คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 1-8 จากทั้งหมด 8 รายการ

Diasporas หมายถึง คนพลัดถิ่น เป็นกลุ่มประชากรที่กระจัดกระจายย้ายถิ่นไปอยู่ในพื้นที่ที่มิใช่บ้านเกิดและชุมชนดั้งเดิมของตัวเอง กลุ่มคนที่ย้ายออกไปจากที่อาศัยเดิมเหล่านี้อาจจะมีเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง สงคราม ความขัดแย้ง การค้าขาย และเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่ย้ายออกไปจากบ้านเกิดบางกลุ่มอาจยังคงมีสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับญาติพี่น้องและชุมชนดั้งเดิมของตัวเอง แต่บางกลุ่มอาจไม่มีสายสัมพันธ์กับดินแดนบ้านเกิด

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: คนพลัดถิ่น

คำว่า ethnicity หมายถึงความเป็นกลุ่มทางชาติพันธุ์ที่สมาชิกในกลุ่มจะมีวัฒนธรรมและการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีขนบธรรมประเพณี ภาษา ศาสนา ความเชื่อ การแต่งกาย หรือการทำมากินแบบเดียวกัน   คำว่า ethnic มาจากภาษากรีกคำว่า ethnos  หมายถึงกลุ่มคนที่มีขนบธรรมเนียมเดียวกัน  คำนี้ปรากฏในภาษาอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15  โดยใช้อธิบายประเทศที่มิใช่ชาวยิวหรือคริสเตียน เช่นพวกคนป่า หรือไม่มีศาสนา 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความเป็นกลุ่มทางชาติพันธุ์

Ethnogenesis   หมายถึงกระบวนการที่คนกลุ่มหนึ่งโหยหาหรือถวิลหารากเหง้าทางชาติพันธุ์ของตัวเอง เป็นการค้นหาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ตัวตน อัตลักษณ์ และต้นกำเนิดความเป็นกลุ่มและความเป็นเผ่าพันธุ์ของตัวเอง ซึ่งกระบวนการนี้คือการตอกย้ำตัวตนทางวัฒนธรรม หรือการสร้างตัวตนผ่านการโหยหารากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ในทางมานุษยวิทยา มองว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือเรื่องที่เขียนถึงคนในอดีต

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การค้นหารากเหง้าทางชาติพันธุ์

การอพยพของมนุษย์หมายถึงการย้ายที่อยู่จากที่เดิมไปที่ใหม่ โดยอาขเป็นการย้ายชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ และเหตุผลของการย้ายก็มีหลายประการ เช่น ย้ายเพื่อการทำมาหากิน ย้ายเพราะสภาพแวดล้อม ย้ายเพราะสงคราม ฯลฯ  นับตั้งแต่ยุคไพลสโตซีนตอนกลางที่โฮโม อิเรคตัส เคลื่อนย้ายเข้าไปยังดินแดนยูเรเซีย  จนถึงยุคไพลสโตซีนตอนปลาย

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การอพยพ

Race หมายถึง เผ่าพันธุ์ในทางกายภาพ ซึ่งชาวตะวันตกใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์มาอธิบายการกำเนิดและวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ หรือ    Homo sapiens  สายพันธุ์ของมนุษย์มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสีผิว รูปศรีษะ หรืออวัยวะทางร่างกายต่างๆ  ฟรังซัว เบอร์เนียร์ แยกประเภทเผ่าพันธุ์เป็น 4 เผ่า ได้แก่  เผ่ายุโรป  แอฟริกา  เอเชีย และแลปส์  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: เผ่าพันธุ์

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เจ้าหน้าที่อาณานิคมใช้คำว่า “เผ่า” เพราะเชื่อว่ามีกลุ่มคนที่เรียกว่าเผ่า อยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนและมีวัฒนธรรมที่แตกต่าง  ถึงแม้ว่าในความจริงจะไม่มีชนกลุ่มใดอยู่เป็นเอกเทศในพื้นที่ที่โดดเดี่ยว   เมื่อเกิดแนวคิดเรื่องเผ่าพันธุ์ (races) ทำให้ความหมายของคำว่า “เผ่า” ต้องสั่นคลอนไป แต่นักมานุษยวิทยาก็ยังคงใช้คำนี้เพื่อศึกษาทางชาติพันธุ์

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: เผ่า

การข้ามพรมแดนรัฐชาติ หรือTransnationalism หมายถึง ปรากฎการณ์ทางสังคมที่คนกลุ่มต่างติดต่อเชื่อมโยงผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งมิได้จำกัดอยู่ภายในดินแดนของรัฐชาติใด แต่ติดต่อเชื่อมโยงข้ามอาณาเขตของรัฐชาติสมัยใหม่ อาศัยเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาช่วยในการติดต่อสัมพันธ์ ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การข้ามพรมแดนรัฐชาติ

มานุษยวิทยาเมือง หมายถึง การศึกษาของนักมานุษยวิทยาที่สนใจชีวิตของคนกลุ่มต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ชีวิตของคนเมืองจะสัมพันธ์กับการทำมาหากิน การประกอบอาชีพ ซึ่งมีการแข่งขันต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด มีการแตกต่างทางชนชั้นและฐานะ  นักมานุษยวิทยาสนใจชีวิตในเมืองอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาเมือง