เข้าสู่ระบบ
ชื่อเข้าสู่ระบบ
รหัสผ่าน
จดจำฉันไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?
Log in
สมัครสมาชิก
Sign up
English (US)
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
หน้าหลัก
รีวิวพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วิทยา
Blog
สถิติ
กราฟ/charts
infographics
สื่อสิ่งพิมพ์
บทความ
Report
หนังสือ
จุลสาร
ข่าวพิพิธภัณฑ์
เทศกาลพิพิธภัณฑ์
เกี่ยวกับเรา
ศมส.
รีวิว
|
ทีมงานและสมาชิก
นสพ.และวารสาร
Blog
ภาพถ่าย
|
แผ่นพับ
|
วีดีโอ
|
แผนที่
|
ผังจัดแสดง
|
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
รีวิวพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ของชาติ วัดเขียนบางแก้ว
เขียนโดย:
webmaster (1127 เรื่อง)
| เมื่อวันที่:
13 กุมภาพันธ์ 2555
วัดเขียนบางแก้วเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย(พุทธศตวรรษที่ 13-18) ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญเช่น พระมหาธาตุเจดีย์อายุกว่า 1,000 ปี พระแก้วคุลาศรีมหาโพธิ์(ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น) พระพุทธรูปสองพี่น้อง นอกจากนี้ภายในวัดพบโบราณวัตถุสำคัญได้แก่ ศิวลึงค์ และฐานโยนี แสดงถึงว่าบริเวณนี้มีการติดต่อรับอารยธรรมอินเดียมาตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ ในบางสมัยเคยเป็นวัดร้าง ต่อมาได้บูรณะปฏิสังขรณ์จนถึงปัจจุบัน 8 ครั้ง สำหรับพิพิธภัณฑ์นั้นกรมศิลปากรออกแบบสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2528
ของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มีทั้งโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุ ส่วนใหญ่ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาโบราณ พระพุทธรูป สมุดข่อย เป็นต้น อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมริมทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย บริเวณใกล้เคียงวัดเขียนบางแก้วมีโบราณสถานเก่าแก่มากมาย เช่นโคกเมืองหรือเมืองเก่าพัทลุง ตั้งอยู่บนสันทรายริมทะเลหลวง ห่างจากวัดเขียนบางแก้วไปทางทิศเหนือ 300 เมตร ลักษณะเป็นเนินหรือโคกทรายสูง เป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงเก่า ตามตำนานกล่าวว่าเป็นเมืองของนางเลือดขาว ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 แต่บ้างก็ว่าเป็นเมืองสมัยศรีวิชัย(พุทธศตวรรษที่ 13-18) ปัจจุบันถูกกลบเพื่อใช้เป็นที่นา เหลือโคกที่ใหญ่ที่สุดคือ โคกเมือง เล่ากันว่าเป็นที่ไว้หลักเมือง นอกจากนี้มีวิหารถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ปัจจุบันพังเหลือแต่ฐานเป็นเนินดินรูป 4 เหลี่ยม ตอนบนมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปจำหลักเป็นทรายแดง ศิลปะอยุธยาตอนต้น ทิ้งระเกะระกะเป็นสถานที่ที่ข้าราชการเมืองพัทลุงมาร่วมชุมนุมทำพิธีดื่มน้ำสาบานครั้งที่เมืองพัทลุงตั้งอยู่ที่โคกเมือง
ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 19 มกราคม 2547
2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคใต้) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ 2547 ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช.
3. แผ่นพับประชาสัมพันธ์วัดเขียนบางแก้ว
ชอบ
|
แจ้งลบ
รีวิวพิพิธภัณฑ์นี้
ส่งให้เพื่อน
แก้ไขข้อมูลพิพิธภัณฑ์นี้
:
-
:
-
:
-
:
อังคาร-ศุกร์ เวลา 10.00-18.00น. เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00น. หยุดวันจันทร์
:
-
:
-
:
-
:
-
:
-
จัดการโดย :
-
เนื้อหา :
-
สถานะ :
อัพเดท
โหวต
77 คนโหวต
93.51 %
ชอบพิพิธภัณฑ์นี้ คุณล่ะ?
ผังจัดแสดง
ดูผังจัดแสดงทั้งหมด+
แผนที่
วีดีโอ
ดูวีดีโอทั้งหมด+
แผ่นพับ
ดูแผ่นพับทั้งหมด +
พิพิธภัณฑ์อื่นๆที่คุณอาจสนใจ
พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน
พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์
พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6
พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ดูทั้งหมด
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลอื่นๆของ ศมส.
จารึกบนแผ่นอิฐ หมายเลข ๒๗ ตาราง ๖๒ ก้อน ช
จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทิศตะวันตก (เมืองกาญจนบุรี)
โคกพลับ
The Formation of Ethnic and National Identity: A Case Study of the Lahu in Thailand
ปัญหาชาวเขาและการกำหนดมาตรการเฉพาะในการควบคุมชาวเขาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ
Tags
,
แฟนพิพิธภัณฑ์
ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
งานวิจัยทางชาติพันธุ์
จารึกในประเทศไทย
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
หนังสือเก่าชาวสยาม
ภาพยนตร์ชาติพันธุ์
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
รีวิวพิพิธภัณฑ์
เพิ่มพิพิธภัณฑ์ใหม่
พิพิธภัณฑ์วิทยา
บทความ
Blog
ข่าวพิพิธภัณฑ์
เทศกาลพิพิธภัณฑ์
เพื่อนพิพิธภัณฑ์
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
facebook
e-newsletter
ช่วยเหลือ
กฏกติกาและมารยาท
คำถามที่พบบ่อย
แนะนำและแจ้งปัญหา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail.
webmaster@sac.or.th
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549 | เงื่อนไขและข้อตกลง
Truehits.net