มานุษยวิทยาชีววัฒนธรรม เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับลักษณะทางชีววิทยาของมนุษย์ ซึ่งนักมานุษยวิทยากายภาพมักจะศึกษาในมิติดังกล่าว โดยเชื่อว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ต่างกันส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมที่ต่างกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาชีววัฒนธรรม
การศึกษาและการนิยาม “ความพิการ” ของมนุษย์ เป็นการอาศัยความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกและมักจะสร้างการอ้างอิงกับร่างกายของคนปกติที่มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งในสังคมตะวันตกผู้พิการทางร่างกายจะถูกมองเป็นเหมือนคนป่วยและคนด้อยโอกาส ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง การศึกษาทางมานุษยวิทยาจะอธิบายร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ด้วยมุมมอง 2 แบบ คือ 1 ความพิการถูกสร้างขึ้นด้วยความคิดเรื่องการซ่อมแซมแก้ไขให้ดีขึ้น 2 ความพิการแต่ละวัฒนธรรมจะมีความหมายต่างกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความพิการ
คำว่า ethnicity หมายถึงความเป็นกลุ่มทางชาติพันธุ์ที่สมาชิกในกลุ่มจะมีวัฒนธรรมและการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีขนบธรรมประเพณี ภาษา ศาสนา ความเชื่อ การแต่งกาย หรือการทำมากินแบบเดียวกัน คำว่า ethnic มาจากภาษากรีกคำว่า ethnos หมายถึงกลุ่มคนที่มีขนบธรรมเนียมเดียวกัน คำนี้ปรากฏในภาษาอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยใช้อธิบายประเทศที่มิใช่ชาวยิวหรือคริสเตียน เช่นพวกคนป่า หรือไม่มีศาสนา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความเป็นกลุ่มทางชาติพันธุ์
ความเป็นสากลของมนุษย์ (Human Universals) หมายถึง ลักษณะที่มนุษย์มีร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ใด ซึ่งโดนัลด์ บราวน์ (1991) นักมานุษยวิทยาอเมริกันได้แยกประเด็นความเป็นสากลของมนุษย์เป็น 67 ประเด็น ประเด็นที่สำคัญได้แก่ การรู้จักทำอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย สร้างชุมชน สร้างระบบการปกครอง การสื่อสารด้วยภาษา ระบบเครือญาติ คติความเชื่อ การสร้างกฎระเบียบทางสังคม การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ และการแสดงออกทางศิลปะและดนตรี เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความเป็นสากลของมนุษย์
Psychic Unity หมายถึงสภาพหรือความสามารถที่มนุษย์มีร่วมกัน ไม่ว่ามนุษย์จะเกิดในวัฒนธรรมใดก็ตาม ประเด็นนี้คือประเด็นที่ถกเถียงกันในทางมานุษยวิทยา เช่นเดียวกับข้อถกเถียงทางปรัชญา แนวคิดเรื่อง Psychic Unity หรือ สภาวะจิตร่วมกัน มีหลายลักษณะ บางครั้งอาจเป็นเรื่องบุคลิกภาพของมนุษย์ หรือเป็นหลักการอธิบายของมนุษย์ในวัฒนธรรมต่างๆ หรือเป็นแบบแผนวิวัฒนาการเดียวกันของมนุษย์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความสามารถที่มนุษย์มีร่วมกัน
มานุษยวิทยาจิตวิทยา เป็นคำเรียกการศึกษาที่ใช้แนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยามาทำความเข้าใจวัฒนธรรม ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นักมานุษยวิทยาใช้มีหลากหลาย ตั้งแต่ทฤษฎีสากลที่อธิบายธรรมชาติมนุษย์ และความมีเอกภาพ ไปจนถึงลักษณะเฉพาะทางเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาจิตวิทยา
Race หมายถึง เผ่าพันธุ์ในทางกายภาพ ซึ่งชาวตะวันตกใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์มาอธิบายการกำเนิดและวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ หรือ Homo sapiens สายพันธุ์ของมนุษย์มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสีผิว รูปศรีษะ หรืออวัยวะทางร่างกายต่างๆ ฟรังซัว เบอร์เนียร์ แยกประเภทเผ่าพันธุ์เป็น 4 เผ่า ได้แก่ เผ่ายุโรป แอฟริกา เอเชีย และแลปส์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เผ่าพันธุ์