มานุษยวิทยาประยุกต์ หมายถึง การนำเอาแนวคิดทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางสังคม นอกจากนั้น นักมานุษยวิทยาที่ทำงานดังกล่าวยังต้องร่วมมือกับนักวิชาการสาขาอื่นๆในการแสวงหาแนวคิดและแนวทางแก้ปัญหาในประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจช่วยสร้างแนวนโยบายให้กับองค์กรของรัฐและเอกชนในการพัฒนาสังคมและช่วยเหลือมนุษย์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาประยุกต์
ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีการให้ความหมายต่ออาการป่วยทางจิตใจและร่างกายในแบบที่แตกต่างกัน แต่ถ้าอาการป่วยเหล่านี้เกิดจากเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม นักมานุษยวิทยาจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า “อาการป่วยทางวัฒนธรรม” (Cultural-Bound Syndromes หรือ culture-specific syndrome หรือ folk illness)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
อาการป่วยทางวัฒนธรรม
มานุษยวิทยาการพัฒนา หมายถึงการนำมุมมองความคิดทางมานุษยวิทยาไปปรับใช้กับสาขาวิชาความรู้อื่นๆเพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการทำงานด้านพัฒนาต่างๆ อย่างไรก็ตาม ความหมายของ “การพัฒนา” ในทางมานุษยวิทยาคือปฏิบัติการทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่ขับเคลื่อนและดำเนินงานโดยกลุ่มคน องค์กร หรือสถาบันทางสังคม ซึ่งต้องการที่จะเข้าไปปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาต่างๆของมนุษย์ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาการพัฒนา
ภัยพิบัติและความหายนะทางธรรมชาติ ในมุมมองทางมานุษยวิทยาเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปฏิบัติการของมนุษย์ที่มีต่อเหตุการณ์ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนักมานุษยวิทยาจะทำความเข้าใจบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ปรากฎอยู่ในเหตุการณ์ภัยพิบัติและความหายนะ กล่าวคือ นักมานุษยวิทยามองว่าภัยพิบัติต่างๆส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างไรและมนุษย์มีวิธีคิดและการจัดการเรื่องนี้อย่างไร
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และชัชชล อัจนากิตติ
หัวเรื่องอิสระ:
ภัยพิบัติ,
นิเวศวิทยาวัฒนธรรม,
สิ่งแวดล้อม
แก๊งค์ คือกลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีการสร้างความสัมพันธ์ สร้างกฎเกณฑ์และมีหัวหน้ากลุ่ม โดยเข้าไปควบคุมเขตแดนและพื้นที่บางอย่าง สมาชิกในแก๊งค์จะมีการทำกิจกรรมร่วมกัน ส่วนมากกลุ่มแก๊งค์จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นชายที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง มาจากชนชั้นล่างและมีลักษณะต่อต้านสังคม หรือดำรงชีวิตอยู่นอกเกณฑ์ระเบียบทางสังคม แก๊งค์จะมีหน้าที่หลายอย่าง ได้แก่ เป็นกลุ่มของเพื่อนที่มาร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ให้คำปรึกษา เล่นกีฬา พักผ่อน จีบสาว หรือแข่งรถ แต่แก๊งค์ก็จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง และทำตัวมีปัญหาซึ่งจะถูกจับตามองจากผู้ปกครองบ้านเมือง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
แก๊งค์
การไร้บ้าน หมายถึงสภาพของคนที่ไร้ที่อยู่ หรือผู้ที่ไม่สามารถหาที่อยู่เป็นของตัวเองได้ ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากหลายปัจจัย เช่น การถูกทอดทิ้ง การหนีออกจากบ้าน การไร้ที่พึ่ง ความยากจน เป็นต้น ผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัยจึงร่อนเร่พเนจรไปตามที่ต่างๆ ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ที่แน่นอน รูปแบบของการไม่มีบ้าน อาจมี 2 ลักษณะคือ การอยู่อาศัยตามท้องถนน และการอาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมในย่านอุตสาหกรรม แต่การอยู่อาศัยแบบย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ เช่น ในสังคมเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ของชาวยิปซี จะไม่ถือว่าเป็นการไร้บ้านเพราะเป็นรูปแบบทางวัฒนธรรมของคนกลุ่มนี้
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การไร้บ้าน
การวิจัยนโยบายและการวิเคราะห์นโยบายเป็นการศึกษาเพื่อที่จะศึกษาปัญหา และกระบวนการใช้นโยบายที่สะท้อนภาพข้อโต้แย้งทางสังคมที่กำลังซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแวดวงสังคมศาสตร์ นักวิชาการต้องการทำความเข้าใจอย่างรอบด้านว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดนโยบาย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาเชิงนโยบาย
คำอธิบายเกี่ยวกับความยากจนมีสองด้าน ด้านหนึ่งมาจากนักวิชาการที่เชื่อว่าความยากจนมีจริง มีการอธิบายว่าความยากจนคือสภาพเชิงโครงสร้างซึ่งคนจนมิใช่ผู้ที่สร้างขึ้นเอง ดังนั้นคนจนจึงไม่ควรถูกตำหนิ อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าความยากจนเกิดขึ้นมาจากคนจนเอง เพราะคนจนมีพฤติกรรมแปลกแยก หรือมีความบกพร่อง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความยากจน
การศึกษามานุษยวิทยาแนวปฏิบัติมีส่วนคล้ายและต่างกับมานุษยวิทยาประยุกต์ กล่าวคือ มานุษยวิทยาประยุกต์จะให้ความสนใจกับการสร้างความรู้เพื่อที่จะนำไปใช้ ส่วนมานุษยวิทยาแนวปฏิบัติจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างความรู้ ความชำนาญ และการใช้มุมมองทางมานุษยวิทยาในการทำงาน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาแนวปฏิบัติ
การเคลื่อนไหวทางสังคม หมายถึงปฏิบัติการของกลุ่มคนที่มีเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง การรวมกลุ่มของคนอาจจะเป็นทางการและไม่เป็นทางการก็ได้ สำหรับทางมานุษยวิทยามองว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเป็นเรื่องการเมือง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การเคลื่อนไหวทางสังคม