คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 1-10 จากทั้งหมด 11 รายการ

การศึกษาดนตรีในทางมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีที่อยู่นอกสังคมตะวันตก เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจประสบการณ์ของการใช้อุปกรณ์สร้างเสียงชนิดต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาก็หันมาศึกษาวัฒนธรรมดนตรีในสังคมตะวันตกด้วย เพราะเชื่อว่าในแต่ละวัฒนธรรม มนุษย์จะมีกิจกรรมทางดนตรีในแบบของตัวเอง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาดนตรี

Ethnochoreology หมายถึงการศึกษารูปแบบวิธีการร่ายรำ เต้นรำ ฟ้อนรำ และการเคลื่อนไหวร่างกายในท่วงท่าต่างๆ ซึ่งมนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีวิธีการแสดงออกแตกต่างกัน  ในมุมมมองมานุษยวิทยาการร่ายรำของมนุษย์เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับระบบความคิดและความเชื่อ มิใช่เรื่องของความบันเทิงเริงรมย์หรือความสวยงาม การศึกษาเรื่องการร่ายรำในมิติทางชาติพันธุ์จะสนใจบริบทของการร่ายรำที่มนุษย์ใช้ร่างกายของตัวเองเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อที่จะแสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพเจ้า

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การเคลื่อนไหวร่างกายเชิงชาติพันธุ์

การแสดงออกทางท่าทาง (Gesture) ของมนุษย์เป็นการสื่อสารความหมายชนิดหนึ่ง ซึ่งท่าทางอาจใช้เป็นสัญลักษณ์ มีการจัดระเบียบของการเคลื่อนไหวทางร่างกายและอวัยวะต่างๆ  ท่าทางการเคลื่อนไหวนี้อาจปรากฎอยู่ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ศิลปะการป้องกันตัว การเล่นกีฬา การเต้นรำ การแสดง การประกอบพิธีกรรมและงานเฉลิมฉลองต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายเหล่านี้ล้วนมีแบบแผนที่ชัดเจน       

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การแสดงออกทางท่าทาง

อารมณ์ขันและเรื่องตลกเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์มีเหมือนกัน  อารมณ์ขันอาจหมายถึงภาวะของความรื่นเริงในอารมณ์ซึ่งมักจะแสดงออกมาด้วยรอยยิ้ม หรือการหัวเราะเมื่อมีสิ่งมากระตุ้นเร้าจากภายนอก  การหัวเราะและอารฒณ์ขันเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างมนุษย์ซึ่งอาศัยองค์ประกอบทางชีววิทยา สังคมวัฒนธรรม และจิตวิวิทยา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การเล่นตลกขบขัน

Mass Media ในทางมานุษยวิทยา หมายถึงเทคโนโลยีทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นนักมานุษยวิทยายังสนใจรูปแบบและวิธีการสื่อสารเพื่อใช้โฆษณาชวนเชื่อซึ่งผลิตโดยนักการเมืองและนักโฆษณา การใช้โลโก้สัญลักษณ์และโปสเตอร์ และการใช้สื่อของสถาบันต่างๆ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: สื่อสาธารณะ

คำว่า “บอกเล่า” (oral) มีความหมายในสองลักษณะคือ การไม่ใช้ตัวหนังสือ และการใช้ภาษาพูด การบอกเล่ายังหมายถึงการแสดงออกด้วยคำพูด เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน การใช้คำพังเพย หรือสุภาษิต ซึ่งเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากการแสดงออกแบบอื่นที่ต้องใช้ตัวหนังสือ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ประเพณีบอกเล่า

การศึกษาเพื่อค้นหาความหมายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ หรือความหมายที่อยู่ในความคิด โลกทัศน์ และการปฏิบัติ  วิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบที่หลากหลายของวิธีการแสดงออก

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: วัฒนธรรมประชานิยม

แนวคิดเกี่ยวกับระบบสัญลักษณ์ เป็นประเด็นที่สำคัญในทางมานุษยวิทยา เนื่องจากมีส่วนในการอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับวัฒนธรรม  สัญลักษณ์เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในการที่จะสร้างระบบความหมายต่างๆให้กับโลกและธรรมชาติ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาสัญลักษณ์

Trance มาจากภาษาลาตินว่า Transire หมายถึงผ่านไป หรือข้ามไป   การผ่านข้ามไปยังหมายถึงสภาพของจิตใจซึ่งบุคคลเปลี่ยนแปลงจากสภาพปกติไปสู่สภาพที่ควบคุมไม่ได้ หรืออยู่ในภวังค์   ภวังค์จึงเป็นสภาพที่ไร้การควบคุมของมนุษย์ หรือเป็นสภาพที่มนุษย์ไม่อาจควบคุมตัวเองได้ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: สภาวะไร้การควบคุม

การข้ามพรมแดนรัฐชาติ หรือTransnationalism หมายถึง ปรากฎการณ์ทางสังคมที่คนกลุ่มต่างติดต่อเชื่อมโยงผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งมิได้จำกัดอยู่ภายในดินแดนของรัฐชาติใด แต่ติดต่อเชื่อมโยงข้ามอาณาเขตของรัฐชาติสมัยใหม่ อาศัยเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาช่วยในการติดต่อสัมพันธ์ ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การข้ามพรมแดนรัฐชาติ