำถามที่ว่า เหตุใด? เราถึงต้องใส่ใจดูแล และเราจะดูแลกันและกันอย่างไร? จึงกลายเป็นคำถามพื้นฐานที่เรียกร้องให้มนุษย์หันมาสนใจภาคปฏิบัติการ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: มนุษย์, สิ่งมีชีวิต, หลากสายพันธุ์, การดูแล