นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
All

ยกยอหาปลา (Fishing by Yok Yo)

223-55

คำอธิบายภาพ :

วิธีการหาปลาแบบโบราณเก่าๆโดยใช้ยกยอยากที่จะหาพบ ได้ในปัจจุบัน จะยังคงมีให้ได้ดูบ้างในเขตชนบทต่างจังหวัดอย่างเช่น เชียงราย ทุกเช้าและเย็น หญิงไทยในชนบทจะออกจากบ้านพร้อมลูกหลานไปออกหาปลาในริมน้ำหรือแอ่งน้ำที่มี ปลาชุกชุม ข้อดีของการใช้ยอแทนการใช้อุปกรณ์อย่างอื่นคือ จะจับปลาได้ทีละหลายๆตัวยอจะถูกทำโดยชาวบ้านซึ่งสามารถใช้งานได้ทนทานและ ซ่อมแซมได้ง่ายหากเสียหาย

ผู้ถ่ายภาพ : ปราณี นิติคุณเกษม
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 8 ธันวาคม 2543 เวลา 15.30น.
เทคนิค : Nikon F90x,AF80-200,F5.6 ความไวชัตเตอร์ 1/250 ฟิล์มสี Reala 100

เทศกาลประเพณีไทยเย็นชุ่มฉ่ำสบายใจ

223-117

คำอธิบายภาพ :

ประเพณีในรอบ 1 ปีจะมีวันที่ร้อนมากๆอยู่ 1 วัน ในขณะวันเดียวกันก็จะมีวันที่ชุ่มฉ่ำเย็นสบายในวันนั้นด้วย วันที่กล่าวถึงก็คือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ไม่ว่าหนุ่มสาวก็จะมีการสาดน้ำรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ จะมีความสุขกันทั่วหน้า

ผู้ถ่ายภาพ : กวี หวังนิเวศน์กุล
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : -
เทคนิค : กล้อง Nikon F90X ฟิล์ม ASA100 เลนส์ นิคอน AF80-200/2.8 ED-D รูรับแสง F5.6 ชัตเตอร์ 1/500 วินาที

หัตถกรรมบ่อสร้าง (Bor-Sang Umbrella Handicraft)

223-65

คำอธิบายภาพ :

หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง สิรค้าพื้นเมืองอันเลื่องชื่อของชาวไทยทางภาคเหนือ สิ่งประดิษฐ์ที่ต้องพึ่งฝีมือล้วนๆ ด้วยกรรมวิธีที่ต้องอาศัยความพิถีพิถัน งานอันทรงคุณค่านี้จึงเกิดจากฝีมือของหญิงไทยผู้มีความละเอียดอ่อนในเชิง ศิลปะอยู่ในใจทุกคน

ผู้ถ่ายภาพ : นายภูวพงษ์ ผจญอริพ่าย
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : ศูนย์หัตกรรมบ่อสร้าง ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
เทคนิค : กล้อง Cantax RX เลนส์ 50 mm รูรับแสง f/8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาที ฟิล์มฟูจิ Reaea IOS 100

เลือกเอาก้อนใหญ่ (Pick Out the Big One)

223-161

คำอธิบายภาพ :

ร่อนถ่านก้อนใหญ่ไปใช้งานที่อันควร ก้อนเล็กก็ไปใช้ให้ถูกความต้องการ

ผู้ถ่ายภาพ : นายวีระชัย วันสามง่าม
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 25 กันยายน 2544 เวลา 12.00-13.00 น. สถานที่ โรงขายถ่าน จ.นนทบุรี
เทคนิค : เลนส์ Cannon ฟิล์มโกดัก Negative ช่องรับแสง 5.6 ขนาดเลนส์ 80-200 ความไวชัตเตอร์ 125

ชีวิตบนหลังคา (roofs)

223-160

คำอธิบายภาพ :

ชีวิตการทำงานบนหลังคา ผู้หญิงคนหนึ่งกำลังมุงหลังคากระเบื้องดินเผา ซึ่งเป็นแรงงานของการก่อสร้าง เสี่ยงภัยบนความสูงของการทำงาน แต่ก็ไม่ได้หมายถึงข้อจำกัดทางเพศ ความเป็นหญิงอาจจะดูเหมาะสมกับงานบ้าน และจำนวนไม่น้อยเลยที่ผู้หญิงก็ทำงานได้

ผู้ถ่ายภาพ : ปฐม อริยเมธปรีชา
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : พฤษภาคม 2543 อ.เมือง จ.เพชรบุรี
เทคนิค : เลนส์ Tokina 28-70 mm. รูรับแสง Auto F8 ฟิล์ม สไลด์ฟูจิเวลเวีย กล้องนิคอน F4S

งานหนัก (Hand Work)

223-159

คำอธิบายภาพ :

เป็นภาพที่ถ่ายในโรงงานเครื่องปั้นดินเผาในตอน บ่ายวันหนึ่ง ซึ่งคนงานผู้หญิงกำลังจัดเตรียมโอ่งที่ปั้นขึ้นรูปแล้วมาวางเรียงรายเพื่อ เตรียมเคลือบน้ำยาและส่งเข้าเตาเผาต่อไป เป็นช่วงระยะเวลาที่แสงสาดส่องผ่านช่องหลังคา ลงตรงที่คนงานกำลังทำงานพอดีในวงแคบๆ เมื่อทำการล้างฟิล์มและอัดขยายภาพออกมา ภาพที่ได้ดูมีมิติ และลึกลับ อันเป็นวิถีชีวิตของแรงงานผู้หญิงโดยมากใน จ.ราชบุรี “เมืองโอ่ง” ซึ่งเป็นหัตกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุด

ผู้ถ่ายภาพ : นรินทร์ บุญยรัตน์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : สถานที่ โรงงานเครื่องปั้นดินเผารัตนโกสินทร์ จ.ราชบุรี
เทคนิค : Pentax 80-200 mm. ช่องรับแสง F 3.5 ความไวชัตเตอร์ 1/60 วินาที ฟิล์มฟูจิ Velvia ใช้ขาตั้งกล้อง

ผู้หญิงทำงาน1 (Working Woman1)

223-157

คำอธิบายภาพ :

กับความเชื่อในอดีตที่ว่า ผู้หญิงไทยต้องเป็นช้างเท้าหลัง อยู่กับเหย้าเฝากับเรือนหรือมีหน้าที่เพียงคอยดูแลลูกและสามีเท่านั้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นกรอบที่จำกัดให้ผู้หญิงไม่มีบทบาทในสังคมเท่าใดนัก ซึ่งความเชื่อเดิมๆนั้น คงจะไม่สามารถนำมาใช้กับสภาพสังคมในปัจจุบันได้อีกแล้ว เพราะในปัจจุบัน ผู้หญิงและผู้ชายในสังคมไทย ต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ที่ไม่ต่างกันมากนัก อาจเป็นเพราะสภาพสังคมและเศรฐกิจในปัจจุบัน บีบบังคับให้ผู้คนต้องดิ้นรนเอาตัวรอด ต้องช่วยกันทำงาน หารายได้มาจุนเจือครอบครัว จากจุดนี้จะทำให้เราเห็นได้ว่า ผู้หญิงออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้น มีอยู่เกือบทุกสาขาอาชีพ และสามารถทำงานแทนผู้ชายได้

ผู้ถ่ายภาพ : นายจิรวัฒน์ มหาทรัพย์ถาวร
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 17 สิงหาคม 2544 สถานที่ ถนนจรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ
เทคนิค : กล้อง EOS 50 QD เลนส์ 20-35 F.35 ใช้ที่ช่วง 20 mm. ชัตเตอร์ 125/F.8 ฟิล์มขาวดำ llford FP4 IOS 125

ป้าปรุง ปูชนีย์บุคคลแห่งแกร็ด (Aunt Prung at Kao Kret)

223-155

คำอธิบายภาพ :

ป้าปรุงเป็นชาวเกาะเกร็ดแต่กำเนิด ชื่อจริงคือ นางมะลิ วงศ์จำนงค์ ปัจจุบันอายุ 74 ปี บรรพบุรุษของป้าปรุงเป็นชาวหงสาวดี ทุกๆเช้าวันทำงาน ป้าปรุงจะสอนวิชารำมอญให้แก่เด็กนักเรียน โรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาสที่เกาะเกร็ดนี้ จบจากการสอนแล้วในช่วงบ่ายจะไปประจำอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เคื่องปั้นดินเผามอญ โบราณ ชื่อ บ้านกวานอาม่าน ถ้าเป็นเสาร์อาทิตย์จะอยู่ที่นี่ทั้งวัน พิพิธภัณฑ์นี้จะเปิดให้ชมทุกวันโดยไม่เก็บเงินค่าชม สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจชมงานศิลปกรรมชาวรามัญดั้งเดิมที่หาชมได้ยากใน ปัจจุบัน มีเครื่องปั้นดินเผาที่เกาะสลักอย่างปราณีตงดงามเก่าแก่ บางส่วนเป็นฝีมือป้าปรุง ทั้งปั้นและเกาะตั้งแต่สมัยเป็นสาว ทั้งยังเคยสอนปั้นแก่เด็กนักเรียนสตรีนนท์ รวมทั้งสอนรำมอญด้วย โดยรับค่าสอนวันละ 10 บาทในตอนนั้น และก็มีงานสอนรำมอญตามโรงเรียนต่างๆเรื่อยมาเป็นต้นว่า โรงเรียนวัดลุ่มคงคา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ โรงเรียนปากเกร็ดวิทยา บางครั้งทางจังหวัดมีจัดงานก็เชิญไปรำ แต่ปัจจุบันได้สอนอยู่ที่เดียวคือสอนรำมอญแก่เด็กโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส เป็นวิทยาทานโดยไม่รับค่าตอบแทน เพื่อให้วิชารำมอญไม่สูญหาย ป้าปรุงเล่าว่าตอนวัยเด็กเรียนหนังสือที่วัดฉิมพลีที่เกาะเกร็ดนี้จนจบประถม 4 แล้วออกมาอยู่กับบ้าน ช่วยพ่อแม่ซึ่งมีอาชีพปั้นและกะเครื่องปั้นดินเผา แต่ปัจจุบันเลิกทำแล้ว ส่วนวิชารำมอญได้สืบทอดมาจากย่า ตอนอายุ 5-6 ขวบ และฝึกปรือด้วยตนเองต่อมาจนชำนาญ ปัจจุบันป้าปรุงอยู่กับครอบครัวบุตรหลาน ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นบุคคลที่ทุกคนในเกาะเกร็ดรู้จักและนับถือ

ผู้ถ่ายภาพ : นายอนันท์ จริมหาสุวรรณ
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 30 กันยายน 2544 เกาะเกร็ด
เทคนิค : เลนส์ 35 มม. F2.8 Manual ความไวชัตเตอร์ 30 วินาที รูรับแสง F4 ฟิล์ม Timax 100 ขาวดำ

ปั้นหม้อ

223-154

คำอธิบายภาพ :

การปั้นภาชนะดิน เป็นการนำดินซึ่งเป็นวัตถุธรรมชาติที่หาได้ทั่วไปมาขึ้นรูปเป็นสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้สอย เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งนั้น เช่นเดียวกับผู้หญิงในวิถีชีวิตไทย ที่ทำหน้าที่อบรม สั่งสอนบุตรหลานให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่า เพื่อยังประโยชน์ให้กับสังคม

ผู้ถ่ายภาพ : จัตุรงค์ พราหมณ์แก้ว
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 2 พฤศจิกายน 2543 สถานที่ จ.นครราชสีมา
เทคนิค : กล้อง Nikon F5 รูรับแสง F 2.8 ใช้แฟลต ความเร็ว 1/250 เลนสื 28-70 mm. ฟิล์มฟูจิ Velvia

อาชีพทำด้วยใจรัก

223-153

คำอธิบายภาพ :

ถึงแม้ท่านอายุจะมากแต่ก็มากด้วยประสบการณ์และ ความปราณีตในการปั้น การแต่ง บรรจง แต่ก็ฝังด้วยสายเลือดในอาชีพ ดีกว่าปล่อยอายุ ปล่อยเวลาเสียไปวันๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเลย อย่างนี้เขาเรียกว่า ชีวิตในยามบั้นปลายทำอะไรก็ได้ที่มีความสุขและสบายใจ

ผู้ถ่ายภาพ : เพ็ญนีย์ หวังนิเวศน์กุล
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : จ.สุโขทัย
เทคนิค : กล้อง Nikon เลนส์ นิคอน รูรับแสง 4 ชัตเตอร์ 1/250 วินาที่ ฟิล์ม 100 ASA